คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิรัช ลิ้มวิชัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4848/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันบัญชีเดินสะพัดยังผูกพัน แม้บอกเลิกสัญญาค้ำประกันแล้ว หากยังมิได้ชำระหนี้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ที่มีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันจนกว่าโจทก์จะได้รับชำระหนี้โดย สิ้นเชิงจะครบกำหนดวันที่ 2 เมษายน 2534 แม้จำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาค้ำประกันในวันดังกล่าว แต่ไม่ปรากฏว่า มีการหักทอนบัญชีและชำระหนี้คงเหลือให้เสร็จสิ้นไป ยังคงเดินสะพัดทางบัญชีกันอยู่ การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 แต่ฝ่ายเดียวย่อมไม่มีผล ดังนั้น สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงยังมีผลผูกพันกันอยู่และกลายเป็นสัญญาที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา เมื่อโจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 อยู่ตราบใด จำเลยที่ 2 ก็ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ในฐานะผู้ค้ำประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ค้ำประกันหลังฟ้องคดี และดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเสนอชำระหนี้ให้โจทก์ ภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เบิกเงินเกินบัญชี และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้แล้วโดยหนี้ตามสัญญา เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันตามฟ้องถึงกำหนดชำระ ตั้งแต่ก่อนฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เสนอขอชำระหนี้ ให้โจทก์ในช่วงเวลาดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นการขอ ชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 701 วรรคแรก จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว จะหลุดพ้นจากความรับผิด ได้ ก็แต่โดยนำเงินตามที่เห็นว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์มาวางศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 135,136 เท่านั้น สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่ม สูงขึ้นไปอีกก็ดี หรืออัตราต่ำลงประการใด ผู้เบิกเงินเกินบัญชี ยอมรับที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ และสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันยินยอม เข้าค้ำประกันผู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงินไม่เกินกว่า 100,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ย ตลอดไปจนกว่า ธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จนสิ้นเชิงทุกประการ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตรา ดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ค้ำประกันไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศธนาคารโจทก์ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมายแล้ว ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ระบุให้จำเลยที่ 1 ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นเดือน และยอมให้เอายอดเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินที่ได้เบิกเงินเกินบัญชี ไปในทันที และให้ถือจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นกลายเป็น จำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไป โจทก์ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ย จากจำเลยที่ 1ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแบบทบต้นในทันที ที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามสัญญาเบิกเงิน เกินบัญชี จนกว่าบัญชีจะเลิกกัน และเฉพาะในจำนวนเงิน ที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิด ดอกเบี้ยทบต้นได้เช่นเดียวกับที่คิดจากจำเลยที่ 1 หาใช่ สัญญาค้ำประกันมิได้ระบุเวลาให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้ จึงยังไม่มี วันที่จำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การค้ำประกันหนี้เบิกเกินบัญชี ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้สัญญาไม่ได้กำหนดดอกเบี้ย
ผู้ค้ำประกันหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่สัญญาถึงกำหนดวันที่ 1เมษายน 2532 ไม่ได้เสนอขอชำระหนี้ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยที่ต้องรับผิดในช่วงเวลาที่สัญญาถึงกำหนด เพิ่งเสนอขอชำระเมื่อถูกโจทก์ฟ้อง ผู้ค้ำประกันจึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดร่วมกับลูกหนี้ แม้ว่าสัญญาค้ำประกันจะมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับเป็นอัตราร้อยละ 19 ต่อปี เป็นไปตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมาย เมื่อหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเกินกว่า 100,000 บาทตามวงเงินในสัญญาค้ำประกัน ในวันที่ 5 เมษายน 2533 จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันจึงต้องรับผิดดอกเบี้ยแบบทบต้นเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 ของต้นเงินดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 6เมษายน 2533 เป็นต้นไปจนกว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีจะเลิกกัน แต่เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นตั้งแต่วันที่ดังกล่าว โจทก์ไม่อุทธรณ์และต่อมาฎีกาขอให้จำเลยที่ 2 ชำระดอกเบี้ยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงไม่ต้องกำหนดให้จำเลยที่ 2 รับผิดเป็นอย่างอื่นเกินไปกว่าที่โจทก์ฎีกาให้จำเลยที่ 2 รับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้หลังฟ้องคดีค้ำประกัน และการคิดดอกเบี้ยทบต้นในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี
การที่จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเสนอชำระหนี้ให้โจทก์ภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้เบิกเงินเกินบัญชีและจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันเป็นคดีนี้แล้วโดยหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันตามฟ้องถึงกำหนดชำระตั้งแต่ก่อนฟ้อง เมื่อจำเลยที่ 2 มิได้เสนอขอชำระหนี้ให้โจทก์ในช่วงเวลาดังกล่าว กรณีจึงมิใช่เป็นการขอชำระหนี้ตั้งแต่เมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 701วรรคแรก จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากความรับผิด
ลูกหนี้ที่ถูกฟ้องเป็นคดีแล้ว จะหลุดพ้นจากความรับผิดได้ก็แต่โดยนำเงินตามที่เห็นว่าจะต้องรับผิดต่อโจทก์มาวางศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 135,136 เท่านั้น
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีระบุว่า ถ้าต่อไปอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นไปอีกก็ดี หรืออัตราต่ำลงประการใด ผู้เบิกเงินเกินบัญชี ยอมรับที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามที่ธนาคารจะได้กำหนดขึ้นใหม่ และสัญญาค้ำประกันระบุว่าผู้ค้ำประกันยินยอมเข้าค้ำประกันผู้เบิกเงินเกินบัญชีภายในวงเงินไม่เกินกว่า100,000 บาท และอุปกรณ์แห่งหนี้อันมีดอกเบี้ย ตลอดไปจนกว่าธนาคารจะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้จนสิ้นเชิงทุกประการ ดังนี้ แม้สัญญาค้ำประกันมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ ก็ต้องถืออัตราดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน ซึ่งกำหนดให้โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นลงได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้ค้ำประกันไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และประกาศธนาคารโจทก์ อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงเป็นไปตามสัญญาและชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ระบุให้จำเลยที่ 1 ส่งดอกเบี้ยเป็นรายเดือนทุกวันที่สิ้นเดือน และยอมให้เอายอดเงินดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบเข้ากับจำนวนเงินที่ได้เบิกเงินเกินบัญชีไปในทันที และให้ถือจำนวนดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นกลายเป็นจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไป โจทก์ผู้ให้กู้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 ผู้กู้และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันแบบทบต้นในทันทีที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระดอกเบี้ยเป็นรายเดือนตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชี จนกว่าบัญชีจะเลิกกัน และเฉพาะในจำนวนเงินที่จำเลยที่ 2 จะต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้เช่นเดียวกับที่คิดจากจำเลยที่ 1 หาใช่สัญญาค้ำประกันมิได้ระบุเวลาให้จำเลยที่ 2ชำระหนี้ จึงยังไม่มีวันที่จำเลยที่ 2 ผิดนัดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้ใหม่ในชั้นฎีกาที่ไม่เคยยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับ ส. ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาท แต่กรณีการกู้ยืมระหว่างโจทก์กับ ส. จะมีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดตามที่จำเลยอ้างหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งข้อต่อสู้ดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของจำเลยไว้ในคำให้การ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4036/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้ใหม่ในฎีกา: ศาลไม่รับวินิจฉัยประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
ข้อที่จำเลยฎีกาว่า สัญญากู้ระหว่างโจทก์กับ ส.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามเช็คพิพาท แต่กรณีการกู้ยืมระหว่างโจทก์กับส.จะมีการเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดตามที่จำเลยอ้างหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงซึ่งข้อต่อสู้ดังกล่าวจำเลยมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดของจำเลยไว้ในคำให้การ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชี, การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร, การคำนวณหนี้ที่ถูกต้องตามบัญชี
++ เรื่อง บัญชีเดินสะพัด ค้ำประกัน จำนอง ++
++ จำเลยทำสัญญากู้เงินเกินบัญชีแล้วมีการเดินสะพัดทางบัญชีในบัญชีกระแสรายวันตลอดมาโดยมีการทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาแล้ว แม้ยังไม่มีการทำบันทึกต่ออายุสัญญาครั้งต่อไป แต่โจทก์ยังยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาอีก จึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้สัญญาเดินสะพัดดังกล่าวยังมีผลต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญา การที่ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกฉบับหนึ่งโดยให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันในบัญชีกระแสรายวันเดิม และต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกเป็นลายลักษณ์อักษรโดยกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาเช่นเดียวกับสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 ดังนี้ แสดงให้เห็นว่าตั้งแต่วันที่โจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 โจทก์กับจำเลยตกลงเดินสะพัดตามบัญชีเดินสะพัดคือบัญชีกระแสรายวันเดิม โดยถือเงื่อนไขตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 รวมกัน ซึ่งการคิดดอกเบี้ยต้องนำยอดหนี้ตามวงเงินของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแต่ละฉบับมาคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันในแต่ละสัญญาแยกกันก่อน แล้วจึงนำดอกเบี้ยมารวมยอดกันเพื่อทบเป็นต้นเงินใหม่ การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคิดยอดหนี้ที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่า จำเลยนำเงินเข้าบัญชีหักชำระหนี้หมดแล้วในวันที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 แล้ว จึงเบิกถอนเงินออกไปใหม่อีกในวันเดือนกัน การคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่เบิกถอนออกไปใหม่ยังพอที่ศาลจะพิพากษากำหนดวิธีการคิดยอดหนี้เฉพาะดอกเบี้ยตามอัตราที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องคิดคำนวณเป็นตัวเลขให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์ควรได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ได้ ++

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3953/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อัตราดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชี, การคิดดอกเบี้ยทบต้น, การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร, ศาลฎีกาพิพากษากลับ
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแล้วมีการเดินสะพัดทางบัญชีในบัญชีกระแสรายวันตลอดมาโดยมีการทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหลายครั้ง เมื่อครบกำหนดอายุสัญญาแล้ว แม้ยังไม่มีการทำบันทึกต่ออายุสัญญาครั้งต่อไปแต่โจทก์ยังยอมให้จำเลยเบิกถอนเงินออกจากบัญชีและนำเงินเข้าบัญชีเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีกันต่อมาอีกจึงถือได้ว่าโจทก์และจำเลยตกลงกันให้สัญญาเดินสะพัดดังกล่าวยังมีผลต่อไปอีกโดยไม่มีกำหนดเวลาสิ้นสุดสัญญา การที่ต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอีกฉบับหนึ่งโดยให้มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันในบัญชีกระแสรายวันเดิมและต่อมาโจทก์กับจำเลยได้ตกลงทำบันทึกต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกเป็นรายลักษณ์ อักษรโดยกำหนดวันสิ้นสุดสัญญาเช่นเดียวกับสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ฉบับที่ 2 ดังนี้แสดงให้เห็นว่า ตั้งแต่วันที่โจทก์กับจำเลย ได้ทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 โจทก์กับจำเลย ตกลงเดินสะพัดตามบัญชีเดินสะพัดคือบัญชีกระแสรายวันเดิม โดยถือเงื่อนไขตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับแรกและ สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับที่ 2 รวมกัน ซึ่งการคิดดอกเบี้ย ต้องนำยอดหนี้ตามวงเงินของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแต่ละฉบับ มาคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันในแต่ละสัญญาแยกกันก่อน แล้วจึงนำดอกเบี้ยมารวมยอดกันเพื่อทบเป็นต้นเงินใหม่ การปรับปรุงอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคิดยอดหนี้ที่จำเลย ต้องชำระแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่า จำเลยนำเงินเข้าบัญชี หักชำระหนี้หมดแล้วในวันที่จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ฉบับที่ 2 แล้วจึงเบิกถอนเงินออกไปใหม่อีกในวันเดียวกัน การคิดดอกเบี้ยจากยอดหนี้ที่เบิกถอนออกไปใหม่ยังพอที่ศาล จะพิพากษากำหนดวิธีการคิดยอดหนี้เฉพาะดอกเบี้ยตามอัตรา ที่ถูกต้องได้ โดยไม่ต้องคิดคำนวณเป็นตัวเลขให้จำเลย ชำระหนี้แก่โจทก์ตามสิทธิที่โจทก์ควรได้รับชำระหนี้ จากลูกหนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3677/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยหลอกลวงเกี่ยวกับทรัพย์สินและหนี้สิน ศาลแก้ไขคำพิพากษาให้ลงโทษกรรมเดียว
จำเลยขอกู้เงินจากผู้เสียหายโดยหลอกลวงว่าเป็นเจ้าของที่ดินมีบ้านปลูกอยู่ 1 หลังซึ่งความจริงไม่มีบ้านปลูกอยู่ ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงให้จำเลยกู้ยืมเงินไป และรับจำนองที่ดินของจำเลยเป็นประกันเงินกู้ ต่อมาโดยการหลอกลวงของจำเลย ผู้เสียหายได้ยอมรับเอาที่ดินดังกล่าวหักกลบลบหนี้กับเงินกู้ยืมโดยจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองบ้านและที่ดินแล้วทำเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างผู้เสียหายกับจำเลย ทำให้จำเลยหลุดพ้นจากหนี้สินทั้งหมด การกระทำของจำเลยในครั้งหลังไม่ได้มีการกล่าวข้อความหลอกลวงใด ๆ ขึ้นใหม่ เป็นเพียงผลต่อเนื่องจากการกระทำครั้งแรก โดยมีเจตนาอันเดียวกันเพื่อให้ได้รับเงินที่กู้ยืมไปจากผู้เสียหายการกระทำของจำเลยถึงจะต่างวาระกันก็เป็นความผิดกรรมเดียว ปัญหาดังกล่าวแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจที่จะแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ-ประกันภัย: สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากประกันภัย vs. ความรับผิดต่อสัญญาเช่าซื้อ
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์จากโจทก์ โดยตกลงกันว่าให้จำเลยประกันภัยรถยนต์คันที่เช่าซื้อ และระบุให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันภัยนั้น ถือว่าเป็นการตกลงกันเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก เมื่อรถยนต์ คันดังกล่าวได้สูญหายไป สิทธิของโจทก์ที่จะรับค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยร่วมผู้รับประกันภัยจะเกิดขึ้นต่อเมื่อโจทก์แสดงเจตนาแก่จำเลยร่วมว่าจะถือเอาประโยชน์สัญญานั้น และเนื่องจากไม่มีข้อตกลงให้โจทก์จำต้องใช้สิทธิ เรียกร้องแก่จำเลยร่วมให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเสียก่อน การที่จำเลยแจ้งว่ารถยนต์คันที่เช่าซื้อได้สูญหายไปให้ โจทก์ทราบ และโจทก์มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อจำเลยร่วม โจทก์ก็ยังมีอำนาจเรียกร้องต่อจำเลยโดยตรงได้แม้จะเป็น ภายหลังจากที่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีแก่จำเลยร่วมขาดอายุความไปแล้ว ก็หาใช่โจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตอย่างใดไม่ เมื่อรถยนต์คันที่เช่าซื้อสูญหายไปโดยจำเลยยังไม่ได้ชำระราคาค่าเช่าซื้อแก่โจทก์แม้แต่งวดเดียว จำเลยจึงต้องรับผิดชำระราคารถยนต์แก่โจทก์
of 36