พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการผลิตยาเสพติด: จำเลยจัดหาสารเคมีแต่ไม่ร่วมผลิต ไม่ผิดฐานสนับสนุนการมีไว้ในครอบครอง และไม่สามารถปรับบทลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดได้
จำเลยเพียงแต่จัดหาสารเคมีเพื่อใช้ผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ให้แก่กลุ่มผู้ผลิต แต่มิได้เข้าไปร่วมผลิตหรือกระทำการใดอันเป็นการสนับสนุนให้จำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ ในประเภท 2 ที่ผลิตขึ้น จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต คงมีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวผลิตเมทแอมเฟตามีน อีกทั้งจะนำ พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพ.ศ. 2534 มาตรา 6 (1) มาปรับบทโดยระวางโทษจำเลยเช่นเดียวกับตัวการก็มิได้ เพราะคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้อ้างถึง พ.ร.บ. ฉบับนี้มาเป็นบทที่ขอให้ลงโทษจำเลย ย่อมถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการผลิตยาเสพติด: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิมว่าจำเลยมีความผิดฐานสนับสนุนการผลิต แต่ไม่มีความผิดฐานสนับสนุนการครอบครอง
เจ้าพนักงานผู้ทำหน้าที่สืบสวนและจับกุมได้ดำเนินงานสืบสวนเป็นระบบขั้นตอนและต้องใช้ระยะเวลาต่อเนื่องนานถึงหนึ่งเดือนครึ่งจึงจับกุมจำเลยแปดคนในคดีอาญาอีกคดีหนึ่ง อีกทั้งในการปฏิบัติงานก็ได้มีการถ่ายรูปและทำรายงานการปฏิบัติงานไว้โดยตลอด ทั้งสารเคมีที่ตรวจยึดได้มีลักษณะเดียวกันกับถังสารเคมีที่มีผู้ไปรับจากจำเลย จึงมีน้ำหนักรับฟังได้แน่ชัดแล้วว่าจำเลยร่วมอยู่ในขบวนการของกลุ่มในการลักลอบผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 โดยสนับสนุนจำเลยแปดคนในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งผลิตเมทแอมเฟตามีนตามฟ้อง ส่วนการที่เจ้าพนักงานมิได้จับกุมจำเลยในขณะที่เห็นเหตุการณ์นั้น เนื่องจากคนร้ายกลุ่มนี้กระทำผิดเป็นขบวนการ การที่เจ้าพนักงานจะเข้าจับกุมทันทีในเหตุการณ์ตอนหนึ่งตอนใดหรือไม่ ย่อมเป็นไปได้ที่จะต้องคำนึงถึงผลสำเร็จในการปราบปรามในภาพรวมทั้งหมดเป็นสำคัญการไม่เข้าจับกุมจำเลยทันทีจึงหาเป็นข้อผิดปกติไม่
จำเลยเพียงแต่จัดหาสารเคมีเพื่อใช้ผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ให้แก่กลุ่มผู้ผลิต แต่มิได้เข้าไปร่วมผลิตหรือกระทำการใดอันเป็นการสนับสนุนให้จำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ที่ผลิตขึ้นจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต คงมีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวผลิตเมทแอมเฟตามีน อีกทั้งจะนำพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 6(1) มาปรับบทโดยระวางโทษจำเลยเช่นเดียวกับตัวการก็มิได้ เพราะคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้อ้างถึงพระราชบัญญัติฉบับนี้มาเป็นบทที่ขอให้ลงโทษจำเลย ย่อมถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
จำเลยเพียงแต่จัดหาสารเคมีเพื่อใช้ผลิตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ให้แก่กลุ่มผู้ผลิต แต่มิได้เข้าไปร่วมผลิตหรือกระทำการใดอันเป็นการสนับสนุนให้จำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ที่ผลิตขึ้นจำเลยจึงไม่มีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวมีวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 2 ไว้ในครอบครองโดยมิได้รับอนุญาต คงมีความผิดฐานสนับสนุนจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวผลิตเมทแอมเฟตามีน อีกทั้งจะนำพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 6(1) มาปรับบทโดยระวางโทษจำเลยเช่นเดียวกับตัวการก็มิได้ เพราะคำขอท้ายฟ้องของโจทก์มิได้อ้างถึงพระราชบัญญัติฉบับนี้มาเป็นบทที่ขอให้ลงโทษจำเลย ย่อมถือว่าโจทก์ไม่ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิจากสัญญาประกันภัย และความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน แม้ลายมือชื่อในสัญญาประกันภัยไม่สมบูรณ์
ผู้รับประกันภัยรับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยสำหรับความเสียหายในการขนส่งอุปกรณ์ไฟฟ้า เมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เอาประกันภัยเสียหายและผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิที่จะฟ้องผู้ทำละเมิดและจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนของผู้ทำละเมิดได้แม้กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างผู้รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัยจะลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลไม่ถูกต้องตามตราสารข้อบังคับ ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญาประกันภัย จำเลยร่วมหาอาจยกมาเป็นเหตุให้ตนหลุดพ้นจากความรับผิดได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2081/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล: ความรับผิดของผู้รับประกันภัยและขอบเขตความคุ้มครอง
ผู้รับประกันภัยรับประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยสำหรับความเสียหายในการขนส่งอุปกรณ์ไฟฟ้าทางทะเลจากประเทศญี่ปุ่นมายังประเทศไทย เมื่ออุปกรณ์ไฟฟ้าที่เอาประกันภัยได้รับความเสียหายและผู้รับประกันภัยได้ชดใช้ ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิที่จะฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุนของผู้ทำละเมิดได้ แม้กรมธรรม์ประกันภัยระหว่างผู้รับประกันภัยและ ผู้เอาประกันภัยจะลงลายมือชื่อกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคลไม่ถูกต้องตามตราสารข้อบังคับ ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้รับประกันภัยกับผู้เอาประกันภัยที่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีตามสัญญา ประกันภัย จำเลยร่วมซึ่งมิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประกันภัยนั้นหาอาจยกมาเป็นเหตุให้ตนหลุดพ้นจากความรับผิดได้ไม่
หม้อแปลงไฟฟ้าที่ขนส่งซึ่งได้รับความเสียหายมีขนาดใหญ่ไม่ปรากฏว่า มีบริษัทหรือหน่วยงานแห่งใดในประเทศไทยเคยสร้างและซ่อมแซมมาก่อน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นย่อมต้องจัดการซ่อมแซมให้ดีที่สุด เพราะหาก ซ่อมแซมไม่ดีแล้วการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำไปใช้งานก็อาจกระทบกระเทือนถึงประชาชนโดยส่วนรวม ดังนั้น การที่บริษัท ซ. ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นบริษัทที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่าจ้างให้ออกแบบก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดราชบุรีพร้อมทั้งจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตัดสินใจส่งหม้อแปลงไฟฟ้านั้นกลับไปให้บริษัท ฟ. ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตซ่อมแซม จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุผลแล้ว และค่าเสียหายที่บริษัท ซ. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถเรียกร้องจากโจทก์ผู้รับประกันภัยได้นอกจากค่าซ่อมแซมแล้ว ย่อมรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นอันจำเป็น เช่น ค่าขนส่งและค่าภาษีอากรในการส่งมอบหม้อแปลงไฟฟ้าไปซ่อมและส่งกลับมาติดตั้งยังสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจรับจ้างขนส่งรับขนส่งสิ่งของจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยไปส่งยังสถานที่ต่าง ๆ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญารับจ้างขนส่งหม้อแปลงไฟฟ้ากับบริษัท ซ. ไปส่งที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอบเขตของงานตามสัญญาจ้าง นับแต่จำเลยที่ 1 รับมอบสินค้าจากเรือไปส่งและขนถ่ายลงยังสถานที่ตั้งของแต่ละโครงการเป็นไปตามที่กำหนดโดยผู้ว่าจ้างคือที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยร่วมเพื่อประกันความเสียหายเฉพาะการขนถ่ายสินค้าในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้าง ทั้งปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุแล้วจำเลยร่วมก็ได้ว่าจ้างบริษัท ศ. และบริษัท ย. เข้าสำรวจความเสียหายของหม้อแปลงไฟฟ้า และเป็นผู้ชำระเงินค่าสำรวจความเสียหายให้แก่บริษัททั้งสอง ซึ่งหากจำเลยร่วมเห็นว่าจำเลยร่วมไม่มีความรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยในกรณีดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จำเลยร่วมจะต้องเข้ามาเป็นธุระดำเนินการสำรวจความเสียหาย สำหรับถ้อยคำว่า Terminal ในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแปลว่าสถานีนั้นมีความหมายได้ทั้งสถานีต้นทางและปลายทาง เมื่อพิจารณาถ้อยคำในกรมธรรม์ประกันภัยประกอบพยานหลักฐานและพฤติการณ์อื่นแล้ว สถานีปลายทางตามกรมธรรม์ประกันภัย ย่อมมีความหมายถึงสถานที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องนำหม้อแปลงไฟฟ้าไปส่งให้แก่ผู้ว่าจ้างที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์หาได้หมายความถึงการขนถ่ายสินค้าเฉพาะบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้างไม่ ดังนั้นเมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเกิดความเสียหายขณะที่ยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อวางยังสถานที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
หม้อแปลงไฟฟ้าที่ขนส่งซึ่งได้รับความเสียหายมีขนาดใหญ่ไม่ปรากฏว่า มีบริษัทหรือหน่วยงานแห่งใดในประเทศไทยเคยสร้างและซ่อมแซมมาก่อน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้นย่อมต้องจัดการซ่อมแซมให้ดีที่สุด เพราะหาก ซ่อมแซมไม่ดีแล้วการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยนำไปใช้งานก็อาจกระทบกระเทือนถึงประชาชนโดยส่วนรวม ดังนั้น การที่บริษัท ซ. ในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นบริษัทที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยว่าจ้างให้ออกแบบก่อสร้างสถานีไฟฟ้าย่อยที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดราชบุรีพร้อมทั้งจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยตัดสินใจส่งหม้อแปลงไฟฟ้านั้นกลับไปให้บริษัท ฟ. ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ผลิตซ่อมแซม จึงเป็นเรื่องที่สมเหตุผลแล้ว และค่าเสียหายที่บริษัท ซ. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยสามารถเรียกร้องจากโจทก์ผู้รับประกันภัยได้นอกจากค่าซ่อมแซมแล้ว ย่อมรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นอันจำเป็น เช่น ค่าขนส่งและค่าภาษีอากรในการส่งมอบหม้อแปลงไฟฟ้าไปซ่อมและส่งกลับมาติดตั้งยังสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ด้วย
จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจรับจ้างขนส่งรับขนส่งสิ่งของจากการท่าเรือแห่งประเทศไทยไปส่งยังสถานที่ต่าง ๆ จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญารับจ้างขนส่งหม้อแปลงไฟฟ้ากับบริษัท ซ. ไปส่งที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ขอบเขตของงานตามสัญญาจ้าง นับแต่จำเลยที่ 1 รับมอบสินค้าจากเรือไปส่งและขนถ่ายลงยังสถานที่ตั้งของแต่ละโครงการเป็นไปตามที่กำหนดโดยผู้ว่าจ้างคือที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยที่ 1 จะทำสัญญาประกันภัยกับจำเลยร่วมเพื่อประกันความเสียหายเฉพาะการขนถ่ายสินค้าในบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้าง ทั้งปรากฏว่าหลังจากเกิดเหตุแล้วจำเลยร่วมก็ได้ว่าจ้างบริษัท ศ. และบริษัท ย. เข้าสำรวจความเสียหายของหม้อแปลงไฟฟ้า และเป็นผู้ชำระเงินค่าสำรวจความเสียหายให้แก่บริษัททั้งสอง ซึ่งหากจำเลยร่วมเห็นว่าจำเลยร่วมไม่มีความรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยในกรณีดังกล่าวแล้ว ก็ไม่มีความจำเป็นที่จำเลยร่วมจะต้องเข้ามาเป็นธุระดำเนินการสำรวจความเสียหาย สำหรับถ้อยคำว่า Terminal ในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งแปลว่าสถานีนั้นมีความหมายได้ทั้งสถานีต้นทางและปลายทาง เมื่อพิจารณาถ้อยคำในกรมธรรม์ประกันภัยประกอบพยานหลักฐานและพฤติการณ์อื่นแล้ว สถานีปลายทางตามกรมธรรม์ประกันภัย ย่อมมีความหมายถึงสถานที่ที่จำเลยที่ 1 จะต้องนำหม้อแปลงไฟฟ้าไปส่งให้แก่ผู้ว่าจ้างที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์หาได้หมายความถึงการขนถ่ายสินค้าเฉพาะบริเวณการท่าเรือแห่งประเทศไทยตามที่จำเลยร่วมกล่าวอ้างไม่ ดังนั้นเมื่อหม้อแปลงไฟฟ้าเกิดความเสียหายขณะที่ยกลงจากรถยนต์บรรทุกเพื่อวางยังสถานที่ตั้งสถานีไฟฟ้าย่อยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งเป็นสถานีปลายทาง จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาประกันภัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งหนี้และบังคับจำนอง - ยอดหนี้ที่แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟ้องร้อง หากเคยแจ้งหนี้เดิมแล้ว
ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว แม้ต่อมาโจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องในส่วนหนี้ที่จำเลยค้างชำระ ทำให้ยอดหนี้ใหม่มีจำนวนสูงกว่าที่ปรากฏในหนังสือที่โจทก์ได้แจ้งให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองก็ตาม แต่จำนวนหนี้ที่ระบุในหนังสือดังกล่าวนั้นมิใช่ข้อสาระสำคัญ โจทก์จึงไม่จำต้องแจ้งให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองในหนี้ส่วนที่เพิ่มขึ้นอีกแต่อย่างใด เพราะหนี้จำนวนดังกล่าวก็เป็นหนี้ที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์นั่นเอง ถือได้ว่าโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนองก่อนฟ้องคดีโดยชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้เลื่อนไต่สวนและคำสั่งยกคำร้องขอเป็นผู้จัดการทรัพย์จำนอง รวมถึงผลของการอุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์จำนองตาม ป.วิ.พ.มาตรา307 ในระหว่างการไต่สวน จำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นเห็นว่าพฤติการณ์ของจำเลยส่อแสดงว่าจะประวิงการบังคับคดี จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนต่อไปอีก และมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเท่ากับศาลชั้นต้นได้พิจารณาในเนื้อหาของคำร้องแล้วว่าไม่มีเหตุที่จะอนุญาตตามคำร้องของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรานี้จำเลยย่อมอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาอย่างใดแล้ว คำสั่งหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 307 วรรคสอง ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ.(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 มาตรา 14
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อุทธรณ์คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 307 วรรคสองหลังศาลชั้นต้นรับฎีกา
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์แทนการขายทอดตลาดที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์จำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 ในระหว่างการไต่สวน จำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายศาลชั้นต้นเห็นว่าพฤติการณ์ของจำเลยส่อแสดงว่าจะประวิงการบังคับคดี จึงไม่อนุญาตให้เลื่อนการไต่สวนต่อไปอีก และมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลย คำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเท่ากับศาลชั้นต้นได้พิจารณาในเนื้อหาของคำร้องแล้วว่าไม่มีเหตุที่จะอนุญาตตามคำร้องของจำเลยคำสั่งของศาลชั้นต้นตามมาตรานี้จำเลยย่อมอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ได้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งหรือคำพิพากษาอย่างใดแล้ว คำสั่งหรือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 วรรคสองซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542มาตรา 14
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ขับรถรับส่งคนร้ายปล้นทรัพย์ ไม่ได้มีส่วนร่วมโดยตรง ศาลตัดสินเป็นผู้สนับสนุน
จำเลยที่ 2 เพียงแต่ขับรถรับส่งกลุ่มคนร้ายด้วยกัน โดยไม่ปรากฏว่า ได้แบ่งหน้าที่กันทำหรือได้ร่วมอยู่ด้วยในที่เกิดเหตุขณะผู้เสียหายถูก กลุ่มคนร้ายร่วมกันปล้นรถจักรยานยนต์ผู้เสียหาย แม้ว่าหลังจากกลุ่มคนร้าย ปล้นรถจักรยานยนต์ได้แล้วนำไปเก็บที่ไร่ของจำเลยที่ 2 ก็ยังถือไม่ได้ว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับพวกกระทำผิด การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นเพียงการช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่กลุ่มคนร้ายในการปล้นทรัพย์ ผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 เท่านั้น แม้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับพวกกระทำความผิดศาลย่อมพิพากษา ลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดเป็นผู้สนับสนุนได้ กรณีเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยกบทกฎหมายขึ้นปรับกับการกระทำของจำเลยที่ 2 มิใช่กรณีข้อเท็จจริง ตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1704/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสนับสนุนการกระทำความผิด: ผู้ขับรถรับส่งกลุ่มคนร้ายไม่ใช่ตัวการร่วม แต่เป็นผู้สนับสนุน
จำเลยที่ 2 เพียงแต่ขับรถรับส่งกลุ่มคนร้ายด้วยกัน โดยไม่ปรากฏว่าได้แบ่งหน้าที่กันทำหรือได้ร่วมอยู่ด้วยในที่เกิดเหตุขณะผู้เสียหายถูกกลุ่มคนร้ายร่วมกันปล้นรถจักรยานยนต์ผู้เสียหาย แม้ว่าหลังจากกลุ่มคนร้ายปล้นรถจักรยานยนต์ได้แล้วนำไปเก็บที่ไร่ของจำเลยที่ 2 ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวการร่วมกับพวกกระทำผิด การกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นเพียงการช่วยเหลือให้ความสะดวกแก่กลุ่มคนร้ายในการปล้นทรัพย์ผู้เสียหาย จำเลยที่ 2 จึงมีความผิดเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดดังกล่าวตาม ป.อ.มาตรา 86 เท่านั้น แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2เป็นตัวการร่วมกับพวกกระทำความผิดศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดเป็นผู้สนับสนุนได้ กรณีเป็นการวินิจฉัยคดีโดยยกบทกฎหมายขึ้นปรับกับการกระทำของจำเลยที่ 2 มิใช่กรณีข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1588/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประนีประนอมยอมความไม่กระทบความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, แก้ไขคำพิพากษาให้ถูกต้อง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ยอมรับผิดต่อโจทก์เต็มตามฟ้องทุกประการ ทั้งยอดหนี้รวม ยอดหนี้ซึ่งใช้เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยต่อไปตลอดทั้งกำหนดเวลาในการเริ่มต้นคิดดอกเบี้ยอีก นอกจากนี้การตกลงประนีประนอมยอมความเกิดขึ้นขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นกรณีที่คู่ความเฉพาะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 แสดงเจตนาระงับข้อพิพาทตามฟ้องโดยประสงค์ให้ศาลพิพากษาให้ข้อตกลงดังกล่าวบังเกิดผล จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะโจทก์กับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 มิได้มีผลเกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 4 และที่ 5 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันร่วมในหนี้เดิม ถือไม่ได้ว่าหนี้เดิมระงับและไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ และการที่โจทก์ตกลงให้เวลา 6 เดือน ในการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 นับแต่วันที่ตกลงกัน จำเลยที่ 4 และที่ 5 ก็ต้องห้ามมิให้อ้างเป็นเหตุปลดเปลื้องความรับผิดดังที่ระบุไว้ใน สัญญาค้ำประกันเบิกเงินเกินบัญชี จำเลยที่ 4 และที่ 5 จึงยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดตามสัญญาดังกล่าว
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 นำที่ดินมาจำนอง 4 แปลง แต่ในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นระบุที่ดินจำนองตกไป 1 แปลง เป็นข้อผิดหลงเล็กน้อย และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไข ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143
ตามคำฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ จำเลยที่ 1 นำที่ดินมาจำนอง 4 แปลง แต่ในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นระบุที่ดินจำนองตกไป 1 แปลง เป็นข้อผิดหลงเล็กน้อย และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไข ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 143