คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 63

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4577/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืนฯ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย
การกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินของโจทก์ยังไม่เสร็จสิ้นในขณะที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ในส่วนที่ 3การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงถูกยกเลิกแล้ว และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มีผลบังคับ การกำหนดค่าทดแทนจึงต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนเวนคืนต้องประเมินตามราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมินที่ใช้จดทะเบียน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า"เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ตามบทบัญญัติดังกล่าวเห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่พระราชกฤษฎีกา ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ ไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้นมิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฎว่า วันที่ 28 ธันวาคม2527 ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกา ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2683/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน-การรักษามรดกทางวัฒนธรรม: ศาลยืนตามอำนาจเวนคืน แม้กรมศิลป์เสนอทางเบี่ยง
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 และ พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยา แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ไม่ขัดแย้งกับ พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 เพียงแต่ตามสภาพของการเวนคืนที่ดินเพื่อทำถนนหรือทางสาธารณประโยชน์ จำเป็นต้องรื้อถอนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ขวางถนน หรือทางสาธารณประโยชน์นั้น แม้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ต้องรื้อจะเป็นโบราณสถาน วัด มัสยิด หรือปูชนียสถานที่คนเคารพนับถือก็ตาม ก็ต้องรื้อไปจึงจะสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมาได้ การสร้างสิ่งใหม่หรือการทำถนนเพื่อสาธารณประโยชน์และการผังเมืองตามความจำเป็นเพื่อแก้ปัญหาความคับคั่งของการจราจรจึงทำได้โดยอาศัยอำนาจนิติบัญญัติหรือกฎหมายที่บัญญัติขึ้นใหม่เพื่อการนั้นโดยมีวัตถุประสงค์แตกต่างไปจาก พระราชบัญญัติโบราณสถานฯ คณะกรรมการดำเนินการตัดถนนทางหลวงเทศบาลตามพระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงสี่พระยาฯ พ.ศ. 2528 ได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้ว ซึ่งต่อมาไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ไปทำความตกลงในเรื่องค่าทดแทนกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กรณีเป็นเรื่องที่ยังไม่ได้มีการตกลงกันในเรื่องค่าทดแทน จำเลยทั้งสามจึงไม่มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางศาลตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 63

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินเวนคืนในที่ดินจัดสรร: ค่าทดแทนสมเหตุสมผลเมื่อเป็นภาระจำยอม
ที่พิพาทที่ถูกเวนคืนเป็นถนนคอนกรีตในที่ดินจัดสรร ที่โจทก์ ทำขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันสำหรับบุคคลที่อาศัยในที่ดินจัดสรร ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการ จัดสรรที่ดินให้เลิกจัดสรรที่พิพาทย่อมตกอยู่ในภารจำยอมตามกฎหมาย โจทก์ไม่ สามารถนำที่พิพาทไปแสวงหาประโยชน์อื่นได้ ที่พิพาทจึงมี ราคาซื้อขายต่ำกว่าราคาตลาดมาก การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนโดย คำนึงถึงตำแหน่งของที่พิพาท จึงเป็นการสมควรและเป็นธรรม แก่โจทก์แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนเวนคืนที่ดินต้องพิจารณาตามราคาซื้อขายจริงในตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกา กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายพระประแดง-บางแคฯ พ.ศ. 2521 ใช้บังคับที่ดินที่อยู่ใกล้กับที่ดินของโจทก์ซื้อขายกันตารางวาละ900 บาทเศษ เมื่อพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติพิเศษไว้ในเรื่องเงินค่าทดแทน การกำหนดเงินค่าทดแทนให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับ ตามประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ดังนั้น ราคาที่ดินของโจทก์จะต้องมีราคาตามธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดไม่ต่ำกว่าตารางวาละ 900 บาท จำเลยกำหนดราคาตารางวาละ 400 บาท ตามราคา ประเมินที่ดินเพื่อให้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ประกาศใช้ใน พ.ศ. 2519ถึง 2521 ซึ่งกำหนดตั้งแต่ พ.ศ. 2518 จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: เกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนตามกฎหมาย
วิธีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติทางหลวงพุทธศักราช 2482 หรือประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับ 295 มีวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกัน คืออาจกระทำโดยออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาก็ได้ดังนั้น เงินค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76(3) ที่ให้ถือเอาวันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับนั้น จึงต้องหมายถึงกรณีที่มิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีการออกพระราชกฤษฎีกาก่อนที่จะออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เงินค่าทดแทนที่ให้กำหนดเท่าราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด ก็จะต้องเอาราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับตามข้อ 76(1) หรือ(2)แล้วแต่กรณี ทำนองเดียวกันกับเรื่องทรัพย์สินที่จะคำนวณค่าทดแทนตามข้อ 75.