พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การครอบครองที่ดินในแนวเขตเวนคืนเป็นของรัฐ แม้ยังมิได้จดทะเบียนเวนคืนทั้งหมด สิทธิเรียกร้องเป็นของเจ้าของเดิม
เจ้าของที่ดินเดิมซึ่งที่ดินอยู่ในแนวเขตเวนคืนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ที่มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ได้ขอรังวัดแบ่งเวนคืนที่ดินส่วนหนึ่งที่อยู่ในแนวเขตเวนคืนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ให้แก่กรมทางหลวงใช้สร้างถนนจนแล้วเสร็จ แต่ที่ดินอีกส่วนหนึ่งที่เหลือจากการจดทะเบียนแบ่งเวนคืนและที่ดินที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเวนคืนอันเป็นที่ดินพิพาทนั้นก็อยู่ในแนวเขตเวนคืนเพื่อใช้สำหรับงานทาง ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ด้วย ที่ดินพิพาทย่อมถูกเวนคืนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 เป็นของรัฐแล้ว การจดทะเบียนแบ่งเวนคืนหรือจดทะเบียนเวนคืนสำหรับที่ดินทั้งสองส่วนนี้อาจกระทำคนละครั้งได้ มิใช่ว่า เมื่อมีการจดทะเบียนแบ่งเวนคืนที่ดินเป็นของกรมทางหลวงและมีการเปิดใช้ทางหลวงแผ่นดินฯ แล้ว จะถือว่าการเวนคืนเสร็จสิ้นและทำให้ที่ดินที่อยู่ภายในแนวเขตเวนคืนของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ที่ยังมิได้ดำเนินการให้มีการจดทะเบียนเวนคืน ปลอดพ้นจากการเวนคืนแต่อย่างใด
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในที่ดินทั้งสามแปลงมิใช่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสามแปลงในขณะที่มีการเวนคืน หากมีการใช้ที่ดินที่ถูกเวนคืนนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนมีสิทธิอ้างได้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมในขณะที่มีการเวนคืน มิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวในภายหลัง
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในที่ดินทั้งสามแปลงมิใช่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสามแปลงในขณะที่มีการเวนคืน หากมีการใช้ที่ดินที่ถูกเวนคืนนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนมีสิทธิอ้างได้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมในขณะที่มีการเวนคืน มิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: เกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนตามกฎหมาย
วิธีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติทางหลวงพุทธศักราช 2482 หรือประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับ 295 มีวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกัน คืออาจกระทำโดยออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาก็ได้ดังนั้น เงินค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76(3) ที่ให้ถือเอาวันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับนั้น จึงต้องหมายถึงกรณีที่มิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีการออกพระราชกฤษฎีกาก่อนที่จะออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เงินค่าทดแทนที่ให้กำหนดเท่าราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด ก็จะต้องเอาราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับตามข้อ 76(1) หรือ(2)แล้วแต่กรณี ทำนองเดียวกันกับเรื่องทรัพย์สินที่จะคำนวณค่าทดแทนตามข้อ 75.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินตามวันออกพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง
วิธีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติทางหลวงพุทธศักราช 2482 หรือประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับ 295 มีวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกัน คืออาจกระทำโดยออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาก็ได้ดังนั้น เงินค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 (3) ที่ให้ถือเอาวันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับนั้น จึงต้องหมายถึงกรณีที่มิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีการออกพระราชกฤษฎีกาก่อนที่จะออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เงินค่าทดแทนที่ให้กำหนดเท่าราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด ก็จะต้องเอาราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับตามข้อ 76 (1) หรือ (2)แล้วแต่กรณี ทำนองเดียวกันกับเรื่องทรัพย์สินที่จะคำนวณค่าทดแทนตามข้อ 75.