พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 380/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและผลกระทบต่อความรับผิดของคู่กรณีในคดีละเมิด
รายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า จำเลยที่ 1 ยอมรับผิดและยอมชดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดแก่โจทก์ที่ 2 โดยโจทก์ที่ 2และจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อไว้ เอกสารดังกล่าวถือได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 เมื่อจำเลยที่ 1ยังมิได้ชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 จึงถือว่าจำเลยที่ 1ยังมิได้ปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวความผูกพันตามสัญญาประกันภัยซึ่งโจทก์ที่ 1 ผู้รับประกันภัยทำไว้กับโจทก์ที่ 2 ผู้เอาประกันภัยย่อมยังไม่ระงับไป เมื่อโจทก์ที่ 1 ได้จ่ายค่าซ่อมรถที่เอาประกันภัยไว้แทนโจทก์ที่ 2 ไปแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2ผู้เอาประกันภัยได้ตามจำนวนเงินที่โจทก์ที่ 1 ได้จ่ายไปจริงแต่ไม่เกินจำนวนที่โจทก์ที่ 2 มีสิทธิเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ ผลของสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1ย่อมทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิดเดิม ระงับไป และทำให้ได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น เมื่อมูลหนี้ละเมิดเดิม ระงับไปแล้วย่อมทำให้ความรับผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3ที่จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1ระงับไปด้วยโจทก์ที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดจากจำเลยที่ 2 และที่ 3 และเมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 เรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2และที่ 3 ได้ โจทก์ที่ 1 คงรับช่วงสิทธิโจทก์ที่ 2 เรียกร้องได้เฉพาะจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเท่านั้น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันภัย: การชดใช้ค่าเสียหายโดยผู้เอาประกันภัยโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้รับประกันภัย และข้อยกเว้นการรับผิด
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่2กับจำเลยที่1ตามรายงานประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดหลุมแก้วไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียวยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายกับจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยอีกจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้วจุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่1(ผู้รับช่วงสิทธิ)เรียกร้องไม่เกิน50,000บาทและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่6)พ.ศ.2518มาตรา6ข้อที่จำเลยที่2ที่3ฎีกาว่าค่าเสียหายของโจทก์ที่1จำนวน23,495บาทไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้องเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้ ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่2ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่3ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท และข้อยกเว้นการใช้เงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยเมื่อผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ตามรายงานประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดหลุมแก้วไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว ยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยอีก จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 1(ผู้รับช่วงสิทธิ) เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่6) พ.ศ.2518 มาตรา 6ข้อที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่า ค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1จำนวน 23,495 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ 2 ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 1(ผู้รับช่วงสิทธิ) เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่6) พ.ศ.2518 มาตรา 6ข้อที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่า ค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1จำนวน 23,495 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ 2 ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับข้อพิพาท ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และข้อยกเว้นการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย
ข้อตกลงระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 1 ตามรายงานประจำวันของสถานีตำรวจภูธรอำเภอลาดหลุมแก้วไม่เป็นสัญญาระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จสิ้นไปทีเดียว ยังมีเงื่อนไขให้ไปตกลงค่าเสียหายกับจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยอีก จึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ
การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 1 (ผู้รับช่วงสิทธิ) เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 6 ข้อที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่าค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 จำนวน 23,495 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ 2 ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
การที่ผู้เอาประกันปฏิบัติผิดเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ที่ 2 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายผิดดังเช่นคดีนี้ ผู้รับประกันจะยกเอาเงื่อนไขดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้ เพราะถึงอย่างไรผู้รับประกันภัยก็จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนอย่างแน่นอนอยู่แล้ว จุดประสงค์ของการกำหนดเงื่อนไขตามข้อตกลงดังกล่าวก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันภัยไปตกลงชดใช้ค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเป็นฝ่ายถูกเท่านั้น
คดีมีทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ 1 (ผู้รับช่วงสิทธิ) เรียกร้องไม่เกิน 50,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 6 ข้อที่จำเลยที่ 2 ที่ 3 ฎีกาว่าค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 จำนวน 23,495 บาท ไม่ใช่ค่าเสียหายที่ถูกต้อง เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยให้
ค่าขาดผลประโยชน์และค่าเสื่อมราคารถของโจทก์ที่ 2 ก็ถือได้ว่าเป็นความเสียหายของโจทก์ที่ 2 ที่เนื่องมาจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 3 ผู้รับประกันภัยต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้รับช่วงสิทธิฟ้องของบริษัทประกันภัย และการไม่ต้องห้ามฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากมูลละเมิดแยกกันมาเป็นส่วนสัดในสำนวนเดียวกัน โดยโจทก์ที่ 1 ฟ้องเรียกค่าซ่อมรถยนต์มามีทุนทรัพย์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ชนะคดี ยกฟ้องโจทก์ที่ 3 และศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้เพียงโจทก์ที่ 2 ชนะคดี โดยยกฟ้องโจทก์ที่ 1 เสียด้วย ดังนี้ ถือว่าศาลอุทธรณ์พิพากษากลับสำหรับคดีเฉพาะโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์คันที่รับประกันภัยไว้แก่ผู้รับซ่อมไป เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์ของเจ้าของรถยนต์ผู้เอาประกันภัย จึงได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าซ่อมรถได้
ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ชำระค่าซ่อมรถยนต์คันที่รับประกันภัยไว้แก่ผู้รับซ่อมไป เป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาประกันภัยเพื่อประโยชน์ของเจ้าของรถยนต์ผู้เอาประกันภัย จึงได้รับช่วงสิทธิมาฟ้องเรียกค่าซ่อมรถได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4445/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงซ่อมรถเองหลังชน ไม่ตัดสิทธิประกันภัย ผู้รับประกันภัยมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด
การที่เจ้าของรถยนต์ตกลงกันในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีหลังเกิดเหตุรถยนต์ชนกันว่า " เจ้าของรถต่างไม่ติดใจค่าเสียหายจะนำไปซ่อมเอง เพราะมีประกันภัยไว้" แสดงว่าเจ้าของรถยังมีความประสงค์ที่จะได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ ข้อตกลงดังกล่าวไม่ทำให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสิ้นสุดลง จึงไม่เป็นข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามลักษณะของสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่เสียหายได้รถยนต์คันดังกล่าวอันเป็นการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิผู้เสียหายในอันที่จะเรียกร้องให้ฝ่ายผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทประกันภัยที่รับช่วงสิทธิจากผู้ประสบภัย ขึ้นอยู่กับการกระทำละเมิดของจำเลยต่อผู้ประสบภัยโดยตรง
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่ 2โจทก์ทั้งสองต่างฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิด ทำให้รถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้นั้นเสียหายโดยโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 มาฟ้อง และโจทก์ที่ 2 ฟ้องเรียกร้องค่าที่สินค้าซึ่งบรรทุกมาในรถคันดังกล่าวเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์ เช่นนี้ แม้คดีสำหรับโจทก์ที่ 1 จะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคแรกแต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยไปแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 ไม่ได้รับช่วงสิทธิใด ๆ ไปจากโจทก์ที่ 2 เลยโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลย อำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน สมควรยกขึ้นวินิจฉัยไปถึงคดีในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1ตาม มาตรา 142(5) ด้วย จึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2834/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของบริษัทประกันภัยต้องพึ่งการกระทำละเมิดของจำเลยต่อผู้เอาประกัน หากจำเลยไม่มีความผิด ผู้รับประกันภัยไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ที่ 1 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่ 2โจทก์ทั้งสองต่างฟ้องให้จำเลยรับผิดในมูลละเมิด ทำให้รถยนต์คันที่เอาประกันภัยไว้นั้นเสียหายโดยโจทก์ที่ 1 ได้เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมรถให้แก่โจทก์ที่ 2 ตามสัญญาประกันภัยแล้วรับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 มาฟ้องและโจทก์ที่ 2 ฟ้องเรียกร้องค่าที่สินค้าซึ่งบรรทุกมาในรถคันดังกล่าวเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ทั้งสองจำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์เช่นนี้แม้คดีสำหรับโจทก์ที่ 1 จะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 วรรคแรกแต่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยไปแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยมิได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ที่ 2 โจทก์ที่ 1 ไม่ได้รับช่วงสิทธิใด ๆ ไปจากโจทก์ที่ 2 เลยโจทก์ที่ 1 จึงไม่มีอำนาจฟ้องไล่เบี้ยเอาจากจำเลยอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนสมควรยกขึ้นวินิจฉัยไปถึงคดีในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 ตาม มาตรา 142(5) ด้วย จึงพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝากทรัพย์ต้องมีการส่งมอบทรัพย์และตกลงรับฝาก หากไม่มีการส่งมอบ ไม่ถือเป็นผู้รับฝาก
สัญญาฝากทรัพย์นั้น ผู้ฝากจะต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657
ว. นำรถยนต์พิพาทเข้าไปจอดในบริเวณสยามสแควร์ โดยเป็นผู้เลือก สถานที่จอดเองได้ใส่กุญแจล็อกคลัตช์และล็อกห้ามล้อไว้เพื่อกันขโมย ล็อกประตูทุกบานและเก็บ กุญแจสวิตช์ไว้เอง ระหว่างที่รถจอดอยู่ การครอบครอง ตกอยู่ แก่ ว. โดยตลอด หากรถยนต์เพียงแต่เข้าทางประตูเข้าแล้วผ่านออกไปทางประตูออก เมื่อไม่จอดก็ไม่ต้องเสียค่าจอดค่าบริการจอดรถ 3 บาทใช้ได้ตลอดวันเจ้าของรถยนต์จะนำรถยนต์ออกไปแล้วนำเข้ามาจอดใหม่อีกก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าบริการอีก หรือจะเคลื่อนรถยนต์ไปจอดที่แห่งใด ก็ได้ภายใน บริเวณสยามสแควร์ด้วยกันโดยไม่ต้องบอกให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ทราบเมื่อไม่ปรากฏว่าว. ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสอง ตกลงว่าจะ เก็บรักษารถยนต์พิพาทไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ แม้จำเลย ที่ 2 จะเรียกเก็บค่าบริการจอดรถยนต์จาก ว. จำเลยทั้งสอง ก็หาใช่ผู้รับฝากรถยนต์พิพาทไม่
ว. นำรถยนต์พิพาทเข้าไปจอดในบริเวณสยามสแควร์ โดยเป็นผู้เลือก สถานที่จอดเองได้ใส่กุญแจล็อกคลัตช์และล็อกห้ามล้อไว้เพื่อกันขโมย ล็อกประตูทุกบานและเก็บ กุญแจสวิตช์ไว้เอง ระหว่างที่รถจอดอยู่ การครอบครอง ตกอยู่ แก่ ว. โดยตลอด หากรถยนต์เพียงแต่เข้าทางประตูเข้าแล้วผ่านออกไปทางประตูออก เมื่อไม่จอดก็ไม่ต้องเสียค่าจอดค่าบริการจอดรถ 3 บาทใช้ได้ตลอดวันเจ้าของรถยนต์จะนำรถยนต์ออกไปแล้วนำเข้ามาจอดใหม่อีกก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าบริการอีก หรือจะเคลื่อนรถยนต์ไปจอดที่แห่งใด ก็ได้ภายใน บริเวณสยามสแควร์ด้วยกันโดยไม่ต้องบอกให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ทราบเมื่อไม่ปรากฏว่าว. ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยทั้งสองและจำเลยทั้งสอง ตกลงว่าจะ เก็บรักษารถยนต์พิพาทไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ แม้จำเลย ที่ 2 จะเรียกเก็บค่าบริการจอดรถยนต์จาก ว. จำเลยทั้งสอง ก็หาใช่ผู้รับฝากรถยนต์พิพาทไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1819/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝากทรัพย์ต้องมีการส่งมอบทรัพย์สินและตกลงรับฝาก หากไม่มีการส่งมอบ ไม่ถือเป็นสัญญาฝากทรัพย์
สัญญาฝากทรัพย์นั้น ผู้ฝากจะต้องส่งมอบทรัพย์สินให้แก่ ผู้รับฝาก และผู้รับฝากตกลงว่าจะเก็บรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 ว. นำรถยนต์พิพาทเข้าไปจอดในบริเวณสยามสแควร์ โดยเป็น ผู้เลือก สถานที่จอดเองได้ใส่กุญแจล็อกคลัตช์และล็อกห้ามล้อไว้เพื่อกันขโมยล็อกประตูทุกบานและเก็บ กุญแจสวิตช์ไว้เอง ระหว่างที่รถจอดอยู่ การครอบครอง ตกอยู่ แก่ ว. โดยตลอด หากรถยนต์เพียงแต่เข้าทางประตูเข้าแล้วผ่านออกไป ทางประตูออก เมื่อไม่จอดก็ไม่ต้องเสียค่าจอดค่าบริการจอดรถ 3 บาทใช้ได้ ตลอดวัน เจ้าของรถยนต์จะนำรถยนต์ออกไปแล้วนำเข้ามาจอดใหม่อีกก็ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าบริการอีกหรือจะเคลื่อนรถยนต์ไปจอดที่แห่งใด ก็ได้ภายใน บริเวณสยามสแควร์ด้วยกันโดยไม่ต้องบอกให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ทราบ เมื่อไม่ปรากฏว่าว. ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยทั้งสอง และจำเลยทั้งสอง ตกลงว่าจะ เก็บรักษารถยนต์พิพาทไว้ในอารักขาแห่งตน แล้วจะคืนให้ แม้จำเลย ที่ 2 จะเรียกเก็บค่าบริการจอดรถยนต์จาก ว. จำเลยทั้งสอง ก็หาใช่ผู้รับฝากรถยนต์พิพาทไม่