พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8223/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีโดยใช้ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกเป็นหลักประกัน ศาลมีอำนาจเพิกถอนการขายทอดตลาดได้
ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้อง และการที่ผู้ประกันไปยื่นคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) และขอยกเลิกตามเอกสารหมาย ร.4ถึง ร.6 แล้ว จากนั้นกลับมีใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.)เอกสารหมาย ร.7 โดยที่เจ้าพนักงานที่ดินได้ออกใบแทนดังกล่าวตามเอกสารหมายร.7 และมิได้มีการจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทไปเป็นของผู้ประกันแล้ว ผู้ประกันไม่ใช่เจ้าของที่ดินพิพาทไม่อาจนำมาใช้เป็นหลักประกันในการทำสัญญาประกันตัวจำเลยได้การที่ผู้ประกันนำทรัพย์ของผู้ร้องซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมาเป็นหลักประกันในการประกันตัวจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ การบังคับคดีรายนี้จึงฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.ภาค 4 ลักษณะ 2 ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ประกอบด้วยป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ไม่ชอบนั้นเสียได้เพื่อให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามที่เห็นสมควรตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 และ296 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 การขายทอดตลาดรายนี้เป็นการบังคับคดีที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้ซื้อทรัพย์จึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ.มาตรา 1330
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาพ้นกำหนดระยะเวลา แม้ศาลชั้นต้นรับฎีกา ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คดีอาญาเรื่องนี้ครบกำหนดฎีกาในวันที่ 12 มิถุนายน 2542 แต่ในวันที่ 9 มิถุนายน 2542 ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกาออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามขอระยะเวลาที่ขอขยายออกไปจึงให้เริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดฎีกาคือวันที่ 12 มิถุนายน 2542 โดยเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2542 แม้ว่าวันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการก็ตาม ดังนั้น จำเลยจึงมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 12 กรกฎาคม 2542 แต่ปรากฏว่าจำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้รับรองฎีกาและยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่พ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8175/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาฎีกาที่ศาลอนุญาตโดยเริ่มนับวันจากวันหยุดราชการ ทำให้การยื่นฎีกาเกินกำหนด
คดีอาญาเรื่องนี้ครบกำหนดฎีกาในวันที่ 12 มิถุนายน 2542 แต่ในวันที่ 9 มิถุนายน 2542 ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายระยะเวลาฎีกาออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตตามขอ ระยะเวลาที่ขอขยายออกไปจึงให้เริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดฎีกาคือวันที่ 12 มิถุนายน 2542โดยเริ่มนับ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2542 แม้ว่าวันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการก็ตาม ดังนั้น จำเลยจึงมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 12กรกฎาคม 2542 แต่ปรากฏว่าจำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอให้รับรองฎีกาและยื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2542 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่พ้นกำหนดระยะเวลาฎีกาแล้ว แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยไว้ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7957/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้เสียหายต้องเสียหายโดยตรง การกระทำต่อเจ้าพนักงานไม่พาดพิงถึงโจทก์
การที่จำเลยที่ 1 แจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่า โฉนดที่ดินของ ม. ซึ่งอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ได้สูญหายไป แล้วนำสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีไปแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินทำให้เจ้าพนักงานที่ดินหลงเชื่อออกใบแทนโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แม้ข้อความที่จำเลยที่ 1 แจ้งจะเป็นความเท็จเพราะความจริงโฉนดที่ดินอยู่ที่โจทก์ แต่จำเลยที่ 1 กระทำต่อเจ้าพนักงานมิได้พาดพิงไปถึงโจทก์อันจะถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง หลักฐานใบแทนโฉนดที่ดินที่เจ้าพนักงานที่ดินออกให้แก่จำเลยที่ 1คงมีรายการสาระสำคัญเช่นเดียวกับโฉนดที่ดินที่ถูกยกเลิกไป สิทธิของโจทก์ หากจะพึงมีพึงเป็นอย่างไรในฐานะทายาท หรือเจ้าหนี้กองมรดกก็คงมีอยู่ ตามเดิม มิได้ถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำของจำเลยที่ 1 เพราะ โจทก์ยังคงมีสิทธิเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินในฐานะทายาทของ ม. และมีสิทธิว่ากล่าวเอาแก่กองมรดกในฐานะเจ้าหนี้ได้เช่นเดิม โจทก์จึงมิใช่ ผู้เสียหาย ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการก่อสร้างอาคาร, อายุความ, การยอมรับสภาพหนี้
จำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารชุดและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารในโครงการทั้งหมดแม้จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างบริษัทอื่นให้ดำเนินการก่อสร้างในส่วนต่าง ๆแทน แต่จำเลยก็ยังคงเป็นเจ้าของกิจการก่อสร้างในโครงการทั้งหมดและตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว เช่น สัญญาซื้อเสาเข็มคอนกรีตว่า จำเลยจะต้องจัดหาสถานที่สำหรับกองเสาเข็มและจัดทำทางเพื่อให้รถบรรทุกเสาเข็มเข้าไปส่งยังจุดทำงานได้โดยสะดวก และสัญญาว่าจ้างตอกเสาเข็มว่าจำเลยต้องรับผิดชอบกรณีที่มีความเสียหายของอาคารข้างเคียงเนื่องจากความสั่นสะเทือนหรือจากแรงดันของดินจากการตอกเสาเข็ม เช่นนี้ถือว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 428
คำแถลงของคู่ความมีลักษณะเป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) คู่ความจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นหรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์นั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลย มิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไป หากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536จึงไม่ขาดอายุความ
คำแถลงของคู่ความมีลักษณะเป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์โดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84(1) คู่ความจะโต้แย้งเป็นอย่างอื่นหรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์นั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลย มิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไป หากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/14(1) โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาช่วงต่อความเสียหายที่เกิดจากการก่อสร้าง และอายุความจากการยอมรับสภาพหนี้
จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงที่ดินโจทก์ ได้ปลูกสร้างอาคารชุดสูง 33 ชั้น จำนวน 4 อาคาร เพื่อขายหรือให้เช่า ระหว่างก่อสร้างอาคารดังกล่าว บ้านและสิ่งปลูกสร้างในที่ดินของโจทก์เกิดความเสียหาย ดังนี้ จำเลยเป็นเจ้าของโครงการอาคารชุดและได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารในโครงการทั้งหมด แม้จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างบริษัทอื่นให้ดำเนินการก่อสร้างในส่วนต่าง ๆ แทน แต่จำเลยก็ยังคงเป็นเจ้าของกิจการก่อสร้างในโครงการทั้งหมด และตามสัญญาว่าจ้างดังกล่าว เช่น สัญญาซื้อเสาเข็มคอนกรีตปรากฏตามสัญญาว่า จำเลยจะต้องจัดหาสถานที่สำหรับกองเสาเข็มและจัดทำทางเพื่อให้รถบรรทุกเสาเข็มเข้าไปส่งยังจุดทำงานได้โดยสะดวก และสัญญาว่าจ้างตอกเสาเข็มปรากฏตามสัญญาว่า จำเลยต้องรับผิดชอบกรณีที่มีความเสียหายของอาคารข้างเคียงเนื่องจากความสั่นสะเทือนหรือจากแรงดันของดินจากการตอกเสาเข็ม เช่นนี้ถือว่าจำเลยต้องรับผิดชอบต่อโจทก์ทั้งสองในฐานะเป็นผู้ผิดในส่วนการงานที่สั่งให้ทำ ตามป.พ.พ.มาตรา 428
คู่ความแถลงร่วมกันให้กรมโยธาธิการประเมินความเสียหายเกี่ยวกับตัวอาคารพิพาทและกรมโยธาธิการได้จัดส่งเอกสารสรุปผลการประเมินราคาค่าก่อสร้างมาให้แล้ว ซึ่งคู่ความยอมรับราคากลางที่กรมโยธาธิการเสนอมาและขออ้างส่งต่อศาล เป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามา จะโต้แย้งเป็นอย่างอื่น หรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533 จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ทั้งสองนั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลยมิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไปหากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์ทั้งสองจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้ เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1)
คู่ความแถลงร่วมกันให้กรมโยธาธิการประเมินความเสียหายเกี่ยวกับตัวอาคารพิพาทและกรมโยธาธิการได้จัดส่งเอกสารสรุปผลการประเมินราคาค่าก่อสร้างมาให้แล้ว ซึ่งคู่ความยอมรับราคากลางที่กรมโยธาธิการเสนอมาและขออ้างส่งต่อศาล เป็นการแถลงรับข้อเท็จจริงต่อศาลเกี่ยวกับปริมาณค่าเสียหายของโจทก์ทั้งสองโดยมีเงื่อนไขว่าให้เป็นไปตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคา คู่ความทั้งสองฝ่ายย่อมต้องถูกผูกพันเป็นยุติตามที่วิศวกรของกรมโยธาธิการประเมินราคามา จะโต้แย้งเป็นอย่างอื่น หรืออ้างความเห็นของพยานคนใดมาหักล้างมิได้
การก่อสร้างอาคารตามโครงการของจำเลยเริ่มตั้งแต่ปี 2533 จนถึงปี 2537 ความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่อาคารและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ทั้งสองนั้น เป็นผลมาจากการดำเนินการก่อสร้างของจำเลยมิได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วเสร็จสิ้นไปหากแต่เกิดต่อเนื่องกันมาเป็นระยะ ๆ ตราบเท่าที่ยังมีการก่อสร้างตามโครงการของจำเลย โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2536 จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยได้ให้ พ. เข้าไปซ่อมบ้านของโจทก์ทั้งสองจนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535 อันถือเป็นการที่ลูกหนี้ได้กระทำการอันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้รายนี้ เป็นผลให้อายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7820/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความล่าช้าในการซ่อมรถยนต์ประกันภัย จำเลยต้องรับผิดค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ใช้รถ
แม้กรมธรรม์ประกันภัยหมวดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความเสียหายต่อรถยนต์ จะระบุว่าการประกันภัยไม่คุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากการขาดการใช้รถยนต์ แต่การยกเว้นความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวหมายถึงความเสียหายที่เกิดจากการขาดการใช้รถยนต์เนื่องจากรถยนต์ที่เอาประกันภัยไว้ประสบวินาศภัยซึ่งจำเลยต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยเท่านั้น หารวมถึงความเสียหายจากการขาดการใช้รถยนต์ที่จำเลยเป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้นไม่ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซ่อมรถยนต์ซึ่งเอาประกันภัยไว้ล่าช้าเกินควรทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์ดังกล่าวต้องเสียค่าพาหนะในการประกอบการงาน เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดจากการกระทำของจำเลยที่ซ่อมแซมรถยนต์ล่าช้าโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร มิใช่ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเนื่องจากการผิดสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยจึงอ้างข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าวขึ้นปฏิเสธความรับผิดไม่ได้
แม้จำเลยมีสิทธิจะจัดการซ่อมรถยนต์ที่เอาประกันภัยให้แก่โจทก์แทนการใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัย และได้จัดการซ่อมรถยนต์เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่การซ่อมรถยนต์ต้องกระทำภายในเวลาอันสมควรด้วย เมื่อจำเลยใช้เวลาซ่อมรถยนต์เกือบ 2 ปี โดยไม่มีเหตุอันสมควร และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงต้องรับผิดในค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้นแก่โจทก์จากการกระทำดังกล่าวด้วย
แม้จำเลยมีสิทธิจะจัดการซ่อมรถยนต์ที่เอาประกันภัยให้แก่โจทก์แทนการใช้เงินตามกรมธรรม์ประกันภัย และได้จัดการซ่อมรถยนต์เสร็จเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่การซ่อมรถยนต์ต้องกระทำภายในเวลาอันสมควรด้วย เมื่อจำเลยใช้เวลาซ่อมรถยนต์เกือบ 2 ปี โดยไม่มีเหตุอันสมควร และทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงต้องรับผิดในค่าเสียหาย ที่เกิดขึ้นแก่โจทก์จากการกระทำดังกล่าวด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7703/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุราคาขายทอดตลาดต่ำเกินควรอยู่ภายใต้บทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ ที่ให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไม่เหมาะสมกับสภาพทรัพย์เท่ากับอ้างว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์มีจำนวนต่ำเกินสมควรตามบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542จำเลยยื่นฎีกาภายหลังจากบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ มีผลบังคับใช้แล้วคำร้องของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับของวรรคสี่แห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวซึ่งบัญญัติให้คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้เป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7703/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการขายทอดตลาด: บทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสี่ แห่ง ป.วิ.พ. แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 เป็นที่สุด
จำเลยยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดโดยอ้างว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ไป ไม่เหมาะสมกับสภาพทรัพย์ เท่ากับอ้างว่าราคาที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์มีจำนวนต่ำเกินสมควรตามบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ วรรคสอง แห่ง ป.วิ.พ. แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 18) พ.ศ. 2542 ซึ่งมี ผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม 2542 จำเลยยื่นฎีกาวันที่ 13 พฤษภาคม 2542 ภายหลังจากบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ มีผลบังคับใช้แล้ว คำร้องของจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับของวรรคสี่แห่งบทบัญญัติมาตราดังกล่าวซึ่งบัญญัติให้คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยและศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7671/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษกักขังแทนจำคุกและการบวกโทษคดีเก่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาถูกต้องตามกฎหมาย
ตาม ป.อ. มาตรา 23 ศาลจะพิพากษาให้ลงโทษกักขังผู้ใดไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้น จะต้องเป็นความผิดซึ่งมีโทษจำคุก และศาลจะลงโทษจำคุกไม่เกินสามเดือน ทั้งต้องไม่ปรากฏว่าผู้นั้นได้รับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งโทษจำคุกในที่นี้ย่อมหมายถึงการถูกจำคุกจริงตามคำพิพากษา แต่ในคดีก่อนศาลมีคำพิพากษาให้รอการลงโทษจำเลยไว้ จึงไม่มีการจำคุกจริงอันถือได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยไม่เคยรับโทษจำคุกมาก่อน การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาให้ลงโทษกักขังไม่เกินสามเดือนแทนโทษจำคุกนั้นจึงชอบด้วย ป.อ. มาตรา 23 แล้ว และเมื่อเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นกักขังแทนแล้ว ก็ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยถูกลงโทษจำคุก จึงบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษคดีนี้ไม่ได้