คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประมาณ ตียะไพบูลย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 355 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 94/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดแม้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อออกจากการเป็นผู้จัดการแล้ว จนกว่าการจดทะเบียนจะมีผล
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในคดีก่อนให้จำเลยในคดีดังกล่าวดำเนินการยื่นคำขอจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อจำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ต่อนายทะเบียนกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ หากจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ปฏิบัติให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา ดังนั้น จำเลยที่ 3 จะพ้นจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ได้ต่อเมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนเปลี่ยนแปลงแก้ไขชื่อจำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแล้วเพราะการเป็นนิติบุคคลและอำนาจของผู้แทนนิติบุคคล นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจะต้องแต่งย่อรายการซึ่งได้ลงทะเบียนส่งไปลงพิมพ์โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาและถือเป็นอันรู้แก่บุคคลทั้งปวงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1021 และ 1022 หาใช่จำเลยที่ 3 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 นับแต่วันที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาไม่ ดังนั้น เมื่อในขณะที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 เป็นคดีนี้จำเลยที่ 3 ยังเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 อยู่ จำเลยที่ 3 จึงหาหลุดพ้นจากความผิดรับผิดในหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่ แต่ต้องร่วมรับผิดบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 และ 1077 (2)
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เด็ดขาด และโจทก์ได้มีคำขอท้ายฟ้องให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสามเด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ แล้ว ถือได้ว่าโจทก์ได้มีคำขอให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 และเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 89 โดยไม่จำต้องคำนึงว่าจะได้มีการแจ้งการประเมินให้จำเลยที่ 3 ทราบแล้วหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10897/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: การปรับหนี้ตามแผน และสถานะเจ้าหนี้ที่ไม่ใช่เจ้าหนี้การค้า
ในการฟื้นฟูกิจการนั้นจะมีการดำเนินการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มต่าง ๆ โดยรวม เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ผู้ทำแผนจะนำหนี้ดังกล่าวไปจัดอยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้ต่าง ๆ ตามมาตรา 90/42 ทวิ และกำหนดการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้กลุ่มต่าง ๆ ไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ การชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ย่อมเป็นไปตามเงื่อนไขและกำหนดเวลาตามที่กำหนดไว้ในแผน เช่นนี้แม้ว่าจะมีคำสั่งถึงที่สุดให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ในสำนวนคำขอรับชำระหนี้แล้ว การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จริงจากการฟื้นฟูกิจการเป็นจำนวนเท่าใด จะต้องนำจำนวนหนี้ดังกล่าวนั้นมาปรับกับแผนฟื้นฟูกิจการก่อน เจ้าหนี้จะถือว่าตนมีสถานะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและขอบังคับคดีเช่นเดียวกับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหาได้ไม่
ผู้ร้องและลูกหนี้เป็นบริษัทในเครือเดียวกัน ผู้ร้องเรียกร้องค่าธรรมเนียมอันเกิดจากสัญญายืมใบหุ้นที่ผู้ร้องนำใบหุ้นของตนไปทำสัญญาจำนำกับธนาคาร ก. เพื่อประกันสินเชื่อที่ลูกหนี้มีต่อธนาคารดังกล่าว ในการที่จะวินิจฉัยว่า หนี้นี้มีลักษณะเป็นหนี้การค้าหรือหนี้อื่น ๆ ตามแผนฟื้นฟูกิจการ จะต้องพิจารณาจากเนื้อความในแผนและความมุ่งหมายของแผนฟื้นฟูกิจการนั้น เมื่อหนี้การค้าจะต้องเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นตามปกติการค้าของการประกอบธุรกิจและจะมีการชำระหนี้ส่วนนี้คืนตามข้อกำหนดในสัญญาหรือข้อตกลงเดิมที่มีอยู่ ที่ผู้ร้องให้บริษัทในเครือเดียวกันยืมใบหุ้นไปจำนำเพื่อประกันหนี้นั้นมีลักษณะเป็นการเอื้อเฟื้อช่วยเหลือลูกหนี้ทางด้านการเงิน ถือว่าเป็นหนี้อื่น ๆ มิใช่เจ้าหนี้การค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7581-7582/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการและจัดสรรหนี้ระหว่างลูกหนี้และบริษัทในเครือ ต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อเจ้าหนี้ทุกราย
การพิจารณาว่าเจ้าหนี้ได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/42 ตรี หรือไม่ ต้องพิจารณาถึงสิทธิของเจ้าหนี้ต่าง ๆ ที่แผนฟื้นฟูกิจการได้จัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ส่วนเจ้าหนี้ซึ่งอยู่ต่างกลุ่มกัน เมื่อมีเหตุอันสมควรหรือมีเหตุจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูกิจการ แผนสามารถกำหนดให้เจ้าหนี้ต่างกลุ่มกัน ได้รับการปฏิบัติแตกต่างกันได้
การที่เจ้าหนี้กลุ่มที่ 1 และที่ 2 เป็นเจ้าหนี้มีประกัน เจ้าหนี้ย่อมมีบุริมสิทธิในอันที่จะบังคับเอาแก่ทรัพย์หลักประกันได้ก่อนเจ้าหนี้อื่น ทั้งในการฟื้นฟูกิจการ กฎหมายได้ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้มีประกันอันเกิดจากความล่าช้าในการบังคับคดี ให้ได้รับความคุ้มครองในเหตุที่มูลค่าทรัพย์สินอันเป็นหลักประกันลดลงตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/13 (2) และมาตรา 90/14 เจ้าหนี้มีประกันย่อมมีความสำคัญ และมีข้อต่อรองมากกว่าเจ้าหนี้ไม่มีประกัน เพราะเจ้าหนี้มีประกันมีหลักประกันยึดถือไว้ หากแผนฟื้นฟูกิจการไม่ให้ความคุ้มครองแก่เจ้าหนี้ มีประกันอย่างเพียงพอ เจ้าหนี้ก็อาจขออนุญาตใช้สิทธิบังคับขายหลักประกัน ประกอบกับทรัพย์หลักประกัน ที่เป็นเครื่องจักรย่อมมีการเสื่อมสภาพ เสื่อมราคาและราคาลดลงอย่างรวดเร็ว หากกำหนดให้เจ้าหนี้มีประกัน ได้รับชำระหนี้พร้อมกับเจ้าหนี้ไม่มีประกันจะทำให้เจ้าหนี้มีประกันได้รับความเสียหาย
ลูกหนี้มีความสัมพันธ์กับบริษัท ร. โดยลูกหนี้ถือหุ้นในบริษัท ร. ร้อยละ 99.9 ลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ในคดีนี้ ส่วนบริษัท ร. ได้มีการปรับโครงสร้างหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ การที่เจ้าหนี้รายหนึ่งรายใดที่บริษัท ร. เป็นลูกหนี้ชั้นต้นและลูกหนี้เป็นผู้ค้ำประกันจะได้รับชำระหนี้ตลอดจนการพิจารณาจัดสรรชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้จากสินทรัพย์ของทั้งสองบริษัท จะต้องมีความสัมพันธ์กันและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้โดยรวม
การอุทธรณ์คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนถือว่าเป็นการอุทธรณ์คำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7031/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่เกิดขึ้นหลังแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการเห็นชอบ เจ้าหนี้ต้องฟ้องคดีแพ่ง ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการได้
การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่อยู่ในกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการอาจแบ่งตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นได้เป็น 3 ช่วง ช่วงแรก มูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและหนี้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนอันเจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 และมาตรา 90/27 ช่วงที่สอง หนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนจนถึงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน หากว่าหนี้ส่วนนี้มิได้กำหนดไว้ในแผนเป็นอย่างอื่น เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งได้โดยอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 90/12(4)(5) และมาตรา 90/13 ช่วงที่สาม หนี้เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/62
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางอ้างว่าลูกหนี้ทำสัญญายืมใบหุ้นสามัญของเจ้าหนี้เพื่อนำไปเป็นหลักประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อธนาคาร โดยลูกหนี้สัญญาว่าจะจ่ายค่าธรรมเนียมรวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 3 ของราคาตลาดหุ้นสามัญโดยคิดคำนวณจากราคาปิดเฉลี่ยของแต่ละเดือน หนี้ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยคิดค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ซึ่งเกิดขึ้นตามกำหนดเป็นระยะตลอดเวลาที่มีการผูกพันตามสัญญา เมื่อหนี้ค่าธรรมเนียมนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 จำนวน 5,314,827.72 บาท และนับจากวันที่ 1 ธันวาคม2544 จนกว่าสัญญาการยืมใบหุ้นสามัญสิ้นสุดลงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว และแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ เจ้าหนี้จึงหาอาจมีคำขอในคดีฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางให้สั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ไม่ เจ้าหนี้ต้องไปดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6858/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว โดยพิจารณาจากสถานะทางการเงินและปัจจัยภายนอก
การที่จะพิจารณาว่า ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ ศาลจะต้องพิจารณาถึงสถานะทางการเงินของลูกหนี้ว่า มีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินหรือไม่ ในการพิจารณาดังกล่าวจะต้องพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ ประกอบกัน อาจเป็นข้อเท็จจริงอันเป็นข้อสันนิษฐานในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 หรืออาจจะเป็นข้อเท็จจริงใด ๆ ที่จะแสดงให้เห็นว่ามีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สิน ในการพิจารณาถึงสถานะที่แท้จริงของลูกหนี้ บัญชีงบดุลของลูกหนี้ เป็นพยานหลักฐานสำคัญประการหนึ่งที่แสดงถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ถ้าหากว่าการจัดทำบัญชีงบดุลนั้นเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีที่กฎหมายกำหนดหรือมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมวิชาชีพนั้น ย่อมมีน้ำหนักในการรับฟัง
เมื่อธุรกิจของลูกหนี้มีโครงสร้างพื้นฐานที่ดี สาเหตุที่ลูกหนี้ประสบปัญหาทางด้านการเงินมาจากวิกฤติทางเศรษฐกิจและการชะงักงันของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมก่อสร้าง อันถือว่าเป็นปัจจัยภายนอก การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นวิธีการที่จะทำให้สามารถรักษาองค์กรทางธุรกิจให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งสามารถจะรักษาการจ้างงานจำนวนมากไว้ กรณีจึงมีเหตุสมควรที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และได้ความว่ากิจการของลูกหนี้ยังสามารถดำเนินการต่อไปได้ โดยการปรับโครงสร้างทางการเงินทั้งในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหนี้ ธนาคาร และสถาบันการเงินต่าง ๆ กรณีจึงมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้
ในการตั้งผู้ทำแผน เมื่อผู้ร้องขอเสนอให้ตั้งบริษัท บ. เป็นผู้ทำแผน ส่วนลูกหนี้เสนอให้ตั้งบริษัท ป. จึงเป็นกรณีที่ลูกหนี้ยื่นคำคัดค้านได้เสนอให้บุคคลอื่นเป็นผู้ทำแผนมาด้วย ศาลจึงไม่อาจพิจารณาและมีคำสั่งตั้งบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ทำแผนในชั้นนี้ได้ จะต้องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายโดยเร็วที่สุด เพื่อพิจารณาเลือกว่าบุคคลใดสมควรเป็นผู้ทำแผน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/17
เมื่อผู้ร้องขอมิได้เสนอบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้บริหารชั่วคราว ประกอบกับผู้บริหารของลูกหนี้ได้บริหารกิจการของลูกหนี้มาตั้งแต่ต้นย่อมเป็นบุคคลที่ทราบข้อเท็จจริง ปัญหา ตลอดจนระบบการทำงานของลูกหนี้ได้เป็นอย่างดี เมื่อไม่ปรากฏเหตุที่ไม่สมควรตั้งผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราวประกอบกับการตั้งผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราวในระหว่างดำเนินการเพื่อตั้งผู้ทำแผนจะทำให้การบริหารงานต่าง ๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง จึงสมควรตั้งผู้บริหารของลูกหนี้เป็นผู้บริหารชั่วคราว ตามมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเจ้าหนี้, การปฏิบัติเท่าเทียม, และการชำระหนี้พิเศษ
คำสั่งเห็นชอบด้วยแผนมีผลเฉพาะตัวลูกหนี้เท่านั้นที่จะหลุดพ้นจากหนี้ที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน แล้วมาผูกพันตามหนี้ที่กำหนดไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการ ส่วนบุคคลภายนอกซึ่งต้องร่วมรับผิดกับลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง อันได้แก่ บุคคลซึ่งเป็นหุ้นส่วนกับลูกหนี้หรือผู้รับผิดร่วมกับลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกันหรือผู้อยู่ในลักษณะอย่างผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ คำสั่งของศาลที่เห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการย่อมไม่มีผลเปลี่ยนแปลงความรับผิดของบุคคลเหล่านั้นที่มีอยู่ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน ความรับผิดของบุคคลดังกล่าวจะต้องรับผิดอีกเช่นไรต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งกล่าวโดยเฉพาะในส่วนของผู้ค้ำประกันเมื่อหนี้ที่ค้ำประกันมิได้ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 698 ผู้ค้ำประกันก็ยังไม่หลุดพ้นจากความรับผิดต่อเจ้าหนี้ เจ้าหนี้ยังมีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ได้เช่นเดิม
ข้อกำหนดในแผนที่ขอร้องหรือขอความร่วมมือจากเจ้าหนี้มิให้ฟ้องผู้ค้ำประกันในระหว่างระยะเวลาบริหารแผน มิใช่กำหนดห้ามฟ้องหรือจำกัดสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกัน จึงไม่มีสภาพบังคับสิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ต่อผู้ค้ำประกันตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งเพียงใด เจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธินั้นได้อย่างเต็มที่ มิได้ถูกจำกัดด้วยข้อกำหนดในแผน แผนจึงไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง
การที่แผนกำหนดแบ่งเงินพิเศษสำหรับสินเชื่อใหม่แก่สถาบันการเงินที่ได้นำเงินที่สถาบันการเงินดังกล่าวได้รับจากโครงการที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ตนแล้วมาให้เป็นสินเชื่อใหม่เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของลูกหนี้ ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนได้ก่อให้เกิดขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เพื่อประโยชน์ของลูกหนี้ในอันที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนจะได้นำเงินไปดำเนินกิจการตามแผน ส่งผลให้กิจการลูกหนี้สามารถแสวงหารายได้ นับว่าจะได้เป็นประโยชน์แก่บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้จึงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการตามแผน หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/62 หนี้ส่วนนี้ย่อมมีสถานะแตกต่างจากหนี้จำนวนอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและมีการกำหนดไว้ในแผน การที่แผนกำหนดให้มีการคืนหนี้ส่วนนี้ให้แก่สถาบันการเงินก่อน จึงเป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6798/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แผนฟื้นฟูกิจการ: การปฏิบัติเจ้าหนี้กลุ่มเดียวกันเท่าเทียม และการชำระหนี้พิเศษจากสินเชื่อใหม่
ข้อกำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ว่า เมื่อแผนได้รับการอนุมัติแล้ว ขอให้ไม่ฟ้องผู้ค้ำประกัน เมื่อพิจารณาประกอบคำชี้แจงและคำแก้อุทธรณ์ของผู้บริหารแผน ซึ่งยืนยันว่าข้อกำหนดดังกล่าวเป็นการขอร้องหรือขอความร่วมมือจากเจ้าหนี้มิให้ฟ้องผู้ค้ำประกันในระหว่างระยะเวลาบริหารแผน มิใช่กำหนดห้ามฟ้องหรือจำกัดสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกัน ข้อกำหนดดังกล่าวมีลักษณะเพียงการขอร้องเจ้าหนี้มิได้มีสภาพบังคับสิทธิของเจ้าหนี้ที่มีอยู่ต่อผู้ค้ำประกันตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดของบุคคลในทางแพ่งเพียงใด เจ้าหนี้ย่อมใช้สิทธินั้นได้อย่างเต็มที่มิได้ถูกจำกัดด้วยข้อกำหนดในแผนแต่อย่างใด แผนจึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/60 วรรคสอง
หนี้ของเจ้าหนี้กลุ่มที่ 4 ที่ขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการทุกราย มีการของดดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ส่วนต้นเงินจะมีการแปลงหนี้เป็นทุน แผนจึงกำหนดให้เจ้าหนี้ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันได้รับการปฏิบัติเท่าเทียมกันตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/58 (2) ประกอบกับมาตรา 90/42 ตรี แล้ว ส่วนที่แผนกำหนดแบ่งเงินพิเศษสำหรับสินเชื่อใหม่แก่สถาบันการเงิน 3 แห่ง ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ในกลุ่มที่ 4 เช่นกัน เนื่องจากสถาบันการเงินทั้งสามได้นำเงินที่สถาบันการเงินดังกล่าวได้รับจากโครงการที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ตนแล้วมาให้เป็นสินเชื่อใหม่ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของลูกหนี้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนได้ก่อให้เกิดขึ้นเนื่องจากการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการแต่อย่างใดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/62 หนี้ส่วนนี้ย่อมมีสถานะแตกต่างจากหนี้จำนวนอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและมีการกำหนดไว้ในแผน การที่แผนกำหนดให้มีการคืนหนี้ส่วนนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งสามรายก่อน จึงเป็นธรรมและชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: สิทธิฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นการมีหนี้สินล้นพ้นตัว ห้ามฟ้องแย้งประเด็นอื่น
คดีล้มละลายเป็นคดีที่ฟ้องให้จัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้น การพิจารณาคดีล้มละลายไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะชี้ขาดหรือพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยเฉพาะจึงย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะประเด็นสำคัญในคดี
ล้มละลายมีอยู่ว่าจำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือไม่ หากศาลพิจารณาได้ความจริงเช่นนั้นก็ต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด หากพิจารณาไม่ได้ความจริงหรือแม้ได้ความจริงแต่จำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการ คือ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษายกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เท่านั้น โดยไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้อีกเพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์อ้างให้รับผิดตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะสัญญาดังกล่าวปลอม จึงมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบถึงหนี้สินตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้ ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยให้การต่อสู้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดีล้มละลาย: ศาลมีอำนาจสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือยกฟ้องเท่านั้น การฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ
การพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการเท่านั้น ประการที่หนึ่ง มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ประการที่สอง พิพากษายกฟ้อง บทบัญญัติมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้เพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 กล่าวว่าขอปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์ทั้งสามอ้างตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะเป็นสัญญาปลอม ซึ่งมีประเด็นที่โจทก์ทั้งสามจะต้องนำสืบถึงหนี้สินตามที่อ้างในคำฟ้อง และหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การต่อสู้ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องสถานเดียว จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5098/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วม: แม้ชำระหนี้บางส่วนจากทายาท ก็ยังต้องรับผิดหนี้ส่วนที่เหลือตามสัญญาร่วม
จำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับ ณ. และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจึงเป็นลูกหนี้ร่วม โจทก์จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่ลูกหนี้ร่วมยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิงแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 การที่โจทก์นำมูลหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสามและ ณ. ให้เป็นบุคคลล้มละลายซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 และ ณ. เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายแล้ว โจทก์ได้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาไปขอรับชำระหนี้แม้โจทก์จะยอมรับชำระหนี้จากทายาทของ ณ. เพียงบางส่วนโดยไม่ติดใจขอรับชำระหนี้ส่วนที่เหลือ และขอถอนคำขอรับชำระหนี้ในส่วนนี้ไป ก็หาทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกับ ณ. หลุดพ้นไม่ต้องชำระหนี้ในส่วนที่เหลือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้โจทก์ได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 เต็มตามขอ โจทก์จึงยังมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ในส่วนที่เหลือกรณีมิใช่หนี้สินของบุคคลล้มละลายได้ชำระเต็มจำนวนแล้ว และมิใช่กรณีลูกหนี้ไม่ควรถูกพิพากษาให้ล้มละลาย อันจะเป็นเหตุให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลยที่ 3 ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 135(2) และ (3)
of 36