คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ทนายความ พ.ศ.2477 ม. 33

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3175/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย: การแต่งฟ้องโดยผู้มิได้เป็นทนายความ
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวความให้ผู้ต้องขังชาย บ. ทำฟ้องอุทธรณ์แทนให้โดยผู้ต้องขังชาย บ. ลงลายมือชื่อไว้ทั้งในช่องผู้เรียงและในช่องผู้เขียนหรือผู้พิมพ์เป็นการเห็นได้อยู่ในตัวว่าผู้ต้องขังชาย บ. เป็นผู้แต่ง เพราะคำว่า "แต่ง" กับ "เรียง"นั้น ตามพจนานุกรมมีความหมายเหมือนกัน ทั้งพระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33ก็ระบุชัดเจนห้ามมิให้ผู้ซึ่งมิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความ หรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาลหรือแต่งฟ้อง... ฟ้องอุทธรณ์... ให้แก่บุคคลอื่น ดังนั้น ฟ้องอุทธรณ์ที่ผู้ต้องขังชาย บ. เป็นผู้แต่งให้จำเลยที่ 2 จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และแม้จำเลยที่ 2 จะได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์และยืนยันการลงลายมือชื่อดังกล่าว ก็ไม่ทำให้ฟ้องอุทธรณ์ที่ไม่ชอบกลายเป็นฟ้องอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมายขึ้นมาได้เจตนาในใจของจำเลยที่ 2 ประสงค์อย่างไรมิใช่ข้อสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 2 จะอุทธรณ์ต่อศาลก็ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5738/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงฟ้องฎีกาไม่ได้เป็นทนายความ
พระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ซึ่งไม่ได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาต หรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาลหรือแต่งฟ้อง คำให้การ ฟ้องอุทธรณ์ แก้อุทธรณ์ ฟ้องฎีกา แก้ฎีกา..."ซึ่งการฝ่าฝืนมาตรา 33 นี้มีโทษทางอาญาตามมาตรา 82 แม้จำเลยลงลายมือชื่อเป็นผู้ฎีกาและมี ย. ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงและผู้พิมพ์ เมื่อ ย. มิได้เป็นผู้ซึ่งได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความและไม่ปรากฏว่าเป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามมาตรา 33 การที่ ย. เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลย จึงเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาซึ่งเกิดจากการกระทำอันไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจรับพิจารณาให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 959/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่ไม่ชอบเนื่องจากเรียงโดยผู้ไม่มีอำนาจตามกฎหมายทนายความและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ตามพระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33 บัญญัติห้ามมิให้ผู้ซึ่งมิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตหรือผู้ซึ่งขาดจากการเป็นทนายความหรือต้องห้ามทำการเป็นทนายความว่าความในศาลรวมทั้งเรียงคำฟ้องและคำให้การ การที่จำเลยยื่นคำให้การระบุว่า ส. ทนายจำเลย เป็นผู้เรียงและพิมพ์ แต่มิได้ยื่นใบแต่งทนายความหรือแสดงพยานหลักฐานว่า ส. เป็นทนายความ จึงยังไม่ชัดเจนว่าคำให้การของจำเลยชอบหรือไม่ การที่ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้จำเลยแสดงหลักฐานการเป็นทนายความ จึงเป็นการสั่งเพื่อตรวจคำให้การของจำเลยหาใช่สั่งให้ส่งเอกสารที่กฎหมายต้องการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 18 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรกลางและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯมาตรา 17 เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้แสดงหลักฐานการเป็นทนายความของ ส. ภายในเวลาที่ศาลภาษีอากรกลางกำหนด จึงถือว่าคำให้การของจำเลยทั้งสองเรียงโดยผู้ไม่มีอำนาจเป็นคำให้การไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียงฟ้องอุทธรณ์โดยผู้ไม่ได้รับอนุญาตเป็นทนายความ ทำให้คำฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พระราชบัญญัติทนายความฯ มาตรา 33 บัญญัติใจความว่า ผู้เรียงหรือแต่งฟ้องอุทธรณ์จะต้องเป็นการกระทำของทนายความที่ได้รับอนุญาต หรือของตัวความเองเป็นการเฉพาะตัว ไม่อาจตั้งตัวแทนหรือไม่อาจอนุญาตให้ผู้ใดผู้หนึ่งช่วยเหลือได้เมื่อคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยลงลายมือชื่อผู้เรียงโดย ธ. ซึ่งเป็นบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนและไม่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความ อีกทั้งไม่ได้เป็นบุคคลที่ได้รับการยกเว้นโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความหรือกฎหมายอื่นคำฟ้องอุทธรณ์ดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ครบองค์ประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วยมาตรา 158(7)ศาลอุทธรณ์ภาค 9 ชอบที่จะยกอุทธรณ์ของจำเลยโดยไม่อาจจะสั่งให้แก้ไขประการใดได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 215 ประกอบด้วย 161 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1575/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าเป็นคู่ความแทนผู้มรณะในคดีที่ยังไม่ถึงที่สุด และการยอมรับคำร้องของผู้ร้อง
โจทก์ถึงแก่ความตายภายหลังวันที่ศาลอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่ยังไม่พ้นเวลายื่นฎีกาและคดีสามารถฎีกาต่อไปได้คดีจึงยังไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา147วรรคสองถือว่าเป็นคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลระหว่างฎีกาผู้ร้องจึงมีสิทธิร้องขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่โจทก์ผู้มรณะได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา42วรรคแรก แม้ผู้ร้องจะมิได้เรียงคำร้องเองก็ตามแต่ผู้ร้องก็ลงชื่อในช่องผู้ร้องและช่องผู้เรียงด้วยตนเองแสดงว่าผู้ร้องยอมรับเอาคำร้องเป็นของตนโดยชอบถือว่าผู้ร้องเป็นผู้เรียงโดยนิตินัยแล้วคำร้องของผู้ร้องไม่ต้องห้ามตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มาตรา33

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดใบอนุญาตดำเนินคดี กระบวนการพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลฎีกาสั่งเพิกถอนและเริ่มใหม่
การที่ทนายจำเลยซึ่งขาดจากการเป็นทนายความอยู่ก่อนแล้วตามพระราชบัญญัติ ทนายความพ.ศ.2528มาตรา44(3)ทำการเป็นทนายความโดยเรียงคำให้การยื่นต่อศาลและดำเนินกระบวนพิจารณาว่าความอย่างทนายความในศาลชั้นต้นนั้นย่อมเป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา33การดำเนินกระบวนพิจารณาดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นได้ดำเนินกระบวนพิจารณามาจนกระทั่งพิพากษาคดีแต่ไม่ปรากฏว่าทนายจำเลยได้รับใบอนุญาตเป็นทนายความของสภาทนายความและจำเลยได้ยื่นใบแต่งทนายความตั้งทนายความของตนเข้ามาในคดีให้ถูกต้องกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความที่ถูกต้องตามกฎหมายและยื่นคำให้การเข้ามาใหม่แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ต่อไปตามวิธีพิจารณาความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2908/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดคุณสมบัติ การดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลต้องดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ขณะที่โจทก์แต่งตั้งให้ ป.เป็นทนายความเข้าว่าต่างคดีให้โจทก์ในศาลชั้นต้นและลงชื่อในอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลนั้นป.เป็นผู้ที่ขาดจากการเป็นทนายความและต้องห้ามมิให้ว่าความในศาลหรือแต่งคำฟ้อง คำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา ฯลฯตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มาตรา 44(3) และมาตรา 33มาแต่แรก แม้ต่อมาภายหลัง ป. จะได้จดทะเบียนและได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความตลอดชีพก็ตาม แต่ขณะที่ว่าต่างคดีให้โจทก์นั้นป. ได้ขาดจากการเป็นทนายความ ย่อมไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตั้งแต่วันที่ ป. รับแต่งตั้งจากโจทก์ให้เป็นทนายว่าต่างมา จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคแรก และมาตรา 62ชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(2) ประกอบมาตรา 247และปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2904/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทนายความขาดใบอนุญาตดำเนินคดี คำให้การไม่สมบูรณ์ กระบวนการพิจารณาเป็นโมฆะ
ทนายความที่ขาดต่อใบอนุญาตย่อมขาดจากการเป็นทนายความไม่มีอำนาจลงชื่อเป็นผู้เรียงและพิมพ์คำคู่ความที่ยื่นต่อศาลตลอดจนดำเนินคดีในศาล ถ้าฝ่าฝืนย่อมไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67(5) หาใช่กรณีเป็นข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถหรือบกพร่องเกี่ยวกับการเขียนคำคู่ความ ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้แก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องที่ผิดระเบียบได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากผู้เรียงฎีกามิได้มีคุณสมบัติเป็นทนายความ
การที่ ส. ผู้ซึ่งมิได้จดทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นทนายความทั้งไม่เป็นบุคคลซึ่งอยู่ในข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 มาตรา 33 ลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงฎีกาให้จำเลยฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่เกิดจากการกระทำโดยไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่อาจรับพิจารณาให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยเนื่องจากผู้เรียงฟ้องฎีกาไม่ใช่ทนายความตามกฎหมาย
จำเลยลงชื่อเป็นผู้ฎีกาเอง ส่วนผู้เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกานั้นเป็นบุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ทนายความและไม่ใช่ผู้ที่ได้รับยกเว้นให้เรียงหรือแต่งฟ้องฎีกาให้จำเลยได้ตาม พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ. 2528 มาตรา 33 ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่เกิดจากการกระทำอันไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 3