พบผลลัพธ์ทั้งหมด 168 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3669/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนโอนรถยนต์ตามคำพิพากษา แม้กรรมสิทธิ์โอนไปแล้ว แต่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาให้ครบถ้วน
คำพิพากษาของศาลฎีกาที่บังคับให้จำเลยโอนรถยนต์โดยสารพิพาท ให้เป็นชื่อโจทก์เป็นเจ้าของ โดยให้ไปจดทะเบียนโอนนั้น จำเลยย่อม มีหน้าที่ดำเนินการจดทะเบียนโอนรถยนต์โดยสารพิพาทให้เป็นชื่อโจทก์ เป็นเจ้าของ และกระทำการอันจำเป็นเพื่อให้มีการจดทะเบียนได้ตาม คำพิพากษา การที่จำเลยเพียงแต่นำเอาเอกสารหลักฐานการโอนทะเบียนไปมอบไว้ต่อศาลชั้นต้น เพื่อให้โจทก์รับไปจัดการจดทะเบียนเอง ครั้นโจทก์นำไปจัดการปรากฏว่ามีเหตุขัดข้อง เพราะต้องไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานทะเบียนรถยนต์กรมตำรวจเสียก่อน และผู้ที่จะไปจัดการเกี่ยวกับเรื่องนี้คือบุคคลอื่นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน ทั้งต้องนำรถไปตรวจสภาพด้วย จำเลยจึงยังหาได้ดำเนินการจดทะเบียนโอน รถยนต์โดยสารพิพาทให้เป็นชื่อโจทก์ตามคำพิพากษาไม่ แม้ขณะศาล พิพากษารถยนต์โดยสารได้ตกมาอยู่ในความควบคุมของนายทะเบียนขนส่งตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบกพ.ศ. 2522 มาตรา 4 จำเลยจึงได้ดำเนินการทำหลักฐานการโอนทะเบียนให้ต่อนายทะเบียนขนส่งเพื่อให้ คำพิพากษาของศาลมีผลบังคับได้แต่เมื่อตามหลักฐานที่จำเลยทำให้ ไปยังไม่อาจจดทะเบียนโอนรถยนต์โดยสารพิพาทให้เป็นชื่อโจทก์ เป็นเจ้าของได้ เพราะต้องให้บุคคลอื่นผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน ไปดำเนินการต่อเจ้าพนักงานทะเบียนรถยนต์กรมตำรวจเสียก่อน จำเลยจึงจะอ้างว่าได้ปฏิบัติชอบด้วยคำพิพากษาแล้วมิได้
หากรถยนต์โดยสารพิพาททรุดโทรมจนไม่อยู่ในสภาพที่จะจดทะเบียนโอนกันได้ ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีจำเลยไม่สามารถจดทะเบียน โอนรถยนต์โดยสารพิพาทได้ ซึ่งตามคำพิพากษากำหนดว่าจำเลยจะ ต้องชำระเงินค่ารถพิพาท 2 คัน จำนวน 300,000บาท ให้โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยนั่นเอง จำเลยจะอ้างเอาการที่รถทรุดโทรมเพราะ การใช้ตามปกติของโจทก์มาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ชำระเงินตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วมิได้
แม้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โดยสารพิพาทได้โอนไปยังโจทก์แล้วตั้งแต่ที่จำเลยส่งมอบแก่โจทก์มิใช่ด้วยการโอนทะเบียนนั้น จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา คือโอนทะเบียนรถยนต์โดยสารพิพาทให้โจทก์
หากรถยนต์โดยสารพิพาททรุดโทรมจนไม่อยู่ในสภาพที่จะจดทะเบียนโอนกันได้ ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีจำเลยไม่สามารถจดทะเบียน โอนรถยนต์โดยสารพิพาทได้ ซึ่งตามคำพิพากษากำหนดว่าจำเลยจะ ต้องชำระเงินค่ารถพิพาท 2 คัน จำนวน 300,000บาท ให้โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยนั่นเอง จำเลยจะอ้างเอาการที่รถทรุดโทรมเพราะ การใช้ตามปกติของโจทก์มาเป็นข้ออ้างเพื่อไม่ชำระเงินตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดแล้วมิได้
แม้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์โดยสารพิพาทได้โอนไปยังโจทก์แล้วตั้งแต่ที่จำเลยส่งมอบแก่โจทก์มิใช่ด้วยการโอนทะเบียนนั้น จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกา คือโอนทะเบียนรถยนต์โดยสารพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754-2755/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยต้องคืนมันสำปะหลังที่ลักไปเท่านั้น ศาลไม่อนุญาตให้ชดใช้ด้วยการขุดมันสำปะหลังในไร่ของจำเลย
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์คือมันสำปะหลังให้โจทก์ร่วมหมายถึงมันสำปะหลังที่จำเลยลักเอาไปจากโจทก์ร่วมเท่านั้น แม้โดยสภาพมันสำปะหลังจะเป็นสังกมทรัพย์จำเลยก็ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับโจทก์ร่วมไปขุดมันสำปะหลังจากไร่ของจำเลย เมื่อจำเลยไม่คืนมันสำปะหลังที่ลักเอาไปให้โจทก์ร่วมตามคำบังคับ โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยมาขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2754-2755/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามคำพิพากษา: คืนทรัพย์ที่ลักไปเท่านั้น, ไม่อาจบังคับให้ขุดของจากที่ดินผู้อื่นได้
การที่ศาลพิพากษาให้จำเลยคืนทรัพย์คือมันสำปะหลังให้โจทก์ร่วมหมายถึงมันสำปะหลังที่จำเลยลักเอาไปจากโจทก์ร่วมเท่านั้น แม้โดยสภาพมันสำปะหลังจะเป็นสังกมทรัพย์จำเลยก็ไม่มีสิทธิขอให้ศาลบังคับโจทก์ร่วมไปขุดมันสำปะหลังจากไร่ของจำเลย เมื่อจำเลยไม่คืนมันสำปะหลังที่ลักเอาไปให้โจทก์ร่วมตามคำบังคับ โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิขอให้ศาลออกหมายบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยมาขายทอดตลาดชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ไถ่ถอนจำนองตามคำพิพากษา: จำเลยต้องปฏิบัติตามก่อนโจทก์ ไม่ถือว่าไม่มีวิธีบังคับคดีอื่น
ถึงแม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 736,737 บัญญัติให้สิทธิผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองจะไถ่ถอนจำนองได้ แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายในส่วนสารบัญญัติ ไม่ใช่บทกฎหมายที่เกี่ยวกับการบังคับคดี ทั้งไม่มีบทบัญญัติให้นำมาใช้ในการบังคับคดีได้และตามคำพิพากษาก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะต้องทำการไถ่ถอนจำนองที่พิพาทเสียก่อนแล้วจึงโอนให้แก่โจทก์โดยปลอดจำนอง หาใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะทำการไถ่ถอนจำนองเองไม่ ดังนั้น เมื่อจำเลยจงใจไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาและคำบังคับซึ่งออกบังคับเอาแก่จำเลยจึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่มีวิธีบังคับอื่นใดที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะพึงใช้บังคับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 297(2)ศาลมีอำนาจที่จะกักขังจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาจำกัดเฉพาะสิ่งที่ระบุในคำพิพากษา ศาลสั่งชดใช้ค่าเสียหายเมื่อบังคับคดีไม่ได้มิได้
ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ว่า ให้จำเลยยอมรับการไถ่ถอนที่ดินทั้งสองแปลงตามฟ้องในราคา 64,000 บาท จากโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแทนเพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับได้เนื่องจากจำเลยโอนที่ดินให้แก่บุตรแล้ว จึงเป็นการบังคับจำเลยนอกเหนือจากคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งเช่นนั้น
บทบัญญัติมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นเรื่องการออกหมายบังคับคดีเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้ศาลระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีลงในหมายเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้ทำได้โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานของศาล มิได้หมายความว่า ถ้าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ใช้ค่าเสียหายแทนทั้งที่มิได้พิพากษาเช่นนั้น ซึ่งเป็นการบังคับคดีผิดไปจากคำพิพากษา
บทบัญญัติมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นเรื่องการออกหมายบังคับคดีเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้ศาลระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีลงในหมายเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้ทำได้โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานของศาล มิได้หมายความว่า ถ้าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ใช้ค่าเสียหายแทนทั้งที่มิได้พิพากษาเช่นนั้น ซึ่งเป็นการบังคับคดีผิดไปจากคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ ห้ามสั่งชดใช้ค่าเสียหายหากคำพิพากษาไม่ได้ระบุไว้
ศาลพิพากษาตามคำขอของโจทก์ว่า ให้จำเลยยอมรับการไถ่ถอนที่ดินทั้งสองแปลงตามฟ้องในราคา 64,000 บาทจากโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแทนเพราะสภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้บังคับได้เนื่องจากจำเลยโอนที่ดินให้แก่บุตรแล้ว จึงเป็นการบังคับจำเลยนอกเหนือจากคำพิพากษา ซึ่งศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจสั่งเช่นนั้น
บทบัญญัติมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นเรื่องการออกหมายบังคับคดีเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้ศาลระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีลงในหมายเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้ทำได้โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานของศาล มิได้หมายความว่า ถ้าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ใช้ค่าเสียหายแทนทั้งที่มิได้พิพากษาเช่นนั้น ซึ่งเป็นการบังคับคดีผิดไปจากคำพิพากษา
บทบัญญัติมาตรา 276 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นเรื่องการออกหมายบังคับคดีเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำพิพากษา โดยให้ศาลระบุเงื่อนไขแห่งการบังคับคดีลงในหมายเพียงเท่าที่สภาพแห่งการบังคับคดีจะเปิดช่องให้ทำได้โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานของศาล มิได้หมายความว่า ถ้าสภาพแห่งการบังคับคดีไม่เปิดช่องให้ทำได้ ศาลก็มีอำนาจสั่งให้ใช้ค่าเสียหายแทนทั้งที่มิได้พิพากษาเช่นนั้น ซึ่งเป็นการบังคับคดีผิดไปจากคำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: การชำระหนี้บางส่วนไม่ตัดสิทธิโจทก์ในการบังคับคดีส่วนที่เหลือ
เมื่อโจทก์ขอให้ออกคำบังคับให้จำเลยชำระหนี้ครบถ้วนตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยได้ชำระเงินตามจำนวนที่เจ้าพนักงานของศาลคิดให้ตามที่จำเลยร้องขอ เมื่อจำนวนเงินที่ชำระนั้นยังไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษาโจทก์ก็มีสิทธิที่จะดำเนินการบังคับคดีเพื่อเอาชำระหนี้ส่วนที่ยังขาดอยู่ได้เนื่องจากการบังคับคดียังไม่สิ้นสุด และไม่เป็นการบังคับคดีซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 509/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: การพิจารณาช่วงเวลาชำระหนี้ และการไม่ถือว่าผิดนัด
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่าจำเลยยอมชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2520 เป็นต้นไปโดยผ่อนชำระเป็นงวด ๆ คือ ตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม 2521 เป็นต้นไปถึงวันที่ 18 ธันวาคม 2521 เงินต้นจ่ายเดือนละ 30,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยที่ค้าง ดังนี้ แสดงว่าจำเลยยอมชำระหนี้ให้โจทก์เดือนละ 1 งวดทุก ๆ เดือนไป วันเริ่มต้นนับคือวันที่ 18 มกราคม 2521 วันครบกำหนด 1 เดือนในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2521 การที่จำเลยชำระหนี้งวดแรกแก่โจทก์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2521 จึงเป็นการชำระหนี้ภายในเวลาที่กำหนดไว้หาเป็นการผิดนัดชำระหนี้ จนระยะเวลาที่กำหนดไว้เพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับได้ล่วงพ้นไปแล้วอันจะเป็นเหตุให้ศาลออกหมายบังคับคดีได้ทันทีในเมื่อโจทก์ร้องขอไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตกลงใหม่หลังสัญญาประนีประนอมยอมความ ไม่ถือเป็นการขยายเวลาไถ่ทรัพย์สินตามกฎหมาย
การตกลงกันกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินกันใหม่โดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อเลิกคดีที่พิพาทกันอยู่ในศาล ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการทำความตกลงกันใหม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้จะได้กระทำหลังจากกำหนดเวลาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีคำพิพากษาตามยอมนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตราดังกล่าวดุจกันและข้อตกลงในประการหลังนี้ เป็นแต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความไม่นับว่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์อันจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2569/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ถือเป็นการขยายเวลาไถ่ และการแก้ไขสัญญาไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน
การตกลงกันกำหนดเวลาไถ่ทรัพย์สินกันใหม่โดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อเลิกคดีที่พิพาทกันอยู่ในศาล ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตรา 496 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และการทำความตกลงกันใหม่แก้ไขเปลี่ยนแปลงกำหนดเวลาไถ่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความแม้จะได้กระทำหลังจากกำหนดเวลาตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีคำพิพากษาตามยอมนั้นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ก็ไม่ถือว่าเป็นการขยายเวลาไถ่ในภายหลังตามความหมายของมาตราดังกล่าวดุจกันและข้อตกลงในประการหลังนี้ เป็นแต่การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาประนีประนอมยอมความไม่นับว่าเป็นข้อตกลงส่วนหนึ่งของสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์อันจะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)
ในกรณีที่มิต้องบังคับคดีโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี ก็มิใช่เรื่องที่จะต้องออกหมายบังคับคดีเสียก่อน เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำบังคับ ศาลก็มีอำนาจสั่งจับกุมและกักขังจำเลยได้ทีเดียว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 452/2491)