คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 95

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2377/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีก่อสร้างอาคารผิดกฎหมาย เริ่มนับจากก่อสร้างเสร็จ โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีอายุความ 5 ปี
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 21 เกิดเป็นความผิดขึ้นเริ่มแต่วันทำการก่อสร้างอาคารติดต่อเนื่องกันไปจนถึงวันทำการก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องจึงเริ่มนับถัดจากวันที่การก่อสร้างอาคารเสร็จลง การที่จำเลยดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตตั้งแต่ปี 2532 จนถึงปี 2535 การกระทำของจำเลยจึงเกิดเป็นความผิดเริ่มตั้งแต่ปี 2532 ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2535 ซึ่งเป็นปีที่การก่อสร้างอาคารเสร็จ อายุความฟ้องร้องจึงเริ่มนับถัดจากปี 2535 เป็นต้นไป เมื่อฐานความผิดดังกล่าวมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องและได้ตัวจำเลยมาส่งศาลในเดือนธันวาคม 2538คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 977/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดกรรมการบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ฐานฝ่าฝืนกฎหมายและบทบัญญัติเกี่ยวกับสถาบันการเงิน, อายุความ, และการลงโทษ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดหลายกรรมต่างกัน และโจทก์ได้นำสืบถึงการกระทำความผิดของจำเลยกับพวกที่กระทำแต่ละกรรมอย่างละเอียดแยกต่างหากจากกัน การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ศาลลงโทษทุกกรรมเป็นกระทำความผิดไปได้
จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัท ช. มีหน้าที่ในการบริหารงานต่าง ๆของบริษัทให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของบริษัท ทั้งเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกคำสั่งให้บริษัท ช. ปฏิบัติตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการย่อมมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งในนามของบริษัทและต้องรับผิดชอบร่วมกับบริษัทอยู่แล้ว แม้บริษัทจะแบ่งงานออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ มีผู้รับผิดชอบในแต่ละฝ่ายก็เป็นเรื่องการแบ่งงานภายในของบริษัทเท่านั้น และแม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จะไม่อยู่ปฏิบัติงานที่บริษัทดังกล่าวก็ตาม ก็หาปฏิเสธความรับผิดต่าง ๆที่เกิดขึ้นแก่บริษัท ช. ที่ตนเป็นกรรมการผู้รับผิดชอบบริหารงานได้ไม่
ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯ มาตรา 79 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจคณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจที่จะเปรียบเทียบได้ หาใช่เป็นบทบังคับให้คณะกรรมการต้องดำเนินการเปรียบเทียบเพียงอย่างเดียวไม่ เมื่อคณะกรรมการใช้ดุลพินิจไม่เปรียบเทียบก็เป็นอำนาจของคณะกรรมการที่จะพึงกระทำได้ ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายทั้งการที่คณะกรรมการไม่ยอมเปรียบเทียบก็หาขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 ไม่เพราะการเปรียบเทียบกรณีนี้มิได้อยู่ในอำนาจของพนักงานสอบสวน พนักงานอัยการจึงสั่งให้พนักงานสอบสวนพยายามเปรียบเทียบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 144 หาได้ไม่
เมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. กระทำความผิดร่วมกับบริษัทดังกล่าว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯมาตรา 75 ซึ่งมีระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี จึงมีอายุความสิบปี เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1และที่ 2 ร่วมกระทำผิดกับบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ช. ยังไม่ถึงสิบปี ฟ้องของโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 788/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแจ้งความเท็จ และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบทในคดีบัตรประชาชน
ขณะจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505(ฉบับเก่า) ยังมีผลบังคับใช้อยู่แม้ต่อมาพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526(ฉบับใหม่) ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2526 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) แต่การยื่นคำขอรับบัตรโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนมีสัญชาติไทย พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่)ก็ยังบัญญัติเป็นความผิดอยู่เช่นเดิม โดยมาตรา 14 ได้ระวางโทษหนักกว่าโทษตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) ดังนั้น พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับใหม่) จึงไม่เป็นคุณแก่จำเลยต้องใช้พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ (ฉบับเก่า) มาตรา 17 มาบังคับใช้แก่การกระทำความผิดของจำเลย ซึ่งมีกำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี จึงมีอายุความเพียง5 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) ฉะนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2535 ในความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2525 จึงเลยกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำผิด คดีจึงขาดอายุความ ต้องยกฟ้องโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 215 และมาตรา 225
การที่จำเลยซึ่งไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย เพื่อขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน และวันเวลาเดียวกันจำเลยได้แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในคำขอมีบัตรใหม่ซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อทำบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลยแล้วใช้ใบคำขอมีบัตรใหม่ดังกล่าวยื่นต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่นั้น เป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันต่อเนื่องกัน มีเจตนาเดียวกันที่จะให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้จำเลย จึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 ซึ่งเป็นบทหนักตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความิได้ฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองและ 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9692/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาและแพ่ง ขึ้นอยู่กับผู้เสียหายที่แท้จริง และอายุความความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 271, 272, 273 และ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 108 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไต่สวนมูลฟ้องแล้ว ประทับฟ้องเฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 271 ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้ที่โจทก์ในฐานะผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีภายใน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด และความผิดตามมาตราดังกล่าวมีระวางโทษ จำคุกกว่า 1 ปี ถึง 7 ปี จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 ดังนี้ เมื่อนับถึงวันที่ 9 เมษายน 2542 อันเป็นวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7851/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยป้องกันตัวจากการถูกทำร้ายด้วยอาวุธร้ายแรง ศาลยกฟ้องข้อหาฆ่าผู้อื่นและอาวุธปืน เนื่องจากอายุความขาด และพฤติการณ์เข้าข่ายป้องกันโดยชอบ
ผู้ตายวิ่งเข้ามาชกจำเลยพร้อมทั้งพูดด้วยว่าจะฆ่าให้ตาย จำเลยถูกชกจนล้มลงผู้ตายคว้าเหล็กขูดชาฟท์ปลายแหลมยาวประมาณ 1 คืบเข้ามาแทงจำเลย จำเลยใช้มือรับจนมีบาดแผลที่ฝ่ามือ จำเลยลุกขึ้นวิ่งหนี ผู้ตายวิ่งตามจำเลยและแทงถูกจำเลยที่ต้นแขนขวาและพยายามจะแทงจำเลยอีกจำเลยจึงชักอาวุธปืนยิงผู้ตาย 1 นัด โดยมิได้เลือกว่าจะยิงที่ใดและจะถูกผู้ตายหรือไม่ แล้วจำเลยได้หลบหนีไป การที่ผู้ตายใช้เหล็กขูดชาฟท์ปลายแหลมซึ่งสามารถทำอันตรายผู้อื่นถึงแก่ชีวิตได้ เป็นอาวุธไล่แทงจำเลย จนกระทั่งจำเลยอยู่ในที่คับขันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายเพียง1 นัดเพื่อให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้าย อันละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึง ย่อมเป็นการกระทำที่พอสมควรแก่เหตุอันถือได้ว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคหนึ่ง และมาตรา 72 ทวิ วรรคสองประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 มีกำหนดโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี จำคุกไม่เกินห้าปี และโทษปรับไม่เกิน 100 บาทตามลำดับ ความผิดดังกล่าวจึงมีอายุความสิบห้าปี สิบปี และหนึ่งปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95(2)(3)(5) โจทก์นำคดีมาฟ้องนับแต่วันกระทำความผิดถึงวันฟ้องเกินกว่าสิบห้าปีแล้ว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีมาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยมาจึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 แม้ความผิดดังกล่าวจะยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 แล้วก็ตาม แต่ปัญหาเรื่องอายุความเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5286/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา: การสนับสนุนการกระทำผิดเจ้าพนักงานและโทษจำกัด
จำเลยเป็นเพียงผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 และ 161 อัตราโทษสูงสุดที่จะลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุก 6 ปี 8 เดือน ส่วนมาตรา 162อัตราโทษสูงสุดที่จะลงโทษจำเลยได้เพียงจำคุก 4 ปี 8 เดือน อายุความฟ้องคดีอาญาดังกล่าวจึงมีกำหนด 10 ปี ตามมาตรา 95(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 159/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา: การกระทำผิดฐานพาอาวุธปืนเกินกำหนดอายุความ 1 ปี ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
จำเลยกระทำความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 เมื่อจำเลยกระทำผิดในปี 2534แต่ถูกจับและฟ้องในปี 2540 ดังนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยสำหรับความผิดฐานนี้เกินกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(5) สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7665/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีก่อสร้างผิดแบบ: ความผิดสำเร็จเมื่อก่อสร้างโครงสร้างเสร็จ โจทก์ฟ้องเกินกำหนด ยุติคดี
การตกแต่งภายในมิใช่งานเกี่ยวกับการก่อสร้างโครงสร้างของอาคาร การก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนย่อมเป็นความผิดสำเร็จในวันที่ทำการก่อสร้างโครงสร้างและส่วนประกอบของโครงสร้างแล้วเสร็จ
จำเลยทั้งเจ็ดกระทำการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ต้องระวางโทษตามมาตรา 65 ประกอบด้วยมาตรา 70 เป็นความผิดสำเร็จในวันที่การก่อสร้างโครงสร้างแล้วเสร็จ แต่โจทก์นำคดีอาญาฟ้องเกินกว่าห้าปี นับแต่วันดังกล่าว คดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (4)
คดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่มิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญา และการปรับบทลงโทษผิดพลาดในความผิดเกี่ยวกับอาวุธปืนและการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองตามฟ้อง กระทงแรกมาตรา 7,72 วรรคสาม ศาลล่างปรับบทลงโทษฐานมีอาวุธปืน มีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งมี ระวางโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาทเพียงบทเดียว โดยมิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยฐานมีเครื่องกระสุนปืนตามมาตรา 7,72 วรรคสอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับด้วย และโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในส่วนนี้ความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืน จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลล่างสำหรับข้อหามีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและข้อหาพาอาวุธปืนตามฟ้องกระทงที่สอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุก 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง 10,000 บาท กับเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท อีกบทหนึ่งด้วยนั้น โจทก์มิได้ฟ้องภายใน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) และมาตรา 95(5)
จำเลยกระทำความผิดโดยใช้อาวุธปืนจ้องเล็งขู่เข็ญเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะเข้าจับกุมจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสองประกอบมาตรา 140 วรรคแรกและวรรคสาม ซึ่งคำนวณแล้วมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 15,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้ศาลล่างจะปรับบทลงโทษว่าเป็นความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรก ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้คดีโจทก์ในความผิดนี้ต้องขาดอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 95(3) ไม่ เพราะเป็นกรณีที่ศาลล่างปรับบทลงโทษผิดพลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ แม้ไม่มีเจตนาแต่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องฐานฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยสามารถหางานและส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศได้ ความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนาและไม่สามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศได้ ตามฟ้องโจทก์แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82
การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานในต่างประเทศให้แก่ผู้เสียหายได้ โดยจำเลยทั้งสองได้เรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่าตอบแทน และที่ผู้เสียหายให้เงินแก่จำเลยไปแล้วบางส่วนก็เพราะเชื่อตามที่จำเลยหลอกลวง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ดังกล่าวข้างต้น และแม้ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้แล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้อีก
of 13