พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.ธุรกิจหลักทรัพย์ฯ กรณีรับอาวัลตั๋วเงิน - อัตราโทษ - อายุความ - การเปรียบเทียบ
พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 75(เดิม) บัญญัติว่า"ในกรณีที่บริษัทกระทำความผิดตามมาตรา 70 กรรมการของบริษัทนั้นต้องระวางโทษ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้นด้วย" ดังนี้ เมื่อบริษัทเงินทุนใดกระทำความผิดตามมาตรา 70 กรรมการของบริษัทเงินทุนนั้นจะต้องมีความผิดทันทีเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้นด้วย ปรากฏว่าจำเลยกรรมการบริษัทเงินทุนลงลายมือชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินร่วมกันอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งประกาศธนาคารแห่งประเทศกำหนดให้บริษัทเงินทุนที่เข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินเรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนั้นนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันจนเป็นจำนวนหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ ในกรณีที่บริษัทได้เข้ารับอาวัลตั๋วเงินนั้นก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2525อันเป็นวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ปรากฏว่าบริษัทและจำเลยไม่เรียกหลักประกันตลอดมาจนโจทก์ฟ้องคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะพ้นความผิดได้ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับบริษัทเมื่อจำเลยเป็นกรรมการมีหน้าที่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยต้องติดตามเรื่องราวให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลวางหลักประกันแต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าว จำเลยจึงไม่พ้นความผิด
บริษัทเงินทุนกระทำความผิดฐานไม่เรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ70(เดิม) จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการในช่วงระยะเวลาที่บริษัทกระทำความผิดจึงต้องมีความผิดตามมาตรา 75(เดิม) ด้วยอันเป็นความผิดซึ่งโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาที่จะกระทำความผิดหรือไม่ โจทก์คงมีหน้าที่นำสืบเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทนั้นในขณะที่บริษัทกระทำความผิดเท่านั้น เว้นแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น จำเลยทั้งสามจึงจะพ้นความผิดทั้งตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ไม่ปรากฏว่าได้นำเอาคำเบิกความของจำเลยทั้งสามมาฟังลงโทษจำเลยทั้งสามแต่อย่างใด แต่กลับปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสามลงลายมือชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินจากพยานเอกสารที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์เองมาประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลยทั้งสามเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนในขณะที่บริษัทนั้นกระทำความผิด และข้อนำสืบของจำเลยทั้งสามอาจฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่พ้นจากการกระทำความผิด
มาตรา 76(เดิม) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความเฉพาะกรณีดำเนินคดีแก่บริษัทเงินทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น แต่การดำเนินคดีต่อกรรมการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 ซึ่งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 75(เดิม) ได้กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี คดีนี้จึงมีอายุความ 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ส่วนจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และ 17 กุมภาพันธ์2526 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ในกรณีการเข้ารับอาวัลตั๋วเงินที่บริษัทเงินทุนได้กระทำก่อนวันที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมีผลใช้บังคับโดยไม่มีทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันเต็มจำนวนหนี้บริษัทเงินทุนนั้นยังมีเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับที่จะให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองดังกล่าวหากพ้นกำหนด 1 ปี บริษัทจึงจะมีความผิด ประกาศดังกล่าวจึงหาใช่เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับย้อนหลังให้ผู้ลงลายมือชื่อเข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต้องรับผิดไม่
มาตรา 79 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 บัญญัติว่า "ความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ให้คณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้" และวรรคสามบัญญัติว่า "เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้วให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน" ซึ่งมีความหมายว่า หากรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ก็ให้คณะกรรมการนั้นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ได้ มิได้หมายความว่า ความผิดตามมาตราทั้งสองดังกล่าวรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการนั้นต้องเปรียบเทียบปรับเสียก่อน โจทก์จึงจะมีอำนาจฟ้องเมื่อกรณีความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 75(เดิม)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบแล้ว พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามได้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ 75(เดิม) ก่อนแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522พ.ศ. 2526 มาตรา 33 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2526อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด ซึ่งมีกำหนดลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 คนละ3 ปี จึงเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้ถูกต้อง
บริษัทเงินทุนกระทำความผิดฐานไม่เรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ70(เดิม) จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการในช่วงระยะเวลาที่บริษัทกระทำความผิดจึงต้องมีความผิดตามมาตรา 75(เดิม) ด้วยอันเป็นความผิดซึ่งโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาที่จะกระทำความผิดหรือไม่ โจทก์คงมีหน้าที่นำสืบเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทนั้นในขณะที่บริษัทกระทำความผิดเท่านั้น เว้นแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น จำเลยทั้งสามจึงจะพ้นความผิดทั้งตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ไม่ปรากฏว่าได้นำเอาคำเบิกความของจำเลยทั้งสามมาฟังลงโทษจำเลยทั้งสามแต่อย่างใด แต่กลับปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสามลงลายมือชื่อในตั๋วสัญญาใช้เงินจากพยานเอกสารที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์เองมาประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลยทั้งสามเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนในขณะที่บริษัทนั้นกระทำความผิด และข้อนำสืบของจำเลยทั้งสามอาจฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่พ้นจากการกระทำความผิด
มาตรา 76(เดิม) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความเฉพาะกรณีดำเนินคดีแก่บริษัทเงินทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น แต่การดำเนินคดีต่อกรรมการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าวต้องนำประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 ซึ่งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 75(เดิม) ได้กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี คดีนี้จึงมีอายุความ 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1และที่ 2 กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ส่วนจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และ 17 กุมภาพันธ์2526 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ในกรณีการเข้ารับอาวัลตั๋วเงินที่บริษัทเงินทุนได้กระทำก่อนวันที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมีผลใช้บังคับโดยไม่มีทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันเต็มจำนวนหนี้บริษัทเงินทุนนั้นยังมีเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับที่จะให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองดังกล่าวหากพ้นกำหนด 1 ปี บริษัทจึงจะมีความผิด ประกาศดังกล่าวจึงหาใช่เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับย้อนหลังให้ผู้ลงลายมือชื่อเข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต้องรับผิดไม่
มาตรา 79 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ. 2522 บัญญัติว่า "ความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ให้คณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้" และวรรคสามบัญญัติว่า "เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้วให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน" ซึ่งมีความหมายว่า หากรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ก็ให้คณะกรรมการนั้นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ได้ มิได้หมายความว่า ความผิดตามมาตราทั้งสองดังกล่าวรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการนั้นต้องเปรียบเทียบปรับเสียก่อน โจทก์จึงจะมีอำนาจฟ้องเมื่อกรณีความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 75(เดิม)แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบแล้ว พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามได้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งต้องอยู่ในบังคับของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ 75(เดิม) ก่อนแก้ไขโดยพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ. 2522พ.ศ. 2526 มาตรา 33 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2526อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด ซึ่งมีกำหนดลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 คนละ3 ปี จึงเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของกรรมการบริษัทเงินทุนต่อการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย และประเด็นเรื่องอายุความคดี
พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 มาตรา 75 (เดิม) บัญญัติว่า "ในกรณีที่บริษัทกระทำความผิดตามมาตรา 70 กรรมการของบริษัทนั้น...ต้องระวางโทษ...เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้นด้วย ปรากฏว่าจำเลยกรรมการบริษัทเงินทุนลงลายมือชื่อรับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินร่วมกับอีกบุคคลหนึ่งซึ่งประกาศธนาคารแห่งประเทศกำหนดให้บริษัทเงินทุนที่เข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินเรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนั้นนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันจนเต็มจำนวนหนี้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศดังกล่าวใช้บังคับ ในกรณีที่บริษัทได้เข้ารับอาวัลตั๋วเงินนั้นก่อนวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2525 อันเป็นวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ แต่ปรากฏว่าบริษัทและจำเลยไม่เรียกหลักประกันตลอดมาจนโจทก์ฟ้องคดีนี้ ซึ่งจำเลยที่ 1 จะพ้นความผิดได้ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนร่วมกระทำความผิดกับบริษัท เมื่อจำเลยเป็นกรรมการมีหน้าที่ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยต้องติดตามเรื่องราวให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลวางหลักประกัน แต่จำเลยไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ดังกล่าว จำเลยจึงไม่พ้นความผิด
บริษัทเงินทุนกระทำความผิดฐานไม่เรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2522 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ 70 (เดิม) จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการในช่วงระยะเวลาที่บริษัทกระทำความผิดจึงต้องมีความผิดตามมาตรา 75 (เดิม) ด้วย อันเป็นความผิดซึ่งโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาที่จะกระทำความผิดหรือไม่ โจทก์คงมีหน้าที่นำสืบเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทนั้นในขณะที่บริษัทกระทำความผิดเท่านั้น เว้นแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น จำเลยทั้งสามจึงจะพ้นความผิด ทั้งตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ไม่ปรากฏว่าาได้นำเอาคำเบิกความของจำเลยทั้งสามมาฟังลงโทษจำเลยทั้งสามแต่อย่างใด แต่กลับปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามลงลายมือชี่อในตั๋วสัญญาใช้เงินจากพยานเอกสารที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์เองมาประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลยทั้งสาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนในขณะที่บริษัทนั้นกระทำความผิด และข้อนำสืบของจำเลยทั้งสามไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น เช่นนี้ จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่พ้นจากการกระทำความผิด
มาตรา 76(เดิม) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความเฉพาะกรณีดำเนินคดีแก่บริษัทเงินทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น แต่การดำเนินคดีต่อกรรมการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว ต้องนำ ป.อ.มาตรา 95 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ ตาม ป.อ.มาตรา 17 ซึ่งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ.2522 มาตรา75 (เดิม) ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกิน 1 ปี คดีนี้จึงมีอายุความ 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 95(4) เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ส่วนจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และ 17 กุมภาพันธ์ 2526 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ในกรณีการเข้ารับอาวัลตั๋วเงินที่บริษัทเงินทุนได้กระทำก่อนวันที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมีผลใช้บังคับโดยไม่มีทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันเต็มจำนวนหนี้บริษัทเงินทุนนั้นยังมีเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับที่จะให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองดังกล่าวหากพ้นกำหนด 1 ปี บริษัทจึงจะมีความผิด ประกาศดังกล่าวจึงหาใช่เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับย้อนหลังให้ผู้ลงลายมือชื่อเข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต้องรับผิดไม่
มาตรา 79 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2522 บัญญัติว่า "ความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ให้คณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้" และวรรคสามบัญญัติว่า "เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียมภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน" ซึ่งมีความหมายว่าหากรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ก็ให้คณะกรรมการนั้นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ได้ มิได้หมายความว่า ความผิดตามบทมาตราทั้งสองดังกล่าวรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการนั้นต้องเปรียบเทียบปรับเสียก่อน โจทก์จึงจะมีอำนาจฟ้อง เมื่อกรณีความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 75 (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบแล้วพนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามได้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งต้องอยู่ในบังคับของพ.ร.บ.กระประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ.2522 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ 75(เดิม) ก่อนแก้ไขโดย พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2526 มาตรา 33 ซึ่งมีผลใช้บังคับตังแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2526 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด ซึ่งมีกำหนดลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 คนละ 3 ปี จึงเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้ถูกต้อง
บริษัทเงินทุนกระทำความผิดฐานไม่เรียกให้ผู้ออกตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2522 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ 70 (เดิม) จำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการในช่วงระยะเวลาที่บริษัทกระทำความผิดจึงต้องมีความผิดตามมาตรา 75 (เดิม) ด้วย อันเป็นความผิดซึ่งโจทก์ไม่ต้องนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาที่จะกระทำความผิดหรือไม่ โจทก์คงมีหน้าที่นำสืบเพียงว่าจำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทนั้นในขณะที่บริษัทกระทำความผิดเท่านั้น เว้นแต่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น จำเลยทั้งสามจึงจะพ้นความผิด ทั้งตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ก็ไม่ปรากฏว่าาได้นำเอาคำเบิกความของจำเลยทั้งสามมาฟังลงโทษจำเลยทั้งสามแต่อย่างใด แต่กลับปรากฏว่าศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยทั้งสามลงลายมือชี่อในตั๋วสัญญาใช้เงินจากพยานเอกสารที่โจทก์อ้าง จึงเป็นการนำข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของโจทก์เองมาประกอบการวินิจฉัยลงโทษจำเลยทั้งสาม เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามที่โจทก์นำสืบว่า จำเลยทั้งสามเป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนในขณะที่บริษัทนั้นกระทำความผิด และข้อนำสืบของจำเลยทั้งสามไม่อาจฟังได้ว่าจำเลยทั้งสามมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดของบริษัทนั้น เช่นนี้ จำเลยที่ 1ที่ 2 และที่ 3 ย่อมไม่พ้นจากการกระทำความผิด
มาตรา 76(เดิม) แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2522 เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความเฉพาะกรณีดำเนินคดีแก่บริษัทเงินทุนซึ่งเป็นนิติบุคคลเท่านั้น แต่การดำเนินคดีต่อกรรมการซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาไม่มีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว ต้องนำ ป.อ.มาตรา 95 มาใช้บังคับ ทั้งนี้ ตาม ป.อ.มาตรา 17 ซึ่งตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ.2522 มาตรา75 (เดิม) ได้กำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกิน 1 ปี คดีนี้จึงมีอายุความ 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดตาม ป.อ.มาตรา 95(4) เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2กระทำความผิดเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ส่วนจำเลยที่ 3 กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และ 17 กุมภาพันธ์ 2526 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2530 ยังไม่เกินกำหนด 5 ปี นับแต่วันกระทำความผิดฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
ในกรณีการเข้ารับอาวัลตั๋วเงินที่บริษัทเงินทุนได้กระทำก่อนวันที่ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยมีผลใช้บังคับโดยไม่มีทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองเป็นประกันเต็มจำนวนหนี้บริษัทเงินทุนนั้นยังมีเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ประกาศนี้ใช้บังคับที่จะให้ผู้ที่บริษัทเข้ารับอาวัลตั๋วเงินนำทรัพย์สินมาจำนำหรือจำนองดังกล่าวหากพ้นกำหนด 1 ปี บริษัทจึงจะมีความผิด ประกาศดังกล่าวจึงหาใช่เป็นกฎหมายที่มีผลบังคับย้อนหลังให้ผู้ลงลายมือชื่อเข้ารับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินต้องรับผิดไม่
มาตรา 79 วรรคแรก แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2522 บัญญัติว่า "ความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ให้คณะกรรมการที่รัฐมนตรีแต่งตั้งมีอำนาจเปรียบเทียบได้" และวรรคสามบัญญัติว่า "เมื่อคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบกรณีใด และผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียมภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้คดีนั้นเป็นอันเลิกกัน" ซึ่งมีความหมายว่าหากรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ก็ให้คณะกรรมการนั้นมีอำนาจเปรียบเทียบปรับความผิดตามมาตรา 70 หรือมาตรา 75 ได้ มิได้หมายความว่า ความผิดตามบทมาตราทั้งสองดังกล่าวรัฐมนตรีต้องแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการนั้นต้องเปรียบเทียบปรับเสียก่อน โจทก์จึงจะมีอำนาจฟ้อง เมื่อกรณีความผิดที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ตามมาตรา 75 (เดิม) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไม่ปรากฏว่ารัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นและคณะกรรมการได้ทำการเปรียบเทียบแล้วพนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจทำการสอบสวนและพนักงานอัยการย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้
ความผิดตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามได้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2525 และวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งต้องอยู่ในบังคับของพ.ร.บ.กระประกอบธุรกิจเงินทุนฯ พ.ศ.2522 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง (5) และ 75(เดิม) ก่อนแก้ไขโดย พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุนฯพ.ศ.2526 มาตรา 33 ซึ่งมีผลใช้บังคับตังแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2526 อันเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด ซึ่งมีกำหนดลงโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ที่ 2และที่ 3 คนละ 3 ปี จึงเกินกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนด ศาลฎีกาเห็นสมควรกำหนดให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดตาม พ.ร.บ.ธุรกิจหลักทรัพย์: แยกความผิดของบริษัทกับกรรมการ
อายุความตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 เป็นอายุความสำหรับการกระทำผิดของบริษัทเฉพาะที่เป็นความผิดตามมาตรา 70 เท่านั้นกรณีที่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ กระทำผิดในขณะมีฐานะเป็นกรรมการของบริษัทและกระทำโดยเจตนา เป็นความผิดตามมาตรา 75 ซึ่งมีอายุความ 5 ปีนับแต่วันกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 856/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีแพ่งของผู้ค้ำประกัน ยึดตามอายุความอาญาเมื่อมูลหนี้เกิดจากความผิดทางอาญา
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้ทั้งหลายซึ่ง ส. มีต่อโจทก์ รวมทั้งเรื่องอายุความที่โจทก์อาจฟ้อง ส.เป็นคดีแพ่งขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 694 การที่โจทก์จะฟ้องให้ ส. ชดใช้เงินที่ยักยอกคืนโจทก์นั้นเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดซึ่งเกิดจากการกระทำความผิดฐานยักยอกของ ส. ตามประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งมีอายุความที่จะต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายใน 10 ปีนับแต่วันกระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน จึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาใช้บังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคสองโจทก์จึงฟ้องจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกัน ส. ได้ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ ส. กระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา พิจารณาจากอัตราโทษของความผิดที่ศาลลงโทษ แม้ฟ้องตามข้อหาอื่น
อายุความฟ้องคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษของความผิดที่พิจารณาได้ความ เมื่อได้ความเป็นยุติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 390 ซึ่งมีอายุความฟ้องภายใน 1 ปี ตามมาตรา 95(5) และปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน1 ปี นับแต่วันกระทำผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา พิจารณาจากโทษที่ศาลลงโทษ ไม่ใช่ข้อหาที่ฟ้อง
อายุความฟ้องคดีอาญา ตาม ป.อ. มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษของความผิดที่ศาลพิจารณาได้ความ ไม่ใช่พิจารณาจากข้อหาหรือ ฐานความผิดที่โจทก์ฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องอาญา: พิจารณาจากโทษบทที่ฟ้องเป็นหลัก ไม่ใช่โทษที่ศาลลง
อัตราโทษที่จะนำมาพิจารณากำหนดอายุความฟ้องผู้กระทำผิดตามที่กำหนดไว้ใน ป.อ. มาตรา 95 นั้น ถืออัตราโทษสูงสุดสำหรับความผิดที่บัญญัติไว้ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง มิใช่ถือตามกำหนดโทษที่ศาลพิพากษาลงแก่จำเลยโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าตามมาตรา 288,80 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายตามมาตรา 295 ดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 957/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดอายุความฟ้องอาญา ต้องพิจารณาจากอัตราโทษตามบทมาตราที่โจทก์ฟ้อง ไม่ใช่โทษที่ศาลตัดสิน
อัตราโทษที่จะนำมาพิจารณากำหนดอายุความฟ้องผู้กระทำผิดตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 นั้น ถืออัตราโทษสูงสุดสำหรับความผิดที่บัญญัติไว้ในบทมาตราที่โจทก์ฟ้องเป็นหลักมิใช่ถือตามโทษที่ศาลกำหนดในคำพิพากษาลงแก่จำเลย แม้ศาลฟังว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีจะต้องฟ้องภายในอายุความสิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(3)แต่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288,80ซึ่งมีอัตราโทษสูงสุดจำคุกตลอดชีวิตกำหนดอายุความยี่สิบปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(1) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 6ธันวาคม 2517 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2532 จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดและการบังคับใช้กับผู้ค้ำประกัน: อายุความทางอาญาเหนือกว่าอายุความทางแพ่ง
สัญญาค้ำประกันทำขึ้นขณะที่บัญชีอัตราอากรแสตมป์กำหนดให้ปิดอากรแสตมป์ 1 บาท แม้ภายหลังกฎหมายจะกำหนดให้ปิดอากรแสตมป์10 บาท สัญญาค้ำประกันที่ปิดอากรแสตมป์ 1 บาท นั้นก็ยังใช้ได้ไม่ต้องห้ามใช้เป็นพยานหลักฐานคดีแพ่งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 โจทก์ฟ้องว่า ส. พนักงานของโจทก์ทุจริตเบียดบังเอาเงินของโจทก์เป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้วหลบหนี เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเป็นความผิด มีโทษตาม ป.อ. มาตรา 352 ซึ่งมีอายุความ10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95(3) กำหนดอายุความทางอาญาจึงยาวกว่าอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก ที่กำหนดไว้เพียง 1 ปีจึงต้องเอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 448วรรคสอง การที่โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันในมูลหนี้ละเมิดที่ ส. ก่อขึ้น จึงใช้กำหนดอายุความ 10 ปี จำเลยจะยกอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรกซึ่งเป็นข้อต่อสู้ของลูกหนี้ขึ้นต่อสู้โจทก์โดยอาศัยบทบัญญัติแห่งป.พ.พ. มาตรา 694 หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1382/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญาตาม พ.ร.บ.จัดหางานฯ ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแม้ไม่ได้ยกขึ้นในศาลล่าง
ปัญหาว่าคดีขาดอายุความหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ว่ากล่าวกันมาในศาลล่าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ดังนี้ เมื่อเป็นคดีความผิดตาม มาตรา 27 แห่ง พ.ร.บ.จัดหางานฯ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน จึงมีกำหนดอายุความฟ้องคดี1 ปี โจทก์ฟ้องจำเลยหลังเกิดเหตุเกิน 1 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.