พบผลลัพธ์ทั้งหมด 354 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8231/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูจากอดีตสามี แม้เปลี่ยนฐานการฟ้องจากบันทึกข้อตกลงเป็น ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง
ในคดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูตามบันทึกข้อตกลงเป็นเงิน 11,000 บาท และจ่ายจากเงินบำนาญครึ่งหนึ่ง หรือให้โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของร่วมกันรับเงินบำเหน็จ เมื่อจำเลยเกษียณอายุราชการแล้ว ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความไม่เต็มคำขอโดยตกลงว่า จำเลยยินยอมจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูให้แก่โจทก์ 11,000 บาท และโจทก์จำเลยไม่ติดใจว่ากล่าวคดีสืบต่อไป ย่อมหมายความว่าโจทก์พอใจที่จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูจากจำเลยเป็นเงิน 11,000 บาท โดยไม่ติดใจที่จะเรียกให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกต่อไป ดังนี้ ที่โจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยจ่ายค่าอุปการะเลี้ยงดูอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ แม้ในคดีก่อนโจทก์จะเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยอาศัยบันทึกข้อตกลงแต่มูลเหตุของการทำบันทึกข้อตกลงเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาของโจทก์จำเลยตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1461 วรรคสอง นั่นเอง แม้ในคดีก่อนโจทก์จะไม่อ้างบันทึกข้อตกลงโจทก์ก็มีสิทธิฟ้องจำเลยเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้อยู่แล้ว ประเด็นแห่งคดีนี้กับคดีก่อนจึงเป็นประเด็นและเหตุเดียวกัน คือ การเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตาม ป.พ.พ. มาตรา 1461 วรรคสอง ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6233/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด โมฆะ; สิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 224
ดอกเบี้ยเงินกู้ที่จำเลยชำระไปแล้วตามสัญญาคำนวณแล้วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ข้อตกลงในส่วนดอกเบี้ยตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับเอาดอกเบี้ยตามสัญญาแก่จำเลย แต่โจทก์ยังมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละ 7.5 ต่อปีได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โดยเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดชำระหนี้ตามหนังสือทวงถาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3932/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งต้องเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและแสดงสิทธิของจำเลยที่ 2 เอง ไม่ใช่สิทธิของผู้อื่น
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) ฟ้องแย้งเป็นคำฟ้องอย่างหนึ่ง การบรรยายฟ้องแย้งจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 172 วรรคสอง และต้องบรรยายให้เห็นว่าโจทก์ได้โต้แย้งสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยอย่างไรตามมาตรา 55 ทั้งต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ตามมาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสุดท้าย
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 อ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วโจทก์มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่ความตายแล้วโจทก์จึงต้องจดทะเบียนให้เด็กชาย ก. ทายาทของจำเลยที่ 1 และมีคำขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนใส่ชื่อเด็กชาย ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น คงมีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งจนสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบ
ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 อ้างว่า จำเลยที่ 1 ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วโจทก์มีหน้าที่ต้องจดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ แต่เนื่องจากจำเลยที่ 1 ได้ถึงแก่ความตายแล้วโจทก์จึงต้องจดทะเบียนให้เด็กชาย ก. ทายาทของจำเลยที่ 1 และมีคำขอให้บังคับโจทก์จดทะเบียนใส่ชื่อเด็กชาย ก. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์รถยนต์ที่เช่าซื้อ เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 1 หาใช่โต้แย้งสิทธิของจำเลยที่ 2 ไม่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งในส่วนนี้ ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม ทั้งการที่สัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 อย่างลูกหนี้ร่วมนั้น คงมีผลเพียงว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกชำระหนี้จากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 คนใดคนหนึ่งจนสิ้นเชิงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 และจำเลยที่ 2 ไม่อาจใช้สิทธิดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 688, 689 และ 690 ได้เท่านั้น ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เกิดสิทธิที่จะฟ้องคดีแทนจำเลยที่ 1 ด้วย จึงเป็นฟ้องแย้งที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ: จำเลยโอนที่ดินให้ผู้อื่นก่อน โจทก์ขอขายทอดตลาดไม่ได้
ในขณะที่โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความกำหนดให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้โจทก์นั้น จำเลยได้โอนที่ดินพิพาทให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ อันเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ให้จำเลยต้องใช้ราคาที่ดิน หากจำเลยไม่อาจโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความจะระบุว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง จำเลยยอมให้โจทก์บังคับคดีทันทีก็ไม่ได้หมายความว่าหากจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินทั้งสิบแปลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจะต้องชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์ หากจำเลยผิดสัญญาอย่างใด โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยเป็นคดีอื่นต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3496/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ: โจทก์ขอขายทอดตลาดที่ดินเพื่อชำระราคาไม่ได้ แม้จำเลยผิดสัญญา
โจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลพิพากษาตามยอมแล้ว ในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 กำหนดให้จำเลยโอนที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ หากจำเลยไม่ยอมโอนให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนา แต่ในขณะที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันนั้น จำเลยได้โอนที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 ให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จำเลยจึงไม่อาจโอนให้แก่โจทก์ได้ อันเป็นการผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่สัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ระบุให้จำเลยต้องใช้ราคาที่ดินหากจำเลยไม่อาจโอนได้ แม้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 6 จะระบุว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ว่าข้อใดข้อหนึ่ง จำเลยยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันที ก็ไม่ได้หมายความว่าหากจำเลยไม่สามารถโอนที่ดินทั้งสิบแปลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 ซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาทตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 ให้แก่โจทก์ได้จำเลยจะต้องชำระราคาที่ดินให้แก่โจทก์ ดังนั้น โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลมีคำสั่งขายทอดตลาดที่ดินทั้งสิบแปลงมาชำระเป็นราคาที่ดินตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2.10 ได้ หากจำเลยผิดสัญญาอย่างใด โจทก์จะต้องไปว่ากล่าวเอากับจำเลยอีกต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1646/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย: พฤติการณ์เลี้ยงดู การตรวจ DNA และพยานหลักฐานสนับสนุน
ผู้ร้องเกิดเมื่อกลางปี 2516 นับถึงวันยื่นคำร้องเป็นเวลาเกือบ 30 ปี เหตุการณ์ในช่วงเวลาจัดพิธีสมรสและการตั้งครรภ์ไม่มีหลักฐานปรากฏวันเดือนปีที่แน่นอนเป็นเรื่องคาดคะเนเอาโดยประมาณจึงอาจผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปได้บ้าง ทั้งร้องขอแก้ไขคำร้องขอโดยอ้างเหตุพิมพ์ข้อความผิดพลาดเล็กน้อยเพื่อให้ตรงตามความเป็นจริง จึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยทั้งมีเหตุผลสมควร ผู้ร้องมีสิทธิขอแก้ไขคำร้องได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องแก้ไขคำร้องขอชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 180 ตอนท้ายแล้ว
เดิมผู้คัดค้านมิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ในคำคัดค้านเพิ่งมายื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้เมื่อผู้ร้องอายุ 28 ปี เป็นการฟ้องคดีเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่บรรลุนิติภาวะ คดีของผู้ร้องขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสาม หลังจากมีการสืบพยานผู้ร้องเสร็จไปบางส่วนแล้ว อ้างเหตุผลว่าเป็นทนายความคนใหม่ของผู้คัดค้านเพิ่งได้รับการแต่งตั้งและตรวจสำนวนพบคำคัดค้านยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ จึงเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านหลังจากพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดคือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เหตุที่อ้างก็ไม่ใช่เหตุผลอันสมควรตามกฎหมายและการขอแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นเรื่องกำหนดเวลาฟ้องคดีตามาตรา 1556 วรรคสามเป็นอายุความฟ้องคดีซึ่งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ทั้งมิใช่การแก้ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 แล้ว จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความให้ศาลจำต้องวินิจฉัยและเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
ผู้ร้องเป็นบุตรสืบสายโลหิตของ ป. ป. แสดงออกต่อญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของมารดาผู้ร้อง มิได้แสดงออกต่อญาติข้างบิดาหรือเพื่อนบ้านแถวบ้านพักของ ป. ซึ่งอยู่ต่างท้องที่กันว่าผู้ร้องเป็นบุตร ก็ถือได้ว่าพฤติกรรมที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดเวลาว่าผู้ร้องเป็นบุตร ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555 (7) แล้ว
เดิมผู้คัดค้านมิได้ให้การต่อสู้เรื่องอายุความไว้ในคำคัดค้านเพิ่งมายื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคดีนี้เมื่อผู้ร้องอายุ 28 ปี เป็นการฟ้องคดีเมื่อเกิน 1 ปี นับแต่บรรลุนิติภาวะ คดีของผู้ร้องขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1556 วรรคสาม หลังจากมีการสืบพยานผู้ร้องเสร็จไปบางส่วนแล้ว อ้างเหตุผลว่าเป็นทนายความคนใหม่ของผู้คัดค้านเพิ่งได้รับการแต่งตั้งและตรวจสำนวนพบคำคัดค้านยังบกพร่องไม่สมบูรณ์ จึงเป็นการขอแก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านหลังจากพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดคือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน เหตุที่อ้างก็ไม่ใช่เหตุผลอันสมควรตามกฎหมายและการขอแก้ไขเพิ่มเติมประเด็นเรื่องกำหนดเวลาฟ้องคดีตามาตรา 1556 วรรคสามเป็นอายุความฟ้องคดีซึ่งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ทั้งมิใช่การแก้ข้อผิดพลาดหรือผิดหลงเล็กน้อย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้แก้ไขเพิ่มเติมคำคัดค้านโดยชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 แล้ว จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องอายุความให้ศาลจำต้องวินิจฉัยและเป็นข้อมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
ผู้ร้องเป็นบุตรสืบสายโลหิตของ ป. ป. แสดงออกต่อญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่บ้านซึ่งเป็นภูมิลำเนาของมารดาผู้ร้อง มิได้แสดงออกต่อญาติข้างบิดาหรือเพื่อนบ้านแถวบ้านพักของ ป. ซึ่งอยู่ต่างท้องที่กันว่าผู้ร้องเป็นบุตร ก็ถือได้ว่าพฤติกรรมที่รู้กันอยู่ทั่วไปตลอดเวลาว่าผู้ร้องเป็นบุตร ป. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1555 (7) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7481/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาสมทบในคดีเยาวชน: การไม่ครบองค์คณะส่งผลให้คำพิพากษาไม่ชอบ หากไม่คัดค้านเสียก่อนฎีกาไม่ได้
คดีที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้ส่วนเสียศาลจะต้องกำหนดให้มีผู้พิพากษาสมทบสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะในการพิจารณาคดีด้วย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 24 ประกอบมาตรา 109 วรรคสอง ปรากฏตามสำนวนคดีนี้ได้ความว่าการพิจารณาคดีในแต่ละนัดบางครั้งก็มีลายมือชื่อผู้พิพากษาสมทบ 2 คนบ้าง หรือคนเดียวบ้างเป็นองค์คณะ และบางครั้งก็ไม่มีลายมือชื่อผู้พิพากษาสมทบเป็นองค์คณะเลย ซึ่งจำเลยทั้งสามได้ทราบเรื่องการพิจารณาที่ผิดระเบียบของศาลเยาวชนและครอบครัวกลางซึ่งเป็นศาลชั้นต้นนั้นมาโดยตลอด หากจำเลยทั้งสามเห็นว่าศาลชั้นต้นดังกล่าวมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดีอันเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบ จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่เสียหายจะต้องยื่นคำคัดค้านก่อนมีคำพิพากษาแต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยทั้งสามได้ทราบการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 เมื่อจำเลยทั้งสามมิได้คัดค้านจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยทั้งสามจะมาฎีกาโต้แย้งในภายหลังหาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6815/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดมาตราส่วนโทษและการลงโทษปรับสำหรับความผิดทางศุลกากรและยาสูบ การพิจารณาโทษปรับต่อจำเลยคนเดียว
การลดมาตราส่วนโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 คือ การลดอัตราโทษตามที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นๆ ลงกึ่งหนึ่งแล้วจึงลงโทษ มิใช่ศาลกำหนดโทษลงไว้ก่อนแล้วจึงลดมาตราส่วนโทษจากโทษที่ลงไว้ และความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติให้ลงโทษปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมอากรเข้าด้วยแล้ว มิใช่ให้ปรับสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ แล้วแบ่งปรับเป็นรายบุคคล คนละเท่าๆ กัน เมื่อจำเลยถูกฟ้อง จำเลยจึงเป็นบุคคลเดียวที่ถูกพิพากษาว่ากระทำความผิดและต้องถูกลงโทษตามคำพิพากษา บุคคลอื่นที่ร่วมกระทำความผิด เมื่อยังไม่ถูกฟ้องย่อมไม่อาจถือเป็นผู้กระทำความผิดอันจะถูกลงโทษตามคำพิพากษาคดีนี้ได้ กรณีไม่อาจแบ่งแยกลดจำนวนความรับผิดสำหรับโทษปรับครั้งนี้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในคดีชำเราโดยศาลล่างเกินกว่าที่โจทก์ขอ และการพิจารณาโทษสำหรับผู้กระทำผิดที่เป็นเด็ก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน เรียงกระทงลงโทษ ตาม ป.อ. มาตรา 91 ขณะกระทำความผิดจำเลยอายุ 16 ปีเศษ (ที่ถูก 15 ปีเศษ) ให้ลงโทษจำเลยโดยลดมาตราโทษกึ่งหนึ่งตาม ป.อ. มาตรา 75 ให้จำคุกจำเลยไว้ 10 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พิพากษายืน ซึ่งตามฟ้องระบุว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย 2 ครั้ง เมื่อศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันถือได้ว่า มีการลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 5 ปี เมื่อจำเลยฎีกาว่า จำเลยไม่ได้กระทำความผิดเป็นการโต้แย้งคัดค้านการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 8 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาฟ้องโจทก์แล้วโจทก์บรรยายฟ้องว่าระหว่างเดือนกันยายน 2543 ถึงเดือนตุลาคม 2543 ต่อเนื่องเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยได้กระทำชำเราผู้เสียหาย รวม 2 ครั้ง ทั้งคำขอท้ายฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 277 โดยไม่ระบุ ป.อ. มาตรา 91 ด้วย ที่ศาลล่างทั้งสองให้เรียงกระทงลงโทษมาด้วยนั้น แม้ตามทางพิจารณาจะได้ความว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด 2 กรรม แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่โจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันและให้เรียงกระทงลงโทษจึงเป็นการไม่ชอบตาม ป.อ. มาตรา 192 วรรคสี่ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6 กรณีดังกล่าวแม้คู่ความไม่อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5983/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเลือกคู่ครองและการหย่าต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายและเหตุตามที่กฎหมายกำหนด
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 28 กำหนดว่า บุคคลย่อมใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน ฉะนั้น แม้ว่าการเลือกคู่ครองเป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองโดยรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นสิทธิของโจทก์ที่จะเลือกคู่ครองของตนเองได้ก็ตาม แต่การใช้สิทธิเช่นนั้นจะต้องไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและต้องอยู่ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งต้องมีเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติรับรองถึงการใช้สิทธินั้นได้ การที่โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยและได้จดทะเบียนสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ต่อมาภายหลังโจทก์ไม่พอใจต้องการแยกทางกับจำเลยจึงฟ้องหย่า โดยอ้างว่าเป็นสิทธิที่โจทก์จะเลือกคู่ครองได้ตามแต่ความพอใจของตนนั้นคงไม่ถูกต้อง เพราะการใช้สิทธิดังกล่าวของโจทก์ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อจำเลยซึ่งเป็นภริยาและบุตร หากโจทก์ประสงค์จะหย่าขาดจากจำเลยต้องมีเหตุที่อ้างได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1516 มิฉะนั้น สถาบันครอบครัวในสังคมจะเกิดการเอารัดเอาเปรียบและมีแต่ความสับสนวุ่นวาย