พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6504/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลล้มละลายจากหนี้ฉ้อโกงประชาชน – ข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินคืนแก่ประชาชน รวมเป็นเงิน 13,620,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีทรัพย์สินให้ยึดและอายัดเพียงประมาณ 100,000 บาท เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดอยู่เป็นจำนวนมาก พนักงานสอบสวนได้ออกหมายจับจำเลยที่ 2 มาดำเนินคดี แต่จำเลยที่ 2หลบหนี และในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นยังติดตามจับกุมจำเลยที่ 2 ไม่ได้ พฤติการณ์แสดงว่า จำเลยที่ 2 ได้ไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่หรือหลบหนีไป กรณีจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(4) ข. ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำสืบพยานหลักฐานใด จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3515/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัว และการพิทักษ์ทรัพย์เมื่อมีหลักฐานชัดเจน
ก่อนฟ้องโจทก์ส่งหนังสือทวงถามจำเลย เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์แจ้งว่าเลิกกิจการแล้ว โจทก์จึงประกาศทวงหนี้ทางหนังสือพิมพ์จำเลยก็ไม่ติดต่อมายังโจทก์ ฟังได้ว่าจำเลยได้ไปเสียจากเคหสถานที่อยู่อาศัยและปิดสถานที่ประกอบธุรกิจ เมื่อโจทก์ให้พนักงานของโจทก์สืบหาทรัพย์สินของจำเลย ปรากฏว่าจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นนอกจากเงินฝากกับธนาคารโจทก์จำนวน 50,000 บาท ซึ่งโจทก์ได้นำมาหักลดยอดหนี้แล้ว กรณีต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(4)ข. เฉพาะยอดหนี้ตามบัญชีกระแสรายวันที่ชัดเจนระหว่างวันที่ 27กันยายน 2525 ถึงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2525 หักทอนแล้วจำเลยยังคงเป็นหนี้โจทก์จำนวน 55,709.50 บาท หากคิดดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นในอัตราต่ำที่สุดที่โจทก์ขอมาคืออัตราร้อยละ 15 ต่อปี ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 9 ปี เป็นเงิน 130,917.33 บาท เมื่อนำเงินฝากของจำเลยจำนวน 56,337.59 บาท มาหักชำระหนี้แล้ว จำเลยก็ยังคงเป็นหนี้โจทก์อีก 74,579.73 บาท เป็นหนี้ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท เข้าเกณฑ์ที่ศาลจะสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 14 ส่วนจำนวนหนี้และดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับชำระเพียงใดเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะต้องไปดำเนินการในชั้นขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จากการมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้จะโต้แย้งยอดหนี้ แต่ยอมรับหนี้เดิม
แม้จำเลยจะโต้แย้งยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นภายหลังวันที่ 4 เมษายน2528 แต่จำเลยก็รับว่าในวันที่ 4 เมษายน 2528 จำเลยเป็นหนี้โจทก์208,061.38 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นโจทก์ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 9(2)(3) โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ ได้ตรวจสอบทะเบียนบ้านตามที่จำเลยแจ้งตอนยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากก็ไม่ปรากฏชื่อจำเลยอยู่ในทะเบียนบ้าน จึงได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้รวมสองครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการทวนก็ถือได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(4) ข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์หนี้และการสันนิษฐานลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อการฟ้องล้มละลาย
แม้จำเลยจะโต้แย้งยอดหนี้ที่เพิ่มขึ้นภายหลังวันที่ 4 เมษายน 2528 แต่จำเลยก็ยอมรับว่าในวันที่ 4 เมษายน 2528 จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 208,061.38 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ที่กำหนดจำนวนได้แน่นอนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 (2)(3)
โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ ได้ตรวจสอบทะเบียนบ้านตามที่จำเลยแจ้งตอนยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากก็ไม่ปรากฏชื่อจำเลยอยู่ในทะเบียนบ้าน จึงได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้รวมสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการทวงถามก็ถือได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ข
โจทก์ได้มอบอำนาจให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ แต่ส่งให้ไม่ได้เพราะจำเลยย้ายที่อยู่ ได้ตรวจสอบทะเบียนบ้านตามที่จำเลยแจ้งตอนยื่นคำขอเปิดบัญชีเงินฝากก็ไม่ปรากฏชื่อจำเลยอยู่ในทะเบียนบ้าน จึงได้ลงประกาศหนังสือพิมพ์แจ้งให้จำเลยชำระหนี้รวมสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ตามพฤติการณ์ดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าไม่ทราบการทวงถามก็ถือได้ว่าจำเลยไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่เพื่อประวิงการชำระหนี้ ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 8 (4) ข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5673/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีหนี้สินล้นพ้นตัวและการพิพากษาให้ล้มละลายจากพฤติการณ์หลีกเลี่ยงชำระหนี้
จำเลยทั้งสองถูกเจ้าหนี้รายอื่นกับโจทก์ฟ้องเป็นคดีอาญา หลายเรื่อง จำเลยที่ 2 จึงได้หลบหนีไป และในการส่งหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องคดีนี้ให้แก่จำเลยที่ 2 ต้องประกาศ หนังสือพิมพ์ ส่วนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนก็ต้องส่งโดยวิธีปิดหมาย โดยเจ้าพนักงานผู้ส่งหมายรายงานว่าไม่มีป้ายชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 อยู่ที่ภูมิลำเนาตามฟ้อง ทั้งโจทก์นำสืบได้ความว่า จำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินใดที่จะชำระหนี้ได้ พฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่า จำเลยทั้งสองได้ไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่และปิดสถานที่ประกอบธุรกิจเพื่อประวิงการชำระหนี้ หรือมิให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 8(4) ข.แล้ว