คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประมาณ ตียะไพบูลย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: ศาลต้องพิจารณาช่องทางฟื้นฟูที่แตกต่างจากคดีก่อน หากมีเหตุใหม่สนับสนุน
แม้ว่าในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการทุกคดีจะต้องระบุถึงช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/6(3) แต่การที่จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้พิจารณาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการ ตลอดจนแนวทางการฟื้นฟูกิจการอย่างเดียวกันด้วยในคดีล้มละลายคดีก่อนซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ได้อ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการว่าลูกหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินเกือบทุกรายมีการประชุมเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ ภายใต้กรอบของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ศาลล้มละลายกลางมีคำวินิจฉัยว่านอกจากสัญญาเช่าที่ลูกหนี้ทำกับผู้เช่าอาคารซึ่งมีกำหนดเวลา 1 ปี ถึง 3 ปี ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถปรับอัตราค่าเช่าให้สูงขึ้นหรือจัดหาผู้เช่าให้เช่าให้เต็มพื้นที่ได้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่มีแนวทางหรือมาตรการอื่นใดที่จะดำเนินการให้มีกำไรหรือรายได้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันจึงเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับศักยภาพในการชำระหนี้ของลูกหนี้ส่วนที่ลูกหนี้คาดว่าจะสามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยให้เจ้าหนี้ลดยอดหนี้และเพิ่มวงเงินหมุนเวียนก็เป็นเรื่องที่ไม่มีความชัดเจนแน่นอนจึงไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงให้ยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการว่าได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินและสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สินส่วนใหญ่ของลูกหนี้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันและมีหนี้รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.40 ของจำนวนหนี้ของลูกหนี้ทั้งหมด ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งสามรายมีมติร่วมกันในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และมีการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ลดจำนวนหนี้ลงให้เหมาะสมไม่เกินกำลังความสามารถของลูกหนี้จึงเห็นได้ว่าสาระสำคัญในเหตุที่อ้างอันเป็นช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการในคดีนี้แตกต่างจากคดีก่อนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีเหตุซึ่งเกิดใหม่อันจะเป็นผลดีในการที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อีกหลายประการ รวมทั้งยังมีหนังสือของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่าขอให้การสนับสนุนในการยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการ และยินยอมที่จะลดยอดหนี้ให้ลูกหนี้ถึงร้อยละ 80 ของจำนวนหนี้ที่ค้างอยู่ เช่นนี้ ข้อเท็จจริงอันเป็นข้ออ้างในช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของคดีนี้จึงแตกต่างจากคดีก่อน การรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งผู้ร้องขอได้ยื่นไว้พิจารณาจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องฟื้นฟูกิจการซ้ำ: ศาลฎีกาชี้ช่องทางฟื้นฟูใหม่และเหตุเปลี่ยนแปลงสำคัญ ไม่ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คดีก่อนลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ ศาลล้มละลายกลางวินิจฉัยว่าไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงให้ยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้เจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้โดยอ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ มีสาระสำคัญในเหตุที่อ้างอันเป็นช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการแตกต่างจากคดีก่อนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีเหตุซึ่งเกิดขึ้นใหม่อันจะเป็นผลดีในการที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อีกหลายประการ การรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งเจ้าหนี้ได้ยื่นไว้พิจารณา จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8718/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยหนี้เกิดขึ้นหลังมีคำสั่ง
มูลหนี้ที่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งผู้ร้องฟ้องลูกหนี้ในคดีหมายเลขแดงที่ 20727/2537 ของศาลชั้นต้น เนื่องจากการผิดสัญญาก่อสร้างงานไม่แล้วเสร็จ โดยขอให้บังคับให้ลูกหนี้ชำระค่าปรับและค่าเสียหายที่ต้องจ่ายค่าจ้างเพิ่มพร้อมดอกเบี้ย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลูกหนี้ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่ผู้ร้องต้องว่าจ้างบุคคลอื่นทำการก่อสร้างต่อในราคาที่สูงขึ้นเป็นเงิน 3,486,927.94 บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ผู้ร้องได้มายื่นคำขอรับชำระหนี้รวม 5 อันดับ ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยได้ระบุในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินว่ามูลหนี้อันดับที่ 2 เป็นหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 20727/2537 ของศาลชั้นต้นจำนวนเงิน 4,780,720.22 บาท แสดงว่าผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้อันดับที่ 2 เฉพาะหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวของศาลชั้นต้นจำนวน 4,780,720.22 บาทเท่านั้น ส่วนหนี้ค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาตามฟ้องที่ศาลชั้นต้นไม่กำหนดให้นั้น แม้ว่าผู้ร้องจะฟ้องขอให้บังคับชำระหนี้มาด้วยกันและผู้ร้องได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และฎีกาตามลำดับแต่ผู้ร้องไม่ได้ขอรับชำระหนี้ดังกล่าวนี้รวมไว้ในมูลหนี้อันดับที่ 2 ในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินซึ่งยื่นไว้ด้วย ที่ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ว่า ได้แจ้งความประสงค์ว่าผู้ร้องต้องการขอรับชำระหนี้ในส่วนค่าปรับรายวันจากลูกหนี้ตามที่ยื่นฎีกาไว้ก็มิใช่การขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์แสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินตามบทบัญญัติพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคสอง และแม้ศาลฎีกายังไม่ได้มีคำพิพากษาในส่วนหนี้ค่าปรับรายวันดังกล่าว หากผู้ร้องประสงค์ขอรับชำระหนี้ส่วนนี้ ผู้ร้องย่อมสามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้รวมกับยอดหนี้ตามคำพิพากษาคดีหมายเลขแดงที่ 20727/2537 ของศาลชั้นต้นได้ล่วงหน้าอยู่แล้ว โดยไม่ต้องรอให้ศาลฎีกามีคำพิพากษาเกี่ยวกับหนี้ส่วนนี้เสียก่อน ดังนั้น เมื่อผู้ร้องนำหนี้ค่าปรับรายวันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม จึงพ้นกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามมาตรา 91 อีกทั้งหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด ย่อมต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8718/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และหนี้เกิดขึ้นหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องไม่ได้ขอรับชำระหนี้ค่าปรับเป็นรายวันตามสัญญาตามฟ้องที่ศาลชั้นต้นไม่กำหนดให้รวมไว้ในมูลหนี้ ในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินซึ่งยื่นไว้ การที่ผู้รับมอบอำนาจของผู้ร้องให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ว่า ได้แจ้งความประสงค์ว่าผู้ร้องต้องการขอรับชำระหนี้ในส่วนค่าปรับรายวันจากลูกหนี้ตามที่ยื่นฎีกาไว้ มิใช่การขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์แสดงรายละเอียดแห่งหนี้สินตามบทบัญญัติ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 วรรคสอง และผู้ร้องสามารถยื่นคำขอรับชำระหนี้ส่วนนี้ได้ล่วงหน้าอยู่แล้วโดยไม่ต้องรอให้ ศาลฎีกามีคำพิพากษาเสียก่อน ดังนั้นเมื่อผู้ร้องนำหนี้ปรับรายวันตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายื่นขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมเมื่อพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามบทบัญญัติ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 อีกทั้งหนี้ตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวเกิดขึ้นหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ เด็ดขาด ย่อมต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8303/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความหลังจากการซื้อขายที่ดิน: สิทธิเรียกร้องตามเช็คชำระค่าเสียหาย
ขณะทำหนังสือสัญญาขายที่ดินและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแก่ลูกหนี้ เจ้าหนี้และลูกหนี้ต่างมีเจตนา อันแท้จริงที่จะผูกพันกันตามราคาที่ดินและเงื่อนไขการชำระราคาตามสัญญาจะซื้อขาย ส่วนการทำสัญญาขายที่ดิน เป็นเพียงวิธีดำเนินการให้มีการจดทะเบียนซื้อขายเพื่อโอนกรรมสิทธิ์กันตามกฎหมายเท่านั้น การที่ลูกหนี้สั่งจ่าย เช็คพิพาทชำระค่าเสียหายอันเนื่องจากเช็คค่าที่ดินเดิมถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยเจ้าหนี้ยินยอมถอนคำร้องทุกข์และไม่ดำเนินคดีอาญาแก่ลูกหนี้ต่อไป จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่เจ้าหนี้และลูกหนี้ระงับข้อพิพาท ซึ่งมีอยู่ให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน และมีผลให้เจ้าหนี้ได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850, 852 เจ้าหนี้จึงชอบที่จะได้รับชำระหนี้ตามเช็คพิพาทพร้อมดอกเบี้ยจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7587/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นอุทธรณ์ล้มละลายพ้นกำหนด ศาลฎีกายกคำสั่งรับอุทธรณ์และคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ซึ่งครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 28 ตุลาคม 2541 จำเลยยื่นคำร้องลงวันที่ 28ตุลาคม 2541 ขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วันนับแต่วันยื่นคำขอ ศาลชั้นต้นอนุญาตจึงครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ในวันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน 2541 ดังนั้น การที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ในวันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน 2541 จึงเป็นการยื่นอุทธรณ์เมื่อล่วงพ้นกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้แล้ว การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ยกคำสั่งรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นเสีย อุทธรณ์ของจำเลยหลังจากนี้จึงต้องตกไป การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับอุทธรณ์ของจำเลยซึ่งตกไปดังกล่าวจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6168/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ธนาคารประมาทเลินเล่อปล่อยให้พนักงานเบิกเงินฝากลูกค้าโดยไม่ตรวจสอบเอกสาร ทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาระยองชักชวนโจทก์ให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาชาสัตหีบ เมื่อสาขาดังกล่าวเปิดทำการ เพื่อเป็นผลงานร่วมกัน โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของธนาคารจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แล้วดำเนินการนำเงินของโจทก์ไปฝากให้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ความไว้วางใจในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของธนาคาร จำเลยที่ 1 ในการบริการความสะดวกให้แก่โจทก์ตามที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ช่วยหาลูกค้าให้
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบได้รับโอนบัญชีเงินฝากของโจทก์จากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาโดยมิได้ทักท้วงในเรื่องตัวลูกค้ามิได้มาติดต่อด้วยตนเอง ทั้งมิได้เรียกหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของลูกค้ามาตรวจสอบเช่นกัน นอกจากนั้นยังปรากฏว่า ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบได้ออกสมุดคู่ฝากให้แก่จำเลยที่ 2 รับไป โดยที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบยังมิได้เรียกเก็บสมุดคู่ฝากที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาได้ออกให้แก่ลูกค้าคืนจากจำเลยที่ 2 ทันที ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังเช่นผู้มีวิชาชีพอันควรพึงกระทำ จึงเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบโดยตรง
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความได้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหายดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมขอปิดบัญชีของโจทก์โดยโจทก์ไม่รู้เห็น ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แมัลายมือชื่อในใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มีหลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหน่วงเหนี่ยวกักขังเพื่อชำระหนี้ ไม่ถือเป็นค่าไถ่ตามความหมายในกฎหมายอาญา
การที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังตัวผู้เสียหาย ก็เพื่อให้ผู้เสียหายชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยทั้งสองเชื่อว่าสามารถกระทำได้ดังนั้นประโยชน์ที่จำเลยที่ 1 เรียกร้องให้ผู้เสียหายชำระหนี้จึงไม่ใช่ค่าไถ่ตามความหมายในบทนิยามคำว่า "ค่าไถ่" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(13) การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7682/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานและการโต้แย้งคำสั่งศาล: การแก้ไขคำแถลงเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
จำเลยยื่นคำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานจำเลยเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2540 แต่ศาลชั้นต้นมิได้มีคำสั่งในวันนั้น กลับเพิ่งสั่งคำแถลงเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2540 โดยไม่ปรากฏว่าเพราะเหตุใด แม้ว่าคำแถลงดังกล่าว จำเลยจะระบุหมายเลขคดีผิดพลาดไปก็ตาม แต่จำเลยก็ได้ระบุชื่อโจทก์และจำเลยถูกต้อง ทั้งระบุวันนัดสืบพยานจำเลยซึ่งศาลมีคำสั่งให้งดสืบพยานจำเลยและวันนัดฟังคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ถูกต้อง สามารถตรวจสอบได้ว่าคำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวนี้เป็นของคดีใด การที่ศาลชั้นต้นเพิ่งมีคำสั่งไม่รับคำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2540 ย่อมทำให้จำเลยไม่มีโอกาสทราบคำสั่งศาลชั้นต้นก่อนหน้านี้ได้ ดังนั้น ที่จำเลยยื่นคำร้องขอแก้ไขคำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในวันเดียวกับที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำแถลงโต้แย้งจึงชอบแล้ว คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยแก้ไขคำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นและไม่รับคำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7166/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางอากาศ: การคำนวณค่าขาดไร้อุปการะและสกุลเงินชดใช้
โจทก์ที่ 5 บรรยายฟ้องเกี่ยวกับการเรียกค่าขาดไร้อุปการะว่าโจทก์ที่ 5 กับนายโท. เป็นสามีภริยากันและมีบุตรด้วยกัน 2 คน คือเด็กชาย อ. และเด็กชาย ม. บุตรทั้งสองกำลังศึกษาอยู่ โจทก์ที่ 5 และบุตรทั้งสองต้องอาศัยรายได้จากนายโท. เป็นเงินเลี้ยงชีพและค่าใช้จ่ายในการศึกษา รวมทั้งค่าเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ เช่นนี้ แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องว่าใช้สิทธิฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรทั้งสองด้วยก็ตาม แต่ก็มีความหมายพอเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์ที่ 5 ฟ้องคดีขอเรียกค่าสินไหมทดแทนตามสิทธิของบุตรทั้งสองด้วย จึงถือได้ว่าโจทก์ที่ 5 ฟ้องคดีในนามของบุตรทั้งสองโดยปริยายแล้ว
เมื่อนักบินผู้ควบคุมเครื่องบินเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 และความเสียหายเกิดจากเครื่องบินซึ่งเป็นยานพาหนะที่เดินด้วยเครื่องจักรกล กรณีจึงตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชอบเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่ยานพาหนะนั้นเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายนั้นเอง และจำเลยที่ 2ต้องรับผิดในฐานะผู้รับประกันภัยในวินาศภัยอันเกิดจากเที่ยวบินดังกล่าว
ค่าใช้จ่ายในอนาคตที่บุตรทั้งสองของโจทก์ที่ 5 ต้องเดินทางไปเคารพศพนายโท. ในสถานที่เกิดเหตุเป็นเวลา 10 ปี ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าใช้จ่ายอันจำเป็นอย่างอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคหนึ่ง ส่วนค่าเสียหายอันเนื่องมาจากลูกจ้างของจำเลยที่ 1 จงใจละเมิดกฎเกณฑ์หรือมาตรฐานแห่งความปลอดภัย ก็มิใช่ค่าสินไหมทดแทนที่จะเรียกร้องเอากับจำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443
แม้โจทก์ที่ 5 จะมีคำขอให้จำเลยทั้งสองชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นเงินสกุลมาร์กเยอรมันโดยคำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่จำเลยทั้งสองชำระเสร็จศาลก็มีอำนาจพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 5 เป็นเงินสกุลบาทได้
of 36