พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7062/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาล้มละลาย: การรับฟังเอกสารสำเนาและภาระการนำสืบของลูกหนี้
แม้หนังสือมอบอำนาจ หนังสือมอบอำนาจช่วง และสัญญาโอนสินทรัพย์ เป็นสำเนาเอกสาร แต่ตามรายงานกระบวนพิจารณาซึ่งบันทึกเป็นหลักฐานในการพิจารณาคดีในช่วงเวลาที่โจทก์นำสืบอ้างสำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นพยาน จำเลยที่ 2 ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารว่าไม่ถูกต้อง ศาลไม่ควรรับเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 คงมีแต่เพียงคำถามค้านของทนายจำเลยที่ 2 ว่าเอกสารดังกล่าวเป็นสำเนาเอกสารใช่หรือไม่เท่านั้น ถือว่าจำเลยที่ 2 ยอมรับว่าสำเนาเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (1) ส่วนหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องเป็นต้นฉบับเอกสาร การโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวเป็นการโอนหนี้ด้อยคุณภาพตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 9 ไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ หรือบอกกล่าวการโอนตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 โจทก์จึงเข้าสวมสิทธิของธนาคาร ท เป็นเจ้าหนี้จำเลยทั้งสองได้ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ตามคำพิพากษามีจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตามคำพิพากษานั้น การฟ้องคดีของโจทก์ฟ้องโดยอาศัยข้อสันนิษฐานอื่นไม่ใช่ข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 8 (9) เรื่องการทวงถาม จึงไม่ต้องทวงถามก่อนฟ้อง โจทก์มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6709/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย ศาลฎีกามีคำสั่งไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของผู้ร้องเนื่องด้วยเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 ผู้ร้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ยอมรับอุทธรณ์ดังกล่าว และเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของผู้ร้อง โดยเห็นว่าอุทธรณ์ของผู้ร้องเป็นการอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา ซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 มีผลเท่ากับศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 ผู้ร้องไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดเวลาในคดีล้มละลาย: การเพิ่มจำนวนหนี้ไม่ใช่การแก้ไขเล็กน้อย
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคสอง บัญญัติให้คำขอรับชำระหนี้ต้องทำตามแบบพิมพ์โดยมีบัญชีแสดงรายละเอียดแห่งหนี้และข้อความระบุถึงหลักฐานประกอบหนี้ เมื่อจำนวนเงินตามคำขอรับชำระหนี้ทั้งในด้านหน้าคำขอรับชำระหนี้ข้อ 4 และด้านหลังตามรายการในบัญชีรายละเอียดแห่งหนี้สินมีจำนวนตรงกัน แสดงถึงเจตนาของผู้ร้องว่าประสงค์จะขอรับชำระหนี้ตามจำนวนที่ระบุไว้ในคำขอรับชำระหนี้นั้น โดยไม่มีข้อสงสัยว่าจำนวนเงินดังกล่าวเกิดจากการพิมพ์ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อน ทั้งจำนวนเงินที่ผู้ร้องยื่นคำขอแก้ไขเพิ่มจากเดิมจำนวน 3,854,472.56 บาท เป็น 8,419,095.03 บาท ก็แตกต่างกันมาก มิใช่การแก้ไขเพียงเล็กน้อย หากแต่เป็นการเพิ่มจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ซึ่งอยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมภายในกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่ง ด้วย
การที่กฎหมายล้มละลายกำหนดเวลาเพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ดังกล่าวก็โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทราบถึงจำนวนเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้กับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้แต่ละรายที่ขอรับชำระหนี้โดยแน่ชัด เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายดำเนินการโดยรวดเร็วต่อไป ไม่ว่าในเรื่องการประนอมหนี้ที่ลูกหนี้จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สิน รวมทั้งการนับคะแนนเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเหล่านี้จะดำเนินการต่อไปโดยรวดเร็วได้ ต่อเมื่อได้ทราบจำนวนที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ทั้งสิ้น มิใช่ว่าเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ก็จะสามารถเพิ่มจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในภายหลังได้ก่อนที่ผู้คัดค้านจะเสนอความเห็นในเรื่องหนี้สินต่อศาล ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นย่อมจะมีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วดังเช่นที่กล่าวนั้น ทั้งจะทำให้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่งแล้ว กรณีผู้ร้องประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหรือแก้ไขคำขอรับชำระหนี้เช่นนี้ก็จะต้องกระทำภายในเวลาตามกฎหมายดังกล่าวด้วย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ล่วงเลยกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว
การที่กฎหมายล้มละลายกำหนดเวลาเพื่อให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้ดังกล่าวก็โดยมีวัตถุประสงค์ให้ทราบถึงจำนวนเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้กับจำนวนเงินที่เจ้าหนี้แต่ละรายที่ขอรับชำระหนี้โดยแน่ชัด เพื่อให้การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายดำเนินการโดยรวดเร็วต่อไป ไม่ว่าในเรื่องการประนอมหนี้ที่ลูกหนี้จะทำความตกลงในเรื่องหนี้สิน รวมทั้งการนับคะแนนเสียงในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกหรือการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเหล่านี้จะดำเนินการต่อไปโดยรวดเร็วได้ ต่อเมื่อได้ทราบจำนวนที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ทั้งสิ้น มิใช่ว่าเมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายแล้ว ก็จะสามารถเพิ่มจำนวนหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ในภายหลังได้ก่อนที่ผู้คัดค้านจะเสนอความเห็นในเรื่องหนี้สินต่อศาล ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นย่อมจะมีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายที่ต้องดำเนินการโดยรวดเร็วดังเช่นที่กล่าวนั้น ทั้งจะทำให้กระบวนพิจารณาคดีล้มละลายเต็มไปด้วยความยุ่งยาก ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 91 วรรคหนึ่งแล้ว กรณีผู้ร้องประสงค์ที่จะขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมหรือแก้ไขคำขอรับชำระหนี้เช่นนี้ก็จะต้องกระทำภายในเวลาตามกฎหมายดังกล่าวด้วย เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนเงินที่ขอรับชำระหนี้ล่วงเลยกำหนดเวลาตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414-5415/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจของผู้บริหารแผนและการจำกัดอำนาจผู้บริหารลูกหนี้หลังฟื้นฟูกิจการ
ผู้ร้องเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทนิยามใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/1 เมื่อศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้วอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารลูกหนี้ย่อมสิ้นสุดลง ครั้นเมื่อศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วอำนาจดังกล่าวและบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และเมื่อศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้ว สิทธิและอำนาจของผู้ทำแผนตกเป็นของผู้บริหารแผนนับแต่ผู้บริหารแผนได้รับทราบคำสั่ง ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติในมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง, มาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ดังนี้ การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ร้องออกคำสั่งใด ๆ แก่พนักงานของลูกหนี้หรือติดต่อภายในพื้นที่ของลูกหนี้และห้ามผู้ร้องเข้าไปในสถานที่ทำงานหรือโรงงานของลูกหนี้เนื่องจากจะทำให้การบริหารงานมีเหตุขัดข้อง และก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำงาน ผู้บริหารแผนย่อมมีอำนาจทำได้เช่นเดียวกับที่ผู้บริหารแผนไม่ให้ผู้ร้องใช้ทรัพย์สินต่าง ๆ ของลูกหนี้ก็เป็นอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของผู้ทำแผนเพื่อนำทรัพย์สินของลูกหนี้มาไว้ในความอารักขาแห่งตนรวมทั้งเป็นการให้ผู้บริหารของลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 90/21 วรรคสาม, มาตรา 90/24 วรรคสอง และ 90/59 วรรคสอง ส่วนที่ยังค้างอยู่
สำหรับเรื่องค่าตอบแทนของผู้ร้องนั้น ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหารของลูกหนี้ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท หากข้อบังคับมิได้กำหนดไว้ การจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและข้อบังคับของลูกหนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้บริหารแผนตามมาตรา 90/25 ประกอบมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งให้งดจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารของลูกหนี้เนื่องจากหมดอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างเวลาดังกล่าวจึงอยู่ในกรอบอำนาจของผู้บริหารแผนที่จะกระทำได้
ส่วนสถานะของผู้ร้องที่เป็นผู้บริหารของลูกหนี้นั้น แม้ว่าในระหว่างการฟื้นฟูกิจการอำนาจของผู้บริหารลูกหนี้ในการบริหารจัดการกิจการของลูกหนี้จะสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติข้างต้น โดยมีผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวแทน แล้วแต่กรณี แต่เมื่อคดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลงโดยการยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว อำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้กลับเป็นของผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 90/74 หรือ 90/75 แล้วแต่กรณี และการที่ผู้ร้องเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้บริหารสูงสุดในการดำเนินธุรกิจจัดการกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการซึ่งถือเป็นการกระทำในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดไปแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงให้มีการพักการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการเป็นการชั่วคราวเท่านั้น เช่นนี้ การที่ผู้บริหารมีหนังสือแจ้งข้อกำหนดต่าง ๆ ให้ผู้ร้องปฏิบัติ จึงมีผลบังคับได้เท่าที่ไม่กระทบถึงสถานะและสิทธิของผู้ร้องซึ่งยังดำรงสถานะเป็นผู้บริหารหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ในการที่จะดำเนินการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายล้มละลายได้ให้อำนาจและคุ้มครองไว้
สำหรับเรื่องค่าตอบแทนของผู้ร้องนั้น ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหารของลูกหนี้ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท หากข้อบังคับมิได้กำหนดไว้ การจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและข้อบังคับของลูกหนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้บริหารแผนตามมาตรา 90/25 ประกอบมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งให้งดจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารของลูกหนี้เนื่องจากหมดอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างเวลาดังกล่าวจึงอยู่ในกรอบอำนาจของผู้บริหารแผนที่จะกระทำได้
ส่วนสถานะของผู้ร้องที่เป็นผู้บริหารของลูกหนี้นั้น แม้ว่าในระหว่างการฟื้นฟูกิจการอำนาจของผู้บริหารลูกหนี้ในการบริหารจัดการกิจการของลูกหนี้จะสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติข้างต้น โดยมีผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวแทน แล้วแต่กรณี แต่เมื่อคดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลงโดยการยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว อำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้กลับเป็นของผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 90/74 หรือ 90/75 แล้วแต่กรณี และการที่ผู้ร้องเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้บริหารสูงสุดในการดำเนินธุรกิจจัดการกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการซึ่งถือเป็นการกระทำในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดไปแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงให้มีการพักการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการเป็นการชั่วคราวเท่านั้น เช่นนี้ การที่ผู้บริหารมีหนังสือแจ้งข้อกำหนดต่าง ๆ ให้ผู้ร้องปฏิบัติ จึงมีผลบังคับได้เท่าที่ไม่กระทบถึงสถานะและสิทธิของผู้ร้องซึ่งยังดำรงสถานะเป็นผู้บริหารหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ในการที่จะดำเนินการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายล้มละลายได้ให้อำนาจและคุ้มครองไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414-5415/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้บริหารลูกหนี้หลังฟื้นฟูกิจการ: การจำกัดอำนาจและการรักษาสถานะหลังคำสั่งศาล
ผู้ร้องเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทนิยามใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/1 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารของลูกหนี้ย่อมสิ้นสุดลง การเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง มาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง
ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การกำหนดค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารของลูกหนี้ ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท หรือมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 90 เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและข้อบังคับของลูกหนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้บริหารแผน การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งให้งดจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารของลูกหนี้ เนื่องจากหมดอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่อยู่ในกรอบอำนาจของผู้บริหารแผนที่จะกระทำได้
ตามมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง มาตรา 90/25 ประกอบกับมาตรา 90/74 และมาตรา 90/75 คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมิได้ทำให้สถานะผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดไปแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงให้มีการพักการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการเป็นการชั่วคราวเท่านั้น
การที่ผู้ร้องมีฐานะเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้บริหารสูงสุดในการดำเนินธุรกิจ จัดการกิจการของลูกหนี้และเมื่อผู้ร้องดำเนินกิจการของลูกหนี้ในฐานะดังกล่าวแล้ว จะต้องรายงานผลการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการของลูกหนี้ทราบ การที่ผู้ร้องดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงถือเป็นการกระทำในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้เช่นกัน
ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การกำหนดค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารของลูกหนี้ ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท หรือมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 90 เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและข้อบังคับของลูกหนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้บริหารแผน การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งให้งดจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารของลูกหนี้ เนื่องจากหมดอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่อยู่ในกรอบอำนาจของผู้บริหารแผนที่จะกระทำได้
ตามมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง มาตรา 90/25 ประกอบกับมาตรา 90/74 และมาตรา 90/75 คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมิได้ทำให้สถานะผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดไปแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงให้มีการพักการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการเป็นการชั่วคราวเท่านั้น
การที่ผู้ร้องมีฐานะเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้บริหารสูงสุดในการดำเนินธุรกิจ จัดการกิจการของลูกหนี้และเมื่อผู้ร้องดำเนินกิจการของลูกหนี้ในฐานะดังกล่าวแล้ว จะต้องรายงานผลการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการของลูกหนี้ทราบ การที่ผู้ร้องดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงถือเป็นการกระทำในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5198/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจแก้ไขคำสั่งศาลในคดีล้มละลายตามมาตรา 108 พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 108 ได้ให้อำนาจศาลในการแก้ไขคำสั่งของศาลที่อนุญาตคำขอชำระหนี้ของเจ้าหนี้ได้แม้คำสั่งศาลจะถึงที่สุดแล้วก็ตาม ถ้าต่อมาปรากฏว่าศาลได้สั่งไปโดยหลงผิดตามจำนวนที่อนุญาตให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ โดยความจริงลูกหนี้ไม่ได้เป็นหนี้ หรือเป็นหนี้ไม่ถึงจำนวนตามที่อนุญาตไปแล้ว แต่ทั้งนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาล คดีนี้จำเลยยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คัดค้านบัญชีส่วนแบ่งของเจ้าหนี้รายหนึ่ง อ้างว่า คำขอรับชำระหนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งที่กรรมการของจำเลยเคยให้การยอมรับว่าเป็นหนี้จริงโดยมิได้โต้แย้งคัดค้านมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้มา เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ซึ่งย่อมหมายความรวมถึงการพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าหนี้ที่จำเลยคัดค้านซึ่งศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วนั้นเป็นคำสั่งที่ศาลสั่งไปโดยหลงผิด จึงไม่ใช้อำนาจยื่นคำร้องต่อศาลขอให้แก้ไขคำสั่งตามมาตรา 108 ดังนี้ จำเลยจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลได้ด้วยตนเอง ทั้งมิใช่กรณีที่จำเลยจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลแก้ไขคำสั่งที่สั่งไปโดยหลงผิดด้วยเช่นกัน เพราะหากให้จำเลยยื่นคำร้องขอเช่นว่านั้นได้ ก็เท่ากับว่าศาลต้องพิจารณาคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ซ้ำในปัญหาเดียวกันอีก โดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้เห็นเป็นอย่างอื่นและมิใช่เป็นผู้ยื่นคำร้องดังกล่าวขึ้นมาเอง และก็มิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำวินิจฉัยโดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายตามมาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5020/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้เงินตราต่างประเทศ: สิทธิลูกหนี้เลือกชำระเงินไทยหรือเงินตราต่างประเทศตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ เวลาชำระ
กรณีที่หนี้เงินได้แสดงไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ป.พ.พ. มาตรา 196 ให้เป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกว่าจะชำระหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศหรือเงินไทย ศาลไม่มีอำนาจไปบังคับหรือเลือกแทนลูกหนี้ในการชำระหนี้ เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้เป็นหนี้เงินตามคำพิพากษาที่กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศ ลูกหนี้จึงอาจชำระเป็นเงินไทยก็ได้ โดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ณ สถานที่และเวลาที่ใช้เงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 196 ซึ่งเป็นสิทธิของลูกหนี้ที่จะเลือกปฏิบัติการชำระหนี้ ทั้งการขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ไม่ใช่กรณีศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ จึงไม่ต้องด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 98 ที่ให้ต้องคิดหนี้เป็นเงินตราไทย แต่เป็นการขอรับชำระหนี้เนื่องจากศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ ซึ่งต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/26 อันเป็นกฎหมายส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ซึ่งมาตรา 90/26 วรรคสาม มิได้บัญญัติให้นำมาตรา 98 มาใช้บังคับ ส่วนกรณีตามมาตรา 90/31 ที่ว่า ถ้าหนี้ได้กำหนดไว้เป็นเงินตราต่างประเทศให้คิดเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประจำวันของธนาคารแห่งประเทศไทยในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการนั้น เป็นกรณีที่มีการประชุมเจ้าหนี้และเจ้าหนี้เงินตราต่างประเทศนั้นเข้าประชุมเพื่อประโยชน์ในการคำนวณหนี้ที่ใช้ในการออกเสียงลงคะแนน จึงให้คำนวณหนี้เงินตราต่างประเทศเป็นเงินไทย กรณีเจ้าหนี้รายนี้ไม่มีประเด็นปัญหาการเข้าประชุมเจ้าหนี้ จึงไม่มีความจำเป็นที่ศาลจะไปสั่งบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องคำนวณยอดหนี้จากเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินไทย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5016/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายจาก พ.ร.ก.กู้ยืมเงินฉ้อโกงประชาชน และอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชนชนฯ มาตรา 10 บัญญัติให้พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องผู้กู้ยืมเงินที่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดตามมาตรา 4 หรือ 5 ของกฎหมายดังกล่าวเป็นบุคคลล้มละลายได้ เป็นการให้อำนาจฟ้องได้ในขณะที่ผู้กู้ยืมเงินเป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดเท่านั้น ไม่ต้องรอให้ฟ้องคดีอาญาเป็นจำเลยต่อศาลก่อนและไม่ต้องรอให้ศาลพิพากษาถึงที่สุดก่อนว่าผู้กู้ยืมกระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาก็ได้ เพราะความผิดตามกฎหมายดังกล่าวมีผลกระทบต่อระบบการเงินและเศรษฐกิจของประเทศ รัฐต้องการให้กฎหมายมีสภาพบังคับโดยเร็ว เพื่อมิให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนที่ร้ายแรงมากขึ้นจากความเนิ่นช้าในการบังคับใช้กฎหมายรัฐจึงเลือกใช้ช่องทางให้ดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าว เพราะกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายนั้นจะต้องดำเนินการเป็นการด่วนตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 13 และในมาตรา 10 วรรคสองของกฎหมายดังกล่าวบัญญัติต่อไปว่า ในการพิจารณาคดีล้มละลาย ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงตามวรรคหนึ่งให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด มิใช่ต้องได้ความจริงว่าลูกหนี้กระทำผิดตามคำพิพากษาถึงที่สุด คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสิบเด็ดขาด และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ใช้อำนาจเข้าจัดกิจการและทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบต่อมาตามวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ จนศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสิบล้มละลายและเข้าสู่ขั้นตอนการจำหน่ายทรัพย์สินตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123 แล้ว ซึ่งเป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวที่จะจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ มีเจตนารมณ์ให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลายจนสิ้นสุด ไม่อาจขอทุเลาการบังคับอย่างคดีแพ่งธรรมดาและไม่อาจขอให้งดหรือระงับการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ยึดและอายัดไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5013/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้บัญชีเดินสะพัด ดอกเบี้ยเกินกฎหมายทำให้จำนวนหนี้ไม่แน่นอน ฟ้องล้มละลายไม่ได้
แม้สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ซึ่งมีการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยกันปีละหนึ่งครั้ง หากจำเลยตกเป็นลูกหนี้โจทก์เท่าใดจำเลยจะต้องชำระหนี้ให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่ธนาคาร ก. สาขามุกดาหารจะพึงเรียกเก็บจากลูกค้าผู้กู้ยืมเงินจากธนาคารดังกล่าว และหากจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์จะคิดดอกเบี้ยในยอดหนี้ที่ค้างชำระแล้วทบเป็นยอดหนี้ที่ค้างชำระที่จะต้องนำไปหักทอนบัญชีในฤดูหีบอ้อยในปีต่อไประหว่างการเดินสะพัดทางบัญชี โจทก์มีการคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีหลายครั้ง โดยโจทก์มิได้เป็นสถาบันการเงินย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้มากกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อการเดินสะพัดทางบัญชีของโจทก์มีการคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ในกรณีที่จำเลยค้างชำระหนี้และมีการนำดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะทบเข้ากับเงินต้นที่จะหักทอนบัญชีกันในปีต่อไป มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายจึงมีดอกเบี้ยทบต้นที่เป็นโมฆะระคนปนกันอยู่ ซึ่งโจทก์มิได้คำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยที่อ้างว่าชอบด้วยกฎหมายมาให้ชัดเจนว่าเป็นจำนวนเท่าใด ทั้งๆ ที่โจทก์สามารถคำนวณได้ เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย กรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าหนี้ของโจทก์อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5007/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ในฐานะตัวแทนลูกหนี้ ไม่มีฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม จึงขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ได้
เจ้าหนี้ยื่นขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ที่ถูก ช. ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับลูกหนี้ และบุคคลอื่นอีก 2 คน โดยให้ร่วมกันคืนหุ้นหรือชดใช้ราคาแทนและใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งตามคำฟ้องดังกล่าวโจทก์ได้ฟ้องเจ้าหนี้ในฐานะเป็นลูกจ้างหรือตัวแทนของลูกหนี้ว่าร่วมกับลูกหนี้และจำเลยอื่นนำหุ้นของโจทก์ไปขายและถอนเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ซึ่งถือเป็นตัวแทนของลูกหนี้ได้กระทำการโดยปราศจากอำนาจหรือทำนอกทำเหนือขอบอำนาจอย่างไรอันจะต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นการส่วนตัว ดังนั้น หากมีการนำหุ้นของโจทก์ไปขายหรือถอนเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงินของโจทก์ไปโดยพลการและลูกหนี้ซึ่งเป็นนิติบุคคลผู้เป็นตัวการจะต้องรับผิดต่อโจทก์เจ้าหนี้ซึ่งเป็นพนักงานของลูกหนี้ โดยมีฐานะเป็นตัวแทนของลูกหนี้ก็หาต้องร่วมกับลูกหนี้รับผิดต่อโจทก์ไม่ เจ้าหนี้จึงไม่อยู่ในฐานะลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 101 และไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้