คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 226

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทรัพย์สินที่ได้จากการโอนเพื่อระงับข้อพิพาท ถือเป็นสินส่วนตัว ไม่ใช่สินสมรส
ในระหว่างสมรสของโจทก์จำเลย จำเลยได้ที่ดินโฉนดที่ 4084และ 4198 โดย ผ. ยกให้โดยเสน่หาระบุว่าให้เป็นสินส่วนตัวกับได้ที่ดินโฉนดที่ 5191 โดย ผ. ทำพินัยกรรมยกให้และระบุให้เป็นสินส่วนตัวเช่นเดียวกัน ต่อมา ล. อ้างว่าที่ดินดังกล่าวไม่ใช่ของ ผ. แต่เป็นของภรรยาซึ่งเป็นบุตรของ น. และฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งกับแจ้งความกล่าวหาจำเลยทางอาญาหลายคดี ในที่สุด ล. กับจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีหนึ่งซึ่งศาลพิพากษาตามยอมมีใจความสำคัญว่า ให้จำเลยได้ที่ดินโฉนดที่ 1176 และให้ ล. ได้ที่ดินโฉนดที่ 5191 ส่วนที่ดินโฉนดที่ 4198 และ 4084 นั้น จำเลยตกลงโอนให้ ล. โดย ล. ต้องจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนให้ 3,100,000 บาท ดังนี้ต้องถือว่าที่ดินโฉนดที่ 4084 และ 4198 กับโฉนดที่ 5191 เดิมเป็นที่ดินที่จำเลยได้รับมาเป็นสินส่วนตัว แม้จำเลยจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับ ล. ดังกล่าว ก็เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างจำเลยกับ ล. ในคดีนั้นซึ่งมีประเด็นเพียงว่าที่พิพาทเป็นของ ผ. และ ย. มีอำนาจยกให้จำเลยหรือไม่เท่านั้นไม่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงลักษณะของทรัพย์ยังต้องถือว่าที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวเป็นสินส่วนตัวของจำเลยอยู่นั่นเอง และเมื่อจำเลยต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสินส่วนตัวทั้งสามแปลงนั้นให้แก่ ล. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นเหตุให้จำเลยได้มาซึ่งที่ดินโฉนดที่ 1176 กับมีสิทธิได้เงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ก็ต้องถือว่าที่ดินและเงินค่าตอบแทนดังกล่าวเข้ามาแทนที่ที่ดินทั้งสามแปลง อันเป็นสินส่วนตัวของจำเลยซึ่งมีผลเช่นเดียวกับการขายหรือแลกเปลี่ยนตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1465(1) ดังนั้น ที่ดินโฉนดที่ 1176 กับเงินค่าตอบแทน 3,100,000 บาท ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของจำเลย หาใช่สินสมรสระหว่างโจทก์จำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิจากประกันภัยและการรับฝากทรัพย์ที่จำเลยต้องรับผิด
โจทก์ที่ 2 เช่าซื้อรถยนต์จากบริษัท ช. แล้วเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ที่ 1 ระบุให้บริษัท ช. เป็นผู้รับประโยชน์ มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 ก่อนบริษัท ช. แสดงเจตนาเข้าถือเอาประโยชน์ รถที่เช่าซื้อสูญหายไป และโจทก์ที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 2 โดยตรงแล้ว จึงเป็นกรณีที่คู่สัญญาประกันภัยเปลี่ยนแปลงข้อตกลงระหว่างกันแล้ว โจทก์ที่ 1 ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของโจทก์ที่ 2 ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามมาตรา 880 มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในนามของตนเองจากลูกหนี้ของโจทก์ที่ 2 ได้ตามมาตรา 226 ส่วนโจทก์ที่ 2 ซึ่งฝากรถยนต์ไว้กับจำเลยและรถหายไป ก็มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนที่ยังขาดอยู่จากจำเลยได้
ปั๊มของจำเลยปฏิบัติต่อลูกค้ามีพฤติการณ์แสดงว่าจำเลยยอมรับรถจากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ปั๊มนั้น จึงเป็นลักษณะรับฝากทรัพย์ตามมาตรา 657 ไม่ใช่ให้เช่าสถานที่เพื่อจอดรถ
ร. นำรถยนต์ของโจทก์ที่ 2 ไปทดลองขับดูก่อนที่จะซื้อและได้นำไปจอดฝากไว้กับจำเลย ถือได้ว่า ร. เป็นตัวแทนของโจทก์ที่ 2 โดยปริยาย จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิเรียกร้องจากผู้ทำละเมิด หากกฎหมายแรงงานไม่ได้ให้สิทธินายจ้างเรียกคืนเงินทดแทน
ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยในฐานะนายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนตามกฎหมายแรงงานให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายนั้น กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายพิเศษใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยเฉพาะ ไม่ได้ให้สิทธินายจ้างที่จะเรียกเงินทดแทนที่จ่ายไปคืนจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างได้ ดังนั้น ผู้รับประกันภัยซึ่งได้จ่ายเงินทดแทนไปแทนนายจ้างผู้เอาประกันภัยก็ย่อมไม่มีสิทธิเช่นเดียวกัน จึงไม่อาจมีการรับช่วงสิทธิกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2313/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยไม่มีสิทธิรับช่วงเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด หากกฎหมายแรงงานไม่ได้ให้สิทธินายจ้างเรียกคืน
ผู้รับประกันภัยย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกเพียงเท่าที่สิทธิของผู้เอาประกันภัยมีอยู่ ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยในฐานะนายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนตามกฎหมายแรงงานให้แก่ลูกจ้างที่ประสบอันตรายนั้น กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายพิเศษใช้บังคับระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างโดยเฉพาะ ไม่ได้ให้สิทธินายจ้างที่จะเรียกเงินทดแทนที่จ่ายไปคืนจากผู้ทำละเมิดต่อลูกจ้างได้ ดังนั้นผู้รับประกันภัยซึ่งได้จ่ายเงินทดแทนไปแทนนายจ้างผู้เอาประกันภัยก็ย่อมไม่มีสิทธิเช่นเดียวกัน จึงไม่อาจมีการรับช่วงสิทธิกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 301/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้รับฝากทรัพย์ กรณีรถยนต์สูญหาย และอายุความฟ้องคดี
บ. เอารถยนต์ของ บ. ประกันภัยการสูญหายไว้กับโจทก์และฝากรถยนต์นั้นไว้กับจำเลย รถหาย โจทก์ได้จ่ายเงินค่าประกันภัยให้ บ. แล้วจึงรับช่วงสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย กรณีมิใช่เป็นการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 671 ซึ่งเป็นอายุความใช้สิทธิเรียกร้องในความรับผิดเพื่อใช้เงินค่าบำเหน็จ ค่าใช้จ่ายและค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวแก่การฝากทรัพย์ หากเป็นกรณีเกี่ยวกับเรื่องฟ้องเรียกร้องให้ชดใช้ราคาทรัพย์ซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
โจทก์จำเลยท้ากันข้อหนึ่งว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับรถยนต์ซึ่ง บ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์หรือไม่ ตามคำท้าดังกล่าวมีความหมายชัดตามตัวอักษรว่ารับกันว่า บ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์ จำเลยจะอ้างว่าไม่มีเจตนาให้เป็นดังข้อท้าหาได้ไม่ แม้เอกสารที่รับกันจะมีข้อความว่า ส. เป็นผู้เอาประกันภัยและเป็นผู้ฝากรถ ก็ต้องฟังว่า บ. เป็นเจ้าของรถที่แท้จริงตามที่คู่ความรับกันและ ส. มีชื่อตามเอกสารดังกล่าวแต่ในนามแทน บ. เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้จากละเมิด-ผู้รับประกันภัยฟ้องได้ทันที: ไม่ต้องทวงถามก่อนฟ้อง
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 เจ้าหนี้หาจำต้องเตือนหรือทวงถามก่อนฟ้องไม่
เจ้าของรถที่ถูกชนอื่นชนเสียหายโดยละเมิด ย่อมเป็นเจ้าหนี้และชอบที่จะฟ้องผู้ขับรถอื่นที่ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดนั้นได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ใช้ค่าเสียหายก่อน ผู้รับประกันภัยรถที่ถูกชนซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าของรถนั้นไปแล้ว ก็ชอบที่จะเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ และชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้ รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นในนามของตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 และ 880 ดังนั้น ผู้รับประกันภัยจึงฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้โดยหาจำต้องบอกกล่าวหรือทวงถามเสียก่อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1686/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยมีสิทธิฟ้องผู้ทำละเมิดและนายจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องทวงถามหนี้
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิดลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 206เจ้าหนี้หาจำต้องเตือนหรือทวงถามก่อนฟ้องไม่
เจ้าของรถที่ถูกรถอื่นชนเสียหายโดยละเมิด ย่อมเป็นเจ้าหนี้และชอบที่จะฟ้องผู้ขับรถอื่นที่ทำละเมิดและนายจ้างของผู้ทำละเมิดนั้นได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องทวงถามให้ใช้ค่าเสียหายก่อนผู้รับประกันภัยรถที่ถูกชนซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่เจ้าของรถนั้นไปแล้วก็ชอบที่จะเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้และชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นในนามของตนเอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 และ 880ดังนั้นผู้รับประกันภัยจึงฟ้องนายจ้างของผู้ทำละเมิดได้โดยหาจำต้องบอกกล่าวหรือทวงถามเสียก่อนไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากผู้ละเมิด: ผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลไม่มีสิทธิเรียกร้อง หากไม่ใช่ผู้รับผิดชอบตามกฎหมาย
จำเลยขับเรือโดยประมาทชนเรือโดยสารของโจทก์ เป็นเหตุให้ผู้โดยสารในเรือของโจทก์บาดเจ็บ ค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์ได้จ่ายไปในทางรักษาพยาบาลผู้โดยสารดังกล่าว โจทก์หาสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ไม่ เนื่องจากไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่ผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเรียกร้องเอาจากผู้ละเมิดได้ และไม่เป็นการรับช่วงสิทธิตามกฎหมาย ทั้งกรณีไม่ใช่เรื่องที่โจทก์จะต้องรับผิดต่อผู้โดยสารตามความแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการรับขนคนโดยสาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 217/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับประกันภัยรถยนต์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้รับประกันภัยค้ำจุนได้ตามกฎหมาย
บริษัทผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่ถูกละเมิดซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ย่อมเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 และย่อมมีสิทธิเสมอเหมือนกับผู้เอาประกันภัยในอันจะฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ตนได้ชำระไปนั้นจากบริษัทผู้ประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันที่ทำละเมิดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากละเมิดทางรถยนต์: ผลโดยตรงของการชนและการคิดดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน
โจทก์รับจ้างขนส่งยางรถยนต์ของบริษัท ย. โดยมอบหมายให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด ล.รับขนส่งให้อีกทอดหนึ่ง ฉ.ลูกจ้างของจำเลยขับรถในทางการที่จ้างของจำเลยโดยประมาท เป็นเหตุให้ชนกับรถยนต์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ล.ที่บรรทุกยางรถยนต์ดังกล่าวแล่นสวนทางมา ทำให้ยางรถยนต์ที่บรรทุกมาตกลงไปจากรถ แล้วถูกคนร้ายลักไป โจทก์ได้ชำระราคายางรถยนต์ที่สูญหายให้แก่บริษัท ย.ไปแล้ว ดังนี้ เห็นได้ว่า การที่ยางรถยนต์ถูกคนร้ายลักไป เกิดขึ้นเพราะความผิดของ ฉ.คนขับรถของจำเลยที่ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ชนรถบรรทุกยาง ซึ่งถ้าไม่ชน ก็คงไม่ถูกคนร้ายลักในที่เกิดเหตุการณ์สูญหายของยางรถยนต์ จึงเป็นผลโดยตรงจากการละเมิด จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ในผลแห่งละเมิดของ ฉ.คนขับรถของจำเลยที่ชนรถบรรทุกยางรถยนต์
โจทก์ฟ้องในฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของบริษัท ย.ชอบที่จะคิดดอกเบี้ยในจำนวนสินไหมทดแทน นับแต่วันที่โจทก์ได้จ่ายเงินให้แก่บริษัท ย.ไป จะคิดดอกเบี้ยจากจำนวนเงินที่จ่ายไปตั้งแต่วันละเมิดหาได้ไม่
of 20