พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัยหลังชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากความประมาทเลินเล่อของจำเลย
วินาศภัยได้เกิดขึ้นเพราะการกระทำโดยประมาทเลินเล่อของจำเลย เมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปเป็นจำนวนเพียงใด โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อจำเลยเพียงนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 วรรคหนึ่ง แม้ว่าหลังจากนั้นจำเลยจะได้ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ฝ่ายผู้เสียหายไปแล้วก็ตาม ก็หาทำให้สิทธิในการรับช่วงสิทธิของโจทก์ซึ่งมีอยู่แล้วสิ้นไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สั่งจ่ายเช็คคือบริษัท ไม่ใช่กรรมการ แม้กรรมการลงลายมือชื่อตามข้อบังคับบริษัท
ธนาคารตามเช็คได้มอบเช็คพิพาทให้แก่บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าประเภทบัญชีกระแสรายวัน จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการที่มีอำนาจได้ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่ 1 ในช่องผู้สั่งจ่าย ก็เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ต้องตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 70 วรรคสอง และมาตรา 900 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คต่อผู้ทรงเป็นส่วนตัวหากจำเลยที่ 2 กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เพราะปฏิบัติหน้าที่บกพร่องก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 หรือผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินการให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับผิดในตั๋วเงิน: ผู้สั่งจ่ายและผู้ลงลายมือชื่อในฐานะผู้แทน
++ เรื่อง ตั๋วเงิน รับช่วงสิทธิ ++
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ ธนาคารตามเช็คได้มอบเช็คพิพาทให้แก่บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าประเภทบัญชีกระแสรายวัน จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการที่มีอำนาจได้ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่ 1 ในช่องผู้สั่งจ่าย ก็เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 70 วรรคสอง และมาตรา 900 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คต่อผู้ทรงเป็นส่วนตัวหากจำเลยที่ 2 กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เพราะปฏิบัติหน้าที่บกพร่องก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 หรือผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินการให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ต่อไป
++
++ ทดสอบการทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++ ย่อข้อกฎหมายอย่างไม่เป็นทางการ
++ พิมพ์จากสำเนาชุดพิเศษ ++
++
++
++ ธนาคารตามเช็คได้มอบเช็คพิพาทให้แก่บริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าประเภทบัญชีกระแสรายวัน จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 แต่ผู้เดียว เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท ส่วนการที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการที่มีอำนาจได้ลงลายมือชื่อและประทับตราจำเลยที่ 1 ในช่องผู้สั่งจ่าย ก็เป็นไปตามข้อบังคับของจำเลยที่ 1 ต้องตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 70 วรรคสอง และมาตรา 900 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คต่อผู้ทรงเป็นส่วนตัวหากจำเลยที่ 2 กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 เพราะปฏิบัติหน้าที่บกพร่องก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 หรือผู้ถือหุ้นจะใช้สิทธิตามกฎหมายดำเนินการให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อจำเลยที่ 1 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9593/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชำระค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์สินเกินความจำเป็น ศาลฎีกาพิพากษากลับให้ชำระเฉพาะส่วนของหนี้
แม้จำเลยที่ 1 จะได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 19767 โดยอ้างว่าโจทก์นำยึดเกินความจำเป็นแก่การบังคับคดี และโจทก์ยื่นคำคัดค้านไว้แต่ขณะคดีอยู่ระหว่างไต่สวน จำเลยที่ 1 ได้ถอนคำร้องฉบับดังกล่าว คดีจึงไม่มีประเด็นให้ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์นำยึดทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 เกินความจำเป็นแก่การบังคับคดีหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นรับฟังข้อเท็จจริงและมีคำสั่งให้โจทก์ต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินทั้งหมดที่ยึด ทั้งที่จำเลยที่ 1 ถอนคำร้องไปแล้วจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา โจทก์คงมีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง จากราคาทรัพย์สินที่ยึด แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดในการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9497/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องโดยชอบตามกฎหมาย แม้ผู้รับไม่ใช่ทายาทหรือญาติ
พนักงานเดินหมาย กรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรมได้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยตามภูมิลำเนาที่จำเลยระบุไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ และเป็นภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านนอกจากนี้ในรายงานการเดินหมายปรากฏว่า พ. เต็มใจรับหมายแทน และการส่งหมายนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ป. ก็เป็นผู้รับไว้แทนจำเลย ทั้งจำเลยเองก็เบิกความยอมรับ การส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องกับหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้แก่จำเลยจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 76 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9438/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี: สามีภริยาฟ้องร่วมได้หากมีหนี้ร่วมกัน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 คำว่า ผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี มีความหมายว่า มีส่วนได้เสียร่วมกันในมูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีนั้นโดยถือหนี้อันเป็นมูลของคดีนั้นเป็นสาระสำคัญ โจทก์บรรยายฟ้องไว้ชัดเจนว่า จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันมอบเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้สินค้าตามสัญญาเช่าซื้อ ดังนั้น มูลเหตุอันเป็นรากฐานแห่งคดีคือหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อ ทั้งจำเลยทั้งสองก็เป็นสามีภริยากัน กรณีย่อมถือได้ว่าจำเลยทั้งสองมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดี โจทก์จึงยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเป็นคดีเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9320/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีต้องมีเหตุตามกฎหมาย แม้กรรมการผู้มีอำนาจเป็นคนละนิติบุคคลก็ไม่ถือเป็นคู่ความเดียวกัน
คดีที่จำเลยหยิบยกมาเป็นเหตุในคำร้องให้ศาลมีคำสั่งงดการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 293 วรรคหนึ่ง โจทก์คือบริษัท ท. จำเลยคือบริษัท อ.ซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แม้โจทก์คดีนี้จะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท อ.และจำเลยจะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ท.ก็ตาม จะถือว่าคู่ความในคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีดังกล่าวหาได้ไม่ เพราะเป็นบุคคลต่างรายกัน ชอบที่ศาลจะยกคำร้องของจำเลยโดยเหตุดังกล่าวเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9033/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมหลังหย่า: ทรัพย์สินที่ได้มาหลังหย่าตกเป็นของทั้งสองฝ่าย เจ้าหนี้มีสิทธิยึดได้
ผู้ร้องกับจำเลยเป็นสามีภริยากัน และร่วมกันประกอบกิจการค้าขายต่อมาผู้ร้องกับจำเลยจดทะเบียนหย่ากัน แต่ยังคงอยู่กินฉันสามีภริยาและประกอบกิจการค้าขายร่วมกัน ระหว่างนั้นผู้ร้องได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินและตึกแถวพิพาท ผู้ร้องกับจำเลยและบุตรเข้าอยู่ในตึกแถวพิพาทโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้แก่โจทก์ ดังนี้แม้ทรัพย์สินพิพาทจะได้มาภายหลังการหย่า ทรัพย์สินดังกล่าวย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์รวมของผู้ร้องกับจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะยึดทรัพย์สินพิพาทเพื่อนำออกขายทอดตลาดได้ผู้ร้องไม่มีสิทธิขอให้ปล่อยการยึดทรัพย์สินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8887/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีเช็ค และการนับโทษต่อหลังรับสารภาพ
++ เรื่อง ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ++
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คลงวันที่เท่าใด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันใด ถึงแม้จะมิได้กล่าวว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเวลาใด ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) เพราะเป็นที่เห็นได้ว่า ปฏิเสธการจ่ายเงินในเวลากลางวันอันเป็นเวลาทำการของธนาคาร และแม้โจทก์ไม่ได้ระบุไว้ด้วยว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไร และบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรและบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา
ความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค มิใช่เกิดในวันออกเช็ค โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายถึงสถานที่ที่จำเลยออกเช็คให้แก่ผู้เสียหาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เดิมจำเลยให้การปฏิเสธต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น หากมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย ก็ขอให้นับโทษต่อด้วย จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องดังกล่าวว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยอนุญาต จำเลยไม่เคยคัดค้านโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ต่อมาจำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ การที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่งดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วย เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่งนั้นชอบแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คลงวันที่เท่าใด ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในวันใด ถึงแม้จะมิได้กล่าวว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเวลาใด ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) เพราะเป็นที่เห็นได้ว่า ปฏิเสธการจ่ายเงินในเวลากลางวันอันเป็นเวลาทำการของธนาคาร และแม้โจทก์ไม่ได้ระบุไว้ด้วยว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไร และบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร ก็เป็นการเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรและบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา
ความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ.2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็ค มิใช่เกิดในวันออกเช็ค โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายถึงสถานที่ที่จำเลยออกเช็คให้แก่ผู้เสียหาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เดิมจำเลยให้การปฏิเสธต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น หากมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย ก็ขอให้นับโทษต่อด้วย จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องดังกล่าวว่าเป็นการแก้ไขเล็กน้อยอนุญาต จำเลยไม่เคยคัดค้านโต้แย้งคำสั่งดังกล่าว ต่อมาจำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ การที่จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่งดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วย เพราะถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่งนั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8887/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของฟ้องเช็คและการนับโทษต่อหลังรับสารภาพ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยสั่งจ่ายเช็คลงวันที่เท่าใด ธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินในวันใดถึงแม้จะมิได้กล่าวว่าธนาคาร ปฏิเสธการจ่ายเงินเวลาใด ก็เป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เพราะ เป็นที่เห็นได้ว่า ปฏิเสธการจ่ายเงินในเวลากลางวัน อันเป็น เวลาทำการของธนาคาร และแม้โจทก์ไม่ได้ระบุไว้ด้วยว่าจำเลย เป็นหนี้ค่าอะไรและบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร ก็เป็นการ เพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ส่วนข้อเท็จจริง ที่ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าอะไรและบังคับได้ตามกฎหมายอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณา
ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คมิใช่เกิดในวันออกเช็ค โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายถึงสถานที่ที่จำเลยออกเช็คให้แก่ผู้เสียหาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เดิมจำเลยให้การปฏิเสธต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น หากมีคำพิพากษาจำคุกจำเลยก็ขอให้นับโทษต่อด้วย จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นการแก้ไขเล็กน้อยอนุญาต จำเลยไม่เคยคัดค้านโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวต่อมาจำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่ง ย่อมถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วยแล้ว
ความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คมิใช่เกิดในวันออกเช็ค โจทก์จึงไม่จำต้องบรรยายถึงสถานที่ที่จำเลยออกเช็คให้แก่ผู้เสียหาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น เดิมจำเลยให้การปฏิเสธต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งของศาลชั้นต้น หากมีคำพิพากษาจำคุกจำเลยก็ขอให้นับโทษต่อด้วย จำเลยได้รับสำเนาคำร้องแล้ว ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เป็นการแก้ไขเล็กน้อยอนุญาต จำเลยไม่เคยคัดค้านโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวต่อมาจำเลยขอถอนคำให้การเดิมเป็นให้การรับสารภาพตามฟ้องโจทก์ภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมฟ้องขอให้นับโทษจำเลยต่อจากโทษในอีกคดีหนึ่ง ย่อมถือได้ว่าจำเลยรับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องด้วยแล้ว