คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 226

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1930/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่งและขอบเขตการเรียกร้องค่าเสียหายจากสัญญาประกันภัย
ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาของจำเลยที่ 1 ตามคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์คำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องมีเพียง 194,114.18 บาทจึงไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า เหตุพิพาทคดีนี้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 2 แม้ศาลจะฟังว่ารถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับรถเก๋งก็เป็นเหตุสุดวิสัย ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวเป็นการโต้แย้งที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1ขับรถโดยประมาท มิได้เกิดจากเหตุสุดวิสัย เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทมาตราดังกล่าวข้างต้น
ในคดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43, 46, 157 รัฐเป็นผู้เสียหายจำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่ความหรือผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าว ในการพิพากษาคดีนี้ศาลจึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา
โจทก์เป็นผู้รับช่วงสิทธิตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า รถยนต์บรรทุกคันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนแน่นอนเท่าใด ศาลจึงกำหนดให้ตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 438 การที่โจทก์ไปตกลงค่าเสียหายกับผู้เอาประกันภัยและจ่ายค่าเสียหายไปโดยไม่ปรากฏว่าค่าเสียหายจริงมีเพียงใด โจทก์จะเรียกร้องเอาเงินที่โจทก์จ่ายไปดังกล่าวเต็มจำนวนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1245/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลและค่าจัดการศพของผู้ที่จ่ายแทนผู้อื่นที่ถูกละเมิด
เงินค่ารักษาพยาบาลและค่าจัดการศพให้แก่ผู้โดยสารที่โดยสารมาในรถคันเกิดเหตุของโจทก์ แม้จะเป็นค่าใช้จ่ายที่โจทก์ได้จ่ายไปในการรักษาพยาบาลแก่ผู้โดยสารที่ได้รับบาดเจ็บ และค่าจัดการศพผู้ตายที่โดยสารมาในรถยนต์โดยสารของโจทก์ก็ตาม โจทก์ก็หามีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 นายจ้างของผู้ทำละเมิดชดใช้ไม่ เนื่องจากไม่มีกฎหมายให้สิทธิแก่ผู้ที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลและค่าจัดการศพแก่ผู้อื่นที่ถูกทำละเมิดเรียกร้องเอาค่าใช้จ่ายดังกล่าวจากผู้ทำละเมิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลลูกจ้างจากผู้กระทำละเมิดโดยตรง
จำเลยที่1ขับรถโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของโจทก์เท่านั้นส่วนการที่ พ. ลูกจ้างโจทก์กับ ม. ซึ่งเป็นภริยาของ พ. ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ของโจทก์ได้รับบาดเจ็บด้วยก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่1กระทำละเมิดต่อ พ. และ ม.โดยตรงการที่โจทก์จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ พ. และ ม.ไปเป็นการจ่ายตามระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ให้แก่ลูกจ้างรวมทั้งคู่สมรสไม่มีกฎหมายให้โจทก์มีสิทธิหรือรับช่วงสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายไปคืนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าเรือต่อความเสียหาย และสิทธิในการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบุคคลภายนอก
เกี่ยวกับความรับผิดของผู้เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 562 นั้น หากความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่ามิใช่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินโดยมิชอบ และมิใช่เป็นการกระทำของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า หรือของผู้เช่าช่วงผู้เช่าก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่า ส่วนข้อตกลงรับผิดนอกเหนือจากนี้ที่มีระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าเป็นเรื่องที่บังคับได้ระหว่างคู่กรณีเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวหาก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้เช่าในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่าจากบุคคลภายนอกผู้ทำละเมิดไม่ บุคคลที่ต้องเสียหายและมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดต่อเรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 420 คือเจ้าของเรือ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าเรือดังกล่าวมาทำการรับขน จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดแก่เรืออันมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากการรับขนได้ก็แต่โดยอาศัยการรับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226,227

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7371/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้เช่าเรือต่อความเสียหาย และสิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายจากบุคคลภายนอก
เกี่ยวกับความรับผิดของผู้เช่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 562 นั้นหากความเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่ามิใช่เกิดจากการใช้ทรัพย์สินโดยมิชอบ และมิใช่เป็นการกระทำของผู้เช่าหรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า หรือของผู้เช่าช่วงผู้เช่าก็ไม่ต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่า ส่วนข้อตกลงรับผิดนอกเหนือจากนี้ที่มีระหว่างผู้เช่ากับผู้ให้เช่าเป็นเรื่องที่บังคับได้ระหว่างคู่กรณีเท่านั้น ข้อตกลงดังกล่าวหาก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้เช่าในอันที่จะฟ้องเรียกค่าเสียหายแก่ทรัพย์สินที่เช่าจากบุคคลภายนอกผู้ทำละเมิดไม่
บุคคลที่ต้องเสียหายและมีสิทธิได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดต่อเรือตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 คือเจ้าของเรือ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้เช่าเรือดังกล่าวมาทำการรับขน จะฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดแก่เรืออันมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากการรับขนได้ก็แต่โดยอาศัยการรับช่วงสิทธิตามป.พ.พ. มาตรา 226, 227

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2807/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับสัญญาประกันภัยเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน และการขาดการแจ้งการโอนให้ผู้รับประกันทราบ
ศ. จดทะเบียนจำนองที่ดินและตึกแถวพิพาทไว้แก่ธนาคาร ก.และได้เอาประกันภัยไว้กับจำเลย โดยมีข้อความระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยว่าให้ธนาคาร ก. เป็นผู้รับประโยชน์และระบุด้วยว่าสัญญาย่อมระงับไป เมื่อทรัพย์สินซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ได้เปลี่ยนมือจากผู้เอาประกันภัยโดยวิธีอื่นนอกจากทางพินัยกรรมหรือโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ต่อมา ศ.ได้จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองโดยโจทก์เป็นผู้ชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ก. แทน ศ.แล้วศ.ได้จดทะเบียนโอนขายให้โจทก์โดยปลอดการจำนอง จึงทำให้สิทธิจำนองระงับไปและธนาคาร ก. หมดสิทธิที่จะได้รับช่วงทรัพย์ อันได้แก่สิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ ศ. มีอยู่ต่อจำเลยอีกต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 231 สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในกรมธรรม์ประกันภัยจึงกลับมาเป็นของ ศ. ตามเดิมเมื่อ ศ. โอนตึกแถวพิพาทให้โจทก์โดยไม่ได้บอกกล่าวการโอนให้จำเลยทราบเพราะไม่ทราบเงื่อนไขตามสัญญาจนกระทั่งเกิดเพลิงไหม้ตึกแถว ดังนี้ โจทก์จึงไม่อาจอ้างได้ว่าโจทก์ได้รับช่วงสิทธิด้วยอำนาจกฎหมายจากธนาคาร ก. เพราะเป็นบุคคลผู้ได้ไปซึ่งอสังหาริมทรัพย์ และเอาเงินราคาค่าซื้อให้แก่ผู้รับจำนองทรัพย์สินเสร็จไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 229(2) และไม่อาจอ้างได้ว่าสิทธิของ ศ. ตามสัญญาประกันภัยได้โอนมายังโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 875 เพราะสัญญาประกันภัยได้ระงับไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4590/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับจ้างซ่อมรถยนต์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายแทนเจ้าของรถจากละเมิดของบุคคลภายนอก หากไม่มีสัญญารับผิดชอบ
โจทก์เป็นเพียงผู้รับจ้างซ่อมรถยนต์แล้วรถยนต์ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของจำเลย ไม่ปรากฏว่ามีสัญญาระหว่างโจทก์กับผู้ว่าจ้างหรือเจ้าของรถยนต์ที่รับไว้ซ่อมว่า โจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นเนื่องจากความประมาทเลินเล่อของบุคคลภายนอก ทั้งไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้รับจ้างรับช่วงสิทธิในกรณีนี้ได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ได้ใช้จ่ายไปแทนผู้ว่าจ้างจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนเช็คพิพาทโดยสุจริตและมีมูลหนี้ ผู้รับโอนมีสิทธิฟ้องเรียกหนี้ได้
เดิมบริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์ส จำกัด ได้นำเช็คหมาย จ.8 แลกเอาเงินไปจากโจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน บริษัทดังกล่าวจึงมอบเช็คพิพาทซึ่งห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้โจทก์ โจทก์จึงนำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัดสาขาพระโขนง แต่เช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงต้องชำระเงินแก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง แล้วรับเช็คพิพาทกลับคืนมาฟ้องจำเลยทั้งสอง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริตและมีมูลหนี้ต่อกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หาใช่โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากบริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์ส จำกัด โดยคบคิดกันฉ้อฉลไม่ การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้นำเช็คเอกสารหมาย ล.7 ไปชำระแก่บริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์ส จำกัดหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คพิพาทแล้ว ย่อมไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายลดเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามสัญญาขายลดเช็คพิพาทแก่ธนาคาร-กรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง แล้ว ได้รับเช็คพิพาทกลับคืนมา โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท โดยรับช่วงสิทธิจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง ในการฟ้องให้จำเลยทั้งสองให้รับผิดตามเช็คพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4573/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิจากผู้ทรงเช็คพิพาทหลังปฏิเสธการจ่ายเงิน และความรับผิดของผู้สั่งจ่ายเช็ค
เดิมบริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์ส จำกัด ได้นำเช็คหมาย จ.8 แลกเอาเงินไปจากโจทก์ แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินบริษัทดังกล่าวจึงมอบเช็คพิพาทซึ่งห้างจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2หุ้นส่วนผู้จัดการเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้โจทก์โจทก์จึงนำเช็คพิพาทไปขายลดแก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนงแต่เช็คพิพาทถูกธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงต้องชำระเงินแก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง แล้วรับเช็คพิพาทกลับคืนมาฟ้องจำเลยทั้งสอง กรณีเช่นนี้เป็นเรื่องโจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาโดยสุจริตและมีมูลหนี้ต่อกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หาใช่โจทก์รับโอนเช็คพิพาทมาจากบริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์สจำกัด โดยคบคิดกันฉ้อฉลไม่ การที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้นำเช็คเอกสารหมาย ล.7 ไปชำระแก่บริษัท พี.พี.ที.บิสซิเนสเอนเตอร์ไพร์สจำกัด หลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คพิพาทแล้ว ย่อมไม่ทำให้จำเลยที่ 1 หลุดพ้นความรับผิดต่อธนาคารกรุงเทพ จำกัดสาขาพระโขนง ซึ่งเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท ดังนั้นเมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ขายลดเช็คพิพาทได้ชำระเงินตามสัญญาขายลดเช็คพิพาทแก่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาพระโขนง แล้ว ได้รับเช็คพิพาทกลับคืนมาโจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท โดยรับช่วงสิทธิจากธนาคารกรุงเทพจำกัด สาขาพระโขนง ในการฟ้องให้จำเลยทั้งสองให้รับผิดตามเช็คพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4074/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาให้สิทธิเก็บกินเป็นโมฆะ หากไม่แจ้งความประสงค์ภายในกำหนดเวลา ผู้รับโอนสิทธิไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
จำเลยทำสัญญาให้บริษัท ซ. จำกัดมีสิทธิเก็บกิน(การทำเหมืองแร่) ในที่ดินของจำเลยเป็นเวลา 30 ปี โดยคู่สัญญาตกลงกันว่า หากบริษัทต้องการสิทธิเก็บกินจะต้องแจ้งให้จำเลยทราบภายในเวลาที่กำหนด ดังนั้นเมื่อบริษัทไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญา แต่กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลยเป็นเวลาเกือบ20 ปี ถือได้ว่าสัญญาให้สิทธิเก็บกินของบริษัทอันจะพึงมีต่อจำเลยนั้นใช้ไม่ได้อีกต่อไป แม้โจทก์จะเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามสัญญาดังกล่าว ก็ไม่อาจอ้างสิทธิเก็บกินเอาแก่จำเลยได้ เพราะผู้รับโอนย่อมไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
of 20