คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรัช ลิ้มวิชัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดิน: การเลิกสัญญาโดยปริยายและการคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทในราคา 3,500,000 บาทโดยโจทก์วางเงินมัดจำแก่จำเลย 300,000 บาท เมื่อถึงกำหนดจดทะเบียนโอนที่ดินโจทก์จำเลยต่างไปยังสำนักงานที่ดินแต่ไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทได้เนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศขายที่ดินพิพาท และการประกาศดังกล่าวเป็นการประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่ 35(พ.ศ. 2531) ข้อ 5 ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2497 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ปิดประกาศ ฉะนั้น การที่จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญา และไม่ใช่ความรับผิดชอบของโจทก์ โจทก์จึงไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญาเช่นกัน
จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเนื่องจากโจทก์ไม่ไปตามนัด หาใช่เนื่องจากโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงกันไว้ไม่ การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัดตามสัญญาจะซื้อจะขาย จึงเป็นการนำสืบนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเพราะไม่รับประกาศไปปิดตามที่ตกลงไว้ ทำให้จำเลยไม่สามารถโอนที่ดินพิพาทในวันนัด จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบ
เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืนส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วยแสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายคู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำ 300,000 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่เวลาที่ได้รับเงินไว้เป็นต้นไป แต่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันผิดนัด เมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยผิดนัดไม่คืนมัดจำแก่โจทก์เมื่อใดจึงสมควรให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7618/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนซื้อขายที่ดินล่าช้าจากข้อจำกัดทางกฎหมาย ไม่ถือเป็นผิดสัญญา และการเลิกสัญญากลับคืนสู่ฐานะเดิม
โจทก์จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนซื้อขายที่ดินพิพาทได้ เนื่องจากยังไม่ครบกำหนดระยะเวลาตามประกาศขายที่ดินพิพาท และการประกาศดังกล่าวเป็นการประกาศตามกฎกระทรวงฉบับที่ 35 (พ.ศ. 2531) ข้อ 5 ออกตามความใน พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ปิดประกาศ ฉะนั้นการที่จำเลยไม่สามารถจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 205 จำเลยจึงยังไม่ผิดนัดและไม่ผิดสัญญา และพฤติการณ์ก็ไม่ใช่ความรับผิดชอบของโจทก์เช่นกัน เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็ไม่ได้ผิดนัดผิดสัญญา และโจทก์ไม่ติดใจที่จะนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ โดยให้ทนายความมีหนังสือเรียกค่าเสียหายและเรียกมัดจำคืน ส่วนจำเลยมีหนังสือแจ้งโจทก์ขอนัดจดทะเบียนโอนกันใหม่ แต่โจทก์มิได้มีหนังสือตอบตกลงด้วย จำเลยจึงมีหนังสือถึงโจทก์ขอริบมัดจำ แสดงว่าโจทก์จำเลยต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 391 จำเลยจึงต้องคืนเงินมัดจำพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7551/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวผู้กระทำผิดจากการเบิกความของพยานผู้เสียหาย และพยานหลักฐานสนับสนุน
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลา 1 นาฬิกา การที่จะมีพยานอื่นร่วมรู้เห็นเหตุการณ์ด้วยคงเป็นไปได้ยาก ผู้เสียหายที่ 1 เป็นคนขับรถยนต์แท็กซี่รับจ้างน่าจะต้องมีความระมัดระวังในการรับผู้โดยสารในยามวิกาลเป็นพิเศษ ขณะรถของผู้เสียหายที่ 1 ติดไฟสัญญาณจราจรอยู่ที่บริเวณสามเหลี่ยมดินแดง ซึ่งมีแสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าจากตึกบริเวณนั้นและใต้ทางด่วนสามารถมองเห็นได้ จำเลยทั้งสองเดินเข้ามาที่รถ ผู้เสียหายที่ 1 ย่อมมีโอกาสเห็นรูปร่างหน้าตาของจำเลยทั้งสองได้ชัดเจน เมื่อจำเลยทั้งสองขึ้นรถแล้ว จำเลยที่ 1 พูดกับผู้เสียหายที่ 1 หลายครั้ง โดยบอกให้ไปส่งที่โรงเรียนดุสิต ขณะที่รถแล่นไปถึงกลางซอยระนอง 2 จำเลยที่ 1 บอกให้หยุดรถจากนั้นก็บอกให้เลื่อนรถไปอีก 2 ถึง 3 เมตร และขณะที่จำเลยทั้งสองจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 1 จำเลยที่ 1 ก็บอกให้ผู้เสียหายที่ 1 ส่งกระเป๋าสตางค์ให้และเป็นคนปลดเข็มขัดนิรภัยพร้อมกับเอื้อมมือไปเปิดประตูรถด้านตรงข้ามและผลักตัวผู้เสียหายที่ 1 ตกลงจากรถก่อนที่จะขับรถหลบหนีไป ระยะเวลาตั้งแต่ผู้เสียหายที่ 1 เห็นจำเลยทั้งสองเดินมาขึ้นรถจนกระทั่งหลบหนีไป ผู้เสียหายที่ 1ได้มีโอกาสเห็นรูปร่างหน้าตาและใกล้ชิดจำเลยทั้งสองเป็นเวลานาน แม้จำเลยที่ 2จะนั่งอยู่ทางด้านหลัง แต่ก็อยู่ในวิสัยที่ผู้เสียหายที่ 1 สามารถสังเกตเห็นรูปร่างหน้าตาจำเลยที่ 2 ได้ หลังเกิดเหตุ ผู้เสียหายที่ 1 ก็ยืนยันต่อพนักงานสอบสวนว่าจำคนร้ายทั้งสองได้ โดยบอกว่าคนร้ายที่เป็นชายไว้ผมยาว ส่วนคนร้ายที่เป็นหญิงรูปร่างผอมสูง ประกอบกับการได้ตัวจำเลยทั้งสองมาดำเนินคดีก็เพราะจำเลยทั้งสองถูกจับกุมในข้อหาร่วมกันใช้มีดจี้ชิงทรัพย์คนขับรถยนต์แท๊กซี่ในท้องที่ของสถานีตำรวจนครบาลพหลโยธิน ในเวลาประมาณ 3 นาฬิกา พฤติการณ์แห่งคดีมีรายละเอียดคล้ายคลึงกับคนร้ายจี้ชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 1 ระยะเวลาเกิดเหตุใกล้เคียงกัน เมื่อผู้เสียหายที่ 1 ชี้ตัวก็ยืนยันว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนร้าย ซึ่งระยะเวลาตั้งแต่เกิดเหตุจนกระทั่งจับกุมจำเลยทั้งสองได้และมีการชี้ตัวห่างกันเพียง 2 วันจึงไม่มีข้อน่าสงสัยว่าผู้เสียหายที่ 1 จะจำตัวคนร้ายผิดพลาด แม้ผู้เสียหายที่ 1 จะเบิกความว่าคนร้ายทั้งสองแต่งกายด้วยเสื้อผ้าลักษณะอย่างไร สีอะไรจำไม่ได้ก็มิได้เป็นข้อพิรุธแต่ประการใดเพราะเหตุเกิดเวลากลางคืนและจำเลยทั้งสองก็ไม่ได้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่มีลักษณะและสีสันให้เป็นที่น่าสังเกตผิดปกติธรรมดาทั่วไป พยานหลักฐานโจทก์ที่นำสืบมาจึงมีน้ำหนักรับฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองกระทำผิดฐานชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน การไม่ชำระค่าธรรมเนียมอ้างเอกสาร และผลต่อสัญญาประกันชีวิต
จำเลยอ้างและขอคำสั่งศาลเรียกประวัติการตรวจรักษาของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเป็นพยานเอกสาร เมื่อโรงพยาบาลส่งเอกสารมาแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาถึง 2 ครั้ง ให้จำเลยชำระค่าอ้างเอกสารเป็นพยาน แต่จำเลยไม่ชำระในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาโจทก์ได้กล่าวแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นว่าจำเลยไม่ชำระค่าอ้างเอกสารเป็นพยาน จำเลยมิได้นำค่าอ้างเอกสารเป็นพยานมาชำระต่อศาล ดังนี้แสดงว่าจำเลยจงใจไม่ชำระค่าอ้างเอกสารเป็นพยานตามตาราง 2(5)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เอกสารดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานที่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลชอบที่จะปฏิเสธไม่รับเอกสารนั้นไว้และถ้ารับไว้แล้วก็ไม่ชอบที่จะรับฟังเอกสารนั้น ศาลจึงนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยไม่ได้
ส. กรอกข้อความหรือตอบคำถามจำเลยไปตามความเป็นจริง สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆียะ จำเลยไม่มีสิทธิบอกล้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7219/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอ้างเอกสารเป็นพยาน, สัญญาประกันภัย, การกรอกข้อมูล, ศาลรับฟังหลักฐาน, โมฆียะ
จำเลยอ้างและขอคำสั่งศาลเรียกประวัติการตรวจรักษาของผู้ป่วยจากโรงพยาบาลเป็นพยานเอกสาร เมื่อโรงพยาบาลส่งเอกสารมาแล้ว ศาลชั้นต้นสั่งในรายงานกระบวนการพิจารณาถึง 2 ครั้ง ให้จำเลยชำระค่าอ้างเอกสารเป็นพยาน แต่จำเลยไม่ชำระ ในชั้นอุทธรณ์โจทก์ได้กล่าวแก้อุทธรณ์เป็นประเด็นว่าจำเลยไม่ชำระต่อศาล ในชั้นฎีกาโจทก์ก็กล่าวตั้งประเด็นในเรื่องนี้อีก จำเลยก็ยังไม่ชำระต่อศาล ดังนี้ แสดงว่าจำเลยจงใจไม่ชำระค่าอ้างเอกสารเป็นพยานตาม ตาราง 2 (5) ท้าย ป.วิ.พ. เอกสารดังกล่าวจึงเป็นพยานหลักฐานที่ได้ยื่นฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ศาลชอบที่จะปฏิเสธไม่รับเอกสารนั้นไว้ และถ้ารับไว้แล้วก็ไม่ชอบที่จะรับฟังเอกสารนั้น ศาลจึงนำข้อความในเอกสารดังกล่าวมาประกอบการวินิจฉัยไม่ได้
ส. กรอกข้อความหรือตอบคำถามจำเลยในใบคำขอเอาประกันชีวิตไปตามความเป็นจริง สัญญาประกันชีวิตระหว่าง ส. กับจำเลยจึงไม่เป็นโมฆียะ จำเลยไม่มีสิทธิบอกล้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6804/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดก, ค่าใช้จ่ายในการจัดการมรดก, สิทธิของทายาท, การพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกนั้นจะต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปจริงและเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระตามกฎหมาย จึงสามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายจากกองมรดกได้ แม้การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินอาจจะมีค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นตามที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้างแต่เมื่อไม่มีหลักฐานมาแสดงว่าได้เสียไปจริงและเป็นสิ่งที่ต้องชำระตามกฎหมายแล้ว ถึงโจทก์มิได้คัดค้านจำเลยทั้งสองก็ไม่อาจนำค่าใช้จ่ายดังกล่าวมาหักจากกองมรดกได้ สำหรับค่าบำเหน็จผู้จัดการมรดกนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1721 ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จจากกองมรดกเว้นแต่พินัยกรรมหรือทายาทโดยจำนวนข้างมากจะได้กำหนดไว้ เมื่อเจ้ามรดกมิได้ทำพินัยกรรมไว้และทายาทจำนวนข้างมากมิได้ยินยอมให้จำเลยหักค่าใช้จ่าย ผู้จัดการมรดกจึงไม่มีสิทธิหักค่าใช้จ่ายได้ แต่สำหรับค่าจัดการศพซึ่งรวมอยู่ในค่าทำบุญสร้างศาลาการเปรียญนั้น เนื่องจากการจัดการศพเป็นสิ่งจำเป็นอันต้องจัดการตามจารีตประเพณีค่าใช้จ่ายส่วนนี้ผู้จัดการมรดกย่อมนำมาหักจากกองมรดกก่อนแบ่งปันแก่ทายาทได้ตามกฎหมาย การที่ทายาทในสายเดียวกันกับโจทก์จะยอมรับเงินทรัพย์มรดกจำนวนเพียงใดก็เป็นเรื่องเฉพาะของทายาทแต่ละคน เมื่อโจทก์ยังมิได้รับทรัพย์มรดก สิทธิของโจทก์จะมีเพียงใดย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดเงื่อนไขใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการฎีกาที่ไม่สามารถทำได้ในประเด็นข้อเท็จจริง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 โดยดำเนินการก่อสร้างผิดไปจากเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งต้องระวางโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองจึงไม่เกินคำขอ
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีหรือดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำการควบคุมการก่อสร้างอาคารโดยมิได้จัดให้มีเครื่องป้องกันวัสดุตกหล่นและฝุ่นละอองฟุ้งกระจายรอบตัวอาคารที่ก่อสร้าง อันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งจำเลยทราบแล้ว พร้อมทั้งอ้าง พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดครบถ้วนสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดแก่สุขภาพ ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอีก
ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6668/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฝ่าฝืน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การพิพากษาเกินคำขอและข้อเท็จจริงที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 โดยดำเนินการก่อสร้างผิดไปจากเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งต้องระวางโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสองจึงไม่เกินคำขอ
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่แก้ไขแล้วบัญญัติห้ามมิให้ผู้ใดจัดให้มีหรือดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้ทำการควบคุมการก่อสร้างอาคารโดยมิได้จัดให้มีเครื่องป้องกันวัสดุตกหล่นและฝุ่นละอองฟุ้งกระจายรอบตัวอาคารที่ก่อสร้าง อันเป็นการฝ่าฝืนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาต ซึ่งจำเลยทราบแล้ว พร้อมทั้งอ้างพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จึงเป็นการบรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดครบองค์ประกอบความผิด ตลอดจนข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีและอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดครบถ้วนสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โดยโจทก์ไม่จำต้องระบุประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารเพื่อป้องกันภยันตรายที่อาจเกิดแก่สุขภาพ ชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนอีก
ที่จำเลยฎีกาว่า ข้อเท็จจริงตามฟ้องเกี่ยวกับระยะเวลาที่จำเลยฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินห้าปีหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับ จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่สมบูรณ์และการฟ้องขับไล่: จำเลยยังไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์โดยสมบูรณ์จึงยกข้อต่อสู้ไม่ได้
เดิมจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาท ต่อมาได้ขายให้แก่ ค. และ ค.ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านพิพาทระหว่างพิจารณาคดีค. และจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่า จำเลยจะซื้อที่ดินพร้อมบ้านพิพาทคืนและจะชำระเงินให้ภายใน 6 เดือน ซึ่งศาลได้พิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว แต่หลังจากที่จำเลยชำระราคาบ้านและที่ดินให้แก่ ค.ครบถ้วนแล้วค. ได้ขายบ้านพิพาทให้แก่โจทก์ โดยทำหนังสือสัญญาและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ปรากฏว่าหลังจากจำเลยชำระราคาบ้านและที่ดินให้ ค. แล้วก็ยังไม่มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์แต่อย่างใด ทำให้บ้านพิพาทดังกล่าวยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย จำเลยจึงเป็นเพียงบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เท่านั้น ซึ่งจำเลยอาจยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ หากการโอนกรรมสิทธิ์ระหว่างโจทก์และ ค. ไม่เสียค่าตอบแทนหรือกระทำการโดยไม่สุจริต แต่เมื่อคำให้การของจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์รับโอนบ้านพิพาทโดยไม่มีค่าตอบแทนหรือโดยไม่สุจริตอย่างไรคดีจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบเพื่อยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ได้แม้ก่อนหน้านี้จำเลยจะเคยแถลงต่อศาลทำนองว่า โจทก์รับโอนบ้านพิพาทมาโดยไม่สุจริต แต่การตั้งประเด็นในคดีต้องตั้งด้วยคำคู่ความ จะตั้งด้วยคำแถลงของคู่ความเพียงฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้รับโอนบ้านพิพาทมาจาก ค. ตามสัญญาซื้อขายที่สมบูรณ์และมีผลบังคับโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงเป็นเจ้าของบ้านพิพาทมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5611/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับข้อพิพาทอาญาไม่กระทบความรับผิดทางละเมิดของธนาคารที่ประมาทเรียกเก็บเช็ค
คดีเรื่องก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยร่วมและ น. เป็นคดีอาญาในข้อหาฉ้อโกง เนื่องจากจำเลยร่วมและ น. ร่วมกันหลอกลวงเอาเช็คไปจากโจทก์ และนำเข้าบัญชีของจำเลยร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินที่ธนาคารจำเลยที่ 1 แต่โจทก์กับจำเลยร่วมและ น. ได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ฐานละเมิดเนื่องจากพนักงานของจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่อ เรียกเก็บเงินตามเช็คซึ่งระบุชื่อผู้ทรงและมีข้อความขีดคร่อมห้ามเปลี่ยนมือเข้าบัญชีของจำเลยร่วม โดยไม่ตรวจสอบว่าเป็นเช็คที่ออกให้แก่บุคคลอื่น เป็นเหตุให้ธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของโจทก์โอนเข้าบัญชีของจำเลยร่วมไป สัญญาประนีประนอมยอมความในคดีก่อนจึงเป็นเรื่องระงับข้อพิพาทในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดที่ยอมความได้เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมกับ น. หาได้มีผลถึงมูลละเมิดที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในคดีนี้ ความรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับสิ้นไป
of 36