พบผลลัพธ์ทั้งหมด 319 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้อง กรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับหนี้ค่าสินค้า
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระเงิน 5,575,551.53 บาทจากโจทก์ โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์ยังเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าอยู่แก่จำเลย 5,575,551.53 บาท แต่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ 6,565,377.55 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่แตกต่างกันมากจำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อพิสูจน์ยอดหนี้ จึงเป็นกรณีที่มีปัญหาโต้แย้งกันอยู่ว่าโจทก์ยังติดค้างหนี้อยู่แก่จำเลยจำนวนเท่าใด แต่ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นเพียงทำให้การชำระหนี้ของโจทก์ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิได้แน่นอนว่าจะชำระหนี้เป็นจำนวนใด อันทำให้โจทก์สามารถใช้สิทธิวางทรัพย์ด้วยการชำระหนี้ตามจำนวนที่โจทก์เห็นว่าถูกต้องณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งหากเป็นจำนวนที่ถูกต้องโจทก์ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 331เมื่อโจทก์มีทางเลือกที่จะปฏิบัติได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การตรวจคำฟ้องศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่าให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 131(2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ ตามมาตรา 151
การตรวจคำฟ้องศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่าให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน ดังนั้น เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 131(2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดีมิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ ตามมาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 424/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและการยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้อง: กรณีความแตกต่างของยอดหนี้และการใช้สิทธิวางทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับชำระเงิน 5,575,551.53 บาท จากโจทก์ โดยกล่าวอ้างว่าโจทก์ยังเป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าอยู่แก่จำเลย 5,575,551.53 บาท แต่จำเลยเรียกให้โจทก์ชำระหนี้ 6,565,377.55 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่แตกต่างกันมาก โจทก์จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อพิสูจน์ยอดหนี้ แต่ข้อโต้แย้งดังกล่าวเป็นเพียงทำให้การชำระหนี้ของโจทก์ ไม่สามารถจะหยั่งรู้ถึงสิทธิได้แน่นอนว่าจะชำระหนี้เป็นจำนวนใด อันทำให้โจทก์สามารถใช้สิทธิวางทรัพย์ด้วยการชำระหนี้ตามจำนวนที่โจทก์เห็นว่าถูกต้อง ณ สำนักงานวางทรัพย์ ซึ่งหากเป็นจำนวนที่ถูกต้องโจทก์ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 331 เมื่อโจทก์มีทางเลือกที่จะปฏิบัติได้โดยไม่ต้องนำคดีมาฟ้องศาล โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
การตรวจคำฟ้อง ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่า ให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดี มิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ตามมาตรา 151
การตรวจคำฟ้อง ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคท้าย ซึ่งบัญญัติว่า "ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้ หรือให้ยกเสียหรือให้คืนไปตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18" คำว่า ให้ยกเสียตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นการยกฟ้องของโจทก์นั่นเอง ศาลจึงมีอำนาจยกฟ้องในชั้นตรวจคำฟ้องได้โดยไม่ต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน
เมื่อโจทก์ฟ้องคดีโดยไม่ปรากฏว่ามีการโต้แย้งสิทธิอันเป็นกรณีโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทันที โดยมิได้มีคำสั่งรับคำฟ้องโจทก์ไว้ก่อนจึงชอบแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องแล้วนำข้อเท็จจริงในคำฟ้องมาวินิจฉัยเกี่ยวกับคำฟ้องโจทก์และพิพากษายกฟ้อง เป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตามความหมายแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 131 (2) ซึ่งมีผลเป็นการพิจารณาคดี มิใช่เรื่องที่ศาลชั้นต้นไม่รับหรือคืนคำฟ้องตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 18 จึงไม่มีเหตุที่จะคืนค่าธรรมเนียมศาลแก่โจทก์ตามมาตรา 151
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 404/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมโดยอายุความ: การใช้ทางต่อเนื่องเกิน 10 ปี แม้กรรมสิทธิ์ยังไม่จดทะเบียนก็มีผล
แม้โจทก์ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินเมื่อคำนวณถึงวันที่จำเลยปิดกั้นทางพิพาทเป็นทางผ่านเข้าออกยังไม่ครบ 10 ปีก็ตาม แต่เมื่อโจทก์อาศัยอยู่ในที่ดินของโจทก์มานาน 20 ปีแล้ว แสดงว่าโจทก์ใช้ทางพิพาทผ่านเข้าออกตั้งแต่อาศัยอยู่ในที่ดินดังกล่าวจนได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน เมื่อนับระยะเวลาทั้งสองตอนติดต่อกันแล้วเกินกว่า 10 ปี ทางพิพาทจึงตกเป็นภารจำยอมโดยอายุความแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงร่วมกันของคู่ความมีผลผูกพันศาล ไม่ต้องสืบพยานเพิ่มเติม
คู่ความตกลงท้ากันว่าหากเจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินของโจทก์แล้วปรากฏว่ารั้วลวดหนามที่จำเลยทำขึ้นอยู่ในเนื้อที่ดังกล่าว จำเลยยอมแพ้แต่หากรั้วดังกล่าวอยู่นอกเนื้อที่ โจทก์ยอมแพ้ หลังจากการรังวัดที่ดินดังกล่าวคู่ความตรวจดูแผนที่พิพาทและบันทึกการนำชี้แนวเขตตามที่เจ้าพนักงานที่ดินส่งมาแล้วแถลงรับร่วมกันว่าเสารั้วคอนกรีตขึงด้วยลวดหนามอยู่ภายในที่ดินตามโฉนดที่ดินพิพาท ดังนี้ แม้ในแผนที่พิพาทและบันทึกการชี้แนวเขตไม่ปรากฏความเห็นของเจ้าพนักงานที่ดินว่าเสารั้วคอนกรีตขึงด้วยลวดหนามที่จำเลยทำขึ้นรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ แต่ในวันที่เจ้าพนักงานที่ดินทำการรังวัด ทั้งสองฝ่ายต่างไปนำชี้แนวเขตที่ดินของตนย่อมต้องทราบดีว่าเสารั้วคอนกรีตขึงด้วยลวดหนามที่จำเลยทำขึ้นดังกล่าวรุกล้ำที่ดินของโจทก์หรือไม่ เมื่อคู่ความต่างลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งมีข้อความระบุว่าคู่ความแถลงรับร่วมกันว่า เสารั้วคอนกรีตขึงด้วยลวดหนามอยู่ภายในที่ดินตามโฉนดพิพาทโดยไม่ได้โต้แย้งคัดค้าน ย่อมต้องถือว่าคู่ความยอมรับความถูกต้องของข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ไม่ดำเนินการสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยจึงเป็นอันถูกต้องแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายบังคับคดีและการเพิกถอนการบังคับคดี: การเปลี่ยนแปลงภูมิลำเนาของจำเลยและการประเมินราคาขายทอดตลาด
จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงที่ตั้งสำนักงานของจำเลยในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ซึ่งหากนับถึงวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นเวลาห่างกันเกือบ 1 ปี แต่จำเลยไม่แจ้งเรื่องการย้ายภูมิลำเนาให้ศาลหรือโจทก์ทราบแต่อย่างใด พฤติการณ์บ่งชี้ให้เข้าใจได้ว่าจำเลยมีเจตนาจะปกปิดภูมิลำเนาของตนเพื่อหลีกเลี่ยงการบังคับคดี อย่างไรก็ตาม น. ผู้จัดการทั่วไปของจำเลยเบิกความในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นว่า น. มีภูมิลำเนาตามฟ้องซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของจำเลย ซึ่งแสดงว่า น. ยังคงทำงานอยู่ที่สำนักงานแห่งเดิมของจำเลยข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยมีที่ตั้งที่ทำการหลายแห่งและมีภูมิลำเนาตามฟ้องด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 69 การที่พนักงานเดินหมาย นำคำบังคับไปปิดไว้ที่อาคารซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิม จึงเป็นการ ส่งหมายโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9024/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเป็นความผิดอื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 288 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8740/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารหลักฐานไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ไม่สามารถใช้เป็นหลักฐานในคดีได้ แม้จำเลยขาดนัด
ในคดีที่คู่ความฝ่ายหนึ่งขาดนัดนั้น คู่ความฝ่ายที่ไม่ขาดนัดจะชนะคดีได้ต่อเมื่อได้นำสืบพยานหลักฐานต่อศาลจนเป็นที่พอใจว่าข้ออ้างของตนมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดตามสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันโดยอ้างเอกสารทั้งสองฉบับเป็นพยานเอกสารสนับสนุนข้ออ้าง การจะรับฟังพยานเอกสารทั้งสองฉบับได้ โจทก์ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากรมาตรา 118 คือต้องปิดแสตมป์บนเอกสารให้บริบูรณ์เสียก่อน มิเช่นนั้นจะใช้เอกสารทั้งสองฉบับเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ เมื่อสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันปิดอากรแสตมป์ไม่บริบูรณ์ ถือว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมหรือผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญโจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับแก่จำเลยทั้งสองไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8740/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญาที่ไม่สมบูรณ์ (ปิดแสตมป์ไม่ถูกต้อง) ใช้เป็นหลักฐานทางแพ่งไม่ได้
การที่โจทก์ปิดแสตมป์บนสัญญากู้เงินและสัญญาค้ำประกันไม่บริบูรณ์ จะใช้เอกสารทั้งสองฉบับเป็นพยานหลักฐานในคดีไม่ได้ ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมหรือผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญ โจทก์จึงฟ้องร้องให้บังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่ง และมาตรา 680 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8322/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยแล้ว และประเด็นการโอนสิทธิการเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทแม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่า ตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ 6,000 บาท ซึ่งหมายถึงอาจให้เช่าได้เดือนละ 6,000 บาท หรือมากกว่านี้ก็ตามแต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เท่ากับค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติว่า ตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละ 3,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง และ248 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8322/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตรงกัน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าออกจากตึกแถวพิพาทแม้โจทก์จะกล่าวอ้างว่า ตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่ต่ำกว่าเดือนละ6,000 บาท ซึ่งหมายถึงอาจให้เช่าได้เดือนละ 6,000 บาท หรือมากกว่านี้ก็ตามแต่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์เท่ากับค่าเช่าเดือนละ 3,000 บาทศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โดยโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกา ข้อเท็จจริงจึงฟังยุติว่า ตึกแถวพิพาทอาจให้เช่าในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละ 3,000 บาท ย่อมต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง และ 248 วรรคสอง