พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 871/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายของจำเลยในการชำระหนี้ตามคำพิพากษาศาลแรงงาน
หนี้ค่าจ้างค้างจ่าย เงินสะสม สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลแรงงานกลาง ล้วนแต่เป็นเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรฯ มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามคำพิพากษาย่อมมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย แม้จำเลยจะมิได้อ้างเรื่องการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ในชั้นพิจารณา แต่เมื่อจำเลยจะต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษาจำเลยก็สามารถหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12104/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ การหักภาษี ณ ที่จ่าย และสิทธิในการขอคืนภาษี
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์จำเลยได้ระบุถึงเงินช่วยเหลือที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ไว้ในข้อ 1 ว่า "โจทก์ตกลงรับเงินช่วยเหลือที่จำเลยเสนอจ่ายเป็นเงิน 3,000,000 บาท โดยจำเลยจะนำเงินจำนวนดังกล่าวมาวางที่ศาลแรงงานกลางภายในวันที่ 16 กรกฎาคม 2545" เท่านั้น มิได้มีข้อความว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินสุทธิที่จำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์หรือจำเลยจะชำระภาษีแทนโจทก์แต่อย่างใด ข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่ชัดเจน ไม่มีข้อสงสัยหรืออาจตีความได้สองนัย จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 368 มาตีความให้เป็นอย่างอื่นได้ จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่โจทก์จำเลยมีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป. รัษฎากรฯ มาตรา 40 (1) จำเลยผู้จ่ายเงินได้จึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตาม ป. รัษฎากรฯ มาตรา 50 ประกอบมาตรา 3 จตุทศ นำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอซึ่งรวมถึงที่ว่าการเขตภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้จ่ายเงินตามมาตรา 52 การที่จำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ 1,890,000 บาท โดยหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้ 1,110,000 บาท และนำส่งสรรพากรเขตปทุมวัน จึงเป็นการชำระหนี้ครบถ้วนตามคำพิพากษาตามยอมแล้วหากโจทก์เห็นว่าตนได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐอเมริกาหรือถูกหักภาษีไว้เกินกว่าจำนวนที่ควรต้องเสีย โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานประเมินเพื่อขอรับเงินจำนวนที่เกินนั้นคืนได้ภายใน 3 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งปีซึ่งถูกหักภาษีเกินไปตามมาตรา 63
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินช่วยเหลือจากการประนีประนอมยอมความไม่ใช่ค่าชดเชย จึงต้องเสียภาษี ณ ที่จ่าย
ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ข้อ 2 (51)
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอม ปรากฏว่าเงินจำนวน ที่จำเลยยอมจ่ายให้โจทก์ระบุว่าเป็นเงินช่วยเหลือ มิได้ระบุว่าเป็นเงินชดเชย และตามคำฟ้องนอกจากโจทก์ฟ้องเรียก ค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม แล้วยังฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายอีกด้วย ดังนั้น เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ค่าชดเชยหรือพอจะแปลได้ว่าเป็นค่าชดเชย เพราะไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดอันจะมีผลให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นรัษฎากร ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฏากร ข้อ 2 (51)
การที่จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฏากร มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งศาลมีคำพิพากษาตามยอม ปรากฏว่าเงินจำนวน ที่จำเลยยอมจ่ายให้โจทก์ระบุว่าเป็นเงินช่วยเหลือ มิได้ระบุว่าเป็นเงินชดเชย และตามคำฟ้องนอกจากโจทก์ฟ้องเรียก ค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม แล้วยังฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายอีกด้วย ดังนั้น เงินที่จำเลยจ่ายให้โจทก์ดังกล่าวจึงมิใช่ค่าชดเชยหรือพอจะแปลได้ว่าเป็นค่าชดเชย เพราะไม่ปรากฏว่าการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่มีความผิดอันจะมีผลให้โจทก์มีสิทธิได้รับค่าชดเชย เงินจำนวนดังกล่าวจึงไม่ได้รับยกเว้นรัษฎากร ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 217 (พ.ศ. 2542) ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฏากร ข้อ 2 (51)
การที่จำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือแก่โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็เพราะถูกโจทก์ฟ้องเรียกร้องเงินอันเนื่องมาจากการที่จำเลยกับโจทก์มีนิติสัมพันธ์กันในฐานะนายจ้างกับลูกจ้าง ถือได้ว่าเป็นเงินที่โจทก์ได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฏากร มาตรา 40 (1) ซึ่งกำหนดให้เป็นเงินได้พึงประเมิน เมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องเสียภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 จำเลยผู้จ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 ประกอบด้วยมาตรา 3 จตุทศ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมเลิกสัญญากับหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย: เงินที่จ่ายตามสัญญานี้ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน
เงินที่จำเลยตกลงชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นการตกลงที่จะชำระเต็มจำนวนตามสัญญาที่ทำไว้ต่อศาล แม้ตามสัญญาบริการระหว่างโจทก์จำเลยที่ใช้บังคับในระหว่างที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ใช้เป็นฐานแห่งการชำระเงินในคดีนี้ได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่า ภาษีเงินได้และภาษีอื่นที่โจทก์พึงจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับค่าตอบแทน จำเลยจะเป็นผู้จ่ายแทนในนามของโจทก์ทั้งสิ้นก็ตาม แต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้วจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไป จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้าง เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้ว จำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามข้อสัญญาอีกต่อไปและเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเงินได้อันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานและเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1)แห่ง ป.รัษฎากร จำเลยผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50ประกอบมาตรา 3 จตุทศ แห่ง ป.รัษฎากร แล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรหากโจทก์เห็นว่าโจทก์เสียภาษีน้อยกว่าที่จำเลยหักไว้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินการแก่กรมสรรพากรว่าด้วยเรื่องการคืนภาษีเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินชดเชยเลิกจ้าง: สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ใช่ค่าจ้าง ทำให้จำเลยมีหน้าที่หักภาษี
เงินที่จำเลยตกลงชำระให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นการตกลงที่จะชำระเต็มจำนวนตามสัญญาที่ทำไว้ต่อศาลแม้ตามสัญญาบริการระหว่างโจทก์จำเลยที่ใช้บังคับในระหว่างที่โจทก์ทำงานให้แก่จำเลยที่ใช้เป็นฐานแห่งการชำระเงินในคดีนี้ได้ระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าภาษีเงินได้และภาษีอื่นที่โจทก์พึงจ่ายอันเกี่ยวเนื่องกับค่าตอบแทนจำเลยจะเป็นผู้จ่ายแทนในนามของโจทก์ทั้งสิ้นก็ตามแต่เมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้วจึงไม่อยู่ในฐานะเป็นลูกจ้างและนายจ้างกันต่อไปจำเลยจึงไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เงินตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้างเมื่อโจทก์จำเลยตกลงเลิกสัญญากันแล้วจำเลยไม่มีหน้าที่จะต้องชำระภาษีเงินได้แทนโจทก์ตามข้อสัญญาอีกต่อไปและเงินที่จำเลยจะต้องจ่ายให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความนี้เป็นเงินได้อันเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานและเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา40(1)แห่งประมวลรัษฎากรจำเลยผู้จ่ายมีหน้าที่ต้องหักภาษีไว้ณที่จ่ายตามมาตรา50ประกอบมาตรา3จตุทศแห่งประมวลรัษฎากรแล้วนำส่งเจ้าหน้าที่ของกรมสรรพากรหากโจทก์เสียภาษีน้อยกว่าที่จำเลยหักไว้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องดำเนินการแก่กรมสรรพากรว่าด้วยเรื่องการคืนภาษีเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินบังคับคดีค่าจ้าง จำเลยมีสิทธิขอหักภาษีเฉพาะเงินที่จ่ายในคราวนั้น มิใช่รวมกับเงินที่จ่ายไปก่อน
ภาษีหัก ณ ที่จ่ายนั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 3 จตุทศ, 50, 52 ให้บุคคลผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินหักภาษีเงินได้ทุกคราวที่มีการจ่ายเงินได้พึงประเมินเกี่ยวกับค่าจ้างและนำส่ง ณ ที่ว่าการอำเภอภายใน 7 วัน จำเลยที่ 1 ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินได้พึงประเมินต้องหักภาษีทุกคราวที่มีการจ่าย ถ้าจำเลยที่ 1 มิได้หักและนำส่งเงินภาษีให้ถูกต้อง จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกับโจทก์ที่ 1 ผู้มีเงินได้พึงประเมินด้วยตามมาตรา 54 แห่งประมวลรัษฎากร เช่นนี้ ย่อมเห็นได้ว่าเงินภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถ้าจำเลยที่ 1 เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมินให้โจทก์ที่ 1 โดยตรงจำเลยที่ 1 มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายในคราวที่จ่ายและนำส่งให้ถูกต้อง แต่เงินซึ่งได้จากการบังคับคดีสำหรับค่าจ้างที่ค้างชำระ เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้จ่ายให้โจทก์ที่ 1 กรณีเช่นนี้ถือว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีจ่ายเงินได้พึงประเมินให้โจทก์ที่ 1 แทนจำเลยที่ 1 เท่ากับจำเลยที่ 1 เป็นผู้จ่ายเองจำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิจะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีกักเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายไว้ได้ เพื่อจะได้ส่งเป็นเงินภาษีต่อไป
การหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องหักทุกคราวที่มีการจ่าย เมื่อจ่ายเงินได้พึงประเมินในคราวใดเป็นจำนวนเท่าใด ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินในการจ่ายในคราวนั้นแต่จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ขอให้กักไว้เป็นภาษี ณ ที่จ่ายในคดีนี้ จำเลยที่ 1 คิดจากเงินได้พึงประเมินทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ที่ 1 รวมทั้งค่าจ้างที่จ่ายไปก่อนแล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้หักภาษีไว้ดังนั้นจะเอาเงินได้พึงประเมินที่จ่ายไปก่อนแล้วมาคิดหักเป็นภาษีในคราวนี้ด้วยย่อมไม่ชอบ จำเลยที่ 1คงมีสิทธิขอหักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะเงินได้พึงประเมินเกี่ยวกับค่าจ้างสำหรับการจ่ายในคราวนี้เท่านั้น
เงินดอกเบี้ยของค่าจ้างมิใช่ค่าจ้างที่จะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างค่าจ้างได้
การหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องหักทุกคราวที่มีการจ่าย เมื่อจ่ายเงินได้พึงประเมินในคราวใดเป็นจำนวนเท่าใด ก็ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายสำหรับเงินได้พึงประเมินในการจ่ายในคราวนั้นแต่จำนวนเงินที่จำเลยที่ 1 ขอให้กักไว้เป็นภาษี ณ ที่จ่ายในคดีนี้ จำเลยที่ 1 คิดจากเงินได้พึงประเมินทั้งหมดที่จำเลยที่ 1 จ่ายให้แก่โจทก์ที่ 1 รวมทั้งค่าจ้างที่จ่ายไปก่อนแล้ว แต่จำเลยที่ 1 มิได้หักภาษีไว้ดังนั้นจะเอาเงินได้พึงประเมินที่จ่ายไปก่อนแล้วมาคิดหักเป็นภาษีในคราวนี้ด้วยย่อมไม่ชอบ จำเลยที่ 1คงมีสิทธิขอหักภาษี ณ ที่จ่ายเฉพาะเงินได้พึงประเมินเกี่ยวกับค่าจ้างสำหรับการจ่ายในคราวนี้เท่านั้น
เงินดอกเบี้ยของค่าจ้างมิใช่ค่าจ้างที่จะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างค่าจ้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5605/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินค่าชดเชยจากการเลิกจ้างเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร นายจ้างมีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย
เงินค่าชดเชยเป็นเงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานซึ่งเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40(1) แห่ง ป.รัษฎากร แม้จะจ่ายเมื่อเลิกจ้างแล้วก็ตาม และไม่เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นตาม ป.รัษฎากร มาตรา 42 นายจ้างจึงมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ไว้ณ ที่จ่าย ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 50 ประกอบด้วย มาตรา 3 จตุทศ