พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6781/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของรวม: ฟ้องแบ่งได้แม้มีปัญหาความขัดแย้ง แต่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1363 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ แต่จะเรียกให้แบ่งในเวลาไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้การแบ่งทรัพย์สินในเวลานั้นจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของรวมคนอื่น การที่โจทก์และจำเลยถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินพิพาท โดย หจก. อ. ที่มีโจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนและได้เลิกกิจการไปแล้วเปิดดำเนินกิจการอยู่ในอาคารบนที่ดินทั้งโจทก์และจำเลยมีปัญหากันถึงขนาดจำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอาญา โจทก์จึงมิได้เข้าไปในที่ดินและอาคารพิพาทอีก แม้จะปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินและอาคารพิพาท แต่ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียว มิใช่เพื่อผลประโยชน์ของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่นด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมดังกล่าวจะฟังว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทออกขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้แบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในทันทีนั้นไม่ถูกต้อง เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ได้บัญญัติกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของรวมไว้เป็นขั้นตอนแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโดยให้จำเลยแบ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โดยให้โจทก์จำเลยแบ่งทรัพย์สินกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลราคาระหว่างกันเอง ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันคนละครึ่ง
การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยเอาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทออกขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้แบ่งให้โจทก์ครึ่งหนึ่งในทันทีนั้นไม่ถูกต้อง เพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1364 ได้บัญญัติกำหนดวิธีการแบ่งทรัพย์สินของเจ้าของรวมไว้เป็นขั้นตอนแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโดยให้จำเลยแบ่งที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง โดยให้โจทก์จำเลยแบ่งทรัพย์สินกันเองก่อน เมื่อไม่สามารถแบ่งได้ให้ประมูลราคาระหว่างกันเอง ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาด ได้เงินสุทธิเท่าใดให้แบ่งกันคนละครึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6428/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดดินใกล้เขตที่ดินอื่นต้องจัดการป้องกันความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1343
ที่ดินโจทก์และจำเลยมีแนวเขตที่ดินติดต่อกันจากทิศเหนือลงมาทิศใต้ โจทก์ทำรั้วลวดหนามกั้นแนวเขตที่ดินไว้ ต่อมาจำเลยนำรถแบ็กโฮมาขุดดินในที่ดินของจำเลยยาวประมาณ 100 เมตร ใกล้แนวเขตที่ดินของโจทก์ บางจุดห่างจากแนวเขตประมาณ 30 ถึง 50 เซนติเมตร บางจุดจำเลยขุดในแนวตั้งฉากลึก 2 เมตร โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยนำดินมาถมที่ขุดพร้อมให้สร้างเขื่อนกันดินพังทลายตลอดแนวที่ดินที่ขุด แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ว่า เมื่อจำเลยขุดดินและผ่านฤดูฝนแล้ว ที่ดิน ต้นทุเรียนและรั้วของโจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1343 บัญญัติห้ามมิให้ขุดดินจนอาจเป็นอันตรายแก่ความอยู่มั่นแห่งที่ดินที่ติดต่อเว้นแต่จะจัดการเพียงพอเพื่อป้องกันความเสียหาย การที่จำเลยขุดดินลึก 2 เมตร ในแนวตั้งฉากมีระยะใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินของโจทก์ ที่ดินของโจทก์อาจได้รับความเสียหายพังทลายลงได้ แม้ศาลล่างทั้งสองจะให้จำเลยนำดินมาถมที่ดินที่ติดกับแนวเขตที่ดินของโจทก์ให้อยู่ในระดับเดิมโดยให้มีระยะห่างจากแนวเขต 1 เมตร และเห็นว่าการสร้างเขื่อนเกินความจำเป็นซึ่งศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นว่ายังไม่เพียงพอเพื่อป้องกันความเสียหาย ศาลฎีกามีอำนาจกำหนดให้จำเลยปรับระดับพื้นดินที่ต่อจากที่ดินที่จำเลยถมให้ลาดเอียงลงสู่พื้นดินของจำเลยในระดับไม่เกิน 45 องศาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6428/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขุดดินใกล้เขตที่ดินของผู้อื่นต้องจัดการป้องกันความเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1343
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1343 บัญญัติห้ามมิให้ขุดดินจนอาจเป็นอันตรายแก่ความอยู่มั่นแห่งที่ดินที่ติดต่อ เว้นแต่จะจัดการเพียงพอเพื่อป้องกันความเสียหาย ฉะนั้น การที่จำเลยขุดดินลึก 2 เมตร ในแนวตั้งฉากซึ่งมีระยะใกล้ชิดกับแนวเขตที่ดินของโจทก์ อาจทำให้ที่ดินของโจทก์ได้รับความเสียหายพังทลายลงได้ จำเลยจึงต้องจัดการเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ที่ดินของโจทก์ ซึ่งศาลเห็นสมควรให้จำเลยปรับระดับพื้นดินที่ต่อจากที่ดินที่จำเลยถมให้ลาดเอียงสู่พื้นดินในระดับไม่เกิน 45 องศา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กลฉ้อฉลซื้อขายที่ดิน โมฆียะกระทบสัญญาซื้อฝาก บุคคลภายนอกต้องรับผล
แม้ในหนังสือสัญญาซื้อขายเอกสารหมาย จ. 16 ระบุว่า ซื้อขายราคา 2,000,000 บาท โจทก์ทั้งสองนำสืบถึงข้อสัญญาแท้จริงได้เพราะในทางปฏิบัติคู่สัญญาซื้อขายที่ดินมักจะแจ้งราคาที่ซื้อขายกันตามราคาประเมิน เพื่อประโยชน์ในการชำระค่าภาษีและค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน กรณีดังกล่าวมิใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 (ข) เพราะเป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ทำลายนิติกรรมการซื้อขายโดยอ้างว่าถูกจำเลยที่ 1 ใช้อุบายหลอกลวง
จำเลยที่ 1 วางแผนหลอกลวงโจทก์ทั้งสองมาแต่ต้นโดยมิได้เจตนาจะซื้อที่ดินพิพาทอย่างแท้จริง เพียงแต่ต้องการแสวงหาประโยชน์จากที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาชำระราคาที่ดินและใช้กลอุบายหลอกลวงโจทก์ทั้งสองให้ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการปกปิดข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดถ้ามิได้ปกปิดข้อเท็จจริงเช่นนั้น การทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทก็คงมิได้เกิดขึ้น การจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 ฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรม ย่อมถือว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมนั้นแล้ว
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ในทันทีที่จำเลยที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสองโดยแจ้งหลักฐานที่อยู่ของตนเองไม่ตรงตามความเป็นจริง ย่อมเป็นข้อพิรุธน่าสงสัยให้เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นที่ดินพิพาทมาจากโจทก์ทั้งสองด้วยวิธีการอันไม่ถูกต้องชอบธรรม กรณีของจำเลยที่ 2 จึงเข้าข่ายของบุคคลภายนอกผู้ได้ที่ดินมาโดยไม่สุจริต การบอกล้างโมฆียะของโจทก์ทั้งสองเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ตลอดไปจนถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิขอเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
จำเลยที่ 1 วางแผนหลอกลวงโจทก์ทั้งสองมาแต่ต้นโดยมิได้เจตนาจะซื้อที่ดินพิพาทอย่างแท้จริง เพียงแต่ต้องการแสวงหาประโยชน์จากที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาชำระราคาที่ดินและใช้กลอุบายหลอกลวงโจทก์ทั้งสองให้ทำนิติกรรมขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 เป็นการปกปิดข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญถึงขนาดถ้ามิได้ปกปิดข้อเท็จจริงเช่นนั้น การทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทก็คงมิได้เกิดขึ้น การจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 ฟ้องโจทก์จึงเป็นเรื่องการทำนิติกรรมจดทะเบียนซื้อขายที่ดินอันเป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรม ย่อมถือว่าโจทก์ได้บอกล้างนิติกรรมนั้นแล้ว
พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 รับซื้อฝากที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 ในทันทีที่จำเลยที่ 1 รับโอนที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสองโดยแจ้งหลักฐานที่อยู่ของตนเองไม่ตรงตามความเป็นจริง ย่อมเป็นข้อพิรุธน่าสงสัยให้เชื่อว่าจำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ยื่นที่ดินพิพาทมาจากโจทก์ทั้งสองด้วยวิธีการอันไม่ถูกต้องชอบธรรม กรณีของจำเลยที่ 2 จึงเข้าข่ายของบุคคลภายนอกผู้ได้ที่ดินมาโดยไม่สุจริต การบอกล้างโมฆียะของโจทก์ทั้งสองเพราะถูกกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ตลอดไปจนถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิขอเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินด้วยกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ ผู้รับโอนรู้เท่าทันเป็นบุคคลภายนอกไม่สุจริต โจทก์มีสิทธิบอกล้างได้
โจทก์ทั้งสองทำนิติกรรมขายที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 เพราะกลฉ้อฉลของจำเลยที่ 1เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรม ย่อมถือว่าโจทก์ได้บอกล้างโมฆียะกรรมนั้นแล้วนิติกรรมการซื้อขายที่ดินจึงตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 ทราบว่าจำเลยที่ 1 ได้ที่ดินมาจากโจทก์ทั้งสองด้วยวิธีการไม่ถูกต้องชอบธรรม จึงเป็นการได้ที่ดินมาโดยไม่สุจริตการบอกล้างโมฆียะกรรมของโจทก์ทั้งสองย่อมยกเป็นข้อต่อสู้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 160 โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิขอเพิกถอนสัญญาขายฝากที่ดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนกำหนดเมื่อมีการชำระบัญชีบริษัท แม้เจ้าหนี้สามัญยังไม่ได้รับชำระหนี้ สิทธิของเจ้าหนี้หุ้นกู้ก็เกิดมีขึ้น
กระทรวงการคลังมีคำสั่งให้จำเลยระงับการดำเนินกิจการและให้จำเลยจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการแต่แผนฟื้นฟูกิจการของจำเลยไม่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน จำเลยต้องปิดกิจการโดยถาวรคณะกรรมการดังกล่าวจึงดำเนินการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัท กรณีจึงเข้าเงื่อนไขที่โจทก์สามารถไถ่ถอนหุ้นกู้ก่อนครบกำหนดตามข้อกำหนดในหนังสือข้อสนเทศเสนอขายหุ้นกู้ด้อยสิทธิฯข้อ 1.6.2 แม้สิทธิและผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นกู้ด้อยสิทธิจะได้ระบุถึงกรณีที่มีการชำระบัญชีเพื่อเลิกบริษัทว่าเจ้าหนี้หุ้นกู้จะพึงได้รับชำระหนี้ก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้สามัญได้รับชำระหนี้จนเสร็จสิ้นแล้ว ก็มิได้หมายความว่าสิทธิของเจ้าหนี้ในมูลหนี้ของหุ้นกู้ที่จะพึงได้รับชำระหนี้ยังไม่เกิดมีขึ้นจนกว่าเจ้าหนี้สามัญจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น เมื่อจำเลยปิดกิจการและมีการชำระบัญชี ด้วยอำนาจแห่งมูลหนี้โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยตามหุ้นกู้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5917/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเข้าร่วมเป็นโจทก์: ผู้ร้องต้องมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามกฎหมายเท่านั้น
ผู้ร้องเป็นพี่ชายผู้ตาย มิใช่บุคคลที่มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายตามที่ ป.วิ.อ. มาตรา 5 (2) บัญญัติไว้ ไม่อาจร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5861/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าเช่าซื้อหลังบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ: โจทก์มีสิทธิเรียกร้องเฉพาะค่าใช้ทรัพย์และค่าเสียหายอื่น ไม่สามารถเรียกค่าเช่าค้างชำระได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 574 บัญญัติไว้เพียงว่า เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเพราะผู้เช่าซื้อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ผู้ให้เช่าซื้อมีสิทธิริบเงินที่ผู้ให้เช่าซื้อรับไว้และกลับเข้าครอบครองทรัพย์ที่ให้เช่าซื้อเท่านั้น การที่โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อกำหนดให้จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อต้องชำระค่าเช่าซื้อทั้งหมดในขณะที่โจทก์มีสิทธิกลับเข้าครอบครองรถยนต์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องซ้ำซ้อนกัน ไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนสัญญาเลิกกันได้ คงเรียกได้แต่ค่าใช้ทรัพย์ตลอดเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองทรัพย์อยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสาม และค่าเสียหายอื่นที่จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดนอกเหนือจากค่าเสียหายอันเกิดจากการใช้ทรัพย์โดยชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5363/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด ยึดทรัพย์ได้ก่อนบอกเลิกสัญญา ค่าเสียหายคิดจากราคาตลาด
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันตามสัญญาเช่าซื้อว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระเงินใด ๆ จำเลยที่ 1 ยอมให้ผู้แทนหรือลูกจ้างของโจทก์เข้าไปยังสถานที่ของจำเลยที่ 1เพื่อยึดรถยนต์ได้ไม่ว่าโจทก์จะได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ก็ตาม การที่โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถกระทำได้โดยที่ยังมิได้มีการบอกเลิกสัญญากันและต่อมาภายหลังโจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 โดยที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคารถยนต์แก่โจทก์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดราคารถยนต์เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ยังขาดได้ เพราะจะมีผลเท่ากับบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่เลิกกันไปแล้ว หากโจทก์ยังได้รับความเสียหายในส่วนราคารถยนต์ที่ขาด โจทก์สามารถเรียกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคท้าย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกได้นี้คือค่าขาดราคาไปจากราคารถยนต์ที่แท้จริง ไม่ใช่ค่าขาดราคาไปจากราคาตามสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดราคารถยนต์เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ยังขาดได้ เพราะจะมีผลเท่ากับบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่เลิกกันไปแล้ว หากโจทก์ยังได้รับความเสียหายในส่วนราคารถยนต์ที่ขาด โจทก์สามารถเรียกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคท้าย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกได้นี้คือค่าขาดราคาไปจากราคารถยนต์ที่แท้จริง ไม่ใช่ค่าขาดราคาไปจากราคาตามสัญญาเช่าซื้อ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5363/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อผิดนัด ยึดรถได้ก่อนบอกเลิกสัญญา ค่าเสียหายคิดจากราคาจริงรถยนต์
โจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงกันตามสัญญาเช่าซื้อว่า ถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระเงินใด ๆ จำเลยที่ 1 ยอมให้ผู้แทนหรือลูกจ้างของโจทก์เข้าไปยังสถานที่ของจำเลยที่ 1เพื่อยึดรถยนต์ได้ไม่ว่าโจทก์จะได้บอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ก็ตาม การที่โจทก์ติดตามยึดรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนจากจำเลยที่ 1 จึงเป็นกรณีที่โจทก์สามารถกระทำได้โดยที่ยังมิได้มีการบอกเลิกสัญญากันและต่อมาภายหลังโจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1 โดยที่จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายอันเป็นค่าขาดราคารถยนต์แก่โจทก์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดราคารถยนต์เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ยังขาดได้ เพราะจะมีผลเท่ากับบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่เลิกกันไปแล้ว หากโจทก์ยังได้รับความเสียหายในส่วนราคารถยนต์ที่ขาด โจทก์สามารถเรียกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคท้าย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกได้นี้คือค่าขาดราคาไปจากราคารถยนต์ที่แท้จริง ไม่ใช่ค่าขาดราคาไปจากราคาตามสัญญาเช่าซื้อ
เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกัน คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคแรก โจทก์จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าขาดราคารถยนต์เท่ากับค่าเช่าซื้อที่ยังขาดได้ เพราะจะมีผลเท่ากับบังคับให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อที่เลิกกันไปแล้ว หากโจทก์ยังได้รับความเสียหายในส่วนราคารถยนต์ที่ขาด โจทก์สามารถเรียกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคท้าย แต่ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกได้นี้คือค่าขาดราคาไปจากราคารถยนต์ที่แท้จริง ไม่ใช่ค่าขาดราคาไปจากราคาตามสัญญาเช่าซื้อ