พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิลาพักร้อนและการจ่ายค่าจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างโดยมิชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 10 บัญญัติให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้ เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างได้กำหนดล่วงหน้าให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปี จึงไม่อาจอ้างได้ว่าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิลาหยุดเอง การที่นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 และไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 เป็นการโต้แย้งสิทธิของลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างจึงมีอำนาจฟ้อง
ลูกจ้างย่อมสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างตั้งแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องคำนึงว่านายจ้างได้จ่ายค่าจ้างของเดือนที่เลิกจ้างและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้างหรือไม่
ลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนให้แก่ลูกจ้างตามข้อ 45
ลูกจ้างย่อมสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างตั้งแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องคำนึงว่านายจ้างได้จ่ายค่าจ้างของเดือนที่เลิกจ้างและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้างหรือไม่
ลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนให้แก่ลูกจ้างตามข้อ 45
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดพิจารณาคดีโดยวิธีปิดประกาศที่ไม่ชอบตามกฎหมาย และผลกระทบต่อสิทธิในการพิจารณาคดีของโจทก์ร่วม
คดีอาญา ศาลชั้นต้นส่งประเด็นไปสืบพยานโจทก์ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่โจทก์ขอ โจทก์ร่วมแถลงไม่ตามประเด็นไป ศาลอาญากรุงเทพใต้สืบพยานประเด็นโจทก์แล้วส่งประเด็นคืน ศาลชั้นต้นนัดฟังประเด็นกลับตามวันเวลานัดที่ผู้แทนโจทก์และจำเลยขอ และนัดสืบพยานจำเลยโดยโจทก์ร่วมไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยในวันนัดดังกล่าวและคดีเสร็จการพิจารณา จึงนัดฟังคำพิพากษา ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นยังทำคำพิพากษาไม่เสร็จจึงเลื่อนคดีไป ทั้งนี้ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยและวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวแต่ละครั้งให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล เมื่อการส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดาให้แก่คู่ความตาม ป.วิ.พ.มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 15 ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 แล้ว ถ้ายังสามารถส่งหมายนัดให้แก่คู่ความโดยวิธีธรรมดาได้ การส่งหมายนัดให้แก่คู่ความโดยวิธีอื่นตามมาตรา 79 ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยก็ดี วันนัดฟังคำพิพากษาก็ดีให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาลโดยไม่ได้ดำเนินการส่งหมายนัดดังกล่าวให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีธรรมดาก่อน ทั้ง ๆที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วมมีภูมิลำเนาปรากฏอยู่ในสำนวนชัดแจ้ง แม้วันนัดสืบพยานประเด็นโจทก์นัดแรกที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตัวโจทก์ร่วมไปศาลก็ตาม แต่ศาลอาญากรุงเทพใต้ก็เลื่อนคดีไปเนื่องจากไม่มีพยานโจทก์มาศาล หลังจากนั้นโจทก์ร่วมไม่ได้ไปศาลอีก กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมทราบวันนัดดังกล่าว กรณีมีเหตุอนุญาตให้โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 15 วัน ตามคำร้องของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งวันนัดโดยปิดประกาศที่ไม่ชอบ ศาลต้องส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาก่อน หากทราบที่อยู่คู่ความ
การส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดา ให้แก่คู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 79 วรรคหนึ่ง ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 นั้น ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดย วิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 แล้วการที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยกับวันนัดฟังคำพิพากษาให้โจทก์ร่วมทราบโดยปิดประกาศไว้ที่หน้าศาลโดยมิได้ส่งหมายนัดดังกล่าวให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีธรรมดาก่อนทั้ง ๆ ที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วมมีภูมิลำเนาปรากฏอยู่ในสำนวนอย่างชัดแจ้ง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมได้ทราบวันนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 2 เมษายน 2540 แล้วกรณีมีเหตุอนุญาตให้โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ภายใน 15 วันนับแต่วันยื่นคำร้องคือวันที่ 30 พฤษภาคม 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 886/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีโดยวิธีปิดประกาศไม่ชอบ หากยังส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาได้
คดีอาญา ศาลชั้นต้นส่งประเด็นไปสืบพยานโจทก์ที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตามที่โจทก์ขอ โจทก์ร่วมแถลงไม่ตาม ประเด็นไป ศาลอาญากรุงเทพใต้สืบพยานประเด็นโจทก์ แล้วส่งประเด็นคืน ศาลชั้นต้นนัดฟังประเด็นกลับตามวันเวลานัด ที่ผู้แทนโจทก์และจำเลยขอ และนัดสืบพยานจำเลยโดยโจทก์ร่วม ไม่มาศาล ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยในวันนัดดังกล่าวและคดีเสร็จ การพิจารณา จึงนัดฟังคำพิพากษา ครั้นถึงวันนัดศาลชั้นต้นยังทำ คำพิพากษาไม่เสร็จจึงเลื่อนคดีไป ทั้งนี้ศาลชั้นต้นแจ้ง วันนัดสืบพยานจำเลยและวันนัดฟังคำพิพากษาดังกล่าวแต่ละครั้ง ให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล เมื่อการส่งหมายนัดโดยวิธีอื่นแทนการส่งหมายโดยวิธีธรรมดาให้แก่คู่ความตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 79 วรรคหนึ่งประกอบมาตรา 15 ต้องเป็นกรณีที่ไม่สามารถส่งหมายนัดโดยวิธีธรรมดาดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 74 ถึง 78 แล้ว ถ้ายัง สามารถส่งหมายนัดให้แก่คู่ความโดยวิธีธรรมดาได้ การส่งหมายนัด ให้แก่คู่ความโดยวิธีอื่นตามมาตรา 79 ย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นแจ้งวันนัดสืบพยานจำเลยก็ดี วันนัดฟัง คำพิพากษาก็ดีให้โจทก์ร่วมทราบโดยวิธีปิดประกาศที่หน้าศาล โดยไม่ได้ดำเนินการส่งหมายนัดดังกล่าวให้โจทก์ร่วมทราบ โดยวิธีธรรมดาก่อน ทั้ง ๆ ที่โจทก์ร่วมและทนายโจทก์ร่วม มีภูมิลำเนาปรากฏอยู่ในสำนวนชัดแจ้ง แม้วันนัดสืบพยาน ประเด็นโจทก์นัดแรกที่ศาลอาญากรุงเทพใต้ตัวโจทก์ร่วม ไปศาลก็ตาม แต่ศาลอาญากรุงเทพใต้ก็เลื่อนคดีไปเนื่องจาก ไม่มีพยานโจทก์มาศาล หลังจากนั้นโจทก์ร่วมไม่ได้ไปศาลอีก กรณีถือไม่ได้ว่าโจทก์ร่วมทราบวันนัดดังกล่าว กรณีมีเหตุอนุญาต ให้โจทก์ร่วมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 15 วัน ตามคำร้องของโจทก์ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 825/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: ความขัดแย้งระหว่างผู้จัดการมรดกที่เป็นคู่กรณีในคดีอาญา และพฤติการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ
ในระหว่างที่ผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ ม. มารดาผู้ตายเป็นผู้ดูแลให้การอุปการะแก่บุตรผู้เยาว์ทั้งสามของผู้ตายมาโดยตลอด หลังจากผู้ตายตายได้เพียงไม่กี่วันญาติผู้คัดค้านได้รับ ตัวบุตรผู้เยาว์ทั้งสามของผู้ตายไป ทั้ง ๆ ที่ผู้คัดค้านอ้างว่า ขณะนั้นยังไม่ทราบข่าวการตายของผู้ตาย แสดงให้เห็นว่า ผู้คัดค้านไม่เป็นบุคคลที่สมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยลำพังแต่ผู้เดียว นอกจากนั้นยังได้ความว่าในคดีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องผู้คัดค้านเป็นจำเลยในข้อหาฆ่าผู้ตาย คดีอยู่ระหว่าง พิจารณานั้น ผู้ร้องได้คัดค้านการขอประกันตัวต่อของผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าว ในเมื่อคดีมีผู้ร้องกับผู้คัดค้าน เพียงสองคนเท่านั้นขอเป็นผู้จัดการมรดก เมื่อคำนึงถึงสาเหตุ การตายของผู้ตายและพฤติการณ์ของผู้คัดค้านที่ปรากฏในคดีอาญา แล้วถือว่าคนทั้งสองเป็นปฏิปักษ์ต่อกันในระหว่างที่คดีอาญา ยังไม่ถึงที่สุดถ้าจะให้จัดการมรดกร่วมกันตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1726 การจัดการมรดก คงจะไม่เป็นผลดีแก่กองมรดกและแก่ประโยชน์ของทายาท ผู้ตายเพราะจะทำให้การดำเนินการจัดการรวบรวมทรัพย์เพื่อ จัดทำบัญชีทรัพย์มรดกหรือทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการและ แบ่งปันมรดกล่าช้าได้ แม้ผู้ร้องมีอายุมาก พูดและเขียนภาษาไทยไม่สะดวก ก็ไม่เป็นเหตุต้องห้ามในการเป็นผู้จัดการมรดกจึงสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเพียงคนเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายเรียก/สำเนาคำฟ้องไม่ชอบ การนับระยะเวลายื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่
จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ แต่ตามคำร้องจำเลย อ้างว่าไม่มีการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยโดยชอบ จำเลยมิได้จงใจขาดนัด เนื่องจากจำเลยมีภูมิลำเนาที่อื่นมิใช่ มีภูมิลำเนาตามฟ้องโจทก์แต่อย่างใด หากข้อเท็จจริงเป็นดังที่ จำเลยอ้างย่อมแสดงว่าสถานที่ซึ่งพนักงานเดินหมายนำหมายเรียก และสำเนาคำฟ้องไปส่งโดยวิธีปิดหมายนั้น มิใช่ภูมิลำเนาของ จำเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางนับแต่นั้นจึงเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย และการขาดนัดของจำเลยมิใช่การ จงใจขาดนัดระยะเวลาในการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ที่กำหนดไว้สิบห้าวันนับจากวันที่ได้รับ คำบังคับหรือนับจากกรณีมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ สิ้นสุดลง หรือหกเดือนนับแต่วันที่ได้ยึดทรัพย์หรือมีการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยวิธีอื่นแล้วแต่กรณีนั้นจะเริ่ม นับต่อเมื่อการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเป็นไปโดยชอบ หากการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเป็นไปโดยมิชอบ จำเลย จะยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อใดก็ได้ ไม่อยู่ในบังคับ ของบทบัญญัติมาตรา 208 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถจักรยานยนต์ในความผิดฐานกรรโชกทรัพย์: พิจารณาบทบาทยานพาหนะ vs. ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิด
จำเลยกับพวกขับรถจักรยานยนต์ของกลางแล่นตามรถยนต์ ผู้เสียหายจนทันแล้วแซงขึ้นหน้าไปจอดขวางให้หยุด กับขู่เข็ญ ผู้เสียหายจนยอมมอบเงินแก่จำเลยกับพวกรถจักรยานยนต์ของกลาง จึงเป็นเพียงยานพาหนะที่จำเลยกับพวกใช้ก่อนที่จะกระทำความผิด ฐานกรรโชก อีกทั้งจำเลยกับพวกก็ร่วมกันขู่เข็ญผู้เสียหายว่า หากไม่ยอมให้เงินจำเลยกับพวกจะทำการระเบิดและพังรถยนต์ ของผู้เสียหายเท่านั้น รถจักรยานยนต์ของกลางจึงหาใช่ทรัพย์ ที่จำเลยกับพวกได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกรรโชกทรัพย์ไม่ ไม่เข้าหลักเกณฑ์ในเรื่องทรัพย์สินที่ศาลมีอำนาจสั่งริบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาจำเลยที่ไม่สามารถโต้แย้งข้อเท็จจริงที่รับสารภาพในชั้นศาลได้ และการพิจารณาโทษลักทรัพย์ของนายจ้าง
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ระบุมาตราที่ยกขึ้นปรับในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(11) วรรคแรก,83(ที่ถูกมาตรา 335(7)(11) วรรคสาม) จำคุกคนละ 4 ปี ข้อความภายในวงเล็บที่ว่า "ที่ถูกมาตรา 335(7)(11) วรรคสาม" เป็นเพียงข้อความที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองให้ตรงตามคำรับสารภาพตามฟ้องซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันลักทรัพย์ของนายจ้างของจำเลยทั้งสองอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(7)(11) วรรคสาม เท่านั้น แต่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขโทษจำเลยทั้งสองให้สูงขึ้น จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองอันจักต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212 หรือพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง ตามมาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 215
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังคำฟ้องของโจทก์จำเลยจะมาโต้แย้งหรือโต้เถียงในชั้นฎีกาอีกว่า จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยขาดเจตนาทุจริตนั้นหาได้ไม่ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังคำฟ้องของโจทก์จำเลยจะมาโต้แย้งหรือโต้เถียงในชั้นฎีกาอีกว่า จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยขาดเจตนาทุจริตนั้นหาได้ไม่ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 646/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษตามคำรับสารภาพ และการยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ระบุบทมาตราที่ยกขึ้นปรับในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (11)วรรคแรก, 83 (ที่ถูกมาตรา 335 (7) (11) วรรคสาม) จำคุกคนละ 4 ปีข้อความภายในวงเล็บที่ว่า "ที่ถูกมาตรา 335 (7) (11) วรรคสาม" เป็นเพียงข้อความที่ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสองให้ตรงตามคำรับสารภาพตามฟ้องซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องระบุว่าจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันลักทรัพย์ของนายจ้างของจำเลยทั้งสองอันเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา 335 (7) (11) วรรคสามเท่านั้น แต่ศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขโทษจำเลยทั้งสองให้สูงขึ้น จึงมิใช่กรณีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสองอันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.อ.มาตรา 212 หรือพิพากษาหรือสั่งเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง ตามมาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่ ประกอบด้วยมาตรา 215
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังคำฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้แย้งหรือโต้เถียงในชั้นฎีกาอีกว่า จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยขาดเจตนาทุจริตนั้นหาได้ไม่ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องข้อเท็จจริงจึงฟังได้ดังคำฟ้องของโจทก์ จำเลยจะมาโต้แย้งหรือโต้เถียงในชั้นฎีกาอีกว่า จำเลยเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไปโดยขาดเจตนาทุจริตนั้นหาได้ไม่ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาซึ่งเป็นปัญหาที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์อีกด้วย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 625/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยฟ้องล้มละลายโดยคำนวณหนี้ผิดพลาดและไม่สุจริต ศาลแก้ให้ชดใช้ค่าเสียหาย
เมื่อโจทก์และ ส. ร่วมกันค้ำประกันหนี้ของบริษัท ล.ในวงเงิน 1,000,000 บาท ความรับผิดของโจทก์และ ส.ย่อมจำกัดอยู่เท่าวงเงินดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยตามอัตราที่ บริษัทล. ต้องรับผิดต่อจำเลย แต่ไม่เกินอัตราที่จำเลยมีสิทธิคิดได้ตามกฎหมาย การที่ ส. ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันให้จำเลย 1,800,000 บาท และจำเลยปลดหนี้ให้ ส. เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2533 ทำให้โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับ ส. ได้ประโยชน์ด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 292 วรรคหนึ่ง,293 แม้ต่อมาอีก 2 ปี 11 เดือน 23 วัน จำเลยได้ฟ้องโจทก์ล้มละลาย แต่วงเงินที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยก็ถูกจำกัดอยู่เพียง 1,000,000 บาท ตามสัญญาค้ำประกันกับทั้ง ส.ก็ได้ชำระหนี้ให้จำเลยตามสัญญาค้ำประกันแล้วถึง 1,800,000 บาท และแม้โจทก์จะมีความรับผิดตามสัญญาจำนองประกันหนี้ของ บริษัท ล. อีกในวงเงิน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยด้วยก็ตามยอดหนี้ที่โจทก์ต้องรับผิดต่อจำเลยเมื่อรวมทั้งเงินต้นและ ดอกเบี้ยแล้วก็ไม่มีทางถึง 15,332,017.82 บาทได้ การที่จำเลยบรรยายฟ้องในคดีล้มละลายว่าโจทก์ยังต้องรับผิดต่อจำเลยร่วม กับบริษัทล. อีก 15,015,517.82 บาท โดยไม่บรรยายถึงวงเงินที่โจทก์ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ทั้งว. ผู้รับมอบอำนาจของจำเลยยังได้เบิกความในชั้นพิจารณาอีกด้วยว่า โจทก์ต้อง ร่วมรับผิดกับบริษัท ล. ถึงวันฟ้องเป็นเงิน15,332,071.82 บาท จนศาลชั้นต้นพิทักษ์ทรัพย์โจทก์เด็ดขาดและพิพากษาให้ล้มละลายทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นการ กระทำโดยประมาทเลินเล่อในการคำนวณยอดหนี้ของโจทก์ และเป็นการ ใช้สิทธิโดยไม่สุจริต