พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาของผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องดำเนินคดีแทน
กฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเอง แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าบุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เข้ามาดำเนินคดีในทางอาญาแทนบุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ โดยเฉพาะกฎหมายล้มละลายมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญา นั้นพ้นผิดไปด้วย จำเลยได้ร่วมสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยการกระทำผิดของจำเลยเกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่เกี่ยวข้องกับ การถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในภายหลัง ดังนี้ แม้ในการ ต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์จำเลยไม่มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เข้ามาดำเนินคดีแทน การดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ ก็ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาของบุคคลล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่สามารถดำเนินคดีแทนได้
กฎหมายล้มละลายเพียงบัญญัติมิให้บุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินคดีในทางแพ่งด้วยตนเอง แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าบุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีในทางอาญาแทนบุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะกฎหมายล้มละลายมิได้คุ้มครองให้ผู้กระทำผิดอาญานั้นพ้นผิดไปด้วย
จำเลยได้ร่วมสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยการกระทำผิดของจำเลยเกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในภายหลัง ดังนี้ แม้ในการต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์จำเลยไม่มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทน การดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ก็ชอบแล้ว
จำเลยได้ร่วมสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คโดยการกระทำผิดของจำเลยเกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่เกี่ยวข้องกับการถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในภายหลัง ดังนี้ แม้ในการต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์จำเลยไม่มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทน การดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์ก็ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอาญาของบุคคลล้มละลาย แม้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็ต้องรับผิดชอบการกระทำผิดก่อนหน้านี้
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าบุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีในทางอาญาแทนโดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ได้ร่วมสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสามฉบับให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คทั้งสามฉบับเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2540 แต่จำเลยที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 การกระทำผิดของจำเลยที่ 2ในคดีนี้จึงเกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์โดยไม่มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยจึงชอบแล้ว เช็คแต่ละฉบับที่จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งจ่ายให้โจทก์ มีจำนวนเงินสูง และจำเลยทั้งสองไม่ได้ผ่อนชำระหนี้ ตามเช็คให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ แม้ว่าโจทก์จะยื่นขอ รับชำระหนี้ตามเช็คทั้งสามฉบับต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีนี้ กับจำเลยทั้งสองอีกต่อไป จึงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันต่อเนื่อง: ค้ำประกันหนี้เดิมแม้ไม่มีผลย้อนหลัง, การนำสืบพยานไม่เป็นการนอกฟ้อง
หนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์เขียน พ.ศ. ผิดพลาด และนำแบบพิมพ์ของบริษัทก. มาใช้ จำเลยที่ 2 จึงได้ทำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทให้โจทก์ ใหม่แทนหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม แม้หนังสือค้ำประกัน ฉบับพิพาทจะทำขึ้นภายหลังวันที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ให้โจทก์ไว้และมิได้มีข้อความระบุว่าให้มีผลย้อนหลังไปถึงหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้ก็ตาม แต่เมื่อเป็นผลสืบเนื่องต่อจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทจึงมีผลบังคับ แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสำเนาเอกสาร หมาย จ.4 โดยมิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 ต่อเนื่องกับหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลถึงหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ามูลเหตุที่จำเลยที่ 2 ต้องทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 ให้โจทก์มีความเป็นมาอย่างไร จึงไม่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารและไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานบุคคลดังกล่าวจึงมิใช่ เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 และ 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันต่อเนื่อง: ผลบังคับใช้แม้ทำหลังหนี้เดิมและไม่มีผลย้อนหลัง
หนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์เขียน พ.ศ. ผิดพลาด และนำแบบพิมพ์ของบริษัท ก. มาใช้ จำเลยที่ 2 จึงได้ทำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทให้โจทก์ใหม่แทนหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม แม้หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทจะทำขึ้นภายหลังวันที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้และมิได้มีข้อความระบุว่าให้มีผลย้อนหลังไปถึงหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้ก็ตาม แต่เมื่อเป็นผลสืบเนื่องต่อจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิมหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทจึงมีผลบังคับ
แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสำเนาเอกสารหมาย จ.4 โดยมิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 ต่อเนื่องกับหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลถึงหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ามูลเหตุที่จำเลยที่ 2 ต้องทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4ให้โจทก์มีความเป็นมาอย่างไร จึงไม่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารและไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานบุคคลดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และ 142
แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสำเนาเอกสารหมาย จ.4 โดยมิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 ต่อเนื่องกับหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลถึงหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ามูลเหตุที่จำเลยที่ 2 ต้องทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4ให้โจทก์มีความเป็นมาอย่างไร จึงไม่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารและไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานบุคคลดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และ 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4042/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างต้องมีเหตุอันสมควรตามสัญญาจ้าง การลืมเก็บเงินไม่ถือเป็นการกระทำโดยเจตนาทุจริต
ตามสัญญาจ้างผู้จัดการร้านฉบับพิพาทกำหนดเหตุที่นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาว่า ผู้จัดการร้านละเลยงานที่ได้รับมอบหมายโดยเจตนาหรือกระทำการใด ๆ โดยเจตนาไม่สุจริตเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ เช่น การดูแลเงินสดและการจัดการลูกจ้าง ดังนั้น ผู้จัดการร้านจะมีความผิดตามสัญญาจ้างดังกล่าวฐานละเลยงานที่ได้รับมอบหมายก็ดี หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสำคัญ ๆเช่น การดูแลเงินสดก็ดี ผู้จัดการร้านจะต้องกระทำโดยมีเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริต การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการร้านลืมนำเงินทอนที่แลกเป็นฉบับย่อยเข้าเก็บในตู้นิรภัยให้ครบ มิใช่เป็นการละเลยโดยเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริตการกระทำของโจทก์จึงมิได้ฝ่าฝืนสัญญาจ้างและไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4042/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการละเลยหน้าที่และการเลิกสัญญาจ้าง
ตามสัญญาจ้างผู้จัดการร้านฉบับพิพาทกำหนดเหตุที่นายจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาว่า ผู้จัดการร้านละเลยงานที่ได้รับมอบหมายโดยเจตนา หรือกระทำการใด ๆ โดยเจตนาไม่สุจริตเกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ เช่น การดูแลเงินสดและการจัดการลูกจ้าง ดังนั้น ผู้จัดการร้านจะมีความผิดตามสัญญาจ้างดังกล่าวฐานละเลยงานที่ได้รับมอบหมายก็ดี หรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานสำคัญ ๆ เช่น การดูแลเงินสดก็ดีผู้จัดการร้านจะต้องกระทำโดยมีเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริต การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการร้านลืมนำเงินทอนที่แลกเป็นฉบับย่อยเข้าเก็บในตู้นิรภัยให้ครบ มิใช่เป็นการละเลยโดยเจตนาหรือโดยเจตนาไม่สุจริต การกระทำของโจทก์จึงมิได้ฝ่าฝืนสัญญาจ้างและไม่เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องฉ้อโกง: การสอบสวนความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบ
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยว่า ลักทรัพย์ รับของโจร และฉ้อโกง แล้วพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การ จ.ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารผู้เสียหายกรณีที่จำเลยใช้สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจากธนาคารผู้เสียหายไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ไว้ ชั้นสอบสวน จำเลยให้การรับว่าในวันดังกล่าวจำเลยได้ใช้สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจำนวนดังกล่าว ไปจากผู้เสียหายจริง ดังนี้ เห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกงด้วยแล้ว แม้ว่าในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง ร้อยตำรวจโท อ.ไม่ได้สอบปากคำว่าจำเลยได้ไปฉ้อโกงหรือหลอกลวงผู้ใดไว้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะในการสอบสวนไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบแล้วพนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงโดยวินิจฉัยว่าไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว
ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกงโดยวินิจฉัยว่าไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความได้ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีฉ้อโกง: การสอบสวนฐานฉ้อโกงเป็นปัจจัยสำคัญในการฟ้องคดีได้
เมื่อผู้เสียหายร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้ว พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาจำเลยว่า ลักทรัพย์ รับของโจร และฉ้อโกง แล้วพนักงานสอบสวนได้สอบคำให้การ จ. ผู้รับมอบอำนาจจากธนาคารผู้เสียหายกรณีที่จำเลยใช้สมุดคู่ฝากถอน เงินสดจากธนาคารผู้เสียหายไปเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2539 ไว้ ชั้นสอบสวนจำเลยให้การรับว่า ในวันดังกล่าวจำเลยได้ใช้ สมุดคู่ฝากถอนเงินสดจำนวนดังกล่าวไปจากผู้เสียหายจริง ดังนี้ เห็นได้ว่าพนักงานสอบสวนได้สอบสวนในข้อหาความผิด ฐานฉ้อโกงด้วยแล้ว แม้ว่าในข้อหาความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานสอบสวนจะไม่ได้สอบปากคำว่าจำเลยได้ไปฉ้อโกง หรือหลอกลวงผู้ใดไว้ก็ตาม ก็ไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เพราะ ในการสอบสวนไม่มีข้อห้ามตามกฎหมายว่าพนักงานสอบสวนจะต้องสอบสวนมากน้อยเพียงใด เมื่อมีการสอบสวนใน ความผิดฐานฉ้อโกงโดยชอบแล้ว พนักงานอัยการจึงมี อำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานฉ้อโกง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องในความผิดฐานฉ้อโกง โดยวินิจฉัยว่าฟังไม่ได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานฉ้อโกง โดยชอบ โดยศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยกระทำผิด ฐานฉ้อโกงหรือไม่ ดังนี้เพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลย เป็นไปตามลำดับศาลเพราะผลแห่งการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิการฎีกาของคู่ความ ศาลฎีกา ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3968/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากละเมิด: นับแต่วันทำละเมิด ไม่ใช่วันชำระค่าซ่อมแซม
การที่ศาลกำหนดจำนวนเงินค่าสินไหมทดแทนให้จำเลยชดใช้นั้น มิใช่ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตั้งแต่วันพิพากษาหรือวันที่โจทก์ ได้ชำระเงินค่าซ่อมแซมทรัพย์ที่ถูกจำเลยทำละเมิด แต่เป็น การที่ศาลกำหนดค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับความเสียหายมาแล้ว ตั้งแต่วันทำละเมิด ดังนั้น จำเลยจึงต้องเสียดอกเบี้ยในจำนวนเงิน ที่จะต้องชดใช้ตั้งแต่วันทำละเมิดซึ่งเป็นวันผิดนัดตามมาตรา 206