พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมก่อนล้มละลาย ถือเป็นการชำระหนี้ที่มีค่าตอบแทน ไม่เป็นการให้โดยเสน่หา
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารผู้คัดค้าน แม้จะเป็นการชำระหนี้เพื่อให้หนี้ระงับก็ตาม แต่ก็สืบเนื่องจากการที่ผู้คัดค้านให้จำเลยกู้เงินและกู้เบิกเงินเกินบัญชี จึงเป็นการที่จำเลยได้รับประโยชน์จากการนำเงินที่รับอนุมัติให้กู้จากผู้คัดค้านไปใช้ในธุรกิจของจำเลย การชำระหนี้ของจำเลยไม่ใช่เป็นการทำให้โดยเสน่หาหรือให้เปล่า ๆ ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยมีค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 114(เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมไม่ใช่การให้โดยเสน่หา
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารผู้คัดค้าน แม้จะเป็นการชำระหนี้เพื่อให้หนี้ระงับก็ตาม แต่เป็นการชำระหนี้ที่สืบเนื่องมาจากการที่ผู้คัดค้านให้จำเลยกู้เงินและกู้เบิกเงินเกินบัญชี จึงเป็นการที่จำเลยได้รับประโยชน์จากการนำเงินที่รับอนุมัติให้กู้ไปใช้ในธุรกิจของจำเลย การชำระหนี้ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการทำให้โดยเสน่หาหรือให้เปล่า ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้ของจำเลยเป็นการชำระหนี้โดยมีค่าตอบแทน
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน และการชำระหนี้ดังกล่าวหาได้เป็นการเลือกปฏิบัติโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นแต่อย่างใดนั้น เป็นข้อที่ผู้คัดค้านเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาโดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งไว้จึงยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน และการชำระหนี้ดังกล่าวหาได้เป็นการเลือกปฏิบัติโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นแต่อย่างใดนั้น เป็นข้อที่ผู้คัดค้านเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาโดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งไว้จึงยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมถือเป็นการมีค่าตอบแทน
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ผู้คัดค้าน แม้จะเป็นการชำระหนี้เพื่อให้หนี้ระงับก็ตาม แต่ก็เป็นการชำระหนี้ที่สืบเนื่องจากการที่ผู้คัดค้านให้จำเลยกู้เงินและกู้เบิกเงินเกินบัญชี จึงเป็นการที่จำเลยได้รับประโยชน์จากการนำเงินที่รับอนุมัติให้กู้จากผู้คัดค้านไปใช้ในธุรกิจของจำเลย การชำระหนี้ของจำเลยไม่ใช่เป็นการทำให้โดยเสน่หาหรือให้เปล่า ๆ ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้ของจำเลยเป็นการชำระหนี้โดยมีค่าตอบแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์หากไม่ระบุจำนวนเงินที่ค้ำประกัน ทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดย เคร่งครัด
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์โดยระบุว่าใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แต่ในสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงแบบที่พิมพ์ไว้โดยเว้นช่องว่างเพื่อกรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้ระบุจำนวนเงินไว้และข้อความที่ว่า ยอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมด เป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อในสัญญาค้ำประกันไม่กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์โดยระบุว่าใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แต่ในสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงแบบที่พิมพ์ไว้โดยเว้นช่องว่างเพื่อกรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้ระบุจำนวนเงินไว้และข้อความที่ว่า ยอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมด เป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อในสัญญาค้ำประกันไม่กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์หากไม่ระบุจำนวนเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียว การตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด การที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์โดยระบุว่าใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แต่ในสัญญาค้ำประกันเป็นเพียงแบบที่พิมพ์ไว้โดยเว้นช่องว่างเพื่อการกรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้ระบุจำนวนเงินดังนั้น ข้อความที่ว่ายอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมด จึงเป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อในสัญญาค้ำประกัน ไม่ได้กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้ จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่า ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันไม่สมบูรณ์หากไม่ระบุจำนวนเงินค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันจึงไม่ต้องรับผิด
สัญญาค้ำประกันไม่มีการลงวัน เดือน ปีที่ออกหลักฐานไม่ระบุวงเงินที่ค้ำประกัน โดยเว้นว่างช่องที่จะต้องกรอกรายละเอียดต่าง ๆของสัญญาไว้ทั้งหมดส่วนข้อความตอนท้ายที่ว่า "ตามรายละเอียดสัญญาข้อที่ 1-4 ระหว่างโจทก์และจำเลย" นั้น ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นสัญญาฉบับใดและมีข้อความอย่างใดสัญญาค้ำประกันเป็นสัญญาที่ผู้ค้ำประกันมีความรับผิดแต่เพียงฝ่ายเดียวการตีความจึงต้องเป็นไปโดยเคร่งครัด แม้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันต่อหน้าโจทก์ โดยระบุยอมใช้หนี้สินทั้งหมดของจำเลยที่ 1 แต่สัญญาดังกล่าวเป็นแบบพิมพ์ที่เว้นช่องว่างเพื่อกรอกรายละเอียดต่าง ๆ โดยมิได้ระบุจำนวนเงินไว้ ดังนั้น ข้อความที่ยอมรับผิดในหนี้สินทั้งหมดจึงเป็นข้อความต่อเนื่องจากข้อความในตอนแรกที่ต้องกรอกจำนวนเงินไว้ก่อน เมื่อสัญญาค้ำประกันไม่กำหนดจำนวนเงินที่จะค้ำประกันไว้ จึงเป็นเอกสารไม่สมบูรณ์และไม่อาจอนุมานได้ว่าผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่าใด จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9528/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีล้มละลาย และการอุทธรณ์คำสั่งศาล การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนทำให้ไม่อุทธรณ์ได้
ตามบทบัญญัติมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ การที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้ในคดีล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ พระราชบัญญัติล้มละลายฯ และข้อกำหนดคดีล้มละลาย มิได้บัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะและนำมาใช้โดยอนุโลม ตามสภาพลักษณะของคดีล้มละลายที่ให้พิจารณาเป็นการด่วนเกี่ยวกับการทราบนัดหรือกระบวนพิจารณาของแต่ละนัด พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลาย และวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 15 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 2 พฤษภาคม ซึ่งศาลล้มละลายกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันที่ 12 พฤษภาคมแม้ฝ่ายจำเลยไม่มา ศาลก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลล้มละลายกลางดังกล่าวแล้ว ดังนี้ ในวันนัดฟังคำสั่ง หรือคำพิพากษาศาลล้มละลายกลางจึงอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาไปได้โดยไม่จำต้องแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบอีก
ส่วนที่จำเลยฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ให้งดสืบพยานโดยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้จึงขอให้สืบพยานจำเลยต่อไป คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯมาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด1 เดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
ส่วนที่จำเลยฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ให้งดสืบพยานโดยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้จึงขอให้สืบพยานจำเลยต่อไป คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯมาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด1 เดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายและการทราบนัด การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีล้มละลายได้ ก็ต่อเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย มิได้บัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะและนำมาใช้โดยอนุโลมตามสภาพลักษณะของคดีล้มละลายที่ให้พิจารณาเป็นการด่วน
การทราบนัดหรือกระบวนพิจารณาของแต่ละนัด พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่นำ ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) มาใช้บังคับ
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 90/11 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้ศาลล้มละลายดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดีให้ศาลล้มละลายรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว" ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลล้มละลายสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา แม้ฝ่ายจำเลยไม่มาศาลก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลล้มละลายดังกล่าวแล้ว ศาลล้มละลายกลางจึงอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาไปได้โดยไม่จำต้องแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบอีก
คำสั่งศาลล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลยจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายจึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
การทราบนัดหรือกระบวนพิจารณาของแต่ละนัด พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่นำ ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) มาใช้บังคับ
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 90/11 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้ศาลล้มละลายดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดีให้ศาลล้มละลายรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว" ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลล้มละลายสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา แม้ฝ่ายจำเลยไม่มาศาลก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลล้มละลายดังกล่าวแล้ว ศาลล้มละลายกลางจึงอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาไปได้โดยไม่จำต้องแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบอีก
คำสั่งศาลล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลยจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายจึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9189/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการทรัพย์มรดกกรณีหนี้สินไม่ล้นพ้นตัว แม้มีเหตุให้สันนิษฐานได้แต่ทรัพย์มรดกเพียงพอชำระหนี้
เจ้าหนี้ได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายได้แก่รถบรรทุกและเงินฝากธนาคารชำระหนี้แล้ว เมื่อหักกลบกับหนี้ ตามฟ้องแล้วจะเหลือหนี้ค้างชำระเพียงจำนวนเล็กน้อยประมาณ 10,000 บาท อีกทั้งไม่ปรากฏว่าผู้ตายเป็นลูกหนี้ บุคคลอื่นอีก รูปคดีจึงยังไม่พอฟังว่าลูกหนี้ที่ตายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีมีเหตุที่ไม่ควรให้จัดการทรัพย์มรดก ของผู้ตายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 82
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8895/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายต้องพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และการทวงถามหนี้ตามกฎหมาย
ในการฟ้องคดีล้มละลายนั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้เห็นว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว โดยในการสืบของโจทก์นั้น โจทก์อาจจะสืบข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขแห่งข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8 หรือนำสืบถึงข้อเท็จจริงที่จำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 9(1) คดีนี้โจทก์อ้างว่าได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้แล้วไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง ซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยไม่ชำระหนี้ อันเป็นการกล่าวอ้างว่ามีข้อเท็จจริงตามข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8(9) ทั้งนี้ โจทก์ทวงถามจำเลยให้ชำระหนี้โดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ แต่ในทางนำสืบนั้นโจทก์มิได้แสดงพยานหลักฐานให้เห็นว่ามีเหตุขัดข้องอย่างไรจึงไม่สามารถส่งหนังสือทวงถามโดยวิธีธรรมดาได้ ทั้งที่ปรากฏในชั้นฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยมีภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่ง กรณีจึงยังรับฟังไม่ได้ว่ามีการส่งหนังสือทวงถามให้จำเลยทราบโดยชอบแล้วตามมาตรา 8(9)