คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประมาณ ตียะไพบูลย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812-3826/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการได้ ศาลต้องพิสูจน์ว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้าง
คดีแดงที่ 3812 - 3826/2542
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง หมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ
ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่เพียงพอฟังว่า โจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่ อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองหรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิด จึงไม่ชอบ
ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้างวันละ 160 บาท เป็นวันละ 162 บาทแล้ว แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยคำนวณจากค่าจ้างวันละ 160 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3812-3826/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ ศาลต้องสืบข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่
การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสองหมายความรวมถึงกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างเพราะเหตุที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อ ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงตามที่จำเลยแถลงเพียงว่า จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ แต่จำเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ย่อมไม่เพียงพอฟังว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานและไม่ได้รับค่าจ้างหรือไม่อันเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องใช้วินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างในกรณีนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 วรรคสองหรือไม่ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย แล้ววินิจฉัยว่าการที่จำเลยปิดกิจการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างโจทก์โดยไม่มีความผิดจึงไม่ชอบ ศาลแรงงานอนุญาตให้โจทก์แก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องจากอัตราค่าจ้าง วันละ160 บาท เป็นวันละ 162 บาทแล้ว แต่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โดยคำนวณจากค่าจ้างวันละ160 บาทเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดตำแหน่งงานและการเลิกจ้าง การลดตำแหน่งโดยยังจ่ายเงินเดือนและให้ทำงานต่อ ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งลดตำแหน่งของโจทก์จากหัวหน้าพนักงานขายระดับ 6 เป็นพนักงานขาย ระดับ 5 แต่จำเลยยังให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปและโจทก์ก็ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกระทำใดที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไปโดยจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้อันถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง
จำเลยเสนอให้โจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับเงินเดือนของโจทก์จำนวน 3 เดือน ให้โจทก์พิจารณาว่าจะลาออกหรือไม่เท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวมิใช่เป็นการบอกเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดตำแหน่งงานและการเสนอค่าช่วยเหลือมิใช่การเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
แม้จำเลยมีคำสั่งลดตำแหน่งของโจทก์จากหัวหน้าพนักงานขาย ระดับ 6 เป็นพนักงานขาย ระดับ 5 แต่จำเลยยังให้โจทก์ทำงาน กับจำเลยต่อไปและโจทก์ก็ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม การกระทำ ของจำเลยดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการกระทำใดที่จำเลยผู้เป็น นายจ้างไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไปโดยจำเลยไม่จ่าย ค่าจ้างให้อันถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสอง แม้หนังสือเตือนที่จำเลยเสนอให้โจทก์ลาออกโดยจำเลยยินดี จะจ่ายเงินช่วยเหลือให้โจทก์เท่ากับเงินเดือนของโจทก์จำนวน 3 เดือน ก็เป็นเพียงข้อเสนอของจำเลยให้โจทก์พิจารณาว่า จะลาออกหรือไม่เท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวมิใช่เป็นการบอก เลิกจ้างโจทก์แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3780/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดตำแหน่งและข้อเสนอให้ลาออก ไม่ถือเป็นการเลิกจ้าง
จำเลยมีคำสั่งลดตำแหน่งของโจทก์จากหัวหน้าพนักงานขายระดับ 6 เป็นพนักงานขาย ระดับ 5 แต่จำเลยยังให้โจทก์ทำงานกับจำเลยต่อไปและโจทก์ก็ได้รับเงินเดือนเท่าเดิม การกระทำของจำเลยมิใช่เป็นการกระทำใดที่จำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทำงานต่อไปโดยจำเลยไม่จ่ายค่าจ้างให้อันถือเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46วรรคสอง
จำเลยเสนอให้โจทก์ลาออกจากงานโดยจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับเงินเดือนของโจทก์จำนวน 3 เดือน ให้โจทก์พิจารณาว่าจะลาออกหรือไม่เท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวมิใช่เป็นการบอกเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3739/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทนายความในคดีแรงงาน: การยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 27 บัญญัติว่า การยื่นคำฟ้องตลอดจนการ ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลแรงงานให้ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสองกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมรวมถึงค่าทนายความด้วย ฉะนั้น ในคดีที่ศาลแรงงานพิจารณาพิพากษา คู่ความจึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าทนายความให้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3739/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทนายความในคดีแรงงาน: คู่ความได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าทนายความตามกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและ วิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 27 การยื่นคำฟ้อง ตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลแรงงาน ให้ได้รับ การยกเว้นไม่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม และตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 วรรคสอง กำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมรวมถึงค่าทนายความด้วย ฉะนั้นในคดีที่ศาลแรงงานพิจารณาพิพากษา คู่ความจึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าทนายความให้แก่คู่ความอีกฝ่าย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความให้จำเลยจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3739/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทนายความในคดีแรงงาน: การยกเว้นค่าใช้จ่ายตามกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 27 การยื่นคำฟ้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลแรงงาน ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าฤชาธรรมเนียม และตาม ป.วิ.พ.มาตรา 161 วรรคสอง กำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมรวมถึงค่าทนายความด้วย ฉะนั้นในคดีที่ศาลแรงงานพิจารณาพิพากษา คู่ความจึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าทนายความให้แก่คู่ความอีกฝ่าย การที่ศาลแรงงานพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าทนายความให้จำเลยจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3593/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินพร้อมภาระจำยอม แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่การยินยอมภายหลังฟ้องคดีก็มีผลผูกพัน
จำเลยที่ 1 ขายที่ดินให้แก่โจทก์ โดยสัญญาว่าจะให้ที่ดินโฉนดเลขที่ 14789 จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นทางเข้าออกของที่ดินโจทก์ที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 แม้ในขณะทำสัญญาจะซื้อขาย จำเลยที่ 1 จะมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ายินยอมจดทะเบียนภาระจำยอมดังกล่าว แต่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือยินยอมให้จดทะเบียนภาระจำยอมในภายหลังโจทก์ฟ้องคดีแล้ว ก็คงมีผลผูกพัน จำเลยที่ 1 จะต้องปฏิบัติตามสัญญาที่เคยให้แก่โจทก์ไว้ขณะทำสัญญาซื้อขายที่ดินกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานมีผลเพียงชี้แนะ ไม่ใช่คำสั่ง โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพิกถอน
เมื่อปรากฏว่านายจ้างได้กระทำการฝ่าฝืนประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามพนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจเตือนให้นายจ้างปฏิบัติให้ถูกต้อง ภายในระยะเวลาที่กำหนด ตามประกาศ กระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 77 แต่คำเตือนดังกล่าวมีผล เพียงเป็นการชี้แนะของเจ้าหน้าที่เพื่อระงับข้อพิพาทระหว่าง นายจ้างลูกจ้าง มิใช่เป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัยที่กฎหมายบัญญัติ ให้โจทก์ต้องปฏิบัติตาม ถ้านายจ้างเห็นว่าคำเตือนนั้น ไม่ถูกต้องจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ คำเตือนดังกล่าวจึงไม่เป็น การกระทบกระเทือนต่อสิทธิหน้าที่ของโจทก์ไม่เป็นการโต้แย้ง เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของนายจ้างตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน
of 36