พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืมเงินและการจำนองทรัพย์สิน แม้ฟ้องผิดฐานแต่ศาลสามารถแก้ไขได้
แม้หนี้เงินกู้จำนวน 3,500,000 บาท ซึ่งอ. สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์ เป็นหนี้ที่อ. ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของอ.ฝ่ายเดียวก็ตามแต่จำเลยก็ยินยอมให้อ.กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่อ. ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(4)จำเลยในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับอ. ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้ หนี้เงินกู้ที่อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่อ. และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่อ. สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดยอ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าวอ. ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้วกรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีกจำเลยต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์ แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อ เป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตามแต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้ โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไร การที่ โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ. สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอมและจำเลย ยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่อ. และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไปจะเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 ก็ตามแต่เมื่อจำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างแล้วต่อมาอ. ได้ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์หลังจากนั้นอ. และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีกเมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้งแต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ระบุไว้ในสัญญาในวันที่21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537 เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่งมิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ตกลงทำสัญญาให้คิดดอกเบี้ยฝ่าฝืนกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2161/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการกู้ยืม และผลของการผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาจำนอง
แม้หนี้เงินกู้ซึ่ง อ.สามีจำเลยกู้ยืมจากโจทก์ เป็นหนี้ที่ อ.ก่อขึ้นในระหว่างสมรสเพื่อประโยชน์ของ อ.ฝ่ายเดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ยินยอมให้ อ.กู้ยืมเงินดังกล่าวจากโจทก์ การที่จำเลยได้ร่วมรับรู้ถึงหนี้เงินกู้ที่ อ.ได้ก่อให้เกิดขึ้นและจำเลยได้ให้สัตยาบันในหนี้ดังกล่าว หนี้นั้นจึงเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ป.พ.พ.มาตรา 1490 (4) จำเลยในฐานะภริยาย่อมต้องร่วมกับ อ.ผู้เป็นสามีรับผิดชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวให้แก่โจทก์
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้
หนี้เงินกู้ที่ อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ.สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดย อ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ.ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตาม แต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ.สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21มีนาคม 2537 อ.ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หลังจากนั้น อ.และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือตาม ป.พ.พ.มาตรา 653วรรคหนึ่ง มิใช่แบบของนิติกรรม ทั้งกฎหมายก็มิได้บัญญัติว่าหลักฐานดังกล่าวจะต้องมีในขณะที่ให้กู้ยืม หลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือจึงอาจมีก่อนหรือหลังการกู้ยืมเงินก็ได้
หนี้เงินกู้ที่ อ.กู้ยืมจากโจทก์เป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อโจทก์ การที่ อ.สามีจำเลยยินยอมให้จำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างประกันเงินกู้ โดย อ.ทำนิติกรรมยืมเงินจากโจทก์ และตามหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว อ.ได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย ดังนั้น หนังสือให้ความยินยอมจึงเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือแล้ว กรณีไม่จำเป็นต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมของจำเลยซ้ำอีก ดังนี้ เมื่อ อ.ผิดนัด จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินต่อโจทก์
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินที่จำเลยเอาไปจากโจทก์ก็ตาม แต่การนำสืบถึงหนี้ตามคำฟ้องโจทก์ย่อมต้องนำสืบถึงที่มาแห่งหนี้โดยละเอียดว่าหนี้เงินกู้ดังกล่าวมีมูลมาอย่างไรการที่โจทก์นำสืบว่าการกู้ยืมเงินดังกล่าวมีมูลหนี้เดิมมาจาก อ.สามีจำเลยเป็นผู้กู้ยืมโดยจำเลยให้ความยินยอม และจำเลยยอมจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้ดังกล่าว ซึ่งเป็นหนี้ที่ อ.และจำเลยเป็นลูกหนี้ร่วมกันเช่นนี้ จึงเป็นการนำสืบตามประเด็นแห่งคดี มิใช่เป็นการนำสืบนอกประเด็น
แม้ตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินระบุให้คิดดอกเบี้ยในหนี้จำนองอัตราร้อยละ 16 ต่อปี และตกลงนำส่งดอกเบี้ยเดือนละครั้งเสมอไป จะเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 22กุมภาพันธ์ 2537 จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต่อมาวันที่ 21มีนาคม 2537 อ.ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หลังจากนั้น อ.และจำเลยมิได้ชำระหนี้ให้โจทก์อีก เมื่อจำเลยตกลงชำระดอกเบี้ยให้โจทก์เดือนละครั้ง แต่เมื่อถึงกำหนดงวดวันที่ 21 เมษายน 2537 จำเลยไม่ชำระ จำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22 เมษายน 2537เป็นต้นไปตาม ป.พ.พ.มาตรา 224 วรรคหนึ่ง มิใช่ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2537
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2130/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมเมื่ออีกฝ่ายก่อความเสียหาย ศาลไม่ถือว่าจำเลยต้องรับผิดหากมิได้มีส่วนในการก่อให้เกิดความเสียหาย
เดิมโจทก์จำเลยถูก ม. ฟ้องขับไล่ออกจากอาคารและที่ดินพิพาท ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ขับไล่โจทก์ และบริวาร และให้จำเลยรื้อถอนอาคาร ในคดีดังกล่าว จำเลยมิได้ให้การต่อสู้คดี แต่ให้การว่าจำเลยยินยอม รื้อถอนอาคารพิพาทออกจากที่ดิน แต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจาก โจทก์ไม่ยอมขนย้ายออกจากอาคารพิพาท เมื่อศาลชั้นต้น มีคำพิพากษาก็มีเพียงโจทก์ที่อุทธรณ์ฎีกา ความเสียหาย เกิดขึ้นในคดีดังกล่าวโจทก์จึงเป็นผู้ก่อขึ้นเพียงฝ่ายเดียว จะใช้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดกับโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 ได้ก็ต่อเมื่อ จำเลยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นด้วยเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาลักทรัพย์ไม่ปรากฏ ศาลลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามลักทรัพย์โดยทำอันตรายสิ่งกีดกั้นสำหรับคุ้มครองทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาได้ความว่า จำเลยใช้ค้อนทุบกระจก ด้านข้าง ตู้ เอ.ที.เอ็ม. ของธนาคารผู้เสียหายแตกเสียหาย อันเป็นความผิดฐานทำให้ เสียทรัพย์ และจำเลยไม่มี เจตนาลักทรัพย์ แต่การที่จำเลยนำสืบรับว่าได้ใช้ค้อนทุบ กระจกผู้เสียหายแตกได้รับความเสียหายเพื่อระบาย ความเครียด จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลย ในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ตามที่ทางพิจารณาได้ความนี้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาพยายามลักทรัพย์ไม่ชัดเจน ศาลลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์
แม้จำเลยจะใช้ค้อนทุบกระจกที่ติดกับตู้ เอ.ที.เอ็ม.ด้านล่างแตกขนาดแมว ลอดเข้าไปได้ แต่ตัวจำเลยก็ไม่สามารถ ถอดเข้าไปภายในธนาคารได้และตรงจุดที่กระจกแตกก็ไม่เกี่ยวกับ ตู้ เอ.ที.เอ็ม. ซึ่งมีเงินเก็บอยู่ภายใน จำเลยไม่มีทางที่จะ ล้วงเอาเงินที่เก็บอยู่ในตู้ เอ.ที.เอ็ม. ไปได้ ของกลางที่ ยึดได้ก็มีเพียงค้อน 1 ด้าม ถุงมือ 1 คู่ และกระเป๋า 1 ใบ ซึ่งไม่อาจใช้งัดตู้ เอ.ที.เอ็ม. เพื่อเอาเงินที่เก็บอยู่ ภายในตู้ออกมาได้ หากจำเลยมีเจตนาที่จะลักเอาเงินที่เก็บอยู่ ในตู้ เอ.ที.เอ็ม. จำเลยก็น่าจะใช้ค้อนทุบตู้ เอ.ที.เอ็ม. แล้วรีบหลบหนีไปโดยไม่รออยู่นานถึง 5 นาที จนกระทั่ง ถูกจับกุมเป็นแน่ กรณีอาจเป็นเรื่องที่จำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ แต่จำเลยใช้ค้อนทุบกระจกเพื่อระบายความเครียด ดังที่จำเลยอ้าง ก็ได้ แม้โจทก์จะมีคำให้การรับสารภาพชั้นจับกุมและชั้นสอบสวน ของจำเลยมาเป็นพยาน แต่จำเลยก็ให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา และอ้างว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจนำเอกสารที่มีข้อความแล้ว มาให้จำเลยลงชื่อโดยไม่ได้อ่านข้อความให้ฟัง พยานหลักฐาน ที่โจทก์นำสืบมายังไม่พอให้รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำ ความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ แต่การที่จำเลยใช้ค้อนทุบกระจก ของธนาคารแตกเสียหาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด ฐานทำให้เสียทรัพย์ แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลย ในความผิดฐานพยายามลักทรัพย์ผู้เสียหาย แต่จำเลยก็นำสืบ รับว่าได้ใช้ค้อนทุบกระจกเพื่อระบายความเครียด จำเลย จึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐาน ทำให้เสียทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม ส่วนค้อนของกลางเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการ กระทำผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ จึงต้องริบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทางอาญาเปลี่ยนจากพยายามลักทรัพย์เป็นทำให้เสียทรัพย์
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามลักทรัพย์ แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ แต่จำเลยใช้ค้อนทุบกระจกด้านข้าง ตู้.เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารผู้เสียหายแตกเสียหาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และการที่จำเลยนำสืบรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวบรรยายในฟ้องว่าจำเลยได้ใช้ค้อนทุบกระจกผู้เสียหายแตกได้รับความเสียหายจริง แต่กระทำเพื่อระบายความเครียด เช่นนี้จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1948/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาความผิด: จากพยายามลักทรัพย์เป็นทำให้เสียทรัพย์ แม้จำเลยอ้างระบายความเครียด ศาลลงโทษฐานทำให้เสียทรัพย์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามลักทรัพย์แต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาฟังได้ว่า จำเลยไม่มีเจตนาลักทรัพย์ แต่จำเลยใช้ค้อนทุบกระจกด้านข้าง ตู้.เอ.ที.เอ็ม.ของธนาคารผู้เสียหายแตกเสียหาย ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และการที่จำเลยนำสืบรับข้อเท็จจริงตามที่โจทก์กล่าวบรรยายในฟ้องว่าจำเลยได้ใช้ค้อนทุบกระจกผู้เสียหายแตกได้รับความเสียหายจริงแต่กระทำเพื่อระบายความเครียด เช่นนี้จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ ศาลย่อมลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เอกสารและการกู้ยืมเงินที่เป็นเอกสารปลอม ศาลพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้วโจทก์แถลงขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงินเป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโทก. ผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจพิจารณาแล้วลงความเห็นว่า ไม่ใช่ลายมือของบุคคลคนเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญตามความประสงค์ของโจทก์ และผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจและทำความเห็นโดยละเอียดชัดแจ้งแล้ว เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นไม่สมความประสงค์ของโจทก์ ย่อมไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์เอกสารอีกเพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำจึงไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และประวิงคดีให้ล่าช้า จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์ใหม่อีก จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อ ในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่งเขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียนแต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินซึ่งจำนวนเงินเกินไปจากความจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจพิสูจน์เอกสารและการพิสูจน์การกู้ยืมเงินในสัญญาที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว โจทก์แถลงขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงินเป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโท ก. ผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจพิจารณาแล้วลงความเห็นว่า ไม่ใช่ลายมือของบุคคลคนเดียวกัน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้มีการตรวจพิสูจน์เอกสารโดยผู้เชี่ยวชาญตามความประสงค์ของโจทก์ และผู้เชี่ยวชาญของศาลได้ตรวจและทำความเห็นโดยละเอียดชัดแจ้งแล้ว เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญแสดงความเห็นไม่สมความประสงค์ของโจทก์ ย่อมไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์เอกสารอีกเพราะเป็นการตรวจพิสูจน์ซ้ำ จึงไม่น่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และประวิงคดีให้ล่าช้า จึงชอบที่ศาลจะมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ส่งเอกสารไปให้ผู้เชี่ยวชาญอื่นตรวจพิสูจน์ใหม่อีก
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่งเขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียน แต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืน และดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินซึ่งจำนวนเงินเกินไปจากความจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์ได้
จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่งเขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียน แต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืน และดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินซึ่งจำนวนเงินเกินไปจากความจริง โดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม ถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1942/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์เอกสารปลอมและผลต่อการกู้ยืมเงิน สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ทำให้สิทธิเรียกร้องตกไป
เมื่อสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยเสร็จแล้ว โจทก์แถลง ขอส่งสัญญากู้เงินเอกสารฉบับพิพาทไปให้กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจตรวจพิสูจน์ว่าข้อความหมึกสีดำกับข้อความหมึกสีน้ำเงิน เป็นลายมือของบุคคลคนเดียวกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาต พันตำรวจโทก. ผู้เชี่ยวชาญ ของ ศาล ได้ ตรวจ พิจารณา แล้ว ลงความเห็นว่า ไม่ใช่ ลายมือ ของ บุคคล คนเดียวกัน การ ที่ ศาลชั้นต้น อนุญาต ให้ มี การ ตรวจ พิสูจน์ เอกสาร โดย ผู้เชี่ยวชาญ ตาม ความประสงค์ ของ โจทก์ และ ผู้เชี่ยวชาญ ของ ศาล ได้ ตรวจ และ ทำ ความเห็น โดย ละเอียด ชัดแจ้ง แล้ว เพียงแต่ ผู้เชี่ยวชาญ แสดงความเห็น ไม่ สม ความประสงค์ ของ โจทก์ ย่อม ไม่ เป็น เหตุ พอ ที่ จะ ให้ ผู้เชี่ยวชาญ อื่น ตรวจ พิสูจน์ เอกสาร อีก เพราะ เป็น การ ตรวจ พิสูจน์ ซ้ำ ไม่มี ผล เปลี่ยนแปลง จาก เดิม เป็นการฟุ่มเฟือย และ ประวิง คดี ให้ ล่าช้า จึงชอบ ที่ ศาล จะ มี คำสั่งยกคำร้อง ของ โจทก์ ที่ ขอ ให้ ส่ง เอกสาร ไปให้ ผู้เชี่ยวชาญ อื่นตรวจ พิสูจน์ ใหม่ ดังกล่าว จำเลยได้กู้ยืมเงินโจทก์เพียง 40,000 บาท โดยจำเลยลงลายมือชื่อ ในสัญญากู้ฉบับพิพาทในช่องผู้กู้และเขียนข้อความอื่นซึ่ง เขียนด้วยหมึกสีดำส่วนจำนวนเงิน กำหนดเวลาใช้คืนและดอกเบี้ยซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินจำเลยไม่ได้เขียนแต่มีการกรอกข้อความที่ระบุจำนวนเงินเป็น 250,000 บาทกำหนดเวลาใช้คืน และดอกเบี้ย ซึ่งเขียนด้วยหมึกสีน้ำเงินเพิ่มเติมขึ้นโดยจำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้เงินฉบับพิพาทจึงเป็นเอกสารปลอมถือว่าการกู้ยืมเงินคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิบังคับให้จำเลยชำระเงินตามฟ้องแก่โจทก์