คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประมาณ ตียะไพบูลย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2304/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกจำกัดเฉพาะบิดามารดาและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย การฎีกาต้องชัดเจนและโต้แย้งเหตุผลในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ป.พ.พ.มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดามารดากับบุตรว่าเป็นทายาทซึ่งกันและกันนั้น หมายถึง เป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย ถ้ามิใช่ก็ไม่เป็นทายาทและไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตร
ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยว่า ป.ครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของน. ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยไม่อุทธรณ์ ปัญหาดังกล่าวจึงเป็นอันยุติ ฎีกาของจำเลยในปัญหาเรื่องอายุความจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ฎีกาของจำเลยที่มิได้ยกเหตุผลมาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ชัดแจ้งว่าไม่ถูกต้องอย่างไร และที่ถูกควรเป็นอย่างไร เมื่ออ่านแล้วไม่อาจเข้าใจได้และไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นใด ด้วยเหตุผลอะไร เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2254/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาเกินคำขอ: โจทก์ต้องขอให้นับโทษจำคุกในคำฟ้อง มิเช่นนั้น ศาลพิพากษาเกินเลย
คดีทั้งสามสำนวนนี้โจทก์ได้ขอรวมการพิจารณาพิพากษา เข้าด้วยกัน และจำเลยไม่ได้คัดค้านทั้งสามสำนวน ดังนั้น คำขอท้ายฟ้องคดีทั้งสามสำนวนนี้จึงถือเป็นข้อเท็จจริงและ เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง เมื่อโจทก์มีความประสงค์มาแต่ต้น โดยต้องการให้ศาลชั้นต้นนับโทษจำคุกจำเลยต่อกับคดีอื่น โจทก์ต้องระบุหรือกล่าวไว้ในคำฟ้องหรือขอแก้ไขเพิ่มเติม ฟ้องในภายหลังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 เสียก่อนที่จะมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น เมื่อคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวและไม่มีคำขอให้นับโทษจำคุกจำเลย ต่อกันไว้การที่โจทก์ขอรวมพิจารณาพิพากษาคดีทั้งสามสำนวน ด้วยกันก็เพื่อประโยชน์ในการนำสืบพยานหลักฐานชุดเดียวกัน ของคู่ความเท่านั้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติม ฟ้องทำนองขอให้นับโทษในคดีต่อกันดังที่โจทก์แก้ฎีกา ด้วยเหตุนี้ การที่ศาลล่างพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดรวมทั้งสิ้น 11 กระทง และให้นับโทษจำคุกจำเลยต่อกันจึงเป็นการพิพากษา เกินคำขอของโจทก์ที่มิได้กล่าวไว้ในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2214/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกของลูกจ้าง การอนุมัติใบลาออกล่าช้า และผลทางกฎหมายที่เกิดจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
แม้จำเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหมวดที่ 7 ว่าด้วยการพ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน ข้อ 2.1 ระบุให้พนักงาน ที่ประสงค์จะลาออกต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้บังคับบัญชา ทราบล่วงหน้าและยื่นใบลาออกต่อฝ่ายบุคคลล่วงหน้าไม่น้อยกว่า30 วัน ก็ตาม แต่การลาออกเป็นสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็น ลูกจ้างที่จะลาออกเมื่อใดและกำหนดวันลาออกของตนได้ หากโจทก์ยื่นใบลาออกต่อจำเลยฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นเหตุให้จำเลยได้รับ ความเสียหายอย่างไร จำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในส่วนนี้จากโจทก์ได้ ส่วนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานดังกล่าวมิได้กำหนดว่านายจ้างจะต้องสั่งใบลาออกของ ลูกจ้างภายในกำหนดเวลาใดย่อมเป็นที่เข้าใจว่านายจ้าง ต้องสั่งใบลาออกภายในเวลาอันสมควรและก่อนถึงวันที่ลูกจ้างกำหนดให้มีผลในใบลาออกนั้น เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ ศาลแรงงานกลางรับฟังมาไม่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยมีการ ตกลงให้จำเลยมีสิทธิสั่งใบลาออกหลังจากครบกำหนดวันลา ออกมีผลได้ การที่จำเลยมิได้สั่งอนุมัติใบลาออกภายใน วันที่โจทก์กำหนดให้มีผลในใบลาออก และหลังจากครบกำหนด ดังกล่าวแล้วโจทก์ยังคงทำงานตลอดมาโดยจำเลยยินยอมให้โจทก์ทำงานเช่นนี้ตามพฤติการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์จำเลยไม่ติดใจเอาใบลาออกดังกล่าวเป็นข้อสาระสำคัญอีกต่อไปย่อมมีผลเท่ากับจำเลยไม่ประสงค์ให้โจทก์ลาออก ดังนั้นใบลาออกของโจทก์จึงสิ้นผลที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ลาออก ในภายหลัง จึงเป็นการอนุมัติให้โจทก์ลาออกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีจึงเป็นการเลิกจ้างโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งคำบังคับศาลแรงงานและการพิจารณาใหม่ การปิดคำบังคับมีผลเมื่อเวลาที่กำหนดล่วงพ้น
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522มิได้กำหนดระยะเวลาให้คู่ความฝ่ายซึ่งศาลมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ไว้ กรณีจึงต้องนำ ป.วิ.พ.มาตรา 208 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับและให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยโดยสั่งว่าการส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดและให้มีผลทันที แต่คำบังคับของศาลระบุข้อความไว้เพียงว่า ให้การปิดคำบังคับมีผลตามกำหนดระยะเวลาในหมายนี้ และให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับเป็นต้นไป ข้อความที่ระบุไว้ในคำบังคับดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า การปิดคำบังคับให้มีผลทันที จำเลยจึงไม่อาจทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับมีผลทันทีในกรณีที่มีการปิดคำบังคับกรณีจึงต้องอยู่ในบังคับ ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่กำหนดว่า การส่งคำบังคับให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่นแทนนั้นให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อกำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาลเห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่คำบังคับได้ปิดไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2176/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ในคดีแรงงาน การส่งคำบังคับทางปิด และผลของการสั่งให้มีผลทันที
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มิได้กำหนดระยะเวลาให้คู่ความฝ่ายซึ่งศาลมีคำสั่งขาดนัดพิจารณาและมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แพ้คดีในประเด็นที่พิพาทยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ไว้กรณีจึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208มาใช้บังคับโดยอนุโลม ศาลแรงงานได้ออกคำบังคับและให้ส่งคำบังคับแก่จำเลยโดยสั่งว่า การส่งหากไม่มีผู้รับแทนให้ปิดและให้มีผลทันทีแต่คำบังคับของศาลระบุข้อความไว้เพียงว่า ให้การปิดคำบังคับมีผลตามกำหนดระยะเวลาในหมายนี้ และให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาภายใน 15 วันนับแต่วันได้รับคำบังคับเป็นต้นไป ข้อความที่ระบุไว้ในคำบังคับดังกล่าวหาได้มีความหมายว่า การปิดคำบังคับให้มีผลทันที จำเลยจึง ไม่อาจทราบได้ว่าศาลแรงงานมีคำสั่งให้การส่งคำบังคับ มีผลทันทีในกรณีที่มีการปิดคำบังคับกรณีจึงต้องอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่กำหนดว่า การส่งคำบังคับ ให้แก่จำเลยโดยวิธีอื่นแทนนั้นให้มีผลใช้ได้ต่อเมื่อ กำหนดเวลาสิบห้าวันหรือระยะเวลานานกว่านั้นตามที่ศาล เห็นสมควรกำหนดได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่คำบังคับ ได้ปิดไว้ จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ ภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลแรงงาน, การพิจารณาคดีโดยองค์คณะที่ถูกต้อง, การไม่คัดค้านข้อผิดพลาดในการพิจารณา
ตามคำพิพากษาศาลแรงงานในสำนวนมีผู้พิพากษาศาลแรงงานผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละหนึ่งคนได้ลงลายมือชื่อไว้ครบเป็นองค์คณะพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 17 แล้วที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างไม่ได้ลงลายมือชื่อด้วย เป็นอุทธรณ์บิดเบือนข้อความในคำพิพากษาเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กันเป็นองค์คณะพิจารณา หากศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดีโดยผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็น องค์คณะไม่ได้นั่งร่วมในการพิจารณาคดี แต่มีผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างคนอื่นมานั่งพิจารณาคดี แทน อันเป็นการผิดระเบียบ คู่ความฝ่ายที่เสียหายจะต้องยื่นคัดค้านก่อนมีคำพิพากษาแต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยได้ทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยทราบในวันนัดพิจารณา แล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ จำเลยก็ชอบที่จะคัดค้านเสียภายใน8 วันเมื่อจำเลยมิได้คัดค้านจนกระทั่งล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวจนกระทั่งศาลแรงงานได้มีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาคดีในวันดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ และกรณีถือได้ว่าการพิจารณาคดีของศาลแรงงานชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง และต้องดำเนินการคัดค้านการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบภายในระยะเวลาที่กำหนด
ตามคำพิพากษาศาลแรงงานในสำนวนมีผู้พิพากษาศาลแรงงาน ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละหนึ่งคนลงลายมือชื่อไว้ครบเป็นองค์คณะพิพากษาคดีตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 17 แล้ว ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างไม่ได้ ลงลายมือชื่อด้วย เป็นอุทธรณ์บิดเบือนข้อความในคำพิพากษา เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้าง ฝ่ายละเท่า ๆ กันเป็นองค์คณะพิจารณา หากศาลแรงงาน มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี โดยผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นองค์คณะ ไม่ได้นั่งร่วมในการพิจารณาคดี แต่มีผู้พิพากษาสมทบ ฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างคนอื่นมานั่งพิจารณา คดีแทน ย่อมเป็นการผิดระเบียบคู่ความฝ่ายที่เสียหาย จะต้องยื่นคัดค้านเสียก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นได้ทราบ ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยทราบตั้งแต่ในวันนัดพิจารณาแล้วว่ามีการผิดระเบียบ จำเลยก็ชอบที่จะคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลย มิได้คัดค้านจนกระทั่งล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวจนกระทั่ง ศาลแรงงานได้มีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งว่า การพิจารณาคดีในวันดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ และกรณีถือได้ว่าการพิจารณาคดีของศาลแรงงานชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะศาลแรงงานไม่ถูกต้อง อุทธรณ์ต้องห้าม หากไม่คัดค้านภายใน 8 วัน
ตามคำพิพากษาศาลแรงงานในสำนวนมีผู้พิพากษาศาลแรงงานผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละหนึ่งคนได้ลงลายมือชื่อไว้ครบเป็นองค์คณะพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 17 แล้ว ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างไม่ได้ลงลายมือชื่อด้วย เป็นอุทธรณ์บิดเบือนข้อความในคำพิพากษา เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามอุทธรณ์ตามพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 54วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยการนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษา ผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กันเป็นองค์คณะพิจารณา หากศาลแรงงานมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี โดยผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นองค์คณะไม่ได้นั่งร่วมในการพิจารณาคดี แต่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างคนอื่นมานั่งพิจารณาคดีแทน อันเป็นการผิดระเบียบคู่ความฝ่ายที่เสียหายจะต้องยื่นคัดค้านก่อนมีคำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วันนับแต่วันที่จำเลยได้ทราบ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 จำเลยทราบในวันนัดพิจารณาแล้วว่าเป็นการผิดระเบียบ จำเลยก็ชอบที่จะคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้คัดค้านจนกระทั่งล่วงพ้นระยะเวลาดังกล่าวจนกระทั่งศาลแรงงานได้มีคำพิพากษาไปแล้ว จำเลยจะมาอุทธรณ์โต้แย้งว่าการพิจารณาคดีในวันดังกล่าวไม่ชอบหาได้ไม่ และกรณีถือได้ว่าการพิจารณาคดีของศาลแรงงานชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2173/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์คณะผู้พิพากษาสมทบในคดีแรงงาน การไม่คัดค้านภายใน 8 วัน ถือเป็นการสละสิทธิ์โต้แย้ง
การนั่งพิจารณาคดีแรงงาน ศาลแรงงานต้องมีผู้พิพากษาผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้าง และผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างฝ่ายละเท่า ๆ กันเป็นองค์คณะพิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 17 และมาตรา 31 ซึ่งให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้น ถ้าจำเลยเห็นว่าศาลแรงงานกลางมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องในการพิจารณาคดี โดยผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างซึ่งเป็นองค์คณะไม่ได้นั่งร่วมในการพิจารณาคดี แต่มีผู้พิพากษาสมทบฝ่ายนายจ้างและและผู้พิพากษาสมทบฝ่ายลูกจ้างคนอื่นมานั่งพิจารณาคดีแทนจำเลยซึ่งเป็นคู่ความฝ่ายที่เสียหายจะต้องยื่นคำคัดค้านก่อนมี คำพิพากษา แต่ต้องไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่วันที่จำเลยทราบตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 เมื่อจำเลย ทราบวันที่ที่ผู้พิพากษาสมทบซึ่งเป็นองค์คณะมิได้นั่งพิจารณาคดี จำเลยย่อมทราบในวันดังกล่าวว่าเป็นการผิดระเบียบ และควรจะคัดค้านเสียภายใน 8 วัน เมื่อจำเลยมิได้ คัดค้านจนศาลแรงงานกลางพิพากษาจำเลยจะมาอุทธรณ์ โต้แย้งว่า การพิจารณาคดีในวันนั้น ๆ ไม่ชอบหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืมและจำนองทรัพย์สิน แม้ภริยาไม่ได้กู้โดยตรง แต่ให้ความยินยอมและสัตยาบันถือเป็นลูกหนี้ร่วม
แม้หนี้เงินกู้ซึ่ง อ. สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของอ.ฝ่ายเดียวก็ตามแต่จำเลยก็ยินยอมให้อ. กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่ อ. ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4) จำเลย ในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับ อ. ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งมิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐาน ดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็น หนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ หนี้เงินกู้ที่ อ. กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ. สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ประกันเงินกู้ โดย อ. ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ. ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐาน แห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมี หลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ. ผิดนัดจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อ เป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตามแต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์ นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ. สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอม จดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ. และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนอง อัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21 มีนาคม 2537 อ. ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หลังจากนั้น อ. และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวด วันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็น ผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537 เป็นต้นไปตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัด ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
of 36