พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องละเมิดไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิมเรื่องผิดสัญญา แม้มีการโอนสิทธิและหน้าที่
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกค้าของบริษัท ง. ได้ทำสัญญาวงเงินสินเชื่อและสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินกับบริษัทดังกล่าวโดยจำนองที่ดินเป็นประกัน ต่อมาจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระดอกเบี้ยและต้นเงินแก่บริษัท ง. เมื่อโจทก์รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินมาจากบริษัท ง. จึงฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้ทั้งหมด จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม จำเลยไม่ได้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์ฟ้อง โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนอง และฟ้องแย้งว่า บริษัท ง. ใช้วิธีฉ้อฉลนำหุ้นของจำเลยประมาณ 3,000,000 หุ้น มูลค่ากว่า 100,000,000 บาท ซึ่งจำเลยจำนำไว้เป็นประกันหนี้ไปขายโดยวิธีการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเงินประมาณ 60,000,000 บาท ดังนี้ ฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าบริษัท ง. ฉ้อฉลขายหุ้นจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเมิดต่อจำเลย ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมที่โจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้โจทก์จะรับโอนสิทธิและหน้าที่มาจากบริษัท ง. แต่ฟ้องแย้งของจำเลยก็ไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องฉ้อฉลขายหุ้นไม่เกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ศาลไม่รับรวมพิจารณา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกค้าของบริษัท ร. จำเลยได้ทำสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินกับบริษัทดังกล่าว โดยจำนองที่ดินเป็นประกัน จำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยและต้นเงิน โจทก์ได้รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินมาจากบริษัท ร. มาฟ้องจำเลยให้ชำระหนี้สินทั้งหมด จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า บริษัท ร. ใช้วิธีฉ้อฉลนำหุ้นของจำเลยประมาณสามล้านหุ้น มูลค่ากว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งจำนำเป็นประกันหนี้ไปขายโดยวิธีการไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายเป็นเงินประมาณหกสิบล้านบาท แต่จำเลยขอเรียกค่าเสียหายเพียงสองล้านบาท จึงขอให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลยเป็นเงินสองล้านบาทพร้อมดอกเบี้ยและให้ไถ่ถอนที่ดินจำนองคืนจำเลยด้วย ฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าบริษัท ร. ฉ้อฉลขายหุ้นจำเลยโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเมิดต่อจำเลยซึ่งเป็นคนละเรื่องกับฟ้องเดิมที่โจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาขายลดตั๋วสัญญาใช้เงิน ฟ้องแย้งจึงไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การนอกกำหนดเวลาและประเด็นความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ
ในขณะที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อและจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันกับโจทก์นั้น โจทก์จะเป็นเจ้าของรถยนต์พิพาทหรือไม่ เป็นเพียงข้อเท็จจริง มิได้มีผลกระทบถึงความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การในปัญหาดังกล่าวเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3579/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำให้การพ้นกำหนด ไม่กระทบความสมบูรณ์สัญญาเช่าซื้อ และไม่เป็นประเด็นความสงบเรียบร้อย
โจทก์จะเป็นเจ้าของรถยนต์ที่ให้เช่าซื้อในขณะทำสัญญาเช่าซื้อหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงมิได้กระทบถึงความสมบูรณ์ของสัญญาเช่าซื้อ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่จจำเลยื่นคำร้องขอแก้ไขคำให้การเมื่อพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องผิดสัญญาเป็นเรื่องใหม่ ไม่เกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม จึงไม่รวมพิจารณาได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชำระหนี้ฐานผิดสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี และบังคับจำนอง จำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งว่า ไม่เคยทำสัญญากู้เงินไม่เคยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและไม่เคยทำสัญญาจำนองที่ดินกับโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ตกลงจะลดยอดหนี้ลงถ้าหากจำเลยที่ 1 ขายที่ดินบางส่วนมาชำระหนี้ ทำให้จำเลยที่ 1 ต้องขายที่ดินในราคาต่ำกว่าท้องตลาด ต้องสูญเสียโอกาสและราคาที่ดินที่ควรจะได้รับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ทำให้จำเลยที่ 1 ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยที่ 1 เห็นได้ว่า คำฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าโจทก์ประพฤติผิดสัญญาที่ตกลงไว้กับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเรื่องใหม่นอกเหนือจากคำฟ้องเดิม ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเรื่องอื่น ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3512/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งค่าเสียหายจากการผิดสัญญาซื้อขายที่ดินและการไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงลดหนี้ ไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยฐานผิดสัญญากู้เงิน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบังคับจำนอง จำเลยให้การว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายละเมิดสัญญาและประเพณีที่ธนาคารยึดถือปฏิบัติต่อลูกค้า โจทก์ตกลงจะลดยอดหนี้ลงให้ถูกต้อง ถ้าหากจำเลยขายที่ดินบางส่วนมาชำระหนี้ ทำให้จำเลยต้องขายที่ดินในราคาต่ำกว่าในท้องตลาด จำเลยต้องเสียหายสูญเสียโอกาสและราคาที่ดินที่ควรจะได้รับ แต่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง ทำให้จำเลยได้รับความเสียหายประมาณ 4,000,000 บาท เมื่อหักกับยอดหนี้ที่ถูกต้องประมาณ 3,600,000 บาท โจทก์จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย 400,000 บาท ขอบังคับให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหาย 400,000บาท แก่จำเลย พร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องแย้งดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าโจทก์ประพฤติผิดสัญญาที่ตกลงไว้กับจำเลย ซึ่งเป็นเรื่องใหม่นอกเหนือจากคำฟ้องเดิม จึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมที่จะรวมพิจารณาพิพากษาไปในคดีเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์, การยกประเด็นนอกคำให้การ, และค่าทนายความ
แม้โจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยรวมกันมา การอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกัน เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตน เมื่อรวมต้นเงินและดอกเบี้ยจนถึงวันฟ้องสำหรับโจทก์ที่ 2 แล้วไม่เกิน 200,000 บาท ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า หนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้งหรือไม่ ปัญหานี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟัง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 และถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์ทั้งสองต่างฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้เงินจำนวนไม่เท่ากัน ค่าขึ้นศาลและค่าทนายความจึงต้องใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน
ปัญหาตามฎีกาของจำเลยว่า หนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้งหรือไม่ ปัญหานี้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นไว้ แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณาก็เป็นการนำสืบนอกคำให้การ เป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟัง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 และถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
โจทก์ทั้งสองต่างฟ้องจำเลยให้รับผิดใช้เงินจำนวนไม่เท่ากัน ค่าขึ้นศาลและค่าทนายความจึงต้องใช้ตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3371/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกประเด็นใหม่ในฎีกาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้นและอุทธรณ์ และการสืบพยานนอกคำให้การ
ปัญหาที่ว่าหนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้งหรือไม่ จำเลยมิได้ให้การเป็นประเด็น แม้จะได้นำสืบในชั้นพิจารณา ก็เป็นการสืบนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 การที่จำเลยฎีกาว่าหนังสือสัญญากู้เงินเป็นนิติกรรมอำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนในกองทุนที่จำเลยจัดตั้ง เท่ากับเป็นการฎีกาให้รับฟังพยานหลักฐานของจำเลยว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินโจทก์ แต่ได้ทำสัญญากู้เงินเพื่ออำพรางการเข้าเป็นหุ้นส่วนของโจทก์ในกองทุนของจำเลยอันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่นำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามมาตรา 249
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์กรณีบริษัทมหาชนดำเนินการตามมติที่ประชุม และเกิดเหตุสุดวิสัยในการค้นหาสำนวน
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์มีกำหนด 20 วัน เนื่องจากที่ประชุมกรรมการบริษัทโจทก์เพิ่งมีมติให้ทนายโจทก์ยื่นอุทธรณ์ แต่ระยะเวลาที่เหลืออยู่กระชั้นชิดไม่สามารถทำอุทธรณ์ได้ทัน นับว่ามีเหตุอันสมควรและเป็นพฤติการณ์พิเศษเพราะโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด (มหาชน) การดำเนินการใด ๆในเรื่องสำคัญย่อมต้องกระทำในรูปมติของคณะกรรมการบริษัทซึ่งอาจไม่คล่องตัวหรือต้องล่าช้าไปบ้าง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับแรกก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์ 2 วัน และยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ฉบับที่สองโดยอ้างว่าเจ้าหน้าที่ห้องเก็บสำนวนหาสำนวนไม่พบ โจทก์จึงยังไม่ทราบคำสั่งศาลตามคำร้องฉบับแรก โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาและยังมีความประสงค์จะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ แสดงว่าโจทก์เอาใจใส่และติดตามคดีของตนตลอดมา เมื่อโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลเพราะหาสำนวนไม่พบ โจทก์ก็ดำเนินการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต่อศาลอีกครั้งหนึ่งทันที ตามรูปคดีนับว่ามีพฤติการณ์พิเศษและมีเหตุอันควรขยายระยะเวลาอุทธรณ์ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดครองคลองสาธารณะโดยการกีดขวางทางน้ำถือเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
การที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองคลองควายซึ่งเป็นคลองสาธารณะโดยใช้เสาคอนกรีตปักปิดขวางช่วงปากคลอง ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถใช้ประโยชน์สัญจรผ่านไปมาในคลองเพื่อออกสู่แม่น้ำได้นั้น การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ตาม ป.อ. มาตรา 360 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จึงไม่อาจอาศัยบทเบาตาม ป. ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง มาบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินซึ่งจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองตามที่โจทก์ขอได้