พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 513/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกค่าขาดไร้อุปการะ: บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองสิทธิแค่รับมรดก
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 บิดามีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 ให้ถือเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีผลทำให้เป็นผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมเท่านั้นเมื่อ ช. ผู้ตายไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายในการอุปการะเลี้ยงดูเด็กชาย ส. และเด็กชาย ว. บุตรของโจทก์ โจทก์ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชายทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าอุปการะจากจำเลยผู้ทำละเมิดแก่ผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องหลังสืบพยาน: ศาลมีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยในคำฟ้องได้ หากไม่ทำให้คู่ความเสียเปรียบ
ตามสำเนาสัญญาเช่าซื้ออันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องระบุไว้ชัดเจนว่าได้ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อโดย ว. ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจฝ่ายหนึ่งกับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้ออีกฝ่ายหนึ่ง เมื่ออ่านคำฟ้องแล้วจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาย่อมเข้าใจได้ดีว่า โจทก์ได้มอบอำนาจให้ ว. เป็นผู้ลงนามในสัญญาเช่าซื้อแทนโจทก์การที่โจทก์ระบุในคำฟ้องว่าโจทก์มอบอำนาจให้ ส. เป็นผู้ลงนามในสัญญาแทน และส่งสำเนาหนังสือมอบอำนาจฉบับที่โจทก์มอบอำนาจให้ ส. มีอำนาจลงนามแทนโจทก์ประกอบคำฟ้องนั้นเป็นเพียงข้อผิดพลาดเล็กน้อย ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ แม้จะเป็นการขอแก้ไขคำฟ้องหลังจากสืบพยานโจทก์เสร็จสิ้นแล้วและมิได้มีการส่งสำเนาคำร้องให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง เพราะเป็นการแก้ไขคำฟ้องให้ตรงกับข้อเท็จจริงที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาทราบดีอยู่แล้วและเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย จึงถือมิได้ว่าทำให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบในทางคดีแต่อย่างใด เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับตัวผู้รับมอบอำนาจแล้ว ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจรับฟังหนังสือมอบอำนาจฉบับใหม่ที่ถูกต้องแทนฉบับเดิมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความตกไป: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
แม้คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิ่มชื่อโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงดั่งเช่นคดีนี้ แล้วได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันและศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมแล้ว แต่ต่อมาภายหลังโจทก์ฟ้องจำเลยและคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข เมื่อโจทก์จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ย่อมแสดงว่าเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จผล สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอม คำพิพากษาตามยอมก็ย่อมไม่มีผลบังคับเช่นกัน ดังนั้น ถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: คำพิพากษาตามยอมตกไปเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความมีเงื่อนไขไม่สำเร็จ ทำให้ฟ้องคดีใหม่ได้
คดีแรกโจทก์เคยฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิรวมในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสแล้วทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจะนำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่เป็นสินสมรสไปขายให้แก่ผู้มีชื่อในราคา 2,000,000 บาท ภายใน 1 เดือนแล้วนำเงินมาแบ่งกัน โดยถือว่าเป็นสินส่วนตัวของแต่ละฝ่าย ศาลพิพากษาตามยอมต่อมาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ โดยอ้างว่าผู้ซื้อเปลี่ยนใจไม่ซื้อจึงมีการทำข้อตกลงเพื่อจัดการสินสมรสกันใหม่ แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเพื่อจัดการสินสมรสใหม่ โจทก์จึงฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามข้อตกลงใหม่เป็นคดีที่สอง คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาประนีประนอมยอมความคดีแรกเป็นสัญญามีเงื่อนไขไม่สามารถสำเร็จผล อันมีผลให้สัญญาประนีประนอมยอมความตกไปไม่มีผลบังคับส่วนข้อตกลงจัดการสินสมรสกันใหม่เป็นสัญญาระหว่างสมรส เมื่อคู่สมรสบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสจึงเป็นอันสิ้นผล โจทก์จึงมาฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้ใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพร้อม สิ่งปลูกสร้างอันเป็นสินสมรสเดียวกับที่ฟ้องคดีแรก ดังนี้ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมเช่นนี้ คำพิพากษาตามยอมในคดีแรกเป็นอันตกไปไม่มีผลบังคับเช่นเดียวกับสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าคดีแรกได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีนี้ ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแรกอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 124/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความตกไปได้ หากเงื่อนไขไม่สำเร็จผล ทำให้คำพิพากษาตามยอมเป็นอันตกไป โจทก์ฟ้องซ้ำได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องจำเลยขอให้เพิ่มชื่อโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทเช่นเดียวกับคดีหลัง แต่คดีก่อนได้มีการทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ต่อมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีหลังโจทก์ได้ฟ้องจำเลยขอให้บังคับจำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นคดีหนึ่งซึ่งคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาที่มีเงื่อนไข เมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ย่อมแสดงว่าเงื่อนไขตามสัญญาไม่สำเร็จผล สัญญาประนีประนอมยอมความย่อมตกไปไม่มีผลบังคับ เมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาตามยอมเช่นนี้ คำพิพากษาตามยอมเป็นอันตกไปไม่มีผลบังคับเช่นกัน จึงถือไม่ได้ว่าคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีหลัง โจทก์จึงฟ้องคดีหลังได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การขัดแย้งและประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ยกขึ้นสู่การพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ย่อมเป็นเหตุให้ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินนั้น โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก ผ.ตั้งแต่ปี 2495 ต่อมาจำเลยได้ขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินพิพาท จำเลยให้การว่า ที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินพิพาท แต่หากศาลรับฟังได้ตามคำฟ้องของโจทก์ว่าที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาท จำเลยก็ได้แย่งการครอบครองและได้บอกกล่าวถึงเจตนาครอบครองที่ดินดังกล่าวต่อโจทก์รวมระยะเวลากว่า 1 ปี ก่อนโจทก์ฟ้อง ดังนี้คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำให้การไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยและขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นพิพาทว่าที่ดินตามคำฟ้องเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินหรือไม่ ส่วนฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาที่จำเลยบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครอง ซึ่งเป็นการฎีกาว่าโจทก์นำคดีมาฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองเกินกว่า 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองเป็นการไม่ชอบนั้น คดีนี้จำเลยให้การว่าที่ดินเป็นของจำเลยมาแต่ต้นโดยครอบครองมากว่า 10 ปี และโดยผลคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ดังนั้น กรณีจึงไม่เป็นการที่จำเลยได้ แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่เช่นกัน ซึ่งศาลชั้นต้นก็ไม่ได้กำหนดประเด็นทั้งสองข้อนี้ไว้และศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ได้หยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยโดยเหตุที่เป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อดังกล่าวจึงเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
ที่จำเลยอ้างว่าในคดีแพ่ง ของศาลชั้นต้น ที่ จ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิ ครอบครองที่ดินพิพาท โดยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วนั้น แม้จะมีผลว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพัน จ. และ จำเลย ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่หาได้ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่อาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม มาตรา 145 วรรคสอง (2) ไม่
ที่จำเลยอ้างว่าในคดีแพ่ง ของศาลชั้นต้น ที่ จ. เป็นโจทก์ฟ้องจำเลย ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิ ครอบครองที่ดินพิพาท โดยคดีดังกล่าวถึงที่สุดแล้วนั้น แม้จะมีผลว่าจำเลยได้สิทธิครอบครองที่ดินพิพาท และคำพิพากษาดังกล่าวย่อมผูกพัน จ. และ จำเลย ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่หาได้ผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่อาจพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าตาม มาตรา 145 วรรคสอง (2) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การซื้อขาย, การครอบครอง, และผลของคำพิพากษาถึงที่สุดต่อบุคคลภายนอก
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยซื้อมาจาก ผ. ตั้งแต่ปี 2495 ต่อมาจำเลยได้ขอออกโฉนดทับที่ดินพิพาท โจทก์จึงฟ้องขอให้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินและขับไล่จำเลย จำเลยให้การว่าเป็นที่ดินคนละแปลงกับที่ดินพิพาท แต่หากศาลรับฟังได้ว่าที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน จำเลยก็ได้แย่งการครอบครองและได้บอกกล่าวถึงเจตนาครอบครองที่ดินดังกล่าวต่อโจทก์รวมระยะเวลากว่า 1 ปี ก่อนโจทก์ฟ้อง เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลยและขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่จำเลยขอรังวัดออกโฉนดที่ดินหรือไม่
คำให้การของจำเลยที่ว่า ที่ดินเป็นของจำเลยมาแต่ต้นโดยครอบครองมากว่า10 ปี และโดยผลคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในระยะเวลา 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อดังกล่าวจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำให้การของจำเลยที่ว่า ที่ดินเป็นของจำเลยมาแต่ต้นโดยครอบครองมากว่า10 ปี และโดยผลคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วนั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในระยะเวลา 1 ปีนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ ฎีกาของจำเลยในข้อดังกล่าวจึงมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีก่อนเข้ากับคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ไม่จำกัดความผิดฐานเดียวกันหรืออายุผู้กระทำผิด
ฎีกาจำเลยที่ว่าการบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 จะต้องเป็นความผิดฐานเดียวกันและขณะกระทำผิดอายุต้องเกิน 17 ปี และตามคำขอท้ายฟ้องจะต้องระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ด้วยนั้น เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 มิได้บังคับว่าโทษในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้กับโทษในคดีหลังจะต้องเป็นโทษจากความผิดฐานเดียวกันจึงจะบวกโทษได้และมิได้มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับอายุของผู้กระทำผิด ดังนั้น แม้จะมีเหตุดังกล่าวศาลก็นำโทษของจำเลยในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้บวกกับโทษในคดีหลังได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 6 เดือน โทษจำคุกรอไว้ 2 ปี ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง และภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ จำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกขอให้ศาลบวกโทษที่รอการลงโทษไว้เข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้ระบุว่าขอให้ศาลสั่งบวกโทษจำเลย ศาลจึงมีอำนาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง เพราะมาตราดังกล่าวมิใช่มาตราที่บัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดอันจำต้องอ้างมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 มิได้บังคับว่าโทษในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้กับโทษในคดีหลังจะต้องเป็นโทษจากความผิดฐานเดียวกันจึงจะบวกโทษได้และมิได้มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับอายุของผู้กระทำผิด ดังนั้น แม้จะมีเหตุดังกล่าวศาลก็นำโทษของจำเลยในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้บวกกับโทษในคดีหลังได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ก่อนคดีนี้จำเลยเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก 6 เดือน โทษจำคุกรอไว้ 2 ปี ฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนและพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง และภายในเวลาที่ศาลรอการลงโทษไว้ จำเลยกลับมากระทำความผิดคดีนี้อีกขอให้ศาลบวกโทษที่รอการลงโทษไว้เข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้ระบุว่าขอให้ศาลสั่งบวกโทษจำเลย ศาลจึงมีอำนาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง เพราะมาตราดังกล่าวมิใช่มาตราที่บัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดอันจำต้องอ้างมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 40/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษคดีก่อนกับคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ไม่จำกัดฐานความผิดหรืออายุผู้กระทำผิด
บทบัญญัติประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 มิได้มีข้อบังคับว่าโทษในคดีก่อนที่ศาลรอการลงโทษไว้กับโทษในคดีหลังจะต้องเป็นโทษจากความผิดฐานเดียวกัน จึงจะนำมาบวกโทษได้ และมิได้มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับอายุของผู้กระทำความผิด แม้ขณะกระทำความผิดจำเลยมีอายุไม่เกิน 17 ปี ศาลก็นำโทษของจำเลยในคดีก่อนที่รอการลงโทษไว้บวกกับโทษในคดีหลังได้
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ศาลบวกโทษที่รอการลงโทษไว้เข้ากับโทษในคดีหลัง และในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้ระบุว่า ขอให้ศาลสั่งบวกโทษจำเลยตามกฎหมาย ศาลย่อมมีอำนาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุถึงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ไว้ในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ตาม เพราะมาตราดังกล่าวมิใช่เป็นมาตราที่บัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดอันจำต้องอ้างมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6)
ปัญหาว่า การบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 จะต้องเป็นความผิดฐานเดียวกัน ขณะกระทำความผิดอายุต้องเกิน 17 ปี และต้องอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ในคำขอท้ายฟ้องหรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จำเลยก็ยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องขอให้ศาลบวกโทษที่รอการลงโทษไว้เข้ากับโทษในคดีหลัง และในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ได้ระบุว่า ขอให้ศาลสั่งบวกโทษจำเลยตามกฎหมาย ศาลย่อมมีอำนาจบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีนี้ได้ แม้โจทก์จะมิได้ระบุถึงประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ไว้ในคำขอท้ายฟ้องโจทก์ก็ตาม เพราะมาตราดังกล่าวมิใช่เป็นมาตราที่บัญญัติว่าเป็นการกระทำความผิดอันจำต้องอ้างมาในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6)
ปัญหาว่า การบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลัง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 จะต้องเป็นความผิดฐานเดียวกัน ขณะกระทำความผิดอายุต้องเกิน 17 ปี และต้องอ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 ในคำขอท้ายฟ้องหรือไม่นั้น ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 จำเลยก็ยกขึ้นในชั้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6813-6814/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดิน, สาธารณูปโภค, และการปฏิบัติตามสัญญา: ศาลพิจารณาถึงระยะเวลาการได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจและเจตนาของผู้ขายในการจัดหาสาธารณูปโภค
โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับบริษัทจำเลยตั้งแต่เดือนพฤษภาคม2537 แต่จากหลักฐานหนังสืออนุญาตทำการค้าที่ดินระบุว่าจำเลยเพิ่งได้รับอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทยให้ค้าที่ดินได้เมื่อเดือนเมษายน 2539 ซึ่งก่อนหน้านี้จำเลยได้แจ้งไว้ในแผ่นพับใบโฆษณาว่าใบอนุญาตค้าที่ดินของจำเลยอยู่ระหว่างดำเนินการ แสดงว่าในช่วงที่จำเลยยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้ค้าที่ดินในโครงการดังกล่าวจำเลยไม่อาจยื่นขออนุญาตใช้น้ำบาดาลและไฟฟ้าต่อหน่วยงานรับผิดชอบได้การที่จำเลยยื่นคำร้องขอใช้ไฟฟ้าต่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเมื่อเดือนเมษายน 2539 และขอเจาะน้ำบาดาลโดยได้รับใบอนุญาตให้เจาะได้เมื่อเดือนมิถุนายน 2539 และได้รับใบอนุญาตให้ใช้น้ำบาดาลได้เมื่อเดือนกรกฎาคม 2540 ซึ่งล้วนแต่บ่งให้เห็นเจตนาของจำเลยว่า จำเลยได้รีบขวนขวายจัดทำสาธารณูปโภคทันทีที่ได้รับใบอนุญาตให้ค้าที่ดินจากทางราชการ โดยมิได้เพิกเฉยไม่ดำเนินการใด จำเลยจึงมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและไม่จำต้องคืนเงินที่รับไว้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง