คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 226

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8994/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประมาททั้งสองฝ่าย: การกลับรถไม่ปลอดภัยและขับรถเร็วลงเนิน ทำให้ไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันได้
ความประมาทของจำเลยที่ 1 เกิดจากการกลับหรือเลี้ยวรถในลักษณะไม่ปลอดภัยในสถานที่ที่ไม่เหมาะสมเท่านั้น จำเลยที่ 1 มิได้ขับหรือกลับรถตัดหน้ารถยนต์ที่ ส. ขับมาในระยะกระชั้นชิดตามที่โจทก์ฟ้อง หาก ส. ขับรถยนต์ลงจากเนินด้วยความเร็วที่ไม่สูงและใช้ความระมัดระวังพอสมควรก็จะไม่เกิดเหตุชนกัน จึงถือได้ว่า ส. มีส่วนประมาทเลินเล่อไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าจำเลยที่ 1 ทั้งสองฝ่ายจึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันได้ โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ ส. จึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องไล่เบี้ยแก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีประกันภัย: หนังสือมอบอำนาจทั่วไปเพียงพอและไม่จำกัดเฉพาะการขออนุญาตประกอบธุรกิจ
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้เอาประกันทั้งสองมาเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะนำค่าเสียหาย และดอกเบี้ยที่ผู้เอาประกันแต่ละรายมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสอง มารวมและนำมาเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องร้องจำเลยก็ตาม แต่สิทธิ ของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงต้องแยกพิจารณา ตามสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันแต่ละรายไป
หนังสือมอบอำนาจมิได้เจาะจงว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการแทนผู้มอบอำนาจเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ผู้รับมอบอำนาจ จึงมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายในขอบเขตที่ผู้มอบอำนาจให้ไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 และแม้โจทก์จะใช้ หนังสือมอบอำนาจกระทำการอย่างอื่นแล้วก็ตาม ก็ไม่มีกฎหมายใด ห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีรับช่วงสิทธิ, ทุนทรัพย์พิพาท, การห้ามฎีกาข้อเท็จจริง, หนังสือมอบอำนาจ
ระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 41
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิจากบริษัท จ. และบริษัท อ. ผู้เอาประกันมาเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะนำค่าเสียหายและดอกเบี้ยที่ผู้เอาประกันแต่ละรายมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองมารวม และนำมาเป็นทุนทรัพย์ในการฟ้องร้องจำเลยก็ตาม แต่สิทธิของโจทก์มีมูลมาจากสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันสองรายซึ่งแยกต่างหากจากกันได้ การคิดทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงต้องแยกพิจารณาตามสิทธิเรียกร้องของผู้เอาประกันแต่ละรายไป
จำเลยฎีกาในประเด็นเรื่องค่าเสียหายว่า ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการคำนวณค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จะได้จำนวนค่าเสียหายสูงกว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองนั้น ไม่ถูกต้อง ทั้งโจทก์มิได้บรรยายมาในฟ้องและมิได้นำสืบมาในชั้นพิจารณาว่า สินค้าพิพาทมีมูลค่า ณ ท่าปลายทางเท่าไร จึงไม่อาจคำนวณค่าเสียหายตาม พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 เป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดค่าเสียหาย ทั้งยังเป็นการฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ข้อความในสำเนาหนังสือมอบอำนาจมิได้เจาะจงว่า ให้ผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการแทนผู้มอบอำนาจเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น ดังนั้น ผู้รับมอบอำนาจจึงมีอำนาจกระทำการใด ๆ ก็ได้ภายในขอบเขตที่ผู้มอบอำนาจให้ไว้ซึ่งรวมทั้งการเป็นโจทก์ฟ้องร้องคดีนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 801 และแม้โจทก์จะใช้หนังสือมอบอำนาจกระทำการอย่างอื่นแล้วก็ตาม ก็ไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้นำมาใช้ฟ้องคดีนี้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7591/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมของผู้ขนส่งและผู้รับประกันภัยทางทะเล กรณีสินค้าเสียหาย
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 54 บัญญัติว่า ผู้ขนส่งไม่ต้องรับผิดเพื่อการสูญหาย เสียหายหรือส่งมอบชักช้า อันเป็นผลจากการใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เว้นแต่ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องจะพิสูจน์ได้ว่า เป็นความผิดหรือประมาทเลินเล่อของ ผู้ขนส่ง? ในการใช้มาตรการดังกล่าว ดังนั้น ผู้ขนส่งจึงมีภาระการพิสูจน์ในเบื้องต้นว่า ได้ใช้มาตรการต่าง ๆ ที่พึงกระทำเพื่อระงับอัคคีภัยหรือหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลเสียหายจากอัคคีภัย เพื่อเป็นเหตุให้ไม่ต้องรับผิดใน ความเสียหายของสินค้า
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือเดินทะเลชื่อ ช. ประกอบกิจการรับขนของทางทะเลโดยมีบำเหน็จเป็นทางการค้าปกติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 บริษัท ด. ได้ว่าจ้างจำเลยทั้งสองทำการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือ ช. แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ออกใบตราส่งสินค้าพิพาทแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาเกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าพิพาททางทะเลร่วมกับจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่ง โดยได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งให้ทำการขนส่งสินค้าพิพาทจากเมืองฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มายังกรุงเทพมหานครย่อมถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งอื่นตามความหมายใน มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ตาม มาตรา 3 และ มาตรา 43 ถึง 45 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว
โจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันแล้วจึงได้รับช่วงสิทธิในค่าเสียหายโดยชอบที่จะฟ้องคดีนี้และมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยโดยมิต้องบอกกล่าวจำเลยที่ 1 และที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7094/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าทดแทนเวนคืน: การแยกสิทธิระหว่างผู้เช่า, เจ้าของที่ดิน และผู้เช่าช่วง
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ฯ ได้กำหนดบุคคลผู้ที่จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการดำเนินการเพื่อการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ไว้ในมาตรา 18 (1) ถึง (6) แยกไว้ต่างหากจากกัน การดำเนินการเพื่อเวนคืนอสังหาริมทรัพย์รายการเดียวก็อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อบุคคลหลายฝ่าย อันเป็นเหตุให้เกิดสิทธิแก่บุคคลหลายคนที่จะได้รับเงินค่าทดแทนแยกต่างหากจากกันได้
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินก่อสร้างตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างมีกำหนด 30 ปี เพื่อนำไปให้บุคคลภายนอกเช่าช่วงภายในกำหนดระยะเวลาที่เช่า และโจทก์มีหน้าที่บำรุงรักษาตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเพื่อส่งมอบให้แก่เจ้าของที่ดินเมื่อครบกำหนดระยะเวลาการเช่าแล้วขณะที่ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน ฯ มีผลใช้บังคับ โจทก์คงเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้อง จึงจัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (2) แม้ในขณะที่มีการดำเนินการเพื่อเวนคืนตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องยังไม่ได้ตกเป็นของเจ้าของที่ดิน เจ้าของที่ดินจึงไม่ใช่บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนตามมาตรา 18 (1) ถึง (6) ก็ตาม แต่เมื่อครบกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าที่ดิน ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องจะตกเป็นของเจ้าของที่ดินทันที จึงถือได้ว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าหนี้โจทก์ในหนี้ที่โจทก์จะต้องส่งมอบตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องให้แก่เจ้าของที่ดิน เมื่อตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตามฟ้องถูกเวนคืนไปเสียก่อนที่จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของที่ดินอันเป็นผลให้ได้เงินค่าทดแทนมาจากการเวนคืน เงินค่าทดแทนนี้จึงเป็นทรัพย์สินซึ่งเข้าแทนที่ตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนในฐานะนิตินัยอย่างเดียวกันกับตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 226 วรรคสอง และ 228 วรรคหนึ่ง จำเลยซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนจึงต้องแจ้งการกำหนดเงินค่าทดแทนและการที่จะใช้เงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินทราบตาม ป.พ.พ. มาตรา 231 เมื่อเจ้าของที่ดินไม่สามารถจะตกลงกับโจทก์ได้ โจทก์และเจ้าของที่ดินต่างฝ่ายต่างมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้นำเงินจำนวนนั้นไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์เพื่อประโยชน์อันร่วมกัน เว้นแต่โจทก์จะหาประกันไว้ให้ตามสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 232 ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยให้โจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนกันให้ได้แล้วจึงมีสิทธิที่จะตกลงทำสัญญารับเงินค่าทดแทนจากฝ่ายจำเลยได้นั้นเป็นการดำเนินที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อโจทก์กับเจ้าของที่ดินตกลงกันไม่ได้ จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ไม่อาจจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนรายใดได้เพราะมีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์หรือสิทธิอื่น ๆ ในอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน ฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนจึงวางเงินค่าทดแทนได้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ มาตรา 28 วรรคสอง กรณีเช่นนี้ศาลไม่อาจพิพากษาให้โจทก์ได้รับเงินค่าทดแทนทั้งหมดไปเพียงผู้เดียว
ผู้เช่าช่วงซึ่งเป็นผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างจากโจทก์ จัดเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามมาตรา 18 (3) และเป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืนอันมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายนั้นตามมาตรา 21 วรรคท้าย สิทธิของผู้เช่าตึกแถวและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแยกต่างหากจากโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวและสิ่งปลูกสร้าง และแยกต่างหากจากเจ้าของที่ดิน ดังนั้น ที่ฝ่ายจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนเบื้องต้นให้แก่ผู้เช่าช่วงรวมกันกับโจทก์และเจ้าของที่ดินเป็นเงินจำนวนหนึ่งในลักษณะกรรมสิทธิ์รวม และนำเงินค่าทดแทนเบื้องต้นดังกล่าวไปฝากไว้ต่อธนาคารออมสินในนามของโจทก์กับเจ้าของที่ดินและผู้เช่าช่วงรวมกันจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัย, ความประมาทเลินเล่อร่วม, และการระงับข้อพิพาท
กรณีที่รถยนต์เกิดชนกัน ม.และจำเลยได้ทำบันทึกตกลงต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า แต่ละฝ่ายจะนำรถของตนไปซ่อมเองโดย ม. จะให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรับไปดำเนินการซ่อมและไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหายกันอีกต่อไป แสดงว่า ม. เจ้าของรถยังมีความประสงค์ที่จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายที่รถของตนได้รับโดยให้ผู้รับประกันภัยเป็นผู้รับผิดชอบ จึงไม่เป็นข้อตกลงในการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันตามลักษณะของสัญญาประนีประนอมยอมความ เพราะข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำให้การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนสิ้นสุดลง และไม่ใช่การสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน เป็นแต่เพียงการเปลี่ยนตัวผู้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเท่านั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยได้จัดการซ่อมรถคันที่เอาประกันภัย โจทก์จึงได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้ชดใช้ไป โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
เหตุที่รถชนกันเกิดความเสียหายเกิดจากความประมาทเลินเล่อของทั้งจำเลยและ ม. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ม. จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยรถของ ม. ย่อมไม่สามารถรับช่วงสิทธิจาก ม. เรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5410/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญารับขน: แม้ไม่ได้ออกใบตราส่ง ก็อาจเป็นผู้ร่วมขนส่งและรับผิดชอบความเสียหายได้
แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้เป็นผู้ออกใบตราส่ง แต่ใบตราส่งเป็นเพียงพยานหลักฐานอย่างหนึ่งแห่งสัญญารับขนเท่านั้น โจทก์ย่อมนำสืบพยานหลักฐานอื่นแสดงถึงการทำสัญญารับขนได้ โจทก์ได้นำสืบถึงพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 ติดต่อทำธุรกิจส่งสินค้าทั้งทางอากาศและทางเรือให้แก่ผู้ซื้อสินค้าทั้งสองรายมาเป็นเวลานาน โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอค่าจ้างขนส่งและแจ้งชื่อจำเลยที่ 2 เป็นผู้ขนส่งในต่างประเทศ จำเลยที่ 1เป็นผู้เก็บค่าจ้างขนส่งเมื่อทำการขนส่งเสร็จสิ้น และการที่จำเลยที่ 2 ระบุชื่อจำเลยที่1เป็นผู้รับสินค้าที่ปลายทางการขนส่งทางอากาศเพื่อที่จะเป็นผู้มีสิทธิไปขอรับสินค้าออกจากโกดังส่งมอบให้แก่ลูกค้าซึ่งแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้เสนอตัวและดำเนินการเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าให้บริษัทผู้ซื้อทั้งสอง บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ซื้อสินค้าและเอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้ทำสัญญารับขนสินค้ากับจำเลยที่ 1 โดยตกลงว่าจ้างให้จำเลยที่ 1ขนส่งสินค้าจากสนามบินต่างประเทศมายังประเทศไทยเพื่อส่งมอบให้แก่บริษัททั้งสอง จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้ร่วมขนส่งสินค้าเมื่อสินค้าสูญหายระหว่างการรับขนจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในความสูญหายของสินค้าต่อบริษัททั้งสองตามสัญญารับขน และเมื่อโจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้าพิพาทได้ชำระค่าสินไหมทดแทนแก่บริษัทผู้ซื้อสินค้าทั้งสองผู้เอาประกันภัยสินค้าดังกล่าวแล้ว ย่อมได้รับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5402/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งทางทะเลต่อความเสียหายของสินค้า และการพิสูจน์เหตุสุดวิสัย
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเรือคอสแมน 1 และปรากฏตามใบตราส่งสินค้าว่าบริษัทเอฟ.เอช.เบิร์ตเทิลลิ่งเกเซลล์ชาฟต์เอ็ม.บี.เอช. จำกัด ในฐานะตัวแทนของผู้ขนส่งคือบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกใบตราส่งทั้งสองฉบับดังกล่าว ใบตราส่งเป็นเอกสารที่ผู้ขนส่งออกให้แก่ผู้ส่งของและเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนของทางทะเล จึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขนส่งสินค้าดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าสินค้าที่ขนส่งเสียหายเป็นผลมาจากเหตุสุดวิสัยภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเล การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่านายเรือคอสแมน 1 ได้ทำหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลไว้และคำแปลเอกสารโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนทั้งไม่ปรากฏว่าตัวเรือหรือสิ่งของในเรือได้รับความเสียหาย จึงฟังไม่ได้ว่าความเสียหายนั้นเกิดขึ้นหรือเป็นผลมาจากเหตุสุดวิสัย ภยันตรายหรืออุบัติเหตุแห่งท้องทะเลดังที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้าง แม้โนตารีปับลิกของประเทศไทยจะได้ลงชื่อรับรองในหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลของนายเรือ ก็มีหน้าที่รับรองแต่เพียงว่านายเรือคอสแมน 1 ได้ทำหนังสือปฏิเสธความรับผิดชอบทางทะเลไว้เท่านั้น ส่วนข้อความในหนังสือดังกล่าวจะตรงกับความจริงหรือไม่ โนตารีปับลิกไม่อาจให้การรับรองหรือยืนยันได้เพราะไม่ได้รู้เห็นเหตุการณ์ที่นายเรือประสบมาจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งต้องรับผิดในความเสียหายของสินค้าที่ขนส่งต่อผู้รับตราส่งโจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยสินค้าที่ขนส่งมาเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5156/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้มูลละเมิด ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิฟ้องได้ทันที ไม่ต้องทวงถาม และข้อจำกัดการยกเหตุแปลงหนี้ใหม่
หนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด ลูกหนี้ได้ชื่อว่าผิดนัดมาตั้งแต่เวลาที่ทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 206 เจ้าหนี้หาจำต้องเตือนหรือทวงถามก่อนไม่ เจ้าของรถผู้ถูกกระทำละเมิดย่อมเป็นเจ้าหนี้ ชอบที่จะฟ้องผู้ขับรถที่ทำละเมิดนั้นได้เลยโดยไม่ต้องทวงถามให้ใช้ค่าเสียหายก่อน ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เอาประกันภัยไปแล้วชอบที่จะเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ และชอบที่จะใช้สิทธิทั้งหลายบรรดาที่เจ้าหนี้มีอยู่โดยมูลหนี้รวมทั้งประกันแห่งหนี้นั้นได้ในนามตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 226 และ 880 การที่ ก. ผู้เอาประกันภัยทำความตกลงกับจำเลยผู้ขับรถชนให้นำรถยนต์เข้าซ่อมที่อู่ของ ส.แต่ก.ได้ให้ส. ซ่อมส่วนที่เสียหายอย่างอื่นที่มีอยู่ก่อนเกิดเหตุด้วยทำให้ระยะเวลาในการซ่อมเนิ่นนานออกไปอันทำให้โจทก์ผู้รับประกันภัยต้องเข้ามาดำเนินการซ่อมต่ออีกครั้งหนึ่งก็ดี และการที่ ก. ตกลงกับจำเลยให้นำรถยนต์เข้าซ่อมดังกล่าวเป็นการผิดข้อตกลงกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งโจทก์มีสิทธิบอกปัดไม่ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ก. ก็ได้แต่โจทก์กลับยอมตนเข้าชดใช้ค่าเสียหายโดยเสี่ยงภัยเอาเอง อันเป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีสิทธิเข้ารับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเอาจากจำเลยได้ก็ดีนั้น หาใช่ข้อต่อสู้ในเรื่องแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ปัญหาดังกล่าวจำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นทั้งไม่เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะยกปัญหานี้ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหานี้ให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4709/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลในกรณีสินค้าสูญหายจากการเปลี่ยนตราผนึกตู้สินค้า
การขนส่งสินค้าระบบ ซีวาย/ซีวาย เป็นการขนส่งที่ผู้ส่งสินค้าต้นทางจะเป็นผู้ไปรับตู้สินค้าจากผู้ขนส่งไปบรรจุสินค้าเข้าตู้สินค้าที่โกดังของผู้ส่งสินค้า แล้วนำตู้สินค้ามามอบให้แก่ผู้ขนส่ง เมื่อขนส่งสินค้าถึงปลายทางแล้วผู้รับตราส่งจะเป็นผู้รับตู้สินค้าไปเปิดตรวจนับสินค้าที่โกดังของผู้รับตราส่งเอง เมื่อใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 ออกระบุไว้ว่าสถานที่รับสินค้า โตเกียว ซีวาย สถานที่ส่งมอบสินค้า กรุงเทพ ซีวาย แสดงว่า ในการขนส่งสินค้าพิพาทตั้งแต่จำเลยที่ 1 รับตู้สินค้าจากบริษัท ค. ที่ท่าเรือโตเกียวประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนถึงท่าเรือกรุงเทพ แล้ว บริษัท ค. จะเป็นผู้รับสินค้าไปตรวจนับสินค้าเอง หากสภาพตู้สินค้าและตราผนึกประตูตู้สินค้าอยู่ในสภาพปกติก็ย่อมแสดงว่าสินค้ามิได้สูญหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้ขนส่งสินค้าก็หาต้องรับผิดในกรณีสินค้าใน ตู้สินค้าสูญหายไปไม่ แต่ตามใบตราส่งที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกให้แก่ผู้ส่งได้ความว่า ตู้สินค้าซึ่งบรรจุสินค้าพิพาทที่โจทก์รับประกันภัยระบุตราผนึกประตูตู้สินค้าหมายเลข เอชเอสเอ็มโอแอล 27209 ครั้นจำเลยร่วมขนส่งตู้สินค้า ดังกล่าวมาถึงท่าเรือกรุงเทพ ปรากฏว่าตู้สินค้ามีตราผนึกประตูตู้สินค้าเป็นหมายเลข เอสพีไอซี 051682 ซึ่งไม่ปรากฏว่าเหตุใดตราผนึกประตูตู้สินค้าที่ระบุไว้ในใบตราส่งจึงเปลี่ยนไปจากเดิม ดังนั้น การที่จำเลยร่วมออก ใบตราส่งให้แก่จำเลยที่ 1 เมื่อรับมอบตู้สินค้า แม้จะได้ระบุหมายเลขตู้สินค้า แต่มิได้ระบุว่าตราผนึกประตูตู้สินค้าคือหมายเลขใด กรณีที่ยังไม่แน่ชัดว่าตราผนึกประตูตู้สินค้าหมายเลข เอชเอสเอ็มโอแอล 27209 ถูกเปลี่ยนเป็นหมายเลข เอสพีไอซี 051682 ก่อนหรือภายหลังจากที่จำเลยร่วมรับมอบตู้สินค้าจากท่าเรือสิงคโปร์ เมื่อประตูตู้สินค้าได้ถูกเปิดออกในระหว่างการขนส่งสินค้าจากท่าเรือโตเกียวช่วงใดช่วงหนึ่งก่อนที่จะถึงท่าเรือกรุงเทพและสินค้าพิพาทที่โจทก์ได้รับประกันภัยสูญหายไป จึงถือได้ว่าความสูญหายเกิดขึ้นขณะที่สินค้าอยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วม ผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมจึงต้องรับผิดชอบในความสูญหายของสินค้าพิพาทดังกล่าว
พ.ร.บ. การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ให้คำนิยาม "ภาชนะขนส่ง" หมายความว่า ตู้สินค้า ไม้รองสินค้า หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันซึ่งใช้บรรจุหรือรองรับของ หรือใช้รวมหน่วยการขนส่งของหลายหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการขนส่งทางทะเล และให้คำนิยาม "หน่วยการขนส่ง" หมายความว่า หน่วยแห่งของที่ขนส่งทางทะเลซึ่งนับเป็นหนึ่ง แต่ละหน่วยอาจทำการขนส่งไปตามลำพังได้ เช่น กระสอบ ชิ้น ถัง ตู้ ม้วน ลัง ลูก ห่อ หีบ อันหรือหน่วยที่เรียกอย่างอื่น ดังนั้น คำว่า "ตู้" ที่ยกตัวอย่างในคำนิยาม ย่อมหมายความรวมถึงตู้สำหรับบรรจุสินค้าหรือของอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดเล็กต่างจากตู้สินค้าซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าและสามารถบรรจุภาชนะสำหรับบรรจุสินค้าขนาดเล็กดังกล่าวได้เป็นจำนวนมากเพื่อความสะดวกในการขนย้าย ดังนั้น ตู้สินค้าซึ่งเรียกกันในวงการว่า ตู้คอนเทนเนอร์ จึงเป็นภาชนะขนส่ง ส่วน ตู้ เป็นหน่วยการขนส่งดังมาตรา 3 บัญญัติให้คำนิยามไว้โดยชัดแจ้งแล้ว มิใช่ว่า ตู้ หรือ ตู้สินค้ามีความหมายเป็นได้ทั้งหน่วยการขนส่งและภาชนะขนส่ง เมื่อ ตู้สินค้า ไม่ใช่หน่วยการขนส่ง 1 หน่วย จึงไม่อาจที่จะจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยร่วมไม่เกิน 10,000 บาท ได้
of 20