คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 1 (14)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8023-8032/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ร่วมและผลของการบอกเลิกสัญญาต่อคดีเช็ค: การพิจารณาคุณสมบัติโจทก์และผลกระทบต่อการดำเนินคดี
สำนวนคดีที่ห้าถึงที่สิบ โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าว ส่วนสำนวนคดีที่สามและที่สี่ แม้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ได้ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ที่ 1 ด้วยก็ตาม แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ที่ 3 เข้าร่วมเป็นโจทก์เนื่องจากคำฟ้องทั้งสองสำนวนดังกล่าวโจทก์ที่ 3 ไม่ใช่ผู้เสียหายด้วย โจทก์ที่ 3 จึงมิใช่คู่ความในคดี ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวเช่นกันการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกัน หามีผลให้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 เป็นโจทก์ร่วมกับโจทก์ที่ 1 ทุกสำนวนที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รวมพิจารณาคดีเข้าด้วยกันไม่
การที่โจทก์ที่ 2 และที่ 3 ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีแพ่งด้วยเรื่องผิดสัญญาซื้อขายที่ดินรวมใบอนุญาตและเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรมนั้น เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องในทางแพ่ง ซึ่งจำเลยทั้งสองยังมีข้อต่อสู้อยู่ ไม่แน่นอนว่าศาลจะพิพากษาคดีเป็นประการใด การบอกเลิกสัญญาชอบหรือไม่ และคดียังไม่ถึงที่สุด ถือไม่ได้ว่ามูลหนี้ตามที่จำเลยที่ 1 ออกเช็คเพื่อให้ใช้เงินสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แตกต่างจากกรณีที่คู่ความทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอม คดีถึงที่สุดแล้ว คดีจึงยังไม่เลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายและการฎีกาที่ไม่ชอบ
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยว่ากระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยขอคืนค่าปรับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องแต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนค่าปรับแก่จำเลย กรณีจึงเป็นเรื่องผู้เสียหายใช้อำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 โดยพนักงานอัยการมิได้เป็นคู่ความในคดีด้วย ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการพ.ศ. 2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้พนักงานอัยการจึงไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ และไม่มีสิทธิฎีกาปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้เสียหายและการไม่มีอำนาจฎีกาของพนักงานอัยการในคดีที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยขอคืนค่าปรับศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนค่าปรับแก่จำเลย กรณีจึงเป็นเรื่องผู้เสียหายใช้อำนาจฟ้องคดีต่อศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28 โดยพนักงานอัยการมิได้เป็นคู่ความในคดีด้วย ทั้งกรณีไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ดังนั้น พนักงานอัยการจึงไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ และไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3318/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเช็คส่วนบุคคล: ผู้เสียหายฟ้องเอง พนักงานอัยการไม่มีอำนาจ
ผู้เสียหายเป็นโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ต่อมาโจทก์ถอนฟ้องและจำเลยขอคืนค่าปรับศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้คืนค่าปรับแก่จำเลย กรณีจึงเป็นเรื่องผู้เสียหายใช้อำนาจฟ้องคดีต่อศาล ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 28 โดยพนักงานอัยการมิได้เป็นคู่ความในคดีด้วย ทั้งกรณีไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.พนักงานอัยการพ.ศ.2498 มาตรา 11 ที่จะให้พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ดำเนินคดีนี้ได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ดังนั้น พนักงานอัยการจึงไม่สามารถเข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ และไม่มีสิทธิฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4621/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจากหนังสือมอบอำนาจ: 'ดำเนินคดีอาญา' หมายถึงอำนาจฟ้องได้
โจทก์ฟ้องคดีอาญาโดยมอบอำนาจให้ ช. ดำเนินคดีแทน ในหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่าให้ ช. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีอาญากับจำเลยโดยให้มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ เช่นนี้ คำว่า ให้มีอำนาจดำเนินคดีอาญา ย่อมหมายความว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั่นเอง หาได้มีแต่อำนาจในการร้องทุกข์เพียงเท่านั้นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4621/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจากหนังสือมอบอำนาจ: 'ดำเนินคดีอาญา' ครอบคลุมถึงการฟ้องต่อศาล
โจทก์ฟ้องคดีอาญาโดยมอบอำนาจให้ ช. ดำเนินคดีแทน ในหนังสือมอบอำนาจมีข้อความระบุว่าให้ ช. เป็นผู้มีอำนาจดำเนินคดีอาญากับจำเลยโดยให้มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนได้ เช่นนี้ คำว่า ให้มีอำนาจดำเนินคดีอาญา ย่อมหมายความว่าให้มีอำนาจฟ้องคดีอาญาต่อศาลนั่นเอง หาได้มีแต่อำนาจในการร้องทุกข์เพียงเท่านั้นไม่
of 2