คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประมาณ ตียะไพบูลย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างด้วยวาจาและการแจ้งเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกจ้างตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคสอง กำหนด อาจทำเป็นหนังสือหรืออาจบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยวาจาก็ได้ แต่ถ้ามีเหตุเลิกจ้างตามมาตรา 119 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือแต่ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเป็นข้อปฏิเสธไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกจ้างด้วยวาจา ส่วนบทบัญญัติในมาตรา 17 วรรคสาม มีความหมายว่า กรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างต้องระบุเหตุดังกล่าวไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วย มิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง แต่มิได้บังคับเด็ดขาดว่าห้ามนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจา เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบถึงการกระทำผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และเรื่องนี้จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงควรให้มีการนำสืบพยานในประเด็นนี้ก่อน ศาลแรงงานกลางงดสืบพยานแล้วพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างด้วยวาจาและการแจ้งเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างอาจทำเป็นหนังสือหรืออาจบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยวาจาก็ได้ แต่การบอกกล่าวล่วงหน้าที่ได้ทำเป็นหนังสือถูกจำกัดโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย ว่า ไม่ให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีเหตุเลิกจ้างตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือ แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขึ้นอ้างเป็นข้อปฏิเสธไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกจ้างด้วยวาจา
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม ที่ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วย มิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสาม หาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วถึงการกระทำความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และในเรื่องนี้จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงต้องให้มีการนำสืบพยานว่า ขณะที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจาจำเลยได้แจ้งเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานงดสืบพยานโจทก์จำเลย และฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7047/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างด้วยวาจาและสิทธิในการอ้างเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน นายจ้างต้องแจ้งเหตุขณะบอกเลิกจ้าง
การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างอาจทำเป็นหนังสือหรืออาจบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยวาจาก็ได้ แต่การบอกกล่าวล่วงหน้าที่ได้ทำเป็นหนังสือถูกจำกัดโดย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย ว่าไม่ให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 และ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583ซึ่งหมายความว่า ถ้ามีเหตุเลิกจ้างตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยวาจาได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือ แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่าถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา119 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ขึ้นอ้างเป็นข้อปฏิเสธไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องแจ้งเหตุนั้นให้ลูกจ้างทราบขณะบอกเลิกจ้างด้วยวาจา
บทบัญญัติใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา17 วรรคสาม ที่ว่า ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา 119 ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วยมิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสามหาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ เมื่อข้อเท็จจริงยังไม่ปรากฏว่าขณะจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งให้โจทก์ทราบแล้วถึงการกระทำความผิดของโจทก์อันเป็นเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 และในเรื่องนี้จำเลยก็ได้ให้การต่อสู้คดีไว้แล้ว จึงต้องให้มีการนำสืบพยานว่า ขณะที่จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ด้วยวาจา จำเลยได้แจ้งเหตุที่ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยดังกล่าวแก่โจทก์แล้วหรือไม่ การที่ศาลแรงงานงดสืบพยานโจทก์จำเลย และฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิด จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6993-6996/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสัญญาจ้างแรงงานจากการลาออก และการรับฟังพยานหลักฐาน
โจทก์อุทธรณ์ว่า การที่โจทก์วางจดหมายไว้บนโต๊ะทำงานพร้อมใบลาออกยังไม่เป็นผลทำให้การจ้างแรงงานสิ้นสุดลง เพราะไม่ปรากฏว่าจำเลยทราบและอนุมัติใบลาออกของโจทก์แล้ว และ ท. ผู้จัดการฝ่ายการเงินและบัญชีเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลย เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ท. เป็นผู้บังคับบัญชาของโจทก์ได้รับทราบ ใบลาออกของโจทก์และเป็นผู้อนุมัติใบลาออก การแสดงเจตนาลาออกของโจทก์จึงมีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานระหว่างโจทก์กับจำเลยสิ้นสุดลง ย่อมหมายความว่า ท. เป็นผู้มีอำนาจกระทำการอนุมัติใบลาออกของโจทก์แทนจำเลยนั่นเอง อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยข้อกฎหมาย เป็นอุทธรณ์ใน ข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
สำเนาเอกสารที่โจทก์อ้างเป็นเพียงพยานหลักฐานประกอบพยานอื่น ทั้งเมื่อโจทก์อ้างส่งสำเนาเอกสาร ดังกล่าว จำเลยมิได้คัดค้านว่าต้นฉบับไม่มีหรือเอกสารปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลย่อม รับฟังเอกสารนั้นได้ มิใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานโดยฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 93 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6883/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟื้นคดีอาญา: การเลื่อนคดีซ้ำๆ แสดงถึงการประวิงคดี ศาลมีสิทธิไม่อนุญาตให้เลื่อน
ตามพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 9 วรรคหนึ่งบัญญัติให้ศาลที่ได้รับคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ตามมาตรา 8 ทำการไต่สวนคำร้องนั้นว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่หรือไม่ โดยมาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรมกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน และกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีตาม พระราชบัญญัตินี้โดยอนุโลม ดังนั้นการพิจารณาว่าคำร้องขอเลื่อนคดีของผู้ร้องมีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตหรือไม่จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 เมื่อศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้องสองนัดแรก ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ และระบุในคำร้องนัดที่ 2 ว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้องเสียศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปอีก รวมระยะเวลาที่อนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ นับได้ว่าศาลชั้นต้นได้ใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีโดยให้โอกาสแก่ผู้ร้องอย่างมากแล้วแต่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีในการไต่สวนคำร้องนัดที่ 4 โดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีกพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล การที่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าผู้ร้องจงใจประวิงคดีให้เนิ่นช้าและไม่อนุญาตให้เลื่อนคดีจึงชอบแล้ว มาตรา 13(2) แห่งพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ เป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ หาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่โดยทำความเห็นและส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณา จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 9 วรรคสาม แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6883/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อฟื้นคดีอาญา: การพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดี, ดุลพินิจศาล, และอำนาจศาลอุทธรณ์
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526 มาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีโดยอนุโลมด้วย การพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ว่ามีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่
ในวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนไป ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างเหตุว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถเดินได้และระบุในคำร้องว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้อง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดไต่สวนคำร้องและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาต เมื่อรวมระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ การที่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีก พฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตามที่ร้องขอ
กระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526มาตรา 9 วรรคสาม บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้
พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 13(2) ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6883/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีรื้อฟื้นคดีอาญาซ้ำๆ และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
พ.ร.บ. การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ.2526มาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีโดยอนุโลมด้วย การพิจารณาคำร้องขอเลื่อนคดีจึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 40 แห่ง ป.วิ.พ. ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15ว่ามีเหตุจำเป็นและสมควรอนุญาตให้เลื่อนคดีหรือไม่
ในวันนัดไต่สวนคำร้องของผู้ร้อง ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอ้างว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถมาศาลได้ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วอนุญาต แต่เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนไป ทนายความของผู้ร้องมอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นคำร้องขอเลื่อนคดี อ้างเหตุว่าผู้ร้องป่วยไม่สามารถเดินได้และระบุในคำร้องว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังมีอาการป่วยมาศาลไม่ได้ก็จะขอถอนคำร้องศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เลื่อนไปนัดไต่สวนคำร้องและกำชับให้ผู้ร้องนำพยานมาสืบในนัดหน้า แต่เมื่อถึงวันนัดทนายความของผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีอีก อ้างว่าผู้ร้องป่วยเนื่องจากกระดูกต้นคองอกทับเส้นประสาทพึ่งได้รับการผ่าตัด มีอาการมึนงงไม่สามารถตอบคำถามได้และไม่สามารถลุกนั่งได้ด้วยตนเอง และรับรองว่าหากนัดต่อไปผู้ร้องยังไม่สามารถมาศาลได้ ขอให้ถือว่าผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบและยกคำร้องของผู้ร้องเสีย ศาลชั้นต้นอนุญาต เมื่อรวมระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนคดีเป็นเวลาถึง 6 เดือนเศษ การที่ผู้ร้องกลับยื่นคำร้องขอเลื่อนคดีโดยอ้างเหตุผลอย่างเดิมอีกพฤติการณ์แห่งคดีแสดงให้เห็นว่าผู้ร้องมิได้ให้ความสนใจต่อการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาล จึงไม่มีเหตุสมควรอนุญาตให้ผู้ร้องเลื่อนคดีตามที่ร้องขอ
กระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนคำร้องของผู้ร้องว่ามีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่หรือไม่ พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. 2526มาตรา 9 วรรคสาม บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เมื่อได้ไต่สวนคำร้องแล้ว ให้ศาลที่ไต่สวนคำร้องส่งสำนวนการไต่สวนพร้อมทั้งความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์โดยไม่ชักช้า ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้
พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 13 (2)ใช้บังคับสำหรับในชั้นพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ บทบัญญัติดังกล่าวหาได้นำมาใช้ในชั้นไต่สวนคำร้องว่าคดีมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยไม่เข้าข่ายทรมาน/ทารุณโหดร้าย และไม่เป็นเหตุป้องกัน/บันดาลโทสะ
แม้สภาพศพผู้ตายมีรอยช้ำที่ขาทั้งสองข้างเนื่องจากถูกของแข็งกระทบกระแทกโดยเฉพาะที่หัวเข่าและหน้าแข้งหลายแห่ง และจำเลยใช้เหล็กยกน้ำหนักทุบตีผู้ตายที่ศีรษะจนผู้ตายถึงแก่ความตาย ก็ตาม แต่ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าจำเลยได้ทรมานหรือกระทำการทารุณโหดร้ายผู้ตายอย่างไรประกอบกับเหตุที่เกิดขึ้นเป็นการทะเลาะวิวาทและทำร้ายกันระหว่างจำเลยกับผู้ตาย การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภริยามีบุตรด้วยกัน 4 คน บุตรคนแรกมีอายุประมาณ 24 ปีผู้ตายทำมาหากินและอาศัยอยู่ด้วยกันย่อมจะต้องมีเรื่องระหองระแหงกระทบกระทั่งกันและไม่เข้าใจกันบ้างเป็นปกติธรรมดาจำเลยซึ่งเป็นสามีและเป็นหัวหน้าครอบครัวควรจะมีความหนักแน่นอดทนและอดกลั้น การที่ผู้ตายบอกจำเลยว่าได้นำเงินที่จำเลยมอบให้เพื่อนำไปชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ไปใช้ส่วนตัว และผู้ตายนำเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยกับเงินที่ขายรถยนต์บรรทุกหกล้อไปให้ชู้นั้น ผู้ตายก็พูดเพื่อเป็นการประชดประชันจำเลยเท่านั้น ส่วนที่ผู้ตายด่าจำเลยว่าไอ้เหี้ยก็เกิดขึ้นเมื่อจำเลยกับผู้ตายต่างฝ่ายต่างขาดความอดทนและอดกลั้นได้สมัครใจเข้าทะเลาะวิวาทกันจนถึงขั้นทำร้ายกันซึ่งเป็นธรรมดาที่จะต้องมีการด่าว่ากัน การที่จำเลยกับผู้ตายทะเลาะวิวาทกันจึงเป็นเรื่องภายในครอบครัว กรณีมิใช่เรื่องร้ายแรงที่จำเลยจะต้องฆ่าผู้ตาย ทั้งจำเลยทราบก่อนเกิดเหตุหลายวันว่าเงินได้ขาดหายไป ดังนี้จึงไม่ใช่เหตุข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมการที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่ใช่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 จำเลยต้องการทำร้ายผู้ตาย แม้ผู้ตายจะได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยก็ตาม แต่เหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดจำเลยเป็นฝ่ายก่อขึ้นก่อน การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่เป็นการป้องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยเจตนา ศาลพิจารณาเหตุทำร้ายร่างกาย ทรัพย์สินเสียหาย และความขัดแย้งในครอบครัวเพื่อตัดสินโทษ
สภาพศพผู้ตายมีรอยช้ำที่ขาทั้งสองข้างเนื่องจากถูกของแข็งกระทบกระแทกโดยเฉพาะที่หัวเข่าและหน้าแข้งหลายแห่ง และจำเลยใช้เหล็กยกน้ำหนักทุบตีผู้ตายที่ศีรษะจนผู้ตายถึงแก่ความตาย แต่ไม่ได้ความชัดแจ้งว่า จำเลยได้ทรมานหรือกระทำการทารุณโหดร้ายผู้ตายอย่างไร ประกอบกับเหตุที่เกิดขึ้นเป็นการทะเลาะวิวาทและทำร้ายกันระหว่างจำเลยกับผู้ตาย การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย
จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภริยากันมีบุตรด้วยกัน 4 คน บุตรคนแรกมีอายุประมาณ 24 ปี ผู้ตายทำมาหากินและอาศัยอยู่ด้วยกันย่อมจะต้องมีเรื่องระหองระแหงกระทบกระทั่งกัน และไม่เข้าใจกันบ้างเป็นปกติธรรมดา จำเลยซึ่งเป็นสามีและเป็นหัวหน้าครอบครัวควรจะมีความหนักแน่นอดทนและอดกลั้น การที่ผู้ตายบอกจำเลยว่าได้นำเงินที่จำเลยมอบให้เพื่อนำไปชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ไปใช้ส่วนตัว และผู้ตายนำเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารของจำเลยกับเงินที่ขายรถยนต์บรรทุกหกล้อไปให้ชู้นั้น ผู้ตายก็พูดเพื่อเป็นการประชดประชันจำเลยเท่านั้น ส่วนที่ผู้ตายด่าจำเลยว่า ไอ้เหี้ยก็เกิดขึ้นเมื่อจำเลยกับผู้ตายต่างฝ่ายต่างขาดความอดทนและอดกลั้นได้สมัครใจเข้าทะเลาะวิวาทกันจนถึงขั้นทำร้ายกัน ซึ่งเป็นธรรมดาที่จะต้องมีการด่าว่ากัน การที่จำเลยกับผู้ตายทะเลาะวิวาทกันจึงเป็นเรื่องภายในครอบครัว กรณีมิใช่เรื่องร้ายแรงที่จำเลยจะต้องฆ่าผู้ตาย ทั้งจำเลยทราบก่อนเกิดเหตุหลายวันว่าเงินได้ขาดหายไป ดังนี้ จึงไม่ใช่เหตุข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่ใช่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72
จำเลยต้องการทำร้ายผู้ตาย แม้ผู้ตายจะได้ใช้อาวุธปืนยิงจำเลยก็ตามแต่เหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดจำเลยเป็นฝ่ายก่อขึ้นก่อน การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่เป็นการป้องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6570/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยเจตนา แม้มีเหตุทะเลาะวิวาท แต่ไม่เข้าข้อยกเว้นเหตุป้องกันตัวหรือบันดาลโทสะ
แม้สภาพศพผู้ตายมีรอยช้ำที่ขาทั้งสองข้างเนื่องจากถูกของแข็งกระทบกระแทกโดยเฉพาะที่หัวเข่าและหน้าแข้งหลายแห่ง และจำเลยใช้เหล็กยกน้ำหนักทุบตีผู้ตายที่ศีรษะจนผู้ตายถึงแก่ความตาย ก็ตาม แต่ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าจำเลยได้ทรมานหรือกระทำการทารุณโหดร้ายผู้ตายอย่างไร ประกอบกับเหตุที่เกิดขึ้นเป็นการทะเลาะวิวาทและทำร้ายกันระหว่างจำเลยกับผู้ตาย การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่เข้าลักษณะเป็นการทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย
จำเลยกับผู้ตายเป็นสามีภริยากันมีบุตรด้วยกัน 4 คน บุตรคนแรกมีอายุประมาณ 24 ปี ผู้ตายทำมาหากินและอาศัยอยู่ด้วยกันย่อมจะต้องมีเรื่องระหองระแหงกระทบกระทั่งกัน และไม่เข้าใจกันบ้างเป็นปกติธรรมดาจำเลยซึ่งเป็นสามีและเป็นหัวหน้าครอบครัวควรจะมีความหนักแน่นอดทนและอดกลั้นที่จำเลยอ้างว่า ผู้ตายนำเงินที่จำเลยมอบให้เพื่อนำไปชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์ไปใช้ส่วนตัวและจำเลยตรวจพบว่าเงินในบัญชีเงินฝากธนาคารได้หายไปประมาณ 500,000ถึง 600,000 บาท และเงินที่ขายรถยนต์บรรทุกหกล้อจำนวน 500,000 บาทได้หายไปนั้นก็ยังไม่แน่ชัดว่าผู้ตายเป็นผู้นำเงินจำนวนดังกล่าวไปจริงหรือไม่ ที่จำเลยเบิกความว่าและผู้ตายบอกจำเลยว่าเป็นคนนำเงินจำนวนดังกล่าวไปให้ชู้นั้นผู้ตายอาจจะพูดขึ้นเพื่อเป็นการประชดประชันจำเลยเท่านั้น ส่วนที่ผู้ตายด่าจำเลยว่าไอ้เหี้ย ก็เกิดขึ้นเมื่อจำเลยกับผู้ตายต่างฝ่ายต่างขาดความอดทนและอดกลั้นได้สมัครใจเข้าทะเลาะวิวาทกันจนถึงขั้นทำร้ายกันซึ่งเป็นธรรมดาที่จะต้องมีการด่าว่ากันเช่นนี้ กรณีที่จำเลยกับผู้ตายทะเลาะวิวาทกันเป็นเรื่องภายในครอบครัวของจำเลยและผู้ตายไม่ใช่เรื่องร้ายแรงที่จำเลยจะต้องฆ่าผู้ตาย ทั้งจำเลยทราบก่อนเกิดเหตุหลายวันว่าเงินได้ขาดหายไป กรณีจึงไม่ใช่เหตุข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่ใช่เป็นการกระทำโดยบันดาลโทสะตาม ป.อ.มาตรา 72
จำเลยต้องการทำร้ายผู้ตาย แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า แม้ผู้ตายเป็นคนใช้อาวุธปืนยิงจำเลยก็ตาม แต่เหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดจำเลยเป็นฝ่ายก่อขึ้นก่อน การที่จำเลยฆ่าผู้ตายจึงไม่เป็นการป้องกัน
of 36