พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5611/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความคดีอาญา ไม่กระทบความรับผิดทางละเมิดในคดีแพ่ง
ในคดีอาญาเรื่องก่อนที่โจทก์กับจำเลยร่วมและ น. พนักงานของโจทก์ได้ตกลงประนีประนอมยอมความกัน เป็นมูลคดีที่โจทก์ฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยร่วมและ น. ในข้อหาฉ้อโกง เนื่องจากจำเลยร่วมและ น. ร่วมกันหลอกลวงเอาเช็คไปจากโจทก์ และนำเข้าบัญชีของจำเลยร่วมเพื่อเรียกเก็บเงินที่ธนาคารจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องคดีแพ่งเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิด เนื่องจากพนักงานของจำเลยกระทำการด้วยความประมาทเลินเล่อ เรียกเก็บเงินตามเช็คซึ่งระบุชื่อผู้ทรงและมีข้อความขีดคร่อมห้ามเปลี่ยนมือเข้าบัญชีของจำเลยร่วมโดยไม่ตรวจสอบว่าเป็นเช็คที่ออกให้แก่บุคคลอื่น เป็นเหตุให้ธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของโจทก์โอนเข้าบัญชีของจำเลยร่วมไป แม้สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมและน. ในคดีอาญาเป็นเรื่องระงับข้อพิพาทในทางอาญาในความผิดฐานฉ้อโกงอันเป็นความผิดที่ยอมความกันได้ เป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยร่วมกับ น. กรณีทั้งสองเป็นคนละเรื่องกัน ความรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยในคดีนี้จึงยังไม่ระงับสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองหลังผู้จำนองถึงแก่กรรม: ต้องแจ้งทายาทหรือผู้จัดการมรดกก่อนฟ้อง
ในกรณีเจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนอง กฎหมายบังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ และต้องกำหนดเวลาอันสมควรเพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่ผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อน จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่ต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา ซึ่งกฎหมายกำหนดคือผู้จำนองฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ส. ผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อ ส. ผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดย่อมตกทอดแก่ทายาทของ ส. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600 ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว หากโจทก์ประสงค์จะบังคับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้า 1 เดือนก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ ส. ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวเป็นจดหมายหรือหนังสือล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน แก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ เมื่อโจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นทายาทผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3และที่ 4 ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองและการแจ้งให้ทายาท/ผู้รับโอนทราบก่อนฟ้อง
ในกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนองป.พ.พ.มาตรา 728 บังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ ในคำบอกกล่าวนั้นเจ้าหนี้จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้จำนองชำระหนี้จำนอง และกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นกำหนดเวลาอันสมควรด้วย เพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง ทำให้ไม่ต้องถูกฟ้องให้ศาลสั่งยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อน จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่จะต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา คือผู้จำนอง เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าว แม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วย ป.พ.พ.มาตรา 728
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599,1600 ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน โจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตาม ป.พ.พ.มาตรา 1599,1600 ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตาม ป.พ.พ.มาตรา735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน โจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองหลังผู้จำนองเสียชีวิต และสิทธิของทายาท
ในกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 บังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ ในคำบอกกล่าวนั้นเจ้าหนี้จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้จำนองชำระหนี้จำนอง และกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นกำหนดเวลาอันสมควรด้วย เพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง ทำให้ไม่ต้องถูกฟ้องให้ศาลสั่งยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อนจึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่จะต้องมีผู้รับการแสดงเจตนา คือผู้จำนอง เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าว แม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนโจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599,1600ถ้ามีผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนอง การบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือ และต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือนโจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้อง และการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5553/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกกล่าวบังคับจำนองหลังลูกหนี้ถึงแก่กรรม: ต้องแจ้งทายาทก่อนฟ้อง
ในกรณีที่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้รับจำนองประสงค์จะฟ้องบังคับจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 728 บังคับให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังผู้จำนองซึ่งเป็นลูกหนี้ ในคำบอกกล่าวนั้น เจ้าหนี้จะต้องกำหนดเวลาให้ผู้จำนองชำระหนี้จำนอง และกำหนดเวลาดังกล่าวจะต้องเป็นกำหนดเวลาอันสมควรด้วย เพื่อให้โอกาสผู้จำนองชำระหนี้จำนอง ทำให้ไม่ต้องถูกฟ้องให้ศาลสั่งยึดทรัพย์สินซึ่งจำนองไปขายทอดตลาดเอาเงินมาชำระหนี้ การบอกกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะต้องกระทำให้ถูกต้องก่อนจึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ การบอกกล่าวดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนาที่จะต้องมีผู้รับการแสดงเจตนาคือผู้จำนอง เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรมก่อนผู้รับจำนองมีหนังสือบอกกล่าวแม้จะมีผู้อื่นรับหนังสือนั้นไว้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึง สิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600ถ้าผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองการบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือและต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน โจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้องและการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
เมื่อผู้จำนองถึงแก่กรรม มรดกของผู้จำนองซึ่งรวมตลอดถึง สิทธิหน้าที่และความรับผิดของผู้จำนองย่อมตกทอดแก่ทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 และมาตรา 1600ถ้าผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองแล้ว โจทก์ผู้รับจำนองประสงค์จะบังคับจำนองโจทก์ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเดือนหนึ่งก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 735 ถ้ายังไม่ปรากฏว่าผู้ใดเป็นผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง แต่ผู้จำนองมีทายาทหรือผู้จัดการมรดก โจทก์ต้องบอกกล่าวแก่บุคคลดังกล่าวซึ่งเป็นเสมือนผู้รับโอนทรัพย์สินที่จำนองการบอกกล่าวนี้ต้องทำเป็นจดหมายหรือหนังสือและต้องบอกกล่าวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน โจทก์จึงจะฟ้องบังคับจำนองได้ โจทก์มิได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทของผู้จำนองก่อนฟ้องและการที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองตามกฎหมายโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5520/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องมีผลกระทบสิทธิ/หน้าที่โจทก์ นอกเหนือจากคำฟ้อง/ให้การ การขอเพิกถอนสัญญาจึงเป็นเพียงคำให้การ
ฟ้องแย้งนอกจากจะเป็นคำให้การต่อสู้คดีแล้วยังต้องเป็นการเสนอข้อหาของจำเลยต่อโจทก์อันอาจมีผลให้เกิดการกระทบกระเทือนถึงสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ นอกเหนือจากที่จะเกิดตามปกติจากคำฟ้องและคำให้การ การที่จำเลยที่ 1 ให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นโมฆะ จำเลยที่ 1 ขอถือคำให้การนี้เป็นฟ้องแย้งตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวหากศาลพิจารณาแล้วเห็นเป็นเช่นนั้น ย่อมมีผลทำให้สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้รับการบังคับให้ตามกฎหมาย ซึ่งก็คือสัญญากู้ยืมถูกเพิกถอนและทำลายไปนั่นเอง หาได้มีผลกระทบถึงสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์นอกเหนือจากคำฟ้องแต่อย่างใด คำฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงมีสภาพเป็นเพียงคำให้การ หาใช่ฟ้องแย้งไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5449/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองกระสุนปืนที่ไม่อนุญาต การรับสารภาพมีผลบังคับตามกฎหมาย
กระสุนปืนชนิดใดจะเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้หรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งศาลไม่อาจทราบได้เอง ดังนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีกระสุนปืนเล็กกลของกลางขนาด .223(5.56 มม.) จำนวน 340 นัด กับกระสุนปืนขนาด 7.62 มม.(รัสเซี่ยน) จำนวน 200 นัด อันเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้ ยิงได้และนายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฎหมาย และจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า จำเลยมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียน ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลไม่อาจฟังข้อเท็จจริงให้แตกต่างออกไปได้ว่า กระสุนปืนเล็กกลขนาด .223(5.56 มม.) กับกระสุนปืนขนาด 7.62 มม.(รัสเซี่ยน) ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนสามารถจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 11(พ.ศ. 2522) ออกตามความใน มาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ คดีนี้จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยมีเครื่อง กระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนกฎหมาย การที่จำเลยฎีกาว่า กระสุนของกลางจำเลยได้มาจากการตรวจยึดจากกองกำลังต่างชาติ และอยู่ระหว่างส่งมอบแก่ทางราชการ จำเลยครอบครองกระสุนดังกล่าวในฐานะเจ้าหน้าที่ ของรัฐจึงไม่ต้องรับอนุญาตนั้น จึงขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อที่ ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยมีกระสุนปืนของกลางไว้ในความครอบครองจำนวนมาก และเป็นกระสุนปืน ที่นายทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้ การกระทำผิดของจำเลยมีลักษณะร้ายแรง เป็นภัยต่อความสงบสุขของประชาชนโดยส่วนรวม ไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้างในทางการที่จ้าง กรณีลูกจ้างประมาทเลินเล่อทำให้ทรัพย์สินเสียหาย
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยให้แก่ทรัพย์สินของ อ. จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เป็นยามรักษาความปลอดภัย วันเกิดเหตุเวลาประมาณ 20 นาฬิกา จำเลยที่ 1 เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลป้องกันรักษาทรัพย์สินของ อ. ทุกชนิดไม่ว่าเป็น อาคาร พาหนะ และทรัพย์สินใด ตลอดจนตรวจตราป้องกันการทำให้ทรัพย์สินของ อ. เสียหาย ดังที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับ อ. การที่จำเลยที่ 1 ขับรถตู้ของ อ. ไปหาเพื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาตในขณะที่จำเลยที่ 1 เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถตู้ด้วยความประมาทเลินเล่อชนท้ายรถยนต์อื่นเป็นเหตุให้รถตู้ของ อ. คันดังกล่าวได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5052/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของบริษัทรักษาความปลอดภัยต่อการกระทำของลูกจ้างระหว่างปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 2 ทำสัญญารับจ้างรักษาความปลอดภัยให้แก่ทรัพย์สินของ อ. จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำหน้าที่เป็นยามรักษาความปลอดภัยวันเกิดเหตุเวลาประมาณ 20 นาฬิกา จำเลยที่ 1 เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ดูแลป้องกันรักษาทรัพย์สินของ อ.ทุกชนิด ไม่ว่าเป็น อาคาร พาหนะ และทรัพย์สินใด ตลอดจนตรวจตราป้องกันการทำให้ทรัพย์สินของ อ.เสียหาย ดังที่ระบุไว้ในสัญญาจ้างระหว่างจำเลยที่ 2 กับ อ.การที่จำเลยที่ 1 ขับรถตู้ของ อ.ไปหาเพื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาตในขณะที่จำเลยที่ 1เข้าเวรทำหน้าที่ยามรักษาความปลอดภัยประจำร้านของ อ. ถือว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถตู้ด้วยความประมาทเลินเล่อชนท้ายรถยนต์อื่นเป็นเหตุให้รถตู้ของ อ.คันดังกล่าวได้รับความเสียหาย จำเลยที่ 2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ อ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสิทธิครอบครองที่ดินตกเป็นโมฆะเนื่องจากสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมที่ดินเป็นสาธารณสมบัติ
ที่ดินที่โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายต่อกันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินจำเลยมีจุดประสงค์สำคัญจะนำที่ดินที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์ไปขอออกโฉนดที่ดินขณะทำสัญญาโจทก์ครอบครองอาศัยอยู่ในที่ดินโดยปลูกสร้างอยู่อย่างถาวร มีสำเนาทะเบียนบ้านถูกต้องย่อมเป็นเหตุผลให้จำเลยเข้าใจได้ว่าที่ดินของโจทก์สามารถขอออกโฉนดได้ เมื่อจำเลยทำสัญญากับโจทก์โดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญ แห่งนิติกรรมสัญญาดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156โจทก์จำเลยปราศจากข้อผูกพันในอันจะต้องปฏิบัติตามสัญญาเสมือนหนึ่งไม่มีข้อสัญญาต่อกัน โจทก์ไม่อาจอาศัยผลบังคับของสัญญาข้อหนึ่งข้อใดที่ตกเป็นโมฆะแล้วมาริบเงินมัดจำหรือบังคับให้จำเลยชำระเงินมัดจำตามสัญญาได้