คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 538

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 667 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5501/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่า, การครอบครอง, และการแย่งการครอบครอง: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยให้การแต่เพียงว่า โจทก์จะได้ครอบครองที่พิพาทหรือไม่จำเลยไม่รับรองข้อต่อสู้ของจำเลยเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ ไม่แสดงชัดแจ้งว่าจำเลยยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ในเรื่องสิทธิครอบครองที่พิพาทจึงไม่มีประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง และแม้เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมาย ศาลอุทธรณ์เห็นไม่สมควรยกขึ้นวินิจฉัยก็ทำได้ บทบัญญัติแห่งประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 มิได้ให้ถือว่าสัญญาเช่าที่มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่าสามปีเป็นโมฆะ เมื่อฟังได้ว่าโจทก์เป็นผู้ให้เช่าและมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ปัญหาว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 หรือไม่ ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปโดยไม่ย้อนสำนวน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องแย่งการครอบครองศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าที่พิพาทจากโจทก์ จำเลยทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์คัดค้าน ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องแย่งการครอบครองที่พิพาทจึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้แย่งการครอบครองที่พิพาทจึงไม่อาจนำมาตรา 1375 มาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4939/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทนก่อให้เกิดสิทธิเฉพาะคู่สัญญา บุคคลภายนอกไม่ผูกพัน เว้นแต่จะยินยอม
สัญญาที่เจ้าของที่ดินตกลงให้โจทก์ก่อสร้างตึกแถวลงบนที่ดินโดยเสียค่าตอบแทนให้เจ้าของที่ดิน และให้โจทก์มีสิทธิเรียกเงินช่วย ค่าก่อสร้างจากผู้เช่าเมื่อเจ้าของที่ดินจดทะเบียนการเช่าแล้วให้โจทก์ยกตึกแถวแก่เจ้าของที่ดิน เป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งมีผลผูกพันโดยไม่ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้จำเลยผู้ซื้อจะรับโอนที่ดินจากทายาทของเจ้าของที่ดินเดิมพร้อมตึกซึ่งเป็นของโจทก์โดยรู้ว่าเจ้าของที่ดินเดิม ทำสัญญาผูกพันกับโจทก์ที่จะต้องไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินพร้อมตึกนั้นให้แก่ผู้ประสงค์จะเช่า แต่สัญญาระหว่างโจทก์กับเจ้าของที่ดินเดิม ดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนก่อให้เกิดแต่เพียงบุคคลสิทธิผูกพันบังคับได้ระหว่างทายาทของเจ้าของที่ดินเดิม กับโจทก์เท่านั้น จำเลยเป็นบุคคลภายนอกมิใช่คู่สัญญา เมื่อจำเลยไม่ได้ยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อสัญญาดังกล่าวย่อมไม่ผูกพันจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงเช่าต่ออายุ: คำมั่นของผู้ให้เช่าผูกพันได้ ผู้เช่ามีสิทธิบังคับได้
หนังสือสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าก็จะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้ โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นของฝ่ายผู้ให้เช่าที่จะให้ผู้เช่าเลือกจะบังคับผู้ให้เช่าให้ต้องยอมทำสัญญาเช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปีหรือไม่ และตามข้อตกลงนี้มีผลทำให้ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่า ผู้เช่าได้แจ้งความจำนงขอเช่าต่ออีก 10 ปี ผู้ให้เช่าจะไม่ยอมให้เช่าไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่าเป็นคำมั่นบังคับได้ ผู้ให้เช่าต้องทำสัญญาเช่าต่อตามข้อตกลง
ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่าที่ดินที่ว่า "ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าจะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม" นั้น เป็นคำมั่นของผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุดโจทก์ผู้เช่าได้แจ้งความประสงค์ในการที่จะเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี ให้แก่จำเลยผู้ให้เช่าทราบ และจำเลยได้รับแจ้งแล้วจึงต้องผูกพันตามคำมั่นของตน โดยต้องทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่ากระแสไฟฟ้าของรัฐวิสาหกิจ, การคำนวณหน่วยไฟฟ้าผิดพลาด, และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
หนังสือสัญญาเช่ามีข้อตกลงว่า ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าก็จะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้ โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800 บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม ข้อตกลงดังกล่าวเป็นคำมั่นของฝ่ายผู้ให้เช่าที่จะให้ผู้เช่าเลือกจะบังคับผู้ให้เช่าให้ต้องยอมทำสัญญาเช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปีหรือไม่ และตามข้อตกลงนี้มีผลทำให้ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่า ผู้เช่าได้แจ้งความจำนงขอเช่าต่ออีก 10 ปี ผู้ให้เช่าจะไม่ยอมให้เช่าไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 748/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำมั่นสัญญาเช่าต่อท้ายสัญญาเช่าเดิมมีผลผูกพันผู้ให้เช่า เมื่อผู้เช่าแจ้งความประสงค์ก่อนสัญญาเดิมสิ้นสุด
ข้อความตามข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเช่าที่ดินข้อ 2 ที่ว่า"ผู้ให้เช่าสัญญาว่าเมื่อครบกำหนดอายุสัญญานี้แล้ว ผู้ให้เช่าก็จะให้ผู้เช่าได้เช่าต่อไปอีกเป็นเวลา 10 ปี ทั้งนี้โดยผู้ให้เช่าตกลงยินยอมให้ผู้เช่าเช่าที่ดินดังกล่าวแล้วในค่าเช่าเดือนละ 800บาท โดยผู้เช่ามิต้องจ่ายเงินเป็นก้อนเพิ่มเติม" นั้น เป็นคำมั่นของผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าตกเป็นฝ่ายลูกหนี้ที่ผู้เช่ามีสิทธิที่จะเรียกร้องบังคับเอาได้ เมื่อก่อนสัญญาเช่าสิ้นสุด โจทก์ผู้เช่าได้แจ้งความประสงค์ในการที่จะเช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี ให้แก่จำเลยผู้ให้เช่าทราบ และจำเลยได้รับแจ้งแล้วจึงต้องผูกพันตามคำมั่นของตน โดยจำเลยต้องทำสัญญาให้โจทก์เช่าที่ดินพิพาทต่อไปอีก 10 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะ 'ไม่ใช่บริวาร' ในการบังคับคดี ต้องมีหลักฐานการเช่าที่เป็นหนังสือตามกฎหมาย
ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันปิดประกาศตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) จะต้องมีหลักฐานเบื้องต้นมาแสดงต่อศาลมิใช่กล่าวอ้างขึ้นมาลอย ๆ การเช่าช่วงที่ผู้ร้องอ้างตามคำร้องก็คือการเช่านั่นเอง เมื่อเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 ซึ่งจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญ แต่ตามคำร้องของผู้ร้องปรากฏชัดว่าผู้ร้องเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากจำเลยโดยไม่มีสัญญาเช่ากับจำเลยหรือโจทก์ใบเสร็จรับเงินเอกสารท้ายคำร้องก็มิใช่หลักฐานการเช่าเพราะมิได้มีลายมือชื่อของโจทก์หรือจำเลยลงไว้ ผู้ร้องจึงไม่อาจยกการเช่าช่วงขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ ทั้งนี้ไม่ว่าโจทก์จะรู้เห็นยินยอมด้วยหรือไม่ก็ตาม ทั้งมิใช่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าอันไม่จำต้องมีหลักฐานการเช่า เพราะเงินกินเปล่าที่ผู้ร้องอ้างว่าได้เสียไปนั้นมิใช่เงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาทกรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามมาตรา 296 จัตวา(3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หากไม่มีหลักฐานถือเป็นบริวารลูกหนี้ตามคำพิพากษา
การเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 คือจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญใบเสร็จรับเงินซึ่งมิได้มีลายมือชื่อของผู้ให้เช่าหรือผู้ให้เช่าช่วงไม่ใช่หลักฐานการเช่า ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) จะต้องมีหลักฐานเบื้องต้นมาแสดงต่อศาลเมื่อตามคำร้อง ของ ผู้ร้องปรากฏว่าผู้ร้องเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากจำเลยโดยไม่มีสัญญาเช่ากับจำเลยหรือโจทก์ และมิได้มีหลักฐานการเช่ามาแสดง ทั้งมิใช่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าเพราะเงินกินเปล่าที่ผู้ร้องอ้างว่าได้เสียให้ไป มิใช่เงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาท ผู้ร้องจึงไม่อาจยกการเช่าช่วงขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ ไม่ว่าโจทก์จะรู้เห็นยินยอมด้วยหรือไม่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามบทกฎหมายดังกล่าวผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย ศาลจึงต้องยกคำร้องของผู้ร้อง และศาลสั่งคำร้องโดยไม่ไต่สวนคำร้องก่อน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การอ้างเช่าช่วงโดยไม่มีหลักฐานใช้ยันโจทก์ไม่ได้
การเช่าช่วงอสังหาริมทรัพย์ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 คือจะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญใบเสร็จรับเงินซึ่งมิได้มีลายมือชื่อของผู้ให้เช่าหรือผู้ให้เช่าช่วงไม่ใช่หลักฐานการเช่า
ผู้ที่อ้างว่าไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาและยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 จัตวา (3) จะต้องมีหลักฐานเบื้องต้นมาแสดงต่อศาลเมื่อตามคำร้อง ของ ผู้ร้องปรากฏว่าผู้ร้องเช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากจำเลยโดยไม่มีสัญญาเช่ากับจำเลยหรือโจทก์ และมิได้มีหลักฐานการเช่ามาแสดง ทั้งมิใช่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าเพราะเงินกินเปล่าที่ผู้ร้องอ้างว่าได้เสียให้ไป มิใช่เงินช่วยค่าก่อสร้างตึกแถวพิพาท ผู้ร้องจึงไม่อาจยกการเช่าช่วงขึ้นใช้ยันโจทก์ได้ ไม่ว่าโจทก์จะรู้เห็นยินยอมด้วยหรือไม่ กรณีถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามบทกฎหมายดังกล่าวผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย ศาลจึงต้องยกคำร้องของผู้ร้อง และศาลสั่งคำร้องโดยไม่ไต่สวนคำร้องก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่ออายุ-ค่าเช่า-ค่าเสียหาย: หลักฐานทางหนังสือ-การยอมรับข้อกล่าวอ้าง-ผลของการไม่กำหนดประเด็น
สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทกำหนดอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาทเมื่อครบกำหนดอายุสัญญาเช่า 1 ปีแล้ว จำเลยผู้เช่ายังคงอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยโจทก์ผู้ให้เช่าไม่ทักท้วง จึงถือว่าโจทก์จำเลยได้ทำสัญญาเช่าใหม่ต่อไปโดยไม่มีกำหนดเวลา ซึ่งหมายความว่าข้อตกลงเกี่ยวกับกำหนดเวลาไม่มีผลบังคับต่อไป ส่วนข้อสัญญาอื่นคงเป็นไปตามสัญญาเช่าเดิม รวมทั้งอัตราค่าเช่าด้วย และเนื่องจากการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยชำระค่าเช่าในอัตราที่สูงกว่าเดือนละ 1,000 บาทโจทก์ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อจำเลยมาแสดงว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าดังที่โจทก์อ้าง การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่าได้มีการตกลงขึ้นค่าเช่าในอัตราเดือนละ18,000 บาท ย่อมเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 จำเลยคงต้องรับผิดค่าเช่าที่ค้างชำระตามอัตราค่าเช่าในสัญญาเช่าเดิมเดือนละ1,000 บาท เท่านั้น โจทก์ฟ้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายในการที่จำเลยครอบครองตึกแถวพิพาท ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ในอัตราเดือนละ18,000 บาท จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในเรื่องดังกล่าวเท่ากับจำเลยยอมรับถึงผลประโยชน์ของตึกแถวพิพาทว่าเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์โดยที่ศาลไม่จำต้องกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเสียหายไว้.
of 67