คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 226

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 196 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2699/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้รับประกันภัย/ผู้รับช่วงสิทธิ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ทำละเมิด แม้มีการประนีประนอมยอมความกับผู้เสียหายแล้ว
เมื่อคดีได้ความว่าจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นกับ ส.และต. ภายหลังจากที่โจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนตามพันธะที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยแก่ ส.และต. ผู้เสียหายแล้วผลของสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะผู้รับช่วงสิทธิของผู้เสียหายที่ได้เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยผู้ทำละเมิดให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ได้จ่ายไปนั้นได้โดยหาจำต้องบอกกล่าวหรือทวงถามเสียก่อนไม่ แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้บรรยายถึงจำนวนเงินที่รับประกันภัยและผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของรถยนต์ที่เอาประกันภัยหรือไม่ทั้งมิได้ส่งกรมธรรม์ประกันภัยมาพร้อมกับคำฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องเคลือบคลุม เพราะข้อความดังกล่าวเป็นรายละเอียดที่คู่ความสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา และโจทก์ไม่จำเป็นต้องส่งกรมธรรม์ประกันภัยมาพร้อมกับคำฟ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันภัยค้ำจุน: ใช้มาตรา 882 ไม่ใช่ 448
ผู้ต้องเสียหายจากการกระทำละเมิดสามารถฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของผู้กระทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้โดยตรงตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 887 เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยของผู้ต้องเสียหายเข้าชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิจากผู้ต้องเสียหาย ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยได้ในนามของโจทก์เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 226 และ 880 และกรณีเช่นนี้เป็นการฟ้องโดยอาศัยมูลหนี้ตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนต้องใช้อายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 882 คือ 2 ปี นับแต่วันวินาศภัย จะนำอายุความละเมิดตาม มาตรา 448 มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าพื้นที่จอดรถ vs. การรับฝากทรัพย์: จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบรถหาย หากไม่มีการส่งมอบและอารักขา
จ. นำรถยนต์เข้าไปจอดในปั๊มน้ำมันของจำเลย เสียค่าจอดรถยนต์เป็นรายเดือนไม่มีการส่งมอบรถยนต์ให้อยู่ในความอารักขาของจำเลย จ. สามารถนำรถยนต์เข้าออกในเวลาใดก็ได้ จำเลยไม่สามารถรู้ได้ว่า จ. ได้นำรถยนต์เข้าไปจอดหรือไม่ ในคืนที่รถยนต์หายก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับมอบรถยนต์จาก จ. แต่อย่างใดพฤติการณ์ดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยรับฝากรถยนต์ไว้จาก จ.แต่เป็นการให้เช่าสถานที่จอดรถยนต์ เมื่อรถยนต์หายไป จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้แก่ จ. โจทก์ผู้รับประกันภัยจึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยจากจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงแรมต้องรับผิดต่อความเสียหายรถยนต์ของผู้เข้าพัก หากระเบียบจำกัดความรับผิดไม่ชัดเจนและผู้เข้าพักไม่ได้ตกลง
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยอ้างว่าได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องบังคับจำเลย โดยนำเอาสัญญาเช่าซื้อมานำสืบประกอบฐานะของผู้เอาประกันภัยว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ มิได้นำสืบบังคับตามสัญญาเช่าซื้อโดยตรง แม้สัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้
จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบว่าผู้เข้าพักต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบว่ามีรถยนต์เข้ามาจอดในที่จอดรถด้วย เพื่อจะได้จัดพนักงานดูแล มิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายจำเลยจะไม่รับผิดชอบ ต่อมา ร.ได้เข้าพักในโรงแรมจำเลยโดยนำรถยนต์ไปจอดในที่จอดรถของโรงแรมจำเลย แต่ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบ เมื่อปรากฏว่า ร.มิได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวของจำเลย ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 677จำเลยจะบอกปัดความรับผิดไม่ได้
เมื่อรถยนต์ของ ร.หายไปจากที่จอดรถของโรงแรมจำเลย ร.ได้แจ้งให้ พ.ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมจำเลยทราบ แต่ พ.ปฏิเสธความรับผิด ดังนี้ ถือได้ว่า ร.บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้ว เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยและรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3902/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โรงแรมต้องรับผิดชอบความเสียหายรถยนต์ของผู้เข้าพัก หากระเบียบยกเว้นความรับผิดไม่ชัดเจนและผู้เข้าพักไม่ได้ตกลง
โจทก์เป็นผู้รับประกันภัยอ้างว่าได้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาฟ้องบังคับจำเลย โดยนำเอาสัญญาเช่าซื้อมานำสืบประกอบฐานะของผู้เอาประกันภัยว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้ มิได้นำสืบบังคับตามสัญญาเช่าซื้อโดยตรง แม้สัญญาเช่าซื้อมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังได้ จำเลยประกอบธุรกิจโรงแรมมีระเบียบว่าผู้เข้าพักต้องแจ้งให้ทางจำเลยทราบว่า มีรถยนต์เข้ามาจอดในที่จอดรถด้วย เพื่อจะได้จัดพนักงานดูแล มิฉะนั้นหากเกิดความเสียหายหรือสูญหายจำเลยจะไม่รับผิดชอบ ต่อมา ร. ได้เข้าพักในโรงแรมจำเลยโดยนำรถยนต์ไปจอดในที่จอดรถของโรงแรมจำเลย แต่ไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อปรากฏว่า ร. มิได้ตกลงด้วยชัดแจ้งในการยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดดังกล่าวของจำเลย ระเบียบดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 677 จำเลยจะบอกปัดความรับผิดไม่ได้ เมื่อรถยนต์ของ ร.หายไปจากที่จอดรถของโรงแรมจำเลยร.ได้แจ้งให้ พ. ซึ่งเป็นผู้จัดการทั่วไปของโรงแรมจำเลยทราบ แต่พ.ปฏิเสธความรับผิดดังนี้ถือได้ว่าร. บอกกล่าวให้จำเลยทราบแล้ว เมื่อโจทก์ในฐานะผู้รับประกันภัยจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปตามสัญญาประกันภัยและรับช่วงสิทธิมาเรียกร้องเอาจากจำเลยเช่นนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องทวงถามจำเลยก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3895/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องไล่เบี้ยผู้ค้ำประกัน - สิทธิไล่เบี้ยตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 ใช้ อายุความ 10 ปี
โจทก์ทำสัญญาค้ำประกันการชำระเงินกู้ของจำเลยกับธนาคารไว้ต่อมาจำเลยผิดนัดชำระหนี้ ธนาคารจึงหักบัญชีเงินฝากของโจทก์โจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันได้ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แทนจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ไปแล้ว ย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากจำเลยเพื่อต้นเงินและดอกเบี้ยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 693 กรณีนี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง และขอบเขตค่าเสียหายที่ชดใช้
โจทก์ฟ้องว่า คนขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยชื่อนาย สมศักดิ์ไม่ทราบนามสกุล ตามที่จำเลยให้การไว้ต่อพนักงานสอบสวน จึงเป็นการบรรยายฟ้องถึงตัวบุคคลตามที่จำเลยให้การถึง ซึ่งการที่บุคคลนั้นจะเป็นนายสมศักดิ์หรือนายคำรณและชื่อดังกล่าวจะเป็นชื่อจริงหรือไม่ก็คงหมายถึงบุคคลคนเดียวกันที่เป็นลูกจ้างขับรถให้จำเลยในทางการที่จ้างนั่นเอง ที่จำเลยอ้างว่าคนขับรถยนต์บรรทุกชื่อนายคำรณมิใช่นายสมศักดิ์ตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชอบนั้นฟังไม่ขึ้น โจทก์เช่ารถยนต์โดยสารที่ถูกรถยนต์บรรทุกของจำเลยชนจากบริษัทธ. โจทก์ได้ทำการซ่อมแซมรถยนต์โดยสารตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับบริษัท ธ. เจ้าของรถยนต์โดยสารแล้ว โจทก์จึงเสียหายและฟ้องเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้กับค่าขาดรายได้ในระหว่างซ่อมแซมได้ แม้โจทก์จะไม่ใช่เจ้าของรถยนต์โดยสารก็ตาม ส่วนค่าเช่ารถยนต์โดยสารที่โจทก์ต้องจ่ายแก่บริษัท ธ. นั้นเป็นเงินลงทุนของโจทก์ที่จะทำให้เกิดรายได้ขึ้นซึ่งไม่ว่าจะมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นหรือไม่ โจทก์ก็ต้องจ่ายอยู่แล้ว ค่าเช่ารถยนต์โดยสารจึงไม่ใช่ความเสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างจำเลย โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชดใช้ค่าเช่ารถยนต์โดยสารในระหว่างการซ่อมแซมแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้แทนและสิทธิเรียกร้องช่วงสิทธิ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิได้รับ
สำเนาใบเสร็จรับเงินเป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอก โจทก์จึงไม่จำต้องส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90(2)ก็รับฟังเป็นพยานได้ เมื่อโจทก์เข้ารับช่วงสิทธิของธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่มีอยู่กับจำเลย โจทก์ย่อมต้องรับช่วงสิทธิในส่วนของอัตรา ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ที่จำเลยต้องชำระให้แก่ธนาคารตามสัญญามาเรียกเอากับจำเลยด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคแรกประกอบมาตรา 226 วรรคแรก จำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ย ร้อยละ 15 ต่อปี ในระหว่างผิดนัด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิรับช่วงสิทธิหลังพ้นกำหนด
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยชำระหนี้ให้แก่ธนาคารกสิกรไทย เจ้าหนี้รายที่ 8 เมื่อพ้นระยะเวลาขอชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 91 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แล้ว ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับช่วงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของธนาคารกสิกรไทยต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างไร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 628/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: ผู้ค้ำประกันไม่มีสิทธิขอรับช่วงสิทธิหลังพ้นกำหนด
การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยชำระหนี้ให้แก่ธนาคารกสิกรไทย เจ้าหนี้รายที่ 8 เมื่อพ้นระยะเวลาขอรับชำระหนี้ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา 91 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483แล้ว ไม่ทำให้ผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับช่วงสิทธิการขอรับชำระหนี้ของธนาคารกสิกรไทย ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่อย่างไร.
of 20