พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค่าทนายที่ขัดต่อกฎหมายทนายความเป็นโมฆะ แม้ภายหลังมีกฎหมายใหม่ สัญญาเดิมก็ยังไม่สมบูรณ์
ตามสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายข้อ2มีว่าจ.ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าว่าจ้างเป็นค่าทนายตอบแทนแก่โจทก์ผู้รับจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น6,000,000บาทแต่เนื่องจากจ. ยากจนไม่มีเงินชำระให้แก่โจทก์ได้จึงประสงค์ขอยกที่ดินพิพาทตามสัญญาว่าจ้างทนายข้อ1ชำระแทนโดยขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำนวน40ส่วนของที่ดินและตึกแถวทั้งหมดและหากได้เงินจากคดีดังกล่าวมาเป็นจำนวนเท่าใดจ. ขอแบ่งส่วนได้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนร้อยละ40เช่นเดียวกันอีกด้วยซึ่งที่ดินที่จะแบ่งให้ตามสัญญาข้อ1เป็นที่ดินที่จ. จะได้มาจากการฟ้องร้องคดีจึงเป็นข้อสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีทำสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่จ. ลูกความเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2508มาตรา41ประกอบพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2477มาตรา12(2)ซึ่งใช้บังคับในขณะทำสัญญาจึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญาแม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2508แล้วและตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาลมาตรา86กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความมาตรา53ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยที่ข้อบังคับดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างว่าความไว้ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่เป็นโมฆะมาแต่แรกแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้ สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้างและเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ40มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะและไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา173ที่แก้ไขใหม่การที่กองมรดกของจ. ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจากพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา174ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค่าทนายที่กำหนดค่าตอบแทนเป็นส่วนแบ่งทรัพย์สินจากการฟ้องร้อง ถือเป็นโมฆะตามกฎหมายทนายความ
ตามสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายข้อ 2 มีว่า จ.ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าว่าจ้างเป็นค่าทนายตอบแทนแก่โจทก์ผู้รับจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000,000 บาท แต่เนื่องจากจ. ยากจนไม่มีเงินชำระให้แก่โจทก์ได้ จึงประสงค์ขอยกที่ดินพิพาทตามสัญญาว่าจ้างทนาย ข้อ 1 ชำระแทน โดยขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำนวน 40 ส่วนของที่ดินและตึกแถวทั้งหมด และหากได้เงินจากคดีดังกล่าวมาเป็นจำนวนเท่าใดจ. ขอแบ่งส่วนได้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนร้อยละ 40เช่นเดียวกันอีกด้วย ซึ่งที่ดินที่จะแบ่งให้ตามสัญญาข้อ 1เป็นที่ดินที่ จ. จะได้มาจากการฟ้องร้องคดี จึงเป็นข้อสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีทำสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ จ. ลูกความเป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2477 มาตรา 12(2) ซึ่งใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิมที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 แล้วและตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความมาตรา 53 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่ข้อบังคับดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างว่าความไว้ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่เป็นโมฆะมาแต่แรกแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้ สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ40 มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะ และไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 173 ที่แก้ไขใหม่การที่กองมรดกของ จ. ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจากพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่ และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 174 ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2890/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค่าทนายที่ใช้ที่ดินและเงินจากคดีชำระค่าตอบแทนเป็นโมฆะ
ตามสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายข้อ 2 มีว่า จ.ผู้ว่าจ้างตกลงให้ค่าว่าจ้างเป็นค่าทนายตอบแทนแก่โจทก์ผู้รับจ้างเป็นเงินทั้งสิ้น 6,000,000 บาทแต่เนื่องจาก จ.ยากจนไม่มีเงินชำระให้แก่โจทก์ได้ จึงประสงค์ขอยกที่ดินพิพาทตามสัญญาว่าจ้างทนาย ข้อ 1 ชำระแทน โดยขอยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์จำนวน 40 ส่วนของที่ดินและตึกแถวทั้งหมด และหากได้เงินจากคดีดังกล่าวมาเป็นจำนวนเท่าใด จ.ขอแบ่งส่วนได้ให้แก่โจทก์เป็นจำนวนร้อยละ 40 เช่นเดียวกันอีกด้วย ซึ่งที่ดินที่จะแบ่งให้ตามสัญญาข้อ 1 เป็นที่ดินที่ จ.จะได้มาจากการฟ้องร้องคดี จึงเป็นข้อสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีทำสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ จ.ลูกความ เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2508 มาตรา 41 ประกอบ พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2477มาตรา 12 (2) ซึ่งใช้บังคับในขณะทำสัญญา จึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา113 เดิม ที่ใช้บังคับในขณะทำสัญญา แม้ต่อมาจะได้มี พ.ร.บ.ทนายความพ.ศ.2528 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2508 แล้ว และตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86 กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ มาตรา 53 ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่ข้อบังคับดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างว่าความไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยที่เป็นโมฆะมาแต่แรกแล้วกลับสมบูรณ์ขึ้นมาได้
สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ 40 มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะ และไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา173 ที่แก้ไขใหม่ การที่กองมรดกของ จ.ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจาก พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่ และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 174ที่แก้ไขใหม่
สัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายมีนิติกรรมเพียงอย่างเดียวคือให้นำที่ดินสิ่งปลูกสร้าง และเงินจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทที่จะได้จากการชนะคดีจำนวนร้อยละ 40 มาแบ่งให้แก่โจทก์เป็นค่าจ้างว่าความซึ่งเป็นโมฆะ และไม่มีนิติกรรมส่วนอื่นที่ไม่เป็นโมฆะที่จะแยกออกมาจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา173 ที่แก้ไขใหม่ การที่กองมรดกของ จ.ได้รับเงินจากการขายทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทหลังจาก พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2528 ใช้บังคับแล้วหาใช่เป็นนิติกรรมที่ใช้ได้แยกออกต่างหากจากสัญญาให้ค่าว่าจ้างทนายซึ่งเป็นโมฆะไม่ และกรณีไม่เข้าลักษณะที่เป็นนิติกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 174ที่แก้ไขใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายที่แบ่งส่วนจากทรัพย์สินที่ได้จากการฟ้องร้องเป็นโมฆะ แม้มีการแก้ไขกฎหมาย
สัญญาที่จำเลยจ้าง โจทก์ให้ว่าความ กำหนดค่าจ้างว่าความส่วนที่ยังมิได้ชำระเป็นจำนวนเงินสิบเปอร์เซ็นต์ ของเงินที่จำเลยจะได้ รับจากการฟ้องแย้ง เป็นสัญญารับจ้างว่าความโดย วิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้ แก่ลูกความ อันมีวัตถุประสงค์ขัดต่อ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบพ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2477 มาตรา 12(2) จึงตกเป็นโมฆะตามป.พ.พ. มาตรา 113 ดังนี้ แม้ต่อมาจะได้ มี พ.ร.บ. ทนายความพ.ศ. 2528 ยกเลิกกฎหมายข้างต้นแล้ว และตาม บทเฉพาะกาล มาตรา 86 ของพ.ร.บ. ดังกล่าว กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมารยาททนายความตาม มาตรา 53 ซึ่ง มิได้มีการกำหนดเรื่องค่าจ้างการว่าความไว้ ก็ไม่ทำให้สัญญาซึ่ง เป็นโมฆะแต่ ต้น กลับสมบูรณ์ขึ้นดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าจ้างว่าความที่เหลือจากจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายโดยคิดค่าจ้างเป็นเปอร์เซ็นต์ของเงินที่ได้จากการดำเนินคดี เป็นโมฆะขัดต่อกฎหมายทนายความ
สัญญาจ้างว่าความโดยคิดค่าจ้างร้อยละสามสิบของเงินที่ได้มาทั้งหมด เป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความจึงมีวัตถะประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508มาตรา 41 ประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช 2477 มาตรา12(2) เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508ไปแล้ว และตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86 กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามมาตรา 53 ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างการว่าความไว้ก็ตามก็ไม่ทำให้สัญญาจ้างว่าความที่เป็นโมฆะมาแต่ต้นแล้วกลับสมบูรณ์ได้อีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างทนายความโดยแบ่งส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทเป็นโมฆะ แม้มีการแก้ไขกฎหมายภายหลัง
สัญญาจ้างว่าความโดยคิดค่าจ้างร้อยละสามสิบของเงินที่ได้มาทั้งหมด เป็นสัญญารับจ้างว่าความโดยวิธีสัญญาแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความจึงมีวัตถะประสงค์ขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 มาตรา 41 ประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พุทธศักราช 2477 มาตรา12 (2) เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 แม้ต่อมาจะได้มีพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ยกเลิกพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 ไปแล้ว และตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทเฉพาะกาล มาตรา 86 กำหนดให้คณะกรรมการออกข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความตามมาตรา 53 ตามที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มิได้กำหนดเรื่องค่าจ้างการว่าความไว้ก็ตาม ก็ไม่ทำให้สัญญาจ้างว่าความที่เป็นโมฆะมาแต่ต้นแล้วกลับสมบูรณ์ได้อีก