พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6952/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ค่าทดแทนตามประกาศคณะปฏิวัติ vs. พ.ร.บ.เวนคืนฯ
ที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนตาม พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี และเขตดุสิต เขตบางกอกน้อยกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2527 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 การกำหนดค่าทดแทนที่ดินจึงต้องเป็นไปตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าว ข้อ 76 คือต้องกำหนดเท่ากับราคาซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ พ.ศ.2517 ใช้บังคับ จะกำหนดตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังที่จำเลยกำหนดให้โจทก์หาได้ไม่
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เป็นเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530แต่การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เป็นกรณีที่ต้องบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ซึ่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 หาได้กล่าวถึงหรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมไม่ จึงจะนำประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้
ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44เป็นเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530แต่การกำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เป็นกรณีที่ต้องบังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ซึ่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 หาได้กล่าวถึงหรือมีการแก้ไขเพิ่มเติมไม่ จึงจะนำประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวมาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การกำหนดราคาค่าทดแทนตาม พ.ร.ฎ. และการวางเงินชดเชยที่ไม่สมบูรณ์ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้อง
การที่จำเลยที่ 1 วางเงินโดยมีเงื่อนไข ทำให้โจทก์ยังไม่ได้รับเงินทั้ง ๆ ที่ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯพ.ศ.2526 กำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนไว้ อันมีผลให้กรรมสิทธิ์โอนไปด้วยอำนาจ-กฎหมายโดยไม่จำต้องทำการแบ่งแยกโฉนด เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำไปวางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางในคราวเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่ามีการวางเงินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ระยะเวลาหนึ่งปีจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ ฯลฯ (2) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น ฯลฯ ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสาย-รัชดาภิเษกฯ พ.ศ.2526 ไม่มีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับเงินค่าทดแทน แต่ปรากฏว่าได้มีพ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัซดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ.2514 ราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงเทศบาล-สายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับ
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ ฯลฯ (2) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น ฯลฯ ตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสาย-รัชดาภิเษกฯ พ.ศ.2526 ไม่มีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับเงินค่าทดแทน แต่ปรากฏว่าได้มีพ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัซดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ.2514 ราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงเทศบาล-สายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ - แขวงสามเสนนอก พ.ศ.2524 ใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5474/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ราคาค่าทดแทนต้องเป็นราคาตลาด ณ วันที่กฎหมายใช้บังคับ ไม่ใช่งวดเก่า และการวางเงินมีเงื่อนไขไม่ถือเป็นการวางเงินตามกฎหมาย
การที่จำเลยที่ 1 วางเงินโดยมีเงื่อนไข ทำให้โจทก์ยังไม่ได้รับเงินทั้ง ๆ ที่ตาม พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯ พ.ศ. 2526 กำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนไว้ อันมีผลให้กรรมสิทธิ์โอนไปด้วยอำนาจกฎหมายโดยไม่จำต้องทำการแบ่งแยกโฉนด เมื่อโจทก์ไม่สามารถรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 นำไปวางไว้ต่อสำนักงานวางทรัพย์กลางในคราวเดียวกัน จึงถือไม่ได้ว่ามีการวางเงินตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ระยะเวลาหนึ่งปีจึงยังไม่เริ่มนับ โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงไว้ในข้อ 76 ว่า เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ ฯลฯ (2)ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น ฯลฯ ตาม พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯ พ.ศ. 2526 ไม่มีบทบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับเงินค่าทดแทน แต่ปรากฏว่าได้มี พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับแก่กรณีของโจทก์เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2524 การที่จำเลยที่ 1 กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมพ.ศ. 2514 ราคาดังกล่าวไม่ใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5164/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาค่าทดแทนเวนคืนตามราคาตลาดจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิใช่ราคาประเมิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 บัญญัติว่า "เงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ซึ่งออกตามข้อ 63 แล้ว ให้กำหนดเท่าราคาทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันดังต่อไปนี้ (1) ในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับในกรณีที่ได้มีการตรา พ.ร.ฎ.เช่นว่านั้น... ตามบทบัญญัติดังกล่าว เห็นได้ว่า การที่กำหนดให้ใช้ค่าทดแทนตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับ มิได้หมายความว่า ถ้าในวันที่ พ.ร.ฎ.ใช้บังคับไม่มีหลักฐานการจดทะเบียนซื้อขายกันที่สำนักงานที่ดินก็จะต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทน ทั้งการที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสิบสองโดยถือเอาราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังกล่าวเป็นเกณฑ์กำหนดราคาค่าทดแทนย่อมคงที่ตลอดเวลาที่ใช้ราคาประเมินนั้น มิใช่ราคาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดซึ่งที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองอาจเปลี่ยนแปลงสูงขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ ปรากฏว่า วันที่28 ธันวาคม 2527 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ.ประกาศใช้บังคับ จำเลยนำเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่เริ่มใช้บังคับนับแต่วันที่ 1 มกราคม 2525มาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับว่าเป็นราคาที่แตกต่างจากราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนประกาศใช้บังคับแน่ เนื่องจากเป็นเวลาที่เนิ่นนานร่วม 3 ปีแล้ว ราคาที่ดินย่อมสูงขึ้นเรื่อย ๆ เป็นธรรมดา ราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2528 จึงเป็นราคาใกล้เคียงกับราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2733/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดราคาซื้อขายที่ดินตามประกาศคณะปฏิวัติ: ไม่บังคับใช้ราคาประเมินหากไม่มีการจดทะเบียน
ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน2515 ข้อ 76 มิได้บังคับว่าหากในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายที่สำนักงานทะเบียนที่ดินแล้ว จะต้องถือเอาราคาที่ดินของกรมที่ดินกำหนดเป็นเกณฑ์แทน เพราะมิใช่ราคาซื้อขายกันในท้องตลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3897/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับดอกเบี้ยค่าทดแทนที่ดินเวนคืน เริ่มนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ.เวนคืนมีผลบังคับใช้ แม้มี พ.ร.บ.เวนคืนฉบับใหม่
เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์เพิ่มขึ้น โจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคม 2525 ซึ่งเป็นวันที่พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525 เพื่อสร้างทางพิเศษ สายดาวคะนอง - ท่าเรือ มีผลใช้บังคับตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ท้ายฟ้อง และตาม พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมาตรา 3ให้ พ.ร.ฎ.มีอายุห้าปี แม้ภายหลังจากครบห้าปีได้มีการตรา พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือ ในท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2530 ก็ตาม แต่ก็เป็นการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือ ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตบางขุนเทียนเขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2525 นั้นเอง และเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินโจทก์ที่ถูกเวนคืนมาตั้งแต่ พ.ร.ฎ.ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ ซึ่งโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2528โดยอ้างเหตุตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ฯ มิได้อ้างเหตุตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง - ท่าเรือในท้องที่เขตบางขุนเทียน เขตราษฎร์บูรณะ และเขตยานนาวา กรุงเทพมหานครพ.ศ.2530 ซึ่งออกภายหลังจากโจทก์ฟ้องคดีนี้ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ใช้บังคับ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67 วรรคสอง ตอนท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1985/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนและค่าเสียหายจากประกาศคณะปฏิวัติ พิจารณาจากราคาตลาดจริงและสภาพทรัพย์สิน
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคท้าย ประกอบด้วยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76 ที่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดนั้น หมายถึงราคาธรรมดาของที่ดินแต่ละแปลงที่อ้างซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริง แต่ราคาที่ดินตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจด-ทะเบียนสิทธิและนิติกรรม เป็นเพียงราคาปานกลางของที่ดินในแต่ละเขตท้องที่ ซึ่งที่ดินแต่ละแปลงในท้องที่เดียวกันและตามบัญชีดังกล่าวกำหนดไว้เป็นราคาเดียวกัน อาจมีราคาแตกต่างกันตามสภาพของที่ดินแต่ละแปลง และสำหรับที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนปรากฏว่าเป็นที่ดินที่อยู่ห่างจากถนนสายธนบุรี - ปากท่อ เพียงประมาณ 15 เมตรเป็นที่ดินที่ใช้สร้างโรงภาพยนตร์ มีทางเข้าออกเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก มีลานจอดรถและอาคารพาณิชย์โดยรอบ เชื่อได้ว่าที่ดินของโจทก์ดังกล่าวมีราคาธรรมดาที่อาจซื้อขายกันในท้องตลาดตามความเป็นจริงสูงกว่าราคาตามบัญชีกำหนดจำนวนราคาที่ดินตามราคาตลาดเพื่อใช้เป็นทุนทรัพย์สำหรับเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
เครื่องปรับอากาศของโจทก์เป็นเครื่องปรับอากาศใช้สำหรับโรง-ภาพยนตร์เชื่อได้ว่าเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ การติดตั้งและรื้อถอนต้องเสียค่าแรงงานและอาจเกิดความเสียหายได้ จำเลยต้องใช้เงินค่าทดแทน
เก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ของโจทก์มีลักษณะที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับโดยเฉพาะ และได้ติดตั้งยึดไว้กับพื้นของโรงภาพยนตร์ ซึ่งตามปกติโรงภาพยนตร์ต้องมีเก้าอี้เพื่อให้ผู้ชมได้นั่งชมภาพยนตร์ การรื้อถอนเก้าอี้ออกไปจะทำให้โรงภาพยนตร์เสียสภาพจากการเป็นโรงภาพยนตร์ ถือได้ว่าเก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง จำเลยจึงต้องใช้เงินค่าทดแทนให้โจทก์
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่คิดว่าจะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ และรัฐมนตรีได้ประกาศให้ทางสายนั้นเป็นทางที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้ว แม้จะยังไม่มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินค่าทดแทนหรือค่าเสียหายให้โจทก์ และเมื่อนำข้อ 67 วรรคสองแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยอาศัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคสอง แล้ว มีความหมายว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
เครื่องปรับอากาศของโจทก์เป็นเครื่องปรับอากาศใช้สำหรับโรง-ภาพยนตร์เชื่อได้ว่าเป็นเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่ การติดตั้งและรื้อถอนต้องเสียค่าแรงงานและอาจเกิดความเสียหายได้ จำเลยต้องใช้เงินค่าทดแทน
เก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ของโจทก์มีลักษณะที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้สำหรับโดยเฉพาะ และได้ติดตั้งยึดไว้กับพื้นของโรงภาพยนตร์ ซึ่งตามปกติโรงภาพยนตร์ต้องมีเก้าอี้เพื่อให้ผู้ชมได้นั่งชมภาพยนตร์ การรื้อถอนเก้าอี้ออกไปจะทำให้โรงภาพยนตร์เสียสภาพจากการเป็นโรงภาพยนตร์ ถือได้ว่าเก้าอี้นั่งชมภาพยนตร์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโรงภาพยนตร์ซึ่งเป็นสิ่งปลูกสร้าง จำเลยจึงต้องใช้เงินค่าทดแทนให้โจทก์
เมื่อมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่คิดว่าจะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ และรัฐมนตรีได้ประกาศให้ทางสายนั้นเป็นทางที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วนแล้ว แม้จะยังไม่มีการออกพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ จำเลยก็มีหน้าที่ต้องใช้เงินค่าทดแทนหรือค่าเสียหายให้โจทก์ และเมื่อนำข้อ 67 วรรคสองแห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยอาศัยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน2515 ข้อ 23 วรรคสอง แล้ว มีความหมายว่าโจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5993/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากเหตุแยกกันอยู่เกิน 3 ปี และการกระทำรุนแรงทางร่างกาย
(สมศักดิ์ วิธุรัติ - เสียง ตรีวิมล - บุญศรี กอบบุญ)ศาลแพ่ง นายพีรพันธุ์ โพธิ์ดาศาลอุทธรณ์ นายระพิณ บุญสิทธิ์
นายอนันต์ ชุมวิสูตร - ย่อ
สุมาลี พิมพ์ (18)
นายอนันต์ ชุมวิสูตร - ย่อ
สุมาลี พิมพ์ (18)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 459/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาที่ดินตามราคาตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ และดอกเบี้ย
แม้จะมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 23 ลงวันที่ 18 ธันวาคม2514 กำหนดแนวทางหลวงแผ่นดินผ่านที่ดินของโจทก์ทั้งสองแล้วแต่เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ซึ่งกำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกา และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชกฤษฎีกาแทนอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติซึ่งเป็นผู้รักษาการตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 23 พระราชกฤษฎีกาที่ออกใช้บังคับในครั้งหลังนี้จึงมีผลเท่ากับเป็นการยกเลิกประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 23 ไปโดยปริยาย ดังนั้น เมื่อมีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 76(2) ซึ่งบัญญัติว่าเงินค่าทดแทนนั้น ถ้าไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับ การกำหนดค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งสองจึงต้องถือเอาราคาของทรัพย์สินตามราคาธรรมดาที่ซื้อขายกันในท้องตลาดในวันดังกล่าวและถ้าในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับไม่มีการจดทะเบียนซื้อขายที่ดินในบริเวณที่ถูกเวนคืน ศาลก็มีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจกำหนดราคาซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนตามราคาธรรมดาในท้องตลาดในวันดังกล่าวได้โดยพิจารณาจากราคาธรรมดาในท้องตลาดในการซื้อขายที่ดินในเวลาและในบริเวณที่ใกล้เคียงกัน หาจำต้องถือเอาราคาประเมินเพื่อใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินมาใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนแต่อย่างใดไม่ ฎีกาของจำเลยทั้งสองที่ว่า ที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่เหลือจากการเวนคืนมีจำนวนมากเมื่อมีถนนสายรัชดาภิเษกแล้วราคาจะสูงขึ้นไม่น้อยกว่าเท่าตัว จึงต้องเอาราคาที่สูงขึ้นหักค่าทดแทนตามบทบัญญัติในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497 เมื่อหักแล้วไม่ควรจะมีเหลือจ่ายเป็นค่าทดแทนให้แก่โจทก์นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ให้เห็นว่าราคาที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนจะสูงกว่าราคาก่อนการสร้างถนนสายรัชดาภิเษกเท่าใด จึงมิใช่ประเด็นที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ปัญหาว่าโจทก์ทั้งสองจะคิดดอกเบี้ยจากจำเลยทั้งสองได้หรือไม่นั้น ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 67 กำหนดไว้ว่าในกรณีที่ศาลพิพากษาให้เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ชำระเงินเพิ่มขึ้นให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์ได้รับดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีในเงินนั้น ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนใช้บังคับ ดังนั้นเมื่อจำเลยทั้งสองยังไม่ได้ชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสองเลย ไม่ว่าจะเป็นเงินที่จำเลยทั้งสองกำหนดให้หรือที่ศาลพิพากษาให้เพิ่มขึ้นโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนจำนวนที่โจทก์ทั้งสองสมควรจะได้รับในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524ใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3782/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่ดินตามราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ โดยอ้างอิงราคาปานกลางภาษีบำรุงท้องที่
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 76 ที่กำหนดเงินค่าทดแทนเท่าราคาของทรัพย์สินตามราคาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงใช้บังคับในกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้น ไม่มีบทบัญญัติให้นำเอาราคาที่ซื้อขายก่อนและหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกับวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับที่สุดมาประกอบกัน เมื่อไม่ปรากฏว่าได้มีการซื้อขายที่ดินที่ถูกเวนคืนกันในวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ตามประกาศราคาปานกลางของที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ เพื่อให้เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นเอกชนเสียภาษีบำรุงท้องที่มาเป็นเกณฑ์กำหนดเงินค่าทดแทน