พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3314/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดครองคลองสาธารณะโดยการกีดขวางทางน้ำถือเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
การที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองคลองควายซึ่งเป็นคลองสาธารณะโดยใช้เสาคอนกรีตปักปิดขวางช่วงปากคลอง ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่สามารถใช้ประโยชน์สัญจรผ่านไปมาในคลองเพื่อออกสู่แม่น้ำได้นั้น การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน และฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ที่ใช้หรือมีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ ตาม ป.อ. มาตรา 360 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จึงไม่อาจอาศัยบทเบาตาม ป. ที่ดิน มาตรา 108 ทวิ วรรคสอง มาบังคับให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินซึ่งจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองตามที่โจทก์ขอได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อเลิกได้ทันทีหากผิดนัดชำระ ตามข้อตกลง แม้ขัดกับบทบัญญัติกฎหมาย แต่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย
ข้อสัญญาระบุว่า กรณีผู้เช่าซื้อผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้องวดหนึ่งงวดใดให้ถือว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันทันทีโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ซึ่งข้อสัญญาดังกล่าวแม้จะมีข้อความแตกต่างจากบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 วรรคแรก แต่กฎหมายบทนี้มิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงใช้บังคับได้
ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด และคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,345 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่าจำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด และคดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันมีเพียง 32,345 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบก่อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2377/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีก่อสร้างอาคารผิดกฎหมาย เริ่มนับจากก่อสร้างเสร็จ โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีอายุความ 5 ปี
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 เกิดเป็นความผิดขึ้นเริ่มแต่วันทำการก่อสร้างอาคารติดต่อเนื่องกันไปจนถึงวันทำการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องจึงเริ่มนับถัดจากวันที่การก่อสร้างอาคารเสร็จลง การที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปี 2535 การกระทำของจำเลยจึงเกิดเป็นความผิดเริ่มตั้งแต่ปี 2532 ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2535 ซึ่งเป็นปีที่การก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องจึงเริ่มนับถัดจากปี 2535 เป็นต้นไป เมื่อฐานความผิดดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องและได้ตัวจำเลยมาส่งศาลในเดือนธันวาคม 2538คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความปฏิบัติหน้าที่หลังถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความ ถือละเมิดอำนาจศาล
คณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 43 แล้วย่อมมีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาขาดจากการเป็นทนายความตามมาตรา 44(4) ทันทีแม้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความได้แต่การอุทธรณ์ไม่ถือว่าเป็นการทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความ ดังนั้นเมื่อผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดกระทำหน้าที่เป็นทนายความในระหว่างที่รอฟังคำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เพราะในระหว่างนั้นผู้ถูกกล่าวหาต้องห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ทนายความตามมาตรา 33
ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความตั้งแต่วันที่ 10เมษายน 2540 แต่ว่าความให้แก่จำเลยเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ 22 เมษายน 2542จึงขอถอนตัวจากการเป็นทนายความ การกระทำผู้ถูกกล่าวหาย่อมเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
การปฏิบัติหน้าที่ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในแต่ละครั้งถือเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว ทั้งผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี จึงนับโทษติดต่อกันได้
ผู้ถูกกล่าวหาได้ทราบคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความตั้งแต่วันที่ 10เมษายน 2540 แต่ว่าความให้แก่จำเลยเรื่อยมาจนกระทั่งวันที่ 22 เมษายน 2542จึงขอถอนตัวจากการเป็นทนายความ การกระทำผู้ถูกกล่าวหาย่อมเป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาล อันเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
การปฏิบัติหน้าที่ทนายความของผู้ถูกกล่าวหาในแต่ละครั้งถือเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว ทั้งผู้ถูกกล่าวหากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี จึงนับโทษติดต่อกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2174/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความถูกจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียน การปฏิบัติหน้าที่ทนายความโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และละเมิดอำนาจศาล
คำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความที่ให้จำหน่ายชื่อผู้ถูกกล่าวหาออกจากทะเบียนทนายความตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 43 ย่อมมีผลให้ผู้ถูกกล่าวหาขาดจากการเป็นทนายความตามมาตรา 44 (4) ทันที แม้ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความเพื่อให้วินิจฉัยอีกชั้นหนึ่งได้ การอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวก็ไม่ถือว่าเป็นการทุเลาคำสั่งของคณะกรรมการสภาทนายความ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาทราบว่าคณะกรรมการสภาทนายความมีคำสั่งให้จำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนทนายความแล้ว ผู้ถูกกล่าวหาต้องหยุดกระทำหน้าที่เป็นทนายความในระหว่างที่รอฟังคำวินิจฉัยของสภานายกพิเศษแห่งสภาทนายความ เพราะในระหว่างนั้นผู้ถูกกล่าวหาต้องห้ามมิให้ปฏิบัติหน้าที่ทนายความตามมาตรา 33
ผู้ถูกกล่าวหาทำการเป็นทนายความในแต่ละครั้งถือว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว และเมื่อผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่ทนายความขณะถูกห้ามทำการเป็นทนายความเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี ศาลให้นับโทษติดต่อกันได้.
ผู้ถูกกล่าวหาทำการเป็นทนายความในแต่ละครั้งถือว่าเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระกัน จึงเป็นการกระทำความผิดหลายกรรมมิใช่กรรมเดียว และเมื่อผู้ถูกกล่าวหาปฏิบัติหน้าที่ทนายความขณะถูกห้ามทำการเป็นทนายความเป็นการกระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลหลายคดี ศาลให้นับโทษติดต่อกันได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์เมื่อจำเลยย้ายที่อยู่และไม่แจ้งย้ายทะเบียนบ้าน ถือว่าเป็นการส่งโดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยจงใจขาดนัด
การที่โจทก์ยื่นฟ้องแล้วมีการส่งหมายเรียก สำเนาคำฟ้องแก่จำเลยตามหลักฐานทะเบียนบ้าน ซึ่งถือว่าเป็นภูมิลำเนาตามกฎหมายโดยผลการส่งหมายได้ความจากมารดาจำเลยว่า บ้านจำเลยมีแต่บ้านเลขที่ทางทะเบียน ไม่มีตัวบ้านจึงไม่สามารถส่งหมายแก่จำเลยตามภูมิลำเนาที่ปรากฏในทะเบียนบ้านได้ ศาลจึงอนุญาตตามคำขอของโจทก์ให้ส่งโดยวิธีอื่นแทน โดยประกาศให้จำเลยยื่นคำให้การแก้คดีและแจ้งวันนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบทางหนังสือพิมพ์ กรณีดังกล่าวถือว่าได้มีการส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยเองก็ยอมรับในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ว่าจำเลยย้ายที่อยู่โดยไม่แจ้งย้ายภูมิลำเนาในทะเบียนบ้าน จึงไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยยึดถือเอาถิ่นที่อยู่ใดเป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามกฎหมาย เมื่อมีการประกาศหนังสือพิมพ์ให้จำเลยทราบวันยื่นคำให้การแก้คดีและวันนัดสืบพยานโจทก์แล้ว จำเลยไม่ยื่นคำให้การแก้คดีภายในกำหนดและไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานโจทก์ จึงถือว่าจำเลยจงใจขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ไม่อาจขอให้มีการพิจารณาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความบกพร่องของศาลในการแจ้งคำสั่งขยายเวลาอุทธรณ์ ถือเป็นเหตุสุดวิสัย ทำให้โจทก์ยื่นคำร้องขยายเวลาครั้งที่สองได้
หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์แถลงขอคัดสำเนาในวันรุ่งขึ้นต่อมาอีก 1 เดือนโจทก์ยื่นคำร้องว่ายังไม่ได้รับสำเนาคำพิพากษาจึงขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน ศาลชั้นต้นสั่งในวันถัดมาว่าอนุญาตให้ขยายระยะเวลาแต่กำหนดวันให้น้อยกว่าที่โจทก์ขอ ซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่จะต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบเพราะศาลชั้นต้นมิได้สั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นคำร้อง เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้โจทก์ทราบแต่อย่างใด จะถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วมิได้ เหตุที่เกิดขึ้นมิใช่ความผิดของโจทก์ หากแต่เกิดจากความบกพร่องของศาลชั้นต้นเอง นับว่าเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ครั้งที่สองก่อนสิ้นระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดในครั้งแรกได้ กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ในครั้งที่สองต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ศาลแจ้งคำสั่งขยายเวลาอุทธรณ์ ความบกพร่องของศาลถือเป็นเหตุสุดวิสัย
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันถัดมาว่าอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์แต่น้อยกว่าระยะเวลาที่โจทก์ขอ แม้ท้ายคำร้องของโจทก์จะมีหมายเหตุข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในวันเดียวกันกับที่โจทก์ยื่นคำร้อง ศาลชั้นต้นจึงมีหน้าที่ต้องแจ้งคำสั่งให้โจทก์ทราบ เมื่อไม่ได้มีการแจ้งคำสั่งของศาลชั้นต้นให้โจทก์ทราบ จะถือว่าโจทก์ได้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วมิได้ การที่โจทก์ไม่ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์น้อยกว่าที่โจทก์ขอจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ หากแต่เหตุเกิดจากความบกพร่องของศาลชั้นต้นเองที่ไม่ดำเนินการแจ้งคำสั่งศาลให้โจทก์ทราบ กรณีดังกล่าวจึงนับว่าเป็นเหตุสุดวิสัย ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ตามคำร้องขอครั้งที่สองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอนาถาและการยุติของคำสั่งศาล การยื่นคำร้องใหม่เพื่อขอแสดงหลักฐานเพิ่มเติมหลังพ้นกำหนดอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาเนื่องจากคดีของโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้อง โจทก์มิได้อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย กลับยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้องและเป็นคนยากจน ดังนั้นปัญหาที่ว่าคดีโจทก์มีมูลที่จะฟ้องร้องหรือไม่ ย่อมยุติแล้วตามคำสั่งศาลชั้นต้น ถึงหากศาลจะอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมและได้ความว่าโจทก์เป็นคนยากจน ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะพิจารณาคำขอของโจทก์นั้นใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1714/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอฟ้องคดีอนาถาหลังศาลสั่งยกคำร้องแล้ว ถือเป็นปัญหาที่ยุติ ไม่สามารถขอพิจารณาใหม่ได้
เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของโจทก์ที่ขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถา เนื่องจากคดีของโจทก์ไม่มีมูลที่จะฟ้องร้องแล้ว
โจทก์ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย แต่โจทก์กลับยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้องและเป็นคนยากจน ดังนั้น ปัญหาที่ว่าคดีโจทก์มีมูลที่จะฟ้องร้องหรือไม่ จึงยุติแล้วตามคำสั่งศาลชั้นต้น ถ้าหากศาลจะอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมและได้ความว่าโจทก์เป็นคนยากจนก็ตาม ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะพิจารณาคำขอของโจทก์นั้นใหม่
โจทก์ต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นภายใน 7 วัน นับแต่วันมีคำสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย แต่โจทก์กลับยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าคดีของตนมีมูลที่จะฟ้องร้องและเป็นคนยากจน ดังนั้น ปัญหาที่ว่าคดีโจทก์มีมูลที่จะฟ้องร้องหรือไม่ จึงยุติแล้วตามคำสั่งศาลชั้นต้น ถ้าหากศาลจะอนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมและได้ความว่าโจทก์เป็นคนยากจนก็ตาม ก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จะพิจารณาคำขอของโจทก์นั้นใหม่