พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8874/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาล: คดีเช็ค - มูลคดีอยู่ที่ธนาคารตามเช็ค ไม่ใช่สถานที่ทำสัญญาขายลด
คดีนี้จำเลยสั่งจ่ายเช็คให้แก่ ล. ต่อมา ล. ได้นำเช็คมาขายลดแก่โจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่ายเช็คมิได้ฟ้องให้รับผิดตามสัญญาขายลดเช็คและมิได้ฟ้องผู้นำเช็คมาขายลด เมื่อธนาคารตามเช็คซึ่งปฏิเสธการจ่ายเงินตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลจังหวัดชัยนาทย่อมถือได้ว่ามูลคดีเกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดชัยนาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) มูลคดีจึงไม่ได้เกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ซึ่งเป็นสถานที่ที่โจทก์รับโอนเช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8837/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาใหม่หลังขาดนัด: เหตุพฤติการณ์นอกเหนือความสามารถควบคุม และการกล่าวอ้างข้อคัดค้านชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า จำเลยทำสัญญากู้เงินจำนวน 12,000,000บาท ไปจากโจทก์ โดยออกเช็คล่วงหน้าผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์เป็นงวด ๆ แต่เช็คทั้งหมดที่จำเลยสั่งจ่ายให้แก่โจทก์ถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงยังมิได้รับชำระหนี้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยรับฟังข้อเท็จจริงตามที่โจทก์นำสืบและพิพากษาให้จำเลยแพ้คดี จำเลยระบุในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ว่า จำเลยไม่เคยทำสัญญากู้เงินและไม่เคยสั่งจ่ายเช็คล่วงหน้าชำระหนี้ให้แก่โจทก์ สัญญากู้เงินที่โจทก์กล่าวอ้างเป็นสัญญาปลอมที่โจทก์ได้ทำขึ้นเอง ย่อมถือได้ว่าจำเลยได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลแล้ว หาใช่เป็นเพียงการคาดคะเนไม่ คดีนี้ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีปิดหมายเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2540 คำบังคับจึงมีผลตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540 และตามคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยก็บรรยายไว้ว่าจำเลยเพิ่งทราบว่าถูกฟ้องเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2540 อันเป็นการแสดงให้ปรากฏแล้วว่าพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ได้สิ้นสุดลง คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงชอบด้วยหลักเกณฑ์ในการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8704/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี, อัตราดอกเบี้ย, และการคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาสิ้นสุด
++ เรื่อง บัญชีเดินสะพัด ค้ำประกัน จำนอง ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2532จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เปิดบัญชีเดินสะพัด ประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่โจทก์ บัญชีเลขที่ 599 - 5 ต่อมาวันที่ 27 กันยายน 2534จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ วงเงิน500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 27 กันยายน 2535 เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2539 จำเลยที่ 1ขอเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีอีก 3,000,000 บาท รวมเป็นวงเงิน3,500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 16.75 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 87365 และ 87366 ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงิน 2,500,000 บาทต่อมาวันที่ 31 กรกฎาคม 2536 ได้ขึ้นวงเงินจำนองอีก 3,000,000 บาทรวมเป็น 5,500,000 บาท หลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 เดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมาจนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1ถอนเงินจากบัญชีจำนวน 3,500 บาท ณ วันดังกล่าว จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,590,068.50 บาท โจทก์ทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์
++ ประการแรกมีว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงเมื่อใด
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายที่จำเลยที่ 1ทำไว้แก่โจทก์ ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2539 ตามเอกสารหมาย จ.8 ไม่ปรากฏว่ามีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นไว้ จึงต้องถือว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 เอกสารหมาย จ.16แผ่นที่ 4 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7กุมภาพันธ์ 2540 ทำให้มียอดหนี้ในวันดังกล่าวเป็นเงิน 3,590,068.50 บาทซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับ คือเอกสารหมาย จ.7และ จ.8 ที่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินได้ไม่เกิน 3,500,000 บาท แล้วหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยที่คิดเป็นหนี้เพิ่มตลอดมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไปและหลังจากวันที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินครั้งสุดท้ายดังกล่าวแล้ว มีการหักทอนบัญชีในวันสิ้นเดือนนั้น คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้อยู่เป็นจำนวน 3.636,342.95 บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันในวันดังกล่าว หาได้สิ้นสุดในวันที่25 เมษายน 2540 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ และตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 สิ้นสุดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์2540 และจำเลยที่ 1 มียอดหนี้จำนวนเพียง 3,590,068.50 บาท นั้นไม่ถูกต้อง ++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการต่อไปมีว่าดอกเบี้ยหลังจากวันสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 24 และร้อยละ 25 ต่อปี ได้หรือไม่
++ เห็นว่า เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกกันแล้ว ความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่ออกมาภายหลังจากที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1เลิกกันไปแล้วมาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1เพิ่มสูงถึงร้อยละ 24 และ 25 ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 ข้อ 2 นั้นสิ้นผลไปก่อนแล้ว
++ แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งจำนวนนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เพราะตามบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ระบุไว้ชัดเจนว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินตามวงเงินในสัญญา คือ 500,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.7 และ3,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.8 รวมจำนวน 3,500,000 บาทในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีเท่านั้น ส่วนที่เกินวงเงินจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี การที่ศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ19 ต่อปี จากจำนวนหนี้ทั้งหมดจึงไม่ถูกต้อง เป็นการวินิจฉัยอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นสุดสัญญาไม่ตรงกับพยานหลักฐานในสำนวน คือบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้ อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วนเช่นกัน ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน3,636,342.95 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 3,500,000 บาท และดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 136,342.95 บาท นับถัดจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น. ++
++ ทดสอบทำงานในเครื่อง ++
++
++
++ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 223 ทวิ ++
++ ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว ข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้อุทธรณ์โต้แย้งว่า เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2532จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เปิดบัญชีเดินสะพัด ประเภทเงินฝากกระแสรายวันไว้แก่โจทก์ บัญชีเลขที่ 599 - 5 ต่อมาวันที่ 27 กันยายน 2534จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้แก่โจทก์ วงเงิน500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 19 ต่อปี กำหนดชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 27 กันยายน 2535 เมื่อครบกำหนดดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมา ต่อมาวันที่ 1 สิงหาคม 2539 จำเลยที่ 1ขอเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีอีก 3,000,000 บาท รวมเป็นวงเงิน3,500,000 บาท ดอกเบี้ยร้อยละ 16.75 ต่อปี จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 87365 และ 87366 ตำบลบางบอน อำเภอบางขุนเทียนกรุงเทพมหานคร พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันในวงเงิน 2,500,000 บาทต่อมาวันที่ 31 กรกฎาคม 2536 ได้ขึ้นวงเงินจำนองอีก 3,000,000 บาทรวมเป็น 5,500,000 บาท หลังจากทำสัญญาแล้ว จำเลยที่ 1 เดินสะพัดทางบัญชีเรื่อยมาจนครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1ถอนเงินจากบัญชีจำนวน 3,500 บาท ณ วันดังกล่าว จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์จำนวน 3,590,068.50 บาท โจทก์ทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยทั้งสองแล้ว ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์
++ ประการแรกมีว่า สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1สิ้นสุดลงเมื่อใด
++ เห็นว่า ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับสุดท้ายที่จำเลยที่ 1ทำไว้แก่โจทก์ ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2539 ตามเอกสารหมาย จ.8 ไม่ปรากฏว่ามีกำหนดเวลาชำระหนี้เสร็จสิ้นไว้ จึงต้องถือว่าเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุด ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ 1 เอกสารหมาย จ.16แผ่นที่ 4 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ถอนเงินจากบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 7กุมภาพันธ์ 2540 ทำให้มียอดหนี้ในวันดังกล่าวเป็นเงิน 3,590,068.50 บาทซึ่งเกินวงเงินตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีทั้งสองฉบับ คือเอกสารหมาย จ.7และ จ.8 ที่ให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินได้ไม่เกิน 3,500,000 บาท แล้วหลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกถอนเงินอีก คงมีแต่รายการคิดดอกเบี้ยที่คิดเป็นหนี้เพิ่มตลอดมา แสดงให้เห็นเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ไม่ประสงค์จะให้มีการสะพัดทางบัญชีระหว่างกันอีกต่อไปและหลังจากวันที่จำเลยที่ 1 ถอนเงินครั้งสุดท้ายดังกล่าวแล้ว มีการหักทอนบัญชีในวันสิ้นเดือนนั้น คือวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 จำเลยที่ 1 มียอดหนี้อยู่เป็นจำนวน 3.636,342.95 บาท สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันในวันดังกล่าว หาได้สิ้นสุดในวันที่25 เมษายน 2540 อันเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลาที่โจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ไม่ และตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 1 ต่อไป ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 สิ้นสุดในวันที่ 7 กุมภาพันธ์2540 และจำเลยที่ 1 มียอดหนี้จำนวนเพียง 3,590,068.50 บาท นั้นไม่ถูกต้อง ++
++ ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ประการต่อไปมีว่าดอกเบี้ยหลังจากวันสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี โจทก์มีสิทธิคิดเพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 24 และร้อยละ 25 ต่อปี ได้หรือไม่
++ เห็นว่า เมื่อสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เลิกกันแล้ว ความผูกพันที่โจทก์มีสิทธิปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้นตามข้อตกลงในสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ก็ย่อมสิ้นสุดไปด้วย โจทก์หาอาจจะอ้างประกาศของโจทก์เรื่องอัตราดอกเบี้ยและส่วนลดเงินให้สินเชื่อที่ออกมาภายหลังจากที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1เลิกกันไปแล้วมาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1เพิ่มสูงถึงร้อยละ 24 และ 25 ต่อปี ได้ไม่ เพราะเงื่อนไขให้สิทธิแก่โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยตามที่ตกลงไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเอกสารหมาย จ.8 ข้อ 2 นั้นสิ้นผลไปก่อนแล้ว
++ แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ทั้งจำนวนนั้นไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา เพราะตามบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ระบุไว้ชัดเจนว่า โจทก์คิดดอกเบี้ยจากต้นเงินตามวงเงินในสัญญา คือ 500,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.7 และ3,000,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.8 รวมจำนวน 3,500,000 บาทในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีเท่านั้น ส่วนที่เกินวงเงินจึงคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี การที่ศาลชั้นต้นคิดดอกเบี้ยให้โจทก์ในอัตราร้อยละ19 ต่อปี จากจำนวนหนี้ทั้งหมดจึงไม่ถูกต้อง เป็นการวินิจฉัยอัตราดอกเบี้ยก่อนสิ้นสุดสัญญาไม่ตรงกับพยานหลักฐานในสำนวน คือบันทึกการปรับอัตราดอกเบี้ยเอกสารหมาย จ.13 ศาลฎีกาย่อมแก้ไขให้ถูกต้องได้ อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วนเช่นกัน ++
++ พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน3,636,342.95 บาท พร้อมดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 16.75 ต่อปีของต้นเงินจำนวน 3,500,000 บาท และดอกเบี้ยไม่ทบต้นในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 136,342.95 บาท นับถัดจากวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้เป็นพับ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น. ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658-8686/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การครอบครองปรปักษ์, ฐานะนิติบุคคลมิซซัง, ค่าขึ้นศาล, คดีไม่มีทุนทรัพย์
ชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์แล้ว คดีไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยในเรื่องกรรมสิทธิ์ในชั้นอุทธรณ์อีก จึงเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ และถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำนวนทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์หรือฎีกาเป็นอย่างเดียวกับในศาลชั้นต้นซึ่งผู้อุทธรณ์หรือผู้ฎีกาต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์หรือราคาเดียวกับในศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 150 วรรคสอง ศาลฎีกาต้องสั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลย
สำหรับจำเลยที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มย่อมถือได้ว่าเป็นการทิ้งคำฟ้องอุทธรณ์ แม้จำเลยใดไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มก็ตาม จำเลยนั้นก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไปก่อนแล้วจึงฎีกาขอคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยอมเสียเพิ่มไปก่อนได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และจำเลยได้สละประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทไปตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์แล้ว จำเลยกลับอ้างในฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นที่ดินในเขตชลประทานของกรมชลประทานอันเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามบทบัญญัติมาตรา 65, 66 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกมิซซังโรมันคาธอลิคว่าไม่เป็นนิติบุคคล แต่ได้บัญญัติรับรองไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น และนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 65 โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป
สำหรับจำเลยที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มย่อมถือได้ว่าเป็นการทิ้งคำฟ้องอุทธรณ์ แม้จำเลยใดไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มก็ตาม จำเลยนั้นก็ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ไปก่อนแล้วจึงฎีกาขอคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่ยอมเสียเพิ่มไปก่อนได้
ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้อง จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ และจำเลยได้สละประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทไปตั้งแต่ในชั้นอุทธรณ์แล้ว จำเลยกลับอ้างในฎีกาว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์ แต่เป็นที่ดินในเขตชลประทานของกรมชลประทานอันเป็นข้อที่จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามบทบัญญัติมาตรา 65, 66 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกมิซซังโรมันคาธอลิคว่าไม่เป็นนิติบุคคล แต่ได้บัญญัติรับรองไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น และนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของ ป.พ.พ.มาตรา 65 โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8658-8686/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคลมิซซังโรมันคาทอลิก การครอบครองปรปักษ์ และอำนาจฟ้อง คดีขับไล่
ตามบทบัญญัติมาตรา 65,66 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ไม่ได้บัญญัติให้ยกเลิกมิซซังโรมันคาธอลิคว่าไม่เป็นนิติบุคคล แต่ได้บัญญัติรับรองไว้ว่านิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น และนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่ หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือ กำหนดไว้ในกฎหมายข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 65โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป
โจทก์เป็นมิซซังโรมันคาธอลิคเป็นนิติบุคคลอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาดหลวงโรมันคาธอลิคในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ.128 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษยังใช้บังคับจนปัจจุบันนี้ พระราชบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นกฎหมายอื่นฉบับหนึ่งตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 65โจทก์จึงย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายอยู่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8586/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่นำค่าธรรมเนียมศาลพร้อมอุทธรณ์ หากไม่ปฏิบัติตาม ศาลมีสิทธิไม่รับวินิจฉัย
เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ที่จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 229 ผู้อุทธรณ์จะอ้างว่าเป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ศาลที่ไม่ได้แจ้งค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนให้ผู้อุทธรณ์ทราบหาได้ไม่ ทั้งกรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม มาตรา 18 ซึ่งศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อน เมื่อโจทก์ผู้อุทธรณ์ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8586/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้อุทธรณ์ในการวางค่าธรรมเนียมศาลพร้อมอุทธรณ์ หากไม่ปฏิบัติตาม ศาลมีสิทธิไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ได้
เป็นหน้าที่ของผู้อุทธรณ์ที่จะต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ผู้อุทธรณ์จะอ้างว่าเป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ศาลที่ไม่ได้แจ้งค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนให้ผู้อุทธรณ์ทราบหาได้ไม่ ทั้งกรณีมิใช่เรื่องการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตามมาตรา 18ซึ่งศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อน เมื่อโจทก์ผู้อุทธรณ์ไม่นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8410/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทกฎหมายลงโทษในความผิดอาญาและการห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 มาตรา 365(2)(3) เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 จำคุกคนละ 3 ปี ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุกตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365(2)(3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้องเท่านั้น จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8410/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับแก้บทลงโทษในความผิดบุกรุกและลักทรัพย์ ศาลอุทธรณ์ปรับบทให้ถูกต้อง ลดโทษจำคุก และไม่อาจฎีกาในข้อเท็จจริงได้
++ เรื่อง บุกรุก ลักทรัพย์ พยายาม ++
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 มาตรา 365(2)(3)เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 จำคุกคนละ 3 ปี ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุก ตาม ป.อ.มาตรา 365(2)(3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้อง จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 มาตรา 365(2)(3)เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 335(1)(7)(8) วรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 80 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 จำคุกคนละ 3 ปี ริบของกลาง ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานบุกรุก ตาม ป.อ.มาตรา 365(2)(3) ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ.มาตรา 90 ให้จำคุกจำเลยทั้งสองคนละ 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เพียงแต่ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยทั้งสองให้ถูกต้อง จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองคนละไม่เกิน 5 ปี ซึ่งต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8223/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีจากหลักประกันที่ไม่ชอบ ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิคุ้มครอง ศาลเพิกถอนได้
การที่ผู้ประกันนำที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นหลักประกันในการประกันตัวจำเลยนั้น เป็นการไม่ชอบ เมื่อผู้ประกันผิดสัญญาประกันไม่ชำระค่าปรับ พนักงานอัยการนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินดังกล่าวออกขายทอดตลาดไม่ได้ ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดที่ดินรายนี้จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 และ 296 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
การขายทอดตลาดที่เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมายทำให้ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330ทั้งผู้ประกันก็มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์ จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติดังกล่าวมาคุ้มครองผู้ประกันได้
การขายทอดตลาดที่เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมายทำให้ผู้ซื้อทรัพย์ไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1330ทั้งผู้ประกันก็มิใช่ผู้ซื้อทรัพย์ จึงไม่อาจอ้างบทบัญญัติดังกล่าวมาคุ้มครองผู้ประกันได้