คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรัช ลิ้มวิชัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9842/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดส่วนตัวของกรรมการกองทุนสวัสดิการที่ลงนามกู้เงิน แม้กองทุนไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล
แม้จำเลยทั้งสามจะเป็นคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดสวัสดิการให้ส่วนราชการ และระเบียบการจัดสวัสดิการในส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และจำเลยทั้งสามกู้ยืมเงินในฐานะคณะกรรมการกองทุนดังกล่าว ก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการกองทุนสวัสดิการผู้บริหารสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอดังกล่าวมีสภาพเป็น นิติบุคคล หน่วยงานที่จำเลยอ้างว่าทำแทนไม่มีตัวตนอยู่ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยทั้งสามเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในหนังสือสัญญากู้ยืมและได้รับเงินกู้ไปจากผู้ให้กู้ จำเลยทั้งสามจึงต้องรับผิดเป็นส่วนตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9743/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ดุลพินิจไม่อนุญาตเลื่อนคดีและงดสืบพยานเมื่อมีเหตุจำเป็นทางการแพทย์ ศาลฎีกาพิพากษากลับ
ทนายโจทก์ขอเลื่อนคดีสองนัดแรกมีสาเหตุมาจากผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่จะมาเบิกความจำสถานที่นัดหมายผิดพลาด และจำเวลานัดหมายคลาดเคลื่อนมิใช่เกิดจากทนายโจทก์เพิกเฉย ทอดทิ้งคดี หรือไม่ตระเตรียมพยานมาเบิกความต่อศาลส่วนวันนัดครั้งที่สามเมื่อศาลไม่อนุญาตให้ทนายโจทก์เลื่อนคดีทนายโจทก์ก็ได้อ้างตนเองเข้าเบิกความเป็นพยาน เมื่อเบิกความเสร็จก็ได้พยายามติดต่อกับโจทก์ จนกระทั่งทราบว่าผู้รับมอบอำนาจโจทก์ที่จะนำเข้าเบิกความอยู่ระหว่าง การตั้งครรภ์และเจ็บป่วยไม่สามารถมาเบิกความในช่วงเช้าได้ จึงขอเลื่อนการสืบพยานโจทก์ออกไปก่อน กรณีดังกล่าว นับว่ามีเหตุจำเป็น แม้ทนายโจทก์จะเคยแถลงต่อศาลว่าจะไม่ขอเลื่อนคดีอีกหากไม่มีพยานมาศาลก็ไม่ติดใจสืบพยานโจทก์อีก ต่อไปก็ตาม ศาลก็ไม่อาจนำคำแถลงดังกล่าวมาเป็นเหตุไม่อนุญาตให้ทนายโจทก์เลื่อนคดีและงดสืบพยานโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9693/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในบริเวณสถานที่ตั้งศพ ไม่ถือเป็นสถานที่บูชาสาธารณะตามกฎหมาย
สถานที่เกิดเหตุเป็นบริเวณหน้าที่ตั้งศพอดีตเจ้าอาวาสซึ่งอยู่หน้ากุฎิเจ้าอาวาส เป็นเพียงสถานที่ในวัดที่จัดนำศพอดีตเจ้าอาวาสมาตั้งไว้เพื่อรอการพระราชทานเพลิงศพเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นสถานที่บูชาสาธารณะ จำเลยลัก ตู้รับเงินบริจาคซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าศพอดีตเจ้าอาวาสดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะตาม ป.อ. มาตรา 335 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9693/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานที่ตั้งศพไม่ใช่สถานที่บูชาสาธารณะ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่บูชา
สถานที่เกิดเหตุที่เป็นบริเวณหน้าที่ตั้งศพอดีตเจ้าอาวาสซึ่งอยู่หน้ากุฏิเจ้าอาวาส เป็นเพียงสถานที่ในวัดที่จัดนำศพอดีตเจ้าอาวาสมาตั้งไว้เพื่อรอการพระราชทานเพลิงศพเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นสถานที่บูชาสาธารณะ การที่จำเลยลักตู้รับเงินบริจาคซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าศพจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9629/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกันจากการครอบครองและใช้เครื่องวิทยุคมนาคมโดยไม่ได้รับอนุญาต และการพิจารณาโทษจำคุก
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันตามจำนวนเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ของกลางที่จำเลยมีและใช้โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานรวม 5 กรรม ซึ่งสามารถแยกการกระทำจากกันเป็นราย ๆ ไปได้ จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดแยกเป็นราย ๆ ไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันรวม 5 กระทง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9359/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ที่มิได้กล่าวรายละเอียดข้อคัดค้านชัดเจน และผลของการคำร้องถึงที่สุด
เดิมจำเลยยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 เพื่อขอพิจารณาคดีใหม่ต่อศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำร้องของจำเลยไม่มีรายละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาล ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสอง ให้ยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกาพิพากษายืน ผลของคดีที่ให้ยกคำร้องจึงเป็นที่สุด จำเลยไม่อาจขอแก้ไขเพิ่มเติมคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้ว และไม่อาจถือเอารายละเอียดต่าง ๆของคำร้องฉบับดังกล่าวมาเป็นส่วนหนึ่งของคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 26 พฤษภาคม 2543 ซึ่งจำเลยได้ยื่นต่อศาลในภายหลังได้ เพราะพ้นกำหนดระยะเวลา 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาให้แก่จำเลยแล้ว
การที่จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 24 มีนาคม 2541 โดยไม่ได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 208 วรรคสองนั้น เป็นความผิดพลาดบกพร่องของจำเลยเอง ไม่อาจถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ที่จะขยายระยะเวลาให้จำเลยยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ได้อีก ไม่ชอบที่ศาลจะรับคำร้องฉบับหลังไว้ไต่สวนต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9163/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ กรณีไม่มีกฎหมายกำหนดเฉพาะ อายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
การเรียกค่าเสียหายในส่วนของค่าขาดประโยชน์กรณีผิดสัญญาเช่าซื้อและสัญญาเช่าซื้อเลิกกันไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8930/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของผู้ให้เช่าซื้อในการยึดรถคืน แม้จะแจ้งให้ชำระเบี้ยปรับล่าช้าแล้ว
กรณีผู้เช่าซื้อผิดสัญญาชำระค่าซื้อล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ในสัญญาเป็นเหตุให้ผู้เช่าซื้อมีภาระต้องชำระเบี้ยปรับให้แก่ผู้ให้เช่าซื้อตามสัญญาเช่าซื้อ การที่ผู้ให้เช่าซื้อมีหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อชำระเบี้ยปรับพร้อมกับค่าเช่าซื้อในงวด ต่อไปเป็นการใช้สิทธิตามข้อกำหนดของสัญญาและไม่ถือว่าเป็นการลบล้างหรือสละสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ตามสัญญา ผู้ให้เช่าซื้อจึงยังมีสิทธิตามยึดรถคันที่เช่าซื้อคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8731/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คมีมูลหนี้ผิดกฎหมาย (ดอกเบี้ยเกินอัตรา) ไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค แม้โอนให้ผู้อื่น
อุทธรณ์ของโจทก์ว่า การที่จำเลยออกเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ให้แก่ ฝ. แทนเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4หรือไม่ โดยมิได้อุทธรณ์โต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นประการอื่น อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย
การที่จำเลยกู้ยืมเงิน ฝ. ฝ. คิดดอกเบี้ยจากจำเลยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำเลยออกเช็คฉบับแรกจำนวน 4,000,000 บาทให้แก่ ฝ. โดยรวมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือนไว้แล้ว ต่อมาธนาคารตามเช็คนั้นปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยจึงออกเช็คให้แก่ ฝ. จำนวน2 ฉบับ ฉบับละ 2,000,000 บาท ซึ่งรวมทั้งเช็คพิพาท แสดงให้เห็นว่าเช็คพิพาทซึ่งออกเพื่อชำระหนี้ตามเช็คฉบับแรกมีมูลหนี้อันเกิดจากการคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้รวมอยู่ ซึ่งการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คที่มีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คพิพาทของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามฟ้อง แม้ ฝ. จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์ไม่ทราบว่ามีดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วยก็ตาม ก็ไม่ทำให้การออกเช็คพิพาทของจำเลยซึ่งไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายกลับมาเป็นความผิดขึ้นมาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8625/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคิดดอกเบี้ยทบต้นก่อนวันสิ้นเดือนขัดต่อสัญญา การคำนวณหนี้ใหม่ตามข้อตกลง
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมีข้อความว่า ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้สำหรับเงินกู้จำนวนที่ได้เบิกไป โดยมีกำหนดชำระเงินรายเดือนทุก ๆ เดือน ภายในวันสิ้นเดือน ในเวลาทำงานของผู้ให้กู้ แต่ถ้าวันถึงกำหนดชำระดอกเบี้ยเช่นว่านี้ตรงกับวันหยุดงานของผู้ให้กู้ ก็ให้เลื่อนไปชำระในวันเปิดทำงานที่ถัดไป ดังนั้น การคิดดอกเบี้ยทบต้นก่อนวันสิ้นเดือนจึงขัดกับข้อสัญญาเป็นการไม่ชอบ ทำให้มูลหนี้ความรับผิดของจำเลยตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีผิดเพี้ยนไปจากความเป็นจริง จึงต้องคิดคำนวนหนี้ของจำเลยในส่วนนี้ใหม่ โดยให้คิดดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยทุกวันสิ้นเดือน แล้วนำดอกเบี้ยทบเข้ากับต้นเงินคงค้าง เพื่อถือเป็นต้นเงินของเดือนต่อไป
of 36