พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7177/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: หลักเกณฑ์การพิจารณาปัจจัยสภาพที่ดินและผลกระทบจากการก่อสร้าง
กระทรวงคมนาคม จำเลยที่ 1 และกรมทางหลวง จำเลยที่ 3 มีอำนาจหน้าที่จัดให้มีหรือสร้างทางหลวงแผ่นดิน ตลอดจนการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงทางหลวงแผ่นดิน การดำเนินการเวนคืนที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 และพระราชกฤษฎีกาฯ จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ตามนโยบายของรัฐส่วนจำเลยที่ 2 เป็นรัฐมนตรีมีอำนาจทำการแทนจำเลยที่ 1 แม้จะไม่ใช่ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์โดยตรง แต่ก็มีฐานะเป็นผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติฯ และพระราชกฤษฎีกาฯ และมีอำนาจหน้าที่ในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ขอเพิ่มเงินค่าทดแทนที่ดิน เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่ได้วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดหรือวินิจฉัยแล้วยังไม่เป็นที่พอใจของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ส่วนอธิบดีกรมทางหลวง จำเลยที่ 4 ตามประกาศของคณะปฏิวัติฯ และพระราชกฤษฎีกาฯกำหนดให้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และเป็นเจ้าหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนของโจทก์ เมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 4 ในฐานะอธิบดีมิได้ฟ้องให้รับผิดในฐานะส่วนตัว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 4 ได้ และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ได้กำหนดว่า โจทก์ในฐานะเป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับค่าทดแทน หากไม่พอใจในเงินค่าทดแทนที่ฝ่ายจำเลยกำหนดให้โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลขอให้กำหนดเงินค่าทดแทนเพิ่มเติมได้ แม้พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ จะมิได้กำหนดว่าฟ้องบุคคลใดได้บ้างก็ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่าบุคคลที่จะถูกฟ้องคือบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการเวนคืนและจ่ายเงินค่าทดแทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 4 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5162/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การครอบครองที่ดินในแนวเขตเวนคืนเป็นของรัฐ แม้ยังมิได้จดทะเบียนเวนคืนทั้งหมด สิทธิเรียกร้องเป็นของเจ้าของเดิม
เจ้าของที่ดินเดิมซึ่งที่ดินอยู่ในแนวเขตเวนคืนตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ที่มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ได้ขอรังวัดแบ่งเวนคืนที่ดินส่วนหนึ่งที่อยู่ในแนวเขตเวนคืนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ให้แก่กรมทางหลวงใช้สร้างถนนจนแล้วเสร็จ แต่ที่ดินอีกส่วนหนึ่งที่เหลือจากการจดทะเบียนแบ่งเวนคืนและที่ดินที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเวนคืนอันเป็นที่ดินพิพาทนั้นก็อยู่ในแนวเขตเวนคืนเพื่อใช้สำหรับงานทาง ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ด้วย ที่ดินพิพาทย่อมถูกเวนคืนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 เป็นของรัฐแล้ว การจดทะเบียนแบ่งเวนคืนหรือจดทะเบียนเวนคืนสำหรับที่ดินทั้งสองส่วนนี้อาจกระทำคนละครั้งได้ มิใช่ว่า เมื่อมีการจดทะเบียนแบ่งเวนคืนที่ดินเป็นของกรมทางหลวงและมีการเปิดใช้ทางหลวงแผ่นดินฯ แล้ว จะถือว่าการเวนคืนเสร็จสิ้นและทำให้ที่ดินที่อยู่ภายในแนวเขตเวนคืนของประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ที่ยังมิได้ดำเนินการให้มีการจดทะเบียนเวนคืน ปลอดพ้นจากการเวนคืนแต่อย่างใด
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในที่ดินทั้งสามแปลงมิใช่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสามแปลงในขณะที่มีการเวนคืน หากมีการใช้ที่ดินที่ถูกเวนคืนนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนมีสิทธิอ้างได้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมในขณะที่มีการเวนคืน มิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวในภายหลัง
โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิในที่ดินทั้งสามแปลงมิใช่เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสามแปลงในขณะที่มีการเวนคืน หากมีการใช้ที่ดินที่ถูกเวนคืนนอกวัตถุประสงค์ของกฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันเป็นเหตุให้เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนมีสิทธิอ้างได้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมในขณะที่มีการเวนคืน มิใช่เป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือโฉนดที่ดินทั้งสามแปลงดังกล่าวในภายหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาที่ดินที่เหลือเพิ่มขึ้น หักออกจากค่าทดแทนได้ สิทธิการฟ้องละเมิดไม่มี
พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - สมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - ปากท่อ พ.ศ. 2508 ออกตามความใน พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2482 มาตรา 56 กำหนดให้ท้องที่อำเภอต่าง ๆ รวมทั้งอำเภอเมืองสมุทรสาครซึ่งที่ดินของโจทก์ตั้งอยู่เป็นแนวเขตทางหลวง และต่อมาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ให้เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินสายธนบุรี - สมุทรสาคร - สมุทรสงคราม - ปากท่อ ในท้องที่อำเภอราษฎร์บูรณะ ฯลฯ ให้แก่จำเลย โดยถือว่าประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้มีผลใช้บังคับเช่นเดียวกับ พ.ร.บ. เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามความในมาตรา 41 และ มาตรา 47 แห่ง พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2482 แต่ต่อมามีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ให้ยกเลิก พ.ร.บ. ทางหลวง พ.ศ. 2482 และให้ใช้ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้แทนซึ่งข้อ 87 วรรคหนึ่ง ให้นำบทบัญญัติในส่วนที่ 3 มาใช้บังคับแก่การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังดำเนินอยู่ในวันประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ และวรรคสองบัญญัติว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยทางหลวงที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ ให้เป็นอันใช้ได้ ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 โดยมีบทบัญญัติในมาตรา 7 ให้ยกเลิกความในส่วนที่ 3 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงข้อ 63 ถึงข้อ 80 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว ในกรณีของโจทก์ขณะที่ พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับ ขั้นตอนการดำเนินการเวนคืนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 225 ยังไม่เสร็จสิ้น เพราะฝ่ายจำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนรวมทั้งโจทก์ ดังนั้น การดำเนินการต่อไปตั้งแต่การมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปตกลงราคาค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนก็ดี การแจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนก็ดี การอุทธรณ์ค่าทดแทนก็ดี กำหนดระยะเวลาที่โจทก์ต้องนำคดีมาร้องฟ้องต่อศาล ตลอดจนเรื่องอื่น ๆ ต่อไปที่เกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ดีต้องบังคับตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวข้างต้นหมายความว่า การเวนคืนและการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์อันเกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ที่ได้ปฏิบัติไปแล้วก่อนวันที่ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ประกาศใช้บังคับย่อมเป็นอันใช้ได้แต่การดำเนินการต่อไปต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวรคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องต่อศาล เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกรัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี และในกรณีที่สองที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ คดีนี้เป็นกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ (วันที่ 15 ตุลาคม 2535) ดังนั้น สิทธิของโจทก์ในการดำเนินคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดดังกล่าวคือวันที่ 15 ธันวาคม 2535 จนถึง 15 ธันวาคม 2536 โจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2538 เกินกว่า 1 ปีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ อำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นอันหมดสิ้นไป
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งเป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
การเวนคืนเพื่อตัดทางหลวงสายนี้ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาก ทั้งเนื้อที่ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีมากกว่าเนื้อที่ที่ดินที่ถูกเวนคืนเกิน 4 เท่า แม้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากเวนคืนมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อยแค่ 1 ใน 4 ส่วนเท่านั้น ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้ว ตามบทกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนให้เอาราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนในส่วนที่มีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาหักออกจากเงินค่าทดแทน ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน แม้ฝ่ายจำเลยเพิ่งมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาเพื่อรับเงินค่าทดแทนที่ดินตารางวาละ 5 บาท ภายหลังจากที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนมาเป็นเวลานานแล้ว ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายดังกล่าวโจทก์ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินอยู่แล้ว เมื่อไม่มีความเสียหายจึงไม่เป็นละเมิด
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องต่อศาล เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น 2 กรณี กรณีแรกรัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี และในกรณีที่สองที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ คดีนี้เป็นกรณีที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายใน 60 วันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ (วันที่ 15 ตุลาคม 2535) ดังนั้น สิทธิของโจทก์ในการดำเนินคดีมาฟ้องต่อศาลภายใน 1 ปี จึงเริ่มนับตั้งแต่วันพ้นกำหนดดังกล่าวคือวันที่ 15 ธันวาคม 2535 จนถึง 15 ธันวาคม 2536 โจทก์เพิ่งนำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2538 เกินกว่า 1 ปีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ อำนาจในการฟ้องคดีของโจทก์จึงเป็นอันหมดสิ้นไป
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่งเป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
การเวนคืนเพื่อตัดทางหลวงสายนี้ทำให้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาก ทั้งเนื้อที่ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนมีมากกว่าเนื้อที่ที่ดินที่ถูกเวนคืนเกิน 4 เท่า แม้ที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากเวนคืนมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงเล็กน้อยแค่ 1 ใน 4 ส่วนเท่านั้น ก็จะมีราคาเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้ว ตามบทกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนให้เอาราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืนในส่วนที่มีราคาสูงขึ้นจากเดิมมาหักออกจากเงินค่าทดแทน ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน แม้ฝ่ายจำเลยเพิ่งมีหนังสือถึงโจทก์ให้ไปตกลงราคาเพื่อรับเงินค่าทดแทนที่ดินตารางวาละ 5 บาท ภายหลังจากที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนมาเป็นเวลานานแล้ว ก็ไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเพราะตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายดังกล่าวโจทก์ไม่มีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินอยู่แล้ว เมื่อไม่มีความเสียหายจึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5615/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินตามวันออกพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง
วิธีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชบัญญัติทางหลวงพุทธศักราช 2482 หรือประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับ 295 มีวิธีปฏิบัติอย่างเดียวกัน คืออาจกระทำโดยออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาก็ได้ดังนั้น เงินค่าทดแทนตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 (3) ที่ให้ถือเอาวันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ใช้บังคับนั้น จึงต้องหมายถึงกรณีที่มิได้มีการออกพระราชกฤษฎีกา แต่ถ้ามีการออกพระราชกฤษฎีกาก่อนที่จะออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เงินค่าทดแทนที่ให้กำหนดเท่าราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาด ก็จะต้องเอาราคาในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับตามข้อ 76 (1) หรือ (2)แล้วแต่กรณี ทำนองเดียวกันกับเรื่องทรัพย์สินที่จะคำนวณค่าทดแทนตามข้อ 75.