พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ควรฟ้องเรียกได้ในคดีก่อน
ข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาอันเนื่องมาจากหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำฉบับเดียวกัน แม้ว่าฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน คือจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำดังกล่าว โจทก์สามารถตรวจสอบจากเจ้าพนักงานที่ดินได้ จึงถือได้ว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยได้ในคดีก่อนได้อยู่แล้ว แต่โจทก์หาฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีผิดสัญญาซื้อขายเดิมกับคดีเรียกค่าธรรมเนียมโอนกรรมสิทธิ์
ข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาอันเนื่องมาจากหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำฉบับเดียวกัน แม้ว่าฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนโจทก์จะขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์ ส่วนคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ขอให้บังคับจำเลยใช้ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกัน คือจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทหรือไม่ เมื่อค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำดังกล่าว โจทก์สามารถตรวจสอบจากเจ้าพนักงานที่ดินได้ จึงถือได้ว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน ซึ่งโจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยได้ในคดีก่อน ได้อยู่แล้ว แต่โจทก์หาฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3564/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นหนี้เดิมจากสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้คำขอต่างกันแต่มีมูลฐานเดียวกัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำส่วนคดีก่อนโจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาไม่ยอมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้โจทก์ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำ เห็นได้ว่าข้อหาของโจทก์ทั้งสองคดีเป็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาอันเนื่องมาจากหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำฉบับเดียวกัน แม้คำขอบังคับท้ายฟ้องทั้งสองคดีจะแตกต่างกันก็ตาม แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาก็เนื่องมาจากมูลฐานเดียวกันคือจำเลยผิดสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทหรือไม่ค่าธรรมเนียมและค่าภาษีอากรในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทที่จำเลยต้องรับผิดตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำโจทก์สามารถตรวจสอบจากเจ้าพนักงานที่ดินได้ จึงถือได้ว่าเป็นหนี้ที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อนแล้ว ซึ่งโจทก์อาจฟ้องเรียกจากจำเลยได้ในคดีดังกล่าว แต่โจทก์หาฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับฟ้องโจทก์คดีก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อในการอนุมัติถอนเงินจากบัญชีลูกค้า และพนักงานฉ้อโกง ทำให้ลูกค้าได้รับความเสียหาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาระยอง ชักชวนโจทก์ให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ เพื่อเป็นผลงาน โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของธนาคารจำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แล้วดำเนินการนำเงินของโจทก์ไปฝากให้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ความไว้วางใจในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของธนาคารจำเลยที่ 1 ในการบริการความสะดวกให้แก่โจทก์ตามที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบมอบหมายให้จำเลยที่ 2 ช่วยธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบหาลูกค้าให้ ธนาคารจำเลยที่ 1 ออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่จำเลยที่ 2 ไป โดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความไว้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหายดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมกับขอปิดบัญชีของโจทก์โดยโจทก์ไม่รู้เห็นถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อโดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แม้ลายมือชื่อของใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มีหลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อในการเปิดบัญชีและออกสมุดคู่ฝากให้พนักงานโดยไม่ตรวจสอบ ทำให้พนักงานเบิกเงินจากบัญชีลูกค้าได้
จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาระยอง ชักชวนโจทก์ให้เปิดบัญชีเงินฝากประจำที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ เมื่อสาขาดังกล่าวเปิดทำการเพื่อเป็นผลงานร่วมกัน โดยนำแบบฟอร์มต่าง ๆ ของธนาคาร จำเลยที่ 1 มาให้โจทก์ลงลายมือชื่อ แล้วดำเนินการนำเงินของโจทก์ไปฝากให้ มิใช่เป็นเรื่องที่โจทก์มอบหมายให้ จำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนโจทก์ แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ให้ความไว้วางใจในฐานะที่จำเลยที่ 2 เป็นพนักงานของธนาคาร จำเลยที่ 1 ในการบริการความสะดวกให้แก่โจทก์ตามที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ช่วยหาลูกค้าให้
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ได้รับโอนบัญชีเงินฝากของโจทก์จากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยา โดยมิได้ ทักท้วงในเรื่องตัวลูกค้ามิได้มาติดต่อด้วยตนเอง ทั้งมิได้เรียกหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของลูกค้ามาตรวจสอบเช่นกัน นอกจากนั้นยังปรากฏว่า ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ได้ออกสมุดคู่ฝากให้แก่จำเลยที่ 2 รับไป โดยที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ยังมิได้เรียกเก็บสมุดคู่ฝากที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาได้ออกให้แก่ลูกค้าคืนจากจำเลยที่ 2 ทันที ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ มิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังเช่นผู้มีวิชาชีพอันควร พึงกระทำ จึงเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ โดยตรง
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่ จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความได้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหาย ดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมขอปิดบัญชีของโจทก์ โดยโจทก์ไม่รู้เห็น ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แม้ลายมือชื่อในใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มี หลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ได้รับโอนบัญชีเงินฝากของโจทก์จากธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยา โดยมิได้ ทักท้วงในเรื่องตัวลูกค้ามิได้มาติดต่อด้วยตนเอง ทั้งมิได้เรียกหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชนของลูกค้ามาตรวจสอบเช่นกัน นอกจากนั้นยังปรากฏว่า ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ได้ออกสมุดคู่ฝากให้แก่จำเลยที่ 2 รับไป โดยที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ยังมิได้เรียกเก็บสมุดคู่ฝากที่ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาพัทยาได้ออกให้แก่ลูกค้าคืนจากจำเลยที่ 2 ทันที ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ มิได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวังเช่นผู้มีวิชาชีพอันควร พึงกระทำ จึงเป็นการกระทำประมาทเลินเล่อของธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ โดยตรง
ธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบ ออกสมุดคู่ฝากแทนสมุดคู่ฝากของโจทก์ตามที่จำเลยที่ 2 แจ้งว่าหายให้แก่ จำเลยที่ 2 ไปโดยไม่ได้ตรวจสอบหลักฐานการแจ้งความ และหลักฐานดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งความด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 แจ้งความได้ เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำสมุดคู่ฝากที่ออกแทนสมุดที่อ้างว่าหาย ดังกล่าวไปขอเบิกเงินพร้อมขอปิดบัญชีของโจทก์ โดยโจทก์ไม่รู้เห็น ถือว่าธนาคารจำเลยที่ 1 สาขาสัตหีบปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยไม่ใช้ความระมัดระวังด้วยฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในกิจการของธนาคารอันเป็นอาชีพของตน แม้ลายมือชื่อในใบถอนจะตรงกับตัวอย่างลายมือชื่อในใบตัวอย่างลายมือชื่อ แต่เมื่อโจทก์มิได้รับเงินจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1 และยังถือสมุดคู่ฝากฉบับเดิมซึ่งยังไม่มี หลักฐานการถอนเงินจากจำเลยที่ 1 โจทก์จึงมีสิทธิ์เรียกให้จำเลยที่ 1 รับผิดคืนเงินฝากดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับค่าจ้างสิ้นสุดเมื่อสภาพการเป็นลูกจ้างสิ้นสุด แม้จะมีการจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ป.พ.พ.มาตรา 582 เป็นบทบัญญัติถึงวิธีการบอกเลิกสัญญาจ้างระหว่างคู่สัญญาที่ไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าไร ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะเลิกสัญญาจ้างด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญาจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป หากการบอกกล่าวเลิกจ้างไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ฝ่ายนั้นต้องรับผิดในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จะต้องชดใช้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้าง
หลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาแล้ว สภาพการเป็นลูกจ้างนายจ้างย่อมสิ้นสุดไปด้วย หลังจากนั้นลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้นายจ้างลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก
จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 13 มิถุนายน2540 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ หลังจากเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายค่าจ้างเดือนมิถุนายน 2540 สำหรับครึ่งเดือนแรก จำนวน 18,000 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน และค่าชดเชย 3 เดือน ให้โจทก์เรียบร้อยแล้ว เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์เรียกร้องค่าจ้างสำหรับเดือนมิถุนายน 2540 อีกครึ่งเดือนหลังจำนวน 18,000 บาท จากจำเลย แต่โจทก์มิได้เป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่14 มิถุนายน 2540 ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามที่ฟ้อง
หลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาแล้ว สภาพการเป็นลูกจ้างนายจ้างย่อมสิ้นสุดไปด้วย หลังจากนั้นลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้นายจ้างลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างอีก
จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 13 มิถุนายน2540 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ หลังจากเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายค่าจ้างเดือนมิถุนายน 2540 สำหรับครึ่งเดือนแรก จำนวน 18,000 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน และค่าชดเชย 3 เดือน ให้โจทก์เรียบร้อยแล้ว เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์เรียกร้องค่าจ้างสำหรับเดือนมิถุนายน 2540 อีกครึ่งเดือนหลังจำนวน 18,000 บาท จากจำเลย แต่โจทก์มิได้เป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่14 มิถุนายน 2540 ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามที่ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3356/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสภาพลูกจ้างและการไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างหลังการบอกเลิกสัญญาจ้าง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เป็นบทบัญญัติถึงวิธีการบอกเลิก สัญญาจ้างระหว่างคู่สัญญาที่ไม่ได้กำหนดไว้ว่าจะจ้างกันนานเท่าไร ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะเลิกสัญญาจ้างด้วยการบอกกล่าวล่วงหน้าในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้าง คราวใดคราวหนึ่งเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญาจ้างกันเมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไป หากการบอกกล่าวเลิกจ้างไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ฝ่ายนั้นต้องรับผิดในสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่จะต้องชดใช้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าดังกล่าวจึงมิใช่ค่าจ้าง หลังจากสัญญาจ้างสิ้นสุดเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาแล้ว สภาพการเป็นลูกจ้าง นายจ้างย่อมสิ้นสุดไปด้วย หลังจากนั้นลูกจ้างไม่ได้ทำงานให้นายจ้างลูกจ้างจึงไม่มี สิทธิได้รับค่าจ้างอีก จำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 13 มิถุนายน 2540จำเลยเลิกจ้างโจทก์ หลังจากเลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยได้จ่ายค่าจ้างเดือนมิถุนายน 2540 สำหรับครึ่งเดือนแรก จำนวน 18,000 บาท สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน และค่าชดเชย 3 เดือน ให้โจทก์เรียบร้อยแล้ว เมื่อตามคำฟ้องโจทก์ประสงค์เรียกร้องค่าจ้างสำหรับเดือนมิถุนายน 2540 อีกครึ่งเดือนหลังจำนวน 18,000 บาท จากจำเลยแต่โจทก์มิได้เป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2540 ดังนั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างตามที่ฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานเพื่อสอบสวนและการจ่ายค่าจ้าง: แม้พักงาน นายจ้างยังต้องจ่ายค่าจ้างหากลูกจ้างไม่ได้กระทำผิด
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่า "หากพนักงานผู้ใดฝ่าฝืน หรือหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัยหรือฝ่าฝืนข้อห้าม มิให้ปฏิบัติ พนักงานผู้นั้นจะต้องได้รับโทษทางวินัย อย่างไรก็ดี ก่อนการสั่งลงโทษผู้บังคับบัญชาอาจสั่งพักงานเพื่อการสอบสวน ก็ได้ โดยในระหว่างพักงานให้งดจ่ายค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ ต่าง ๆ โดยการพักงานกรณีนี้ให้กระทำเฉพาะพักงานเพื่อการสอบสวน เท่านั้น มิให้พักงานเพื่อรอผลคดี ซึ่งการพักงานเพื่อการสอบสวน นี้มิใช่เป็นการพักงานเพื่อการลงโทษ" เห็นได้ว่า การพักงาน เพื่อการสอบสวนตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเพื่อให้ ได้ความแจ้งชัดว่าลูกจ้างผู้ถูกพักงานได้กระทำความผิดตามที่ถูก สอบสวนหรือไม่ ทั้งการพักงานดังกล่าวมิใช่เป็นการลงโทษแม้ระหว่างการพักงานนายจ้างมีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างและสิทธิ ประโยชน์ต่าง ๆ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ตาม แต่ระหว่างการพักงานเป็นเพียงนายจ้างให้ลูกจ้างผู้นั้นหยุดงาน เป็นการชั่วคราวเท่านั้น สภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังคง มีอยู่ต่อไป ดังนี้ หากการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างผู้นั้นมิได้ กระทำความผิด นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างผู้นั้นไม่ได้และนายจ้าง ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างการพักงานให้แก่ลูกจ้าง จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยย่อมมีหน้าที่จ่ายค่าจ้าง ให้แก่โจทก์ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงานให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 จำเลยมีคำสั่ง พักงานโจทก์เพื่อการสอบสวน เป็นกรณีที่จำเลยมิให้โจทก์ทำงาน ดังนี้การที่โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลยจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ ค่าจ้างหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3354/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพักงานเพื่อสอบสวนและการจ่ายค่าจ้าง: สิทธิลูกจ้างเมื่อไม่มีความผิด
ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่า "หากพนักงานผู้ใดฝ่าฝืนหรือหลีกเลี่ยงที่จะปฏิบัติตามระเบียบวินัยหรือฝ่าฝืนข้อห้ามมิให้ปฏิบัติ พนักงานผู้นั้นจะต้องได้รับโทษทางวินัย อย่างไรก็ดี ก่อนการสั่งลงโทษผู้บังคับบัญชาอาจสั่งพักงานเพื่อการสอบสวนก็ได้ โดยในระหว่างพักงานให้งดจ่ายค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ โดยการพักงานกรณีนี้ให้กระทำเฉพาะพักงานเพื่อการสอบสวนเท่านั้น มิให้พักงานเพื่อรอผลคดี ซึ่งการพักงานเพื่อการสอบสวนนี้มิใช่เป็นการพักงานเพื่อการลงโทษ" เห็นได้ว่า การพักงานเพื่อการสอบสวนตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเพื่อให้ได้ความแจ้งชัดว่าลูกจ้างผู้ถูกพักงานได้กระทำความผิดตามที่ถูกสอบสวนหรือไม่ ทั้งการพักงานดังกล่าวมิใช่เป็นการลงโทษ แม้ระหว่างการพักงานนายจ้างมีสิทธิงดจ่ายค่าจ้างและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานก็ตาม แต่ระหว่างการพักงานเป็นเพียงนายจ้างให้ลูกจ้างผู้นั้นหยุดงานเป็นการชั่วคราวเท่านั้น สภาพการเป็นนายจ้างและลูกจ้างยังคงมีอยู่ต่อไป ดังนี้ หากการสอบสวนปรากฏว่าลูกจ้างผู้นั้นมิได้กระทำความผิด นายจ้างจะลงโทษลูกจ้างผู้นั้นไม่ได้และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างการพักงานให้แก่ลูกจ้าง
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยย่อมมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงานให้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575 จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อการสอบสวน เป็นกรณีที่จำเลยมิให้โจทก์ทำงาน ดังนี้การที่โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลยจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างหาได้ไม่
จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้าง จำเลยย่อมมีหน้าที่จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทำงานให้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 575 จำเลยมีคำสั่งพักงานโจทก์เพื่อการสอบสวน เป็นกรณีที่จำเลยมิให้โจทก์ทำงาน ดังนี้การที่โจทก์มิได้ทำงานให้จำเลยจึงมิใช่เป็นความผิดของโจทก์ จำเลยจะยกเหตุดังกล่าวเป็นข้ออ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3320/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาค่าทนายความ: การโต้แย้งดุลพินิจศาลอุทธรณ์เรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและข้อจำกัดในการฎีกา
จำเลยฎีกาว่า คดีนี้มีทุนทรัพย์สูงและเป็นคดีมีข้อยุ่งยาก ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความ 1,000,000 บาท การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้โจทก์ใช้ค่าทนายความในศาลชั้นต้น 50,000 บาท จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และในชั้นอุทธรณ์ จำเลยทำคำแก้อุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์มิได้กำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทนายความแทนจำเลย เป็นฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียว และข้ออ้างในฎีกาของจำเลยล้วนเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ในการกำหนดค่าทนายความที่โจทก์ผู้แพ้คดีต้องใช้แทนจำเลย นอกจากนี้ค่าทนายความในศาลชั้นต้นตามที่ศาลอุทธรณ์กำหนดให้โจทก์ใช้แทนจำเลย ก็เป็นจำนวนที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรระหว่างอัตราขั้นต่ำและอัตราขั้นสูงดังที่ระบุไว้ในตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ.แล้ว เมื่อจำเลยมิได้ฎีกายกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นกำหนดหรือคำนวณไม่ถูกต้องตามกฎหมายดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา 168 ฎีกาของจำเลยเป็นฎีกาที่ต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย