พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืน และประกาศคณะปฏิวัติ โดยอ้างอิงราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา2บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปและราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศในวันที่19สิงหาคม2530โจทก์จึงไม่สามารถอ้างเอาหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาเป็นประโยชน์ในการคำนวณเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทได้ที่ดินพิพาทของโจทก์ถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯพ.ศ.2526ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้จึงต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงนี้ได้บัญญัติในข้อ76(2)ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้นใช้บังคับเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯพ.ศ.2517ใช้บังคับวันที่29พฤษภาคม2517ดังนั้นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดจึงต้องถือราคาในวันที่29พฤษภาคม2517 โจทก์เข้าปรับปรุงที่ดินภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯพ.ศ.2517ประกาศใช้แล้วไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้โจทก์จะเรียกร้องค่าปรับปรุงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนตามกฎหมายและประกาศคณะปฏิวัติ โดยพิจารณาจากวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ตามพระราชบัญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 2 บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศในวันที่ 19สิงหาคม 2530 โจทก์จึงไม่สามารถอ้างเอาหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาเป็นประโยชน์ในการคำนวณเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทได้ ที่ดินพิพาทของโจทก์ถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ฯพ.ศ.2526 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ จึงต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับ ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงนี้ ได้บัญญัติในข้อ 76 (2) ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้นใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ฯพ.ศ.2517 ใช้บังคับ วันที่ 29 พฤษภาคม 2517 ดังนั้นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดจึงต้องถือราคาในวันที่ 29 พฤษภาคม 2517
โจทก์เข้าปรับปรุงที่ดินภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ฯ พ.ศ.2517 ประกาศใช้แล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้โจทก์จะเรียกร้องค่าปรับปรุงได้
โจทก์เข้าปรับปรุงที่ดินภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ฯ พ.ศ.2517 ประกาศใช้แล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้โจทก์จะเรียกร้องค่าปรับปรุงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3603/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2527 จึงต้องกำหนดเงินทดแทนให้เท่าราคาในวันดังกล่าว ดังนั้น การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์โดยถือหลักเกณฑ์ตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2524 ให้มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2525 ถึงวันที่31 ธันวาคม 2527 เพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม จึงไม่ถูกต้อง และขัดกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวเพราะมิใช่ราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ แม้จำเลยจะได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินดังกล่าวให้โจทก์ตามมติของคณะกรรมการดำเนินงานก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานพระรามหก ที่ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีก็ตามเงินค่าทดแทนที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ดังกล่าวไม่ถูกต้องตามความเป็นธรรมโจทก์มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-904/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณราคาธรรมดาในตลาด ดอกเบี้ย และขอบเขตการบังคับใช้กฎหมายเฉพาะ
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนอยู่ในแนวเขตที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสาย รัชดาภิเษกตอนแขวง วัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524และอยู่ในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขต บางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวากรุงเทพมหานครพ.ศ.2525ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ข้อ76จะต้องกำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ให้เท่าราคาของที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่20ธันวาคม2524และวันที่2พฤษภาคม2525ซึ่งเป็นวันที่พระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับดังกล่าวใช้บังคับตามลำดับมิใช่กำหนดค่าทดแทนโดยถือตามอัตราในบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมอันเป็นราคาคงที่ตลอดเวลาที่ใช้บัญชีดังกล่าว เรื่องเกี่ยวกับการสร้างทางพิเศษต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290มาใช้บังคับแต่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวข้อ24มิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดค่าทำขวัญไว้จึงต้องนำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยทางหลวงในส่วนที่ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงอันได้แก่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ข้อ67และข้อ76ในเรื่องค่าทดแทนและดอกเบี้ยสำหรับจำนวนเงินที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเพิ่มขึ้นมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ข้อ23วรรคสองกำหนดไว้เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินบริเวณที่ที่จะเวนคืนในเขตท้องที่เขต บางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ.2525กำหนดค่าทดแทนให้เท่าราคาของที่ดินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับตามที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ข้อ76(1)กำหนดแล้วดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเพิ่มขึ้นตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295ข้อ67วรรคสองจึงต้องนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวใช้บังคับเพื่อให้สอดคล้องกันด้วยจะนับแต่วันที่ได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสาย ดาวคะนอง-ท่าเรือ ในเขตท้องที่เขต บางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะและเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ.2530ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่25กรกฎาคม2530มาใช้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่290ข้อ24วรรคสองตอนท้ายบัญญัติไว้หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาค่าทดแทนเวนคืนที่ดิน: พิจารณาตามวันประกาศพระราชกฤษฎีกา หรือประกาศของคณะปฏิวัติ
วิธีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ทางหลวง พุทธศักราช2482 หรือประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกัน คือ อาจกระทำโดยออก พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาก็ได้ ดังนั้นเงินค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76(3) ที่ให้ถือเอาวันที่พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับนั้น จึงต้องหมายถึงกรณีที่มิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้า มีการออกพระราชกฤษฎีกาก่อนที่จะออก พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เงินค่าทดแทนที่ให้กำหนดเท่าราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดก็จะต้องเอาราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับตามข้อ 76(1) หรือ (2) แล้วแต่กรณี ทำนองเดียวกันกับเรื่องทรัพย์สินที่จะคำนวณค่าทดแทนตามข้อ 75.