พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวการร่วมผลิตยาเสพติดและการเพิ่มโทษผู้กระทำผิดซ้ำระหว่างพักการลงโทษ
พ.ศ. 2539 มาตรา 4
พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6
จำเลยกับพวกมีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิด กรรมวิธีในการผลิตเมทแอมเฟตามีนมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่จัดหาสถานที่ จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนสารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานในการผลิต ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งย่อมถือว่าเป็นตัวการที่ร่วมกันกระทำความผิดแล้ว ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทุกขั้นตอนจนสำเร็จ ดังนั้น จำเลยจึงไม่จำต้องเป็นผู้ลงมือปรุงหรืออัดเม็ดเมทแอมเฟตามีนด้วยตนเอง การกระทำความผิดของจำเลยกับพวกเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ ถือว่าเป็นตัวการร่วมกัน
จำเลยมากระทำผิดอาญาขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตาม พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 43 กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ข้อ 93 (1) และ 94 (ก) และ พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ. ล้างมลทิน ฯ มาตรา 4
พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6
จำเลยกับพวกมีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิด กรรมวิธีในการผลิตเมทแอมเฟตามีนมีหลายขั้นตอน ตั้งแต่จัดหาสถานที่ จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนสารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งแรงงานในการผลิต ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งย่อมถือว่าเป็นตัวการที่ร่วมกันกระทำความผิดแล้ว ไม่จำเป็นที่ต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทุกขั้นตอนจนสำเร็จ ดังนั้น จำเลยจึงไม่จำต้องเป็นผู้ลงมือปรุงหรืออัดเม็ดเมทแอมเฟตามีนด้วยตนเอง การกระทำความผิดของจำเลยกับพวกเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ ถือว่าเป็นตัวการร่วมกัน
จำเลยมากระทำผิดอาญาขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตาม พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 43 กฎกระทรวงมหาดไทย ออกตามความในมาตรา 58 แห่ง พ.ร.บ. ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ข้อ 93 (1) และ 94 (ก) และ พ.ร.ฎ. พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2539 มาตรา 6 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี พ.ศ. 2539 ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทินตาม พ.ร.บ. ล้างมลทิน ฯ มาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7830/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดซ้ำระหว่างพักการลงโทษ ทำให้ไม่ได้รับการล้างมลทิน และศาลมีอำนาจเพิ่มโทษได้
การที่จำเลยกระทำผิดอาญาคดีนี้ขึ้นอีกในระหว่างได้รับการพักการลงโทษเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษตามพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ฯ กฎกระทรวงมหาดไทย ข้อ 93ออกตามความในพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ฯ มาตรา 58 และพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษฯ มาตรา 6 จำเลยจึงมิใช่ผู้ซึ่งพ้นโทษไปแล้ว ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปีฯ ใช้บังคับ จำเลยจึงไม่ได้รับการล้างมลทินตามพระราชบัญญัติล้างมลทินในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปีฯ มาตรา 4 ศาลชั้นต้น ย่อมมีอำนาจเพิ่มโทษจำเลยได้
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 กับพวก มีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิดกรรมวิธีในการผลิตมีหลายขั้นตอนตั้งแต่จัดหาสถานที่จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี และแรงงาน ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดตอนหนึ่ง ย่อมถือว่าเป็นตัวการร่วมจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาเครื่องอัดเม็ดและสารเคมี โดยค้นพบผงเมทแอมเฟตามีนหัวเชื้อ อุปกรณ์การผลิตได้ที่บ้านของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกถือว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นตัวการร่วมกันผลิต
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 กับพวก มีการติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิดกรรมวิธีในการผลิตมีหลายขั้นตอนตั้งแต่จัดหาสถานที่จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ สารเคมี และแรงงาน ผู้เข้าร่วมในขั้นตอนใดตอนหนึ่ง ย่อมถือว่าเป็นตัวการร่วมจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดหาเครื่องอัดเม็ดและสารเคมี โดยค้นพบผงเมทแอมเฟตามีนหัวเชื้อ อุปกรณ์การผลิตได้ที่บ้านของจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 กับพวกถือว่าเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จึงเป็นตัวการร่วมกันผลิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7795/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมในคดีฟ้องร้องหนี้สิน เนื่องจากพยานที่เสนอไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับข้อพิพาท
ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยมิได้มีส่วนใดเกี่ยวพันไปถึงงานในหน้าที่ของผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินแต่อย่างใด เมื่อโจทก์ถูกปิดกิจการและกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินเข้าควบคุมกิจการของโจทก์ ในช่วงนี้หากจะมีการโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินของจำเลยที่ 1 ให้แก่กองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กรณีดังกล่าวก็เป็นเพียงขั้นตอนและวิธีการในการเข้าควบคุมกิจการของโจทก์ เพื่อมิให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนผู้มีธุรกรรมกับโจทก์โดยทั่วไป จำเลยที่ 1 และที่ 3 ให้การต่อสู้คดีว่าตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นเอกสารปลอม จำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมสามารถขอตรวจพิสูจน์ความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าวได้อยู่แล้ว หามีความจำเป็นต้องขอหมายเรียกผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาเป็นพยานไม่
การทำสัญญาผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่สินเชื่อกับจำเลยทั้งสาม ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ได้นำเจ้าหน้าที่สินเชื่อผู้มีหน้าที่และรู้เห็นในการทำสัญญากับจำเลยทั้งสามมาเบิกความเป็นพยานแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมสามารถซักค้านได้อย่างเต็มที่ผู้จัดการเฉพาะกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนนคร จำกัด (มหาชน) เพิ่งได้รับแต่งตั้งหลังจากทางราชการได้เข้าควบคุมกิจการของโจทก์ และเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 อ้างว่าจำเป็นต้องขอระบุพยานเพิ่มเติม เพราะศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ขอหมายเรียกผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาเป็นพยานนั้น ผู้จัดการเฉพาะกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนนคร จำกัด (มหาชน) และผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีอำนาจและบทบาทในแต่ละองค์กรแยกต่างหากจากกัน หน้าที่ของแต่ละคนคงมีอยู่เฉพาะในองค์กรที่ตนรับผิดชอบเท่านั้น กรณีดังกล่าวย่อมไม่สามารถนำคำเบิกความของแต่ละคนมาทดแทนกันได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ระบุพยานเพิ่มเติมชอบแล้ว
การทำสัญญาผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสามเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่สินเชื่อกับจำเลยทั้งสาม ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็ได้นำเจ้าหน้าที่สินเชื่อผู้มีหน้าที่และรู้เห็นในการทำสัญญากับจำเลยทั้งสามมาเบิกความเป็นพยานแล้ว ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 3 ย่อมสามารถซักค้านได้อย่างเต็มที่ผู้จัดการเฉพาะกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนนคร จำกัด (มหาชน) เพิ่งได้รับแต่งตั้งหลังจากทางราชการได้เข้าควบคุมกิจการของโจทก์ และเป็นเวลาภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 อ้างว่าจำเป็นต้องขอระบุพยานเพิ่มเติม เพราะศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ขอหมายเรียกผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาเป็นพยานนั้น ผู้จัดการเฉพาะกิจบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ธนนคร จำกัด (มหาชน) และผู้จัดการกองทุนฟื้นฟูเพื่อพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีอำนาจและบทบาทในแต่ละองค์กรแยกต่างหากจากกัน หน้าที่ของแต่ละคนคงมีอยู่เฉพาะในองค์กรที่ตนรับผิดชอบเท่านั้น กรณีดังกล่าวย่อมไม่สามารถนำคำเบิกความของแต่ละคนมาทดแทนกันได้ ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 และที่ 3 ระบุพยานเพิ่มเติมชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7299/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชัดเจนของผู้เอาประกันภัยในคดีประกันภัยรถยนต์ ฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้ไม่ได้ระบุชื่อผู้เอาประกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้ครอบครองและผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ จำเลยที่ 2 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดมีวัตถุประสงค์ประกอบธุรกิจประกันภัย จำเลยที่ 2 ได้รับประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวไว้ในลักษณะประกันภัยค้ำจุน ขณะเกิดเหตุยังอยู่ในระหว่างอายุสัญญาประกันภัย จำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันดังกล่าวโดยประมาทเลินเล่อทำให้รถยนต์โจทก์ถูกชนได้รับความเสียหาย ตามคำฟ้องโจทก์เป็นที่เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในรถยนต์คันเกิดเหตุ ย่อมอยู่ในฐานะเป็นผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวได้ จำเลยที่ 2 มิได้ปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน จำเลยที่ 2 จึงอาจต้อง รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากรถยนต์ที่รับประกันภัยไว้ ข้อที่ว่าจำเลยที่ 2 รับประกันภัยไว้จากผู้ใดเป็น ข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 2 ทราบดีอยู่แล้ว และเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา โจทก์ไม่ จำต้องบรรยายว่าผู้ใดเป็นผู้เอาประกันภัยอีก ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7164/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุผู้กระทำความผิดและดุลยพินิจศาลในการลงโทษ การลดโทษและการรอการลงโทษ
จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยไม่เหมาะสม ย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดโดยรอการลงโทษได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7164/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษและรอการลงโทษสำหรับผู้กระทำผิดอายุน้อย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษที่ไม่เหมาะสมตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขอให้รอการลงโทษ แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยไม่เหมาะสม ศาลฎีกามีอำนาจลงโทษจำเลยให้เหมาะสมแก่ความผิดได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7013/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยในคดียาเสพติด: ศาลอุทธรณ์ลดโทษไม่สอดคล้องกับพฤติการณ์และคำให้การ
จำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพชั้นจับกุมแต่ชั้นพิจารณาให้การปฏิเสธต่อสู้คดีตลอดมา ส่วนจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพตั้งแต่ชั้นจับกุมตลอดมาจนถึงชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นวางโทษจำคุกแล้วลดโทษให้จำเลยที่ 2 หนึ่งในสามและลดโทษให้จำเลยที่ 3กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โจทก์และจำเลยที่ 1อุทธรณ์ ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 พอใจในผลของคำพิพากษามิได้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษจำคุกจำเลยทั้งสามแต่กลับลดโทษให้จำเลยที่ 2 กึ่งหนึ่ง และลดโทษให้จำเลยที่ 3หนึ่งในสาม ทั้งที่จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธต่อสู้คดีคงให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมเท่านั้น และจำเลยที่ 2 ก็พอใจในผลของคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้อุทธรณ์ ส่วนจำเลยที่ 3 นั้นปรากฏว่าจำเลยที่ 3 ให้การรับสารภาพตั้งแต่ชั้นจับกุมตลอดถึงชั้นพิจารณาของศาล ศาลชั้นต้นลดโทษให้กึ่งหนึ่ง แต่ศาลอุทธรณ์กลับลดโทษให้หนึ่งในสามและให้จำคุกจำเลยที่ 3 เกินกว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดโดยที่โจทก์ไม่ได้อุทธรณ์ขอให้เพิ่มโทษจำเลยที่ 3 แต่อย่างใดกรณีดังกล่าว ศาลอุทธรณ์มิได้ให้เหตุผลว่าใช้บทกฎหมายหรือดุลพินิจอย่างไรในการลดโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากลักษณะปกติโดยทั่วไป ดังนั้น คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ส่วนนี้จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6426/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันกระทำความผิดเช็คคือวันปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่วันมอบเช็ค แม้ฟ้องผิดพลาดก็ไม่กระทบสาระสำคัญ
วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คถือว่าเป็นวันการกระทำความผิดเกิด ส่วนวันที่มอบเช็คแก่กันมิใช่วันกระทำความผิด ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าวันที่ 25 ธันวาคม 2541 เวลากลางวัน จำเลยออกเช็คพิพาทลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 มอบให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระหนี้ ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 เวลากลางวัน เห็นได้ชัดว่าโจทก์พิมพ์ฟ้องเกี่ยวกับวันที่จำเลยมอบเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมผิดพลาด ซึ่งทางพิจารณาก็ได้ความว่าจำเลยมอบเช็คให้โจทก์ร่วมเมื่อเดือนมีนาคม 2541 การที่โจทก์บรรยายฟ้องผิดพลาดเช่นนี้ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ถือได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องถึงวันออกเช็คพิพาทอันเป็นวันกระทำความผิดและวันธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอันเป็นวันความผิดเกิด จึงเป็นการบรรยายการกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดแล้ว (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาครั้งที่ 7/2544)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6426/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของวันออกเช็คและวันปฏิเสธการจ่ายเงินในคดีเช็ค ความผิดพลาดในการบรรยายฟ้องที่ไม่กระทบต่อการดำเนินคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2541 จำเลยออกเช็คลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 มอบให้โจทก์ร่วม แต่วันที่มอบเช็คให้แก่กันมิใช่วันกระทำความผิด จึงมิใช่ข้อสำคัญที่ต้องบรรยายมาในฟ้อง การที่โจทก์บรรยายฟ้องที่เป็นไปไม่ได้เช่นนั้นเนื่องจากโจทก์พิมพ์ฟ้องเกี่ยวกับวันที่จำเลยมอบเช็คให้โจทก์ร่วมผิดพลาด ซึ่งทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยมอบเช็คให้โจทก์ร่วมเมื่อเดือนมีนาคม 2541 การที่โจทก์บรรยายฟ้องผิดพลาดในข้อที่มิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงหาทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6223/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินกฎหมายและการหักกลบลบหนี้: จำเลยไม่สามารถนำดอกเบี้ยที่ชำระไปแล้วซึ่งเป็นโมฆะมาหักกลบลบหนี้ได้ และดอกเบี้ยระหว่างเวลาผิดนัดชอบแล้ว
การที่จำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยเงินกู้เกินอัตราตามกฎหมายให้แก่โจทก์ไปแล้วเท่ากับเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจ โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ จำเลยจึงหามีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยจำนวนที่ชำระไปแล้วคืนไม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะนำไปหักกลบลบหนี้กับต้นเงินที่จำเลยยังไม่ได้ชำระหรือถือเอาว่าเป็นการชำระหนี้ต้นเงินกู้บางส่วนตามสัญญาแล้วได้
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยชำระไปแล้วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาแก่จำเลยแต่โจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5ต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเริ่มนับแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถาม ดังนั้น ดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด หาใช่ดอกเบี้ยตามสัญญาซึ่งโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยไม่ เมื่อหนังสือทวงถามครบกำหนดชำระหนี้ในวันที่ 29 ตุลาคม 2541ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันดังกล่าวจึงชอบแล้ว
ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่าดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยชำระไปแล้วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาแก่จำเลยแต่โจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5ต่อปีได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งเริ่มนับแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2541 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถาม ดังนั้น ดอกเบี้ยที่จำเลยต้องชำระตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 จึงเป็นดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัด หาใช่ดอกเบี้ยตามสัญญาซึ่งโจทก์ขอให้บังคับเอาแก่จำเลยไม่ เมื่อหนังสือทวงถามครบกำหนดชำระหนี้ในวันที่ 29 ตุลาคม 2541ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันดังกล่าวจึงชอบแล้ว