พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ แม้ไม่มีเจตนาแต่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ แม้ผู้เสียหายถอนฟ้องฐานฉ้อโกง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยทุจริตร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จว่า จำเลยสามารถหางานและส่งผู้เสียหายไปทำงานยังต่างประเทศได้ ความจริงแล้วจำเลยไม่มีเจตนาและไม่สามารถจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานในต่างประเทศได้ ตามฟ้องโจทก์แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาจะจัดหางานให้แก่ผู้เสียหาย จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง, 82
การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานในต่างประเทศให้แก่ผู้เสียหายได้ โดยจำเลยทั้งสองได้เรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่าตอบแทน และที่ผู้เสียหายให้เงินแก่จำเลยไปแล้วบางส่วนก็เพราะเชื่อตามที่จำเลยหลอกลวง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ดังกล่าวข้างต้น และแม้ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้แล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้อีก
การที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจำเลยสามารถจัดหางานในต่างประเทศให้แก่ผู้เสียหายได้ โดยจำเลยทั้งสองได้เรียกเงินจากผู้เสียหายเป็นค่าตอบแทน และที่ผู้เสียหายให้เงินแก่จำเลยไปแล้วบางส่วนก็เพราะเชื่อตามที่จำเลยหลอกลวง การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ดังกล่าวข้างต้น และแม้ผู้เสียหายขอถอนคำร้องทุกข์ในความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341 ซึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้แล้วก็ตาม โจทก์ก็ยังมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดตามพ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 มาตรา 91 ตรี ซึ่งมิใช่ความผิดอันยอมความได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1889/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาและการอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นโจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าคดีโจทก์มีมูลให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยมาศาลและให้การแก้คดี แต่จำเลยไม่มาตามนัดศาลชั้นต้นจึงออกหมายจับและให้จำหน่ายคดีชั่วคราว การที่โจทก์ยื่นคำร้องว่าหมายจับคลาดเคลื่อนต่อความเป็นจริงเกี่ยวกับวันเริ่มต้นนับอายุความศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าอายุความจึงต้องเริ่มนับแต่วันที่ปฏิเสธการจ่ายหลังสุด ให้เพิกถอนหมายจับเดิมแล้วออกหมายจับจำเลยใหม่โจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า คำสั่งศาลเรื่องการออกหมายจับเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาจึงไม่รับอุทธรณ์ โจทก์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีไว้ชั่วคราว ไม่ใช่เป็นคำสั่งให้จำหน่ายคดีโดยเด็ดขาดเมื่อโจทก์อุทธรณ์คำสั่งใด ๆ ของศาลชั้นต้นในระหว่างนี้เป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196 มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นเช่นนี้ คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 198 ทวิโจทก์จึงไม่มีสิทธิฎีกาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีความผิดอันยอมความได้ การนำสืบความรู้แจ้งของผู้เสียหาย
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 341 อันเป็นคดีความผิดอันยอมความได้นั้น โจทก์จะต้องนำสืบให้ได้ความว่าผู้เสียหายได้ทราบเรื่องความผิดและรู้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดเมื่อใด เพื่อที่จะได้รู้ว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดสามเดือนหรือไม่ เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่า ผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ภายในกำหนดสามเดือนคดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีอาญานั้นจำเลยจะให้การอย่างไรก็ได้ แม้จะไม่ให้การก็ได้ เมื่อจำเลยให้การอย่างไร หรือจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้จำเลยหาต้องให้การปฏิเสธเป็นประเด็นไว้ไม่
ในคดีอาญานั้นจำเลยจะให้การอย่างไรก็ได้ แม้จะไม่ให้การก็ได้ เมื่อจำเลยให้การอย่างไร หรือจำเลยไม่ยอมให้การก็ให้ศาลจดรายงานไว้จำเลยหาต้องให้การปฏิเสธเป็นประเด็นไว้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิรุธในการเบิกความ, บาดเจ็บไม่ร้ายแรง, อายุความคดีทำร้ายร่างกาย ทำให้ศาลยกฟ้อง
ในทางนำสืบโจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยานแต่คำเบิกความของผู้เสียหายกับจำเลยยันกับอยู่จึงต้องอาศัยพยานแวดล้อมมาฟังประกอบคำเบิกความของผู้เสียหายผู้เสียหายมีบาดแผลที่ใบหน้าบริเวณโหนกแก้มขวาบวมช้ำเขียวขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ3เซนติเมตรมีรอยถลอกเป็นทาง1เซนติเมตรที่บริเวณเขียวช้ำตามร่างกายไม่พบบาดแผลบาดเจ็บที่ใบหน้าจากของแข็งไม่มีคนใช้เวลารักษาประมาณ10วันหายถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อนลักษณะของการกระทำและบาดแผลดังกล่าวไม่ถึงกับเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจแต่ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยกระทำความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจการจะลงโทษจำเลยในฐานความผิดที่ได้ความจากทางพิจารณาจะต้องดูว่าคดีไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95ด้วยเมื่อความผิดที่ได้ความจากทางพิจารณามีอัตราโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนจึงมีอายุความหนึ่งปีตามมาตรา95(5)นับแต่วันกระทำความผิดจำเลยกระทำความผิดเมื่อวันที่29เมษายน2533โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่16กรกฎาคม2535เป็นเวลาเกินกว่า1ปีแล้วคดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา185วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา: การส่งตัวผู้ต้องหาต่อศาลเป็นสำคัญ
ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 268 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง มีกำหนดอายุความฟ้องร้อง 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตามมาตรา 95(3)จำเลยกระทำความผิดข้อหาดังกล่าวเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2527ต่อมาวันที่ 28 พฤศจิกายน 2537 เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยส่งมอบแก่พนักงานสอบสวน ในวันเดียวกันพนักงานสอบสวนอนุญาตให้ประกันตัวไป วันที่ 30 พฤศจิกายน 2537 พนักงานอัยการขอผัดฟ้อง โดยไม่ได้นำตัวจำเลยส่งศาล แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผัดฟ้องได้ ก็ยังถือไม่ได้ว่าได้ตัวจำเลยมาอยู่ในอำนาจศาลแล้ว เพราะไม่มีการส่งมอบตัวจำเลยต่อศาลโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายยื่นฟ้องในวันที่ 2 ธันวาคม 2537จนกระทั่งวันที่ 7 มีนาคม 2538 ซึ่งเป็นวันนัดไต่สวนมูลฟ้องและวันสุดท้ายของอายุความ 10 ปี คือวันที่ 3 ธันวาคม 2537โจทก์ก็มิได้ตัวจำเลยมาส่งศาล จึงขาดอายุความฟ้องร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีบุกรุก: การพิสูจน์เวลากระทำผิดและการร้องทุกข์ภายในกำหนด
จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์แต่ในทางพิจารณาโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกที่ดินของโจทก์ในเวลากลางวันหรือกลางคืนจึงฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในเวลากลางวันความผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่จำเลยเข้าไปรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์ส่วนการที่จำเลยครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกไม่ใช่เป็นความผิดต่อเนื่องการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362บทเดียวหาเป็นความผิดตามมาตรา365(3)อีกบทหนึ่งไม่ซึ่งมาตรา366บัญญัติว่าเป็นความผิดอันยอมความได้อายุความฟ้องร้องตามมาตรา95ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา96ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดมิฉะนั้นขาดอายุความโจทก์มาร้องทุกข์เมื่อวันที่7พฤษภาคม2534ทั้งๆที่ทราบเรื่องจำเลยบุกรุกตั้งแต่ต้นปี2526คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้องคดีบุกรุก: การพิสูจน์เวลาบุกรุกและการร้องทุกข์ภายในกำหนด
จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์ แต่ในทางพิจารณาโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยเริ่มบุกรุกที่ดินของโจทก์ในเวลากลางวันหรือกลางคืน จึงฟังให้เป็นคุณแก่จำเลยว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ในเวลากลางวัน ความผิดฐานบุกรุกเกิดขึ้นตั้งแต่ครั้งแรกที่จำเลยเข้าไปรบกวนการครอบครองที่ดินของโจทก์ ส่วนการที่จำเลยครอบครองที่ดินต่อมาเป็นเพียงผลของการบุกรุกไม่ใช่เป็นความผิดต่อเนื่องการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 362 บทเดียว หาเป็นความผิดตามมาตรา 365 (3) อีกบทหนึ่งไม่ ซึ่งมาตรา 366 บัญญัติว่า เป็นความผิดอันยอมความได้ อายุความฟ้องร้องตามมาตรา 95 ต้องอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา96 ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิดมิฉะนั้นขาดอายุความ โจทก์มาร้องทุกข์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2534ทั้งๆที่ทราบเรื่องจำเลยบุกรุกตั้งแต่ต้นปี 2526 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตาม.อ.มาตรา 96
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2060/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญาต้องพิจารณาจากข้อหาที่ศาลพิพากษา ไม่ใช่ข้อหาที่โจทก์ฟ้อง เพื่อความเป็นธรรมแก่จำเลย
อัตราโทษในการพิจารณากำหนดอายุความฟ้องผู้กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95ต้องถือตามข้อหาหรือฐานความผิดที่ศาลพิจารณาได้ความไม่ใช่พิจารณาจากข้อหาหรือฐานความผิดที่โจทก์ฟ้องมิฉะนั้นอาจเป็นการขยายอายุความฟ้องคดีซึ่งเป็นโทษต่อจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา และ เอกสารที่ยื่นต่อเจ้าพนักงานที่ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 267
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 และ 268 ในวันที่ 31 สิงหาคม 2513 และ 15 มีนาคม 2520โจทก์จะต้องฟ้องจำเลยสำหรับความผิดดังกล่าวภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันกระทำความผิดทั้งนี้ไม่ว่าโจทก์จะได้รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ แต่โจทก์เพิ่งฟ้องจำเลยสำหรับความผิดดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2533 โจทก์จึงไม่ได้ฟ้องจำเลยภายในกำหนดสิบปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3) ตามคำขอรังวัดเปลี่ยน น.ส.3 เป็น น.ส.3 ก. ที่จำเลยยื่นต่อนายอำเภอโดยลงชื่อจำเลยเป็นผู้ขอและมีข้อความระบุว่าจำเลยเป็นผู้ถือสิทธิครอบครองที่ดิน น.ส.3 เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่จำเลยยื่นต่อเจ้าพนักงานมิใช่เอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความลงในเอกสารนั้นการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 ดังนั้นการที่จำเลยนำหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3 ก.) ที่เจ้าพนักงานที่ดินออกให้ตามคำขอของจำเลยดังกล่าวซึ่งไม่ใช่เอกสารอันเกิดจากการกระทำความผิดตาม มาตรา 267 ไปคัดค้านการรังวัดออกโฉนดที่ดินของโจทก์จึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทเงินทุนจากการเข้ารับอาวัลตั๋วเงินก่อนมีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย และการกำหนดโทษตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 75(เดิม) บัญญัติว่า"ในกรณีที่บริษัทกระทำความผิดตามมาตรา 70 กรรมการของบริษัทนั้นต้องระวางโทษ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้นด้วย" ดังนี้ เมื่อบริษัทเงินทุนใดกระทำความผิดตามมาตรา 70 กรรมการของบริษัทเงินทุนนั้นจะต้องมีความผิดทันทีเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้นด้วย ปรากฏว่าจำเลยกรรมการบริษัทเงินทุนลงลายมือชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินร่วมกันอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งประกาศธนาคารแห่งประเทศกำหนดให้บริษัทเงินทุนที่เข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินเรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนั้นนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันจนเป็นจำนวนหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ ในกรณีที่บริษัทได้เข้ารับอาวัลตั๋วเงินนั้นก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2525อันเป็นวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ปรากฏว่าบริษัทและจำเลยไม่เรียกหลักประกันตลอดมาจนโจทก์ฟ้องคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะพ้นความผิดได้ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับบริษัทเมื่อจำเลยเป็นกรรมการมีหน้าที่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยต้องติดตามเรื่องราวให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลวางหลักประกันแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าว จำเลยจึงไม่พ้นความผิด บริษัทเงินทุนกระทำความผิดฐานไม่เรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ70(เดิม) จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการในช่วงระยะเวลาที่บริษัทกระทำความผิดจึงต้องมีความผิดตามมาตรา 75(เดิม) ด้วยอันเป็นความผิดซึ่งโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3มีเจตนาที่จะกระทำความผิดหรือไม่ โจทก์คงมีหน้าที่นำสืบเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทนั้นในขณะที่บริษัทกระทำความผิดเท่านั้น เว้นแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น จำเลยทั้งสามจึงจะพ้นความผิดทั้งตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ไม่ปรากฏว่าได้นำเอาคำเบิกความของจำเลยทั้งสามมาฟังลงโทษจำเลยทั้งสามแต่อย่างใด แต่กลับปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสามลงลายมือชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินจากพยานเอกสารที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์เองมาประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลยทั้งสามเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนในขณะที่บริษัทนั้นกระทำความผิด และข้อนำสืบของจำเลยทั้งสามอาจฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่พ้นจากการกระทำความผิด มาตรา 76(เดิม) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความเฉพาะกรณีดำเนินคดีแก่บริษัทเงินทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น แต่การดำเนินคดีต่อกรรมการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 ซึ่งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 75(เดิม) ได้กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี คดีนี้จึงมีอายุความ 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ส่วนจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และ 17 กุมภาพันธ์2526 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ในกรณีการเข้ารับอาวัลตั๋วเงินที่บริษัทเงินทุนได้กระทำก่อนวันที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมีผลใช้บังคับโดยไม่มีทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันเต็มจำนวนหนี้บริษัทเงินทุนนั้นยังมีเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับที่จะให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองดังกล่าวหากพ้นกำหนด 1 ปี บริษัทจึงจะมีความผิด ประกาศดังกล่าวจึงหาใช่เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับย้อนหลังให้ผู้ลงลายมือชื่อเข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต้องรับผิดไม่ มาตรา 79 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 บัญญัติว่า "ความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ให้คณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้" และวรรคสามบัญญัติว่า "เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้วให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน" ซึ่งมีความหมายว่า หากรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ก็ให้คณะกรรมการนั้นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ได้ มิได้หมายความว่า ความผิดตามมาตราทั้งสองดังกล่าวรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการนั้นต้องเปรียบเทียบปรับเสียก่อน โจทก์จึงจะมีอำนาจฟ้องเมื่อกรณีความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 75(เดิม)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบแล้ว พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามได้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ 75(เดิม) ก่อนแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522พ.ศ. 2526 มาตรา 33 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2526อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด ซึ่งมีกำหนดลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 คนละ3 ปี จึงเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้ถูกต้อง