พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเช็ค: การแจ้งความร้องทุกข์มีผลเริ่มนับอายุความ และการขอเช็คคืนไม่ถือว่ายังไม่มอบคดี
ข้อความในบันทึกการร้องทุกข์ของโจทก์มีว่า '.....มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้สั่งจ่ายตามกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุดในชั้นนี้ขอรับเช็คคืนไปเก็บรักษาไว้เพื่อจะได้ติดต่อกับผู้สั่งจ่ายอีกทางหนึ่ง' ดังนี้เป็นการแจ้งความกล่าวหาโดยมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ การขอรับเช็คคืนไปเพื่อติดต่อกับผู้สั่งจ่ายมิใช่เป็นข้อความที่แสดงว่ายังไม่มอบคดีให้ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(7) แล้ว เมื่อโจทก์ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด 5 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการฟ้องคดีเช็ค: การแจ้งความร้องทุกข์มีผลเริ่มนับอายุความ
ข้อความในบันทึกการร้องทุกข์ของโจทก์มีว่า ".....มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน เพื่อดำเนินคดีอาญากับผู้สั่งจ่ายตามกฎหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุดในชั้นนี้ขอรับเช็คคืนไปเก็บรักษาไว้เพื่อจะได้ติดต่อกับผู้สั่งจ่ายอีกทางหนึ่ง" ดังนี้เป็นการแจ้งความกล่าวหาโดยมีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ การขอรับเช็คคืนไปเพื่อติดต่อกับผู้สั่งจ่ายมิใช่เป็นข้อความที่แสดงว่ายังไม่มอบคดีให้ จึงเป็นคำร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (7) แล้ว เมื่อโจทก์ร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด 5 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2531)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ ไม่เชื่อมโยงกับอายุความฉ้อโกง ศาลต้องพิจารณาแยกกัน
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511มิใช่ความผิดอันยอมความได้ และเป็นความผิดอีกข้อหาหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกง จะยกฟ้องข้อหาความผิดดังกล่าวด้วยเหตุขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 เช่นเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ กับความผิดฉ้อโกงเป็นคนละกรรม ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคลาดเคลื่อน
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2511มิใช่ความผิดอันยอมความได้ และเป็นความผิดอีกข้อหาหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกง จะยกฟ้องข้อหาความผิดดังกล่าวด้วยเหตุขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 เช่นเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 954/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ และความผิดฉ้อโกงเป็นคนละข้อหา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยคลาดเคลื่อน
ความผิดตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2511มิใช่ความผิดอันยอมความได้ และเป็นความผิดอีกข้อหาหนึ่งต่างหากจากความผิดฐานฉ้อโกงจะยกฟ้องข้อหาความผิดดังกล่าวด้วยเหตุขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 เช่นเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกงไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความทางอาญา: การกำหนดวันเวลาเริ่มกระทำความผิดที่ถูกต้องเพื่อมิให้ขาดอายุความ
เงินที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยขาดบัญชีไประหว่างวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2504 ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2505 แต่โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2525 ว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างวันที่17 มิถุนายน 2505 ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2505 โดยหาได้มีข้อเท็จจริงใด ๆ ที่แสดงว่าจำเลยเริ่มกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2505 ตามฟ้องไม่ เป็นเพียงแต่ถือเอาตามระยะเวลาดังกล่าวเพื่อมิให้คดีโจทก์ขาดอายุความเท่านั้น เพราะหากฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2505 แล้วคำนวณหถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 20 ปี คดีจะขาดอายุความ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดในช่วงระยะเวลาดังกล่าวในฟ้อง จึงปราศจากหลักเกณฑ์ที่แน่นอน และมิใช่วันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดอันแท้จริง เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดที่แท้จริงเมื่อใดและการกระทำความผิดของจำเลยอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ขาดอายุความแล้วก็ลงโทษจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1875/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความและการกำหนดวันเวลากระทำผิดในคดีอาญา การฟ้องโดยมีเจตนาเลี่ยงอายุความย่อมไม่ชอบ
เงินที่อยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยขาดบัญชีไประหว่างวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2504 ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2505 แต่โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2525 ว่าจำเลยกระทำผิดระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน 2505 ถึงวันที่ 26 กรกฎาคม 2505 โดยหาได้มีข้อเท็จจริงใด ๆ ที่แสดงว่าจำเลยเริ่มกระทำความผิดตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2505 ตามฟ้องไม่ เป็นเพียงแต่ถือเอาตามระยะเวลาดังกล่าวเพื่อมิให้คดีโจทก์ขาดอายุความเท่านั้น เพราะหากฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดก่อนวันที่ 17 มิถุนายน 2505 แล้วคำนวณถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกิน 20 ปี คดีจะขาดอายุความ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดในช่วงระยะเวลาดังกล่าวในฟ้อง จึงปราศจากหลักเกณฑ์ที่แน่นอน และมิใช่วันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดอันแท้จริง เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดที่แท้จริงเมื่อใดและการกระทำความผิดของจำเลยอยู่ในช่วงระยะเวลาที่ไม่ขาดอายุความแล้ว ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 270/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีอาญา: การฟ้องและได้ตัวผู้ต้องหามายังศาลเป็นสำคัญ
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 นั้น ต้องฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว อายุความจึงจะหยุดนับ บทบัญญัติตามมาตรานี้ไม่ได้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์เท่านั้น ในกรณีที่ราษฎรเป็นโจกท์ก็ต้องถือหลักอย่างเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2507 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2514 ความผิดของจำเลยที่โจทก์ฟ้องมีอายุความสิบปี โจทก์จะต้องฟ้องและได้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดมายังศาลภายในวันที่ 30 มีนาคม 2524 คดีจึงจะไม่ขาดอายุความ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยวันที่ 30 มีนาคม 2524 แต่ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องของโจทก์ต่อไป ระหว่างนั้นจะถือว่าได้ตัวจำเลยมายังศาลและจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วไม่ได้ อายุความยังไม่หยุดนับศาลชั้นต้นสั่งคดีมีมูล หมายเรียกจำเลยแก้คดีและได้ตัวจำเลยมาพิจารณาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2524 เกินสิบปีนับแต่วันที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1735/2514 ประชุมใหญ่)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2507 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2514 ความผิดของจำเลยที่โจทก์ฟ้องมีอายุความสิบปี โจทก์จะต้องฟ้องและได้ตัวจำเลยผู้กระทำผิดมายังศาลภายในวันที่ 30 มีนาคม 2524 คดีจึงจะไม่ขาดอายุความ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยวันที่ 30 มีนาคม 2524 แต่ศาลชั้นต้นต้องทำการไต่สวนมูลฟ้องของโจทก์ต่อไป ระหว่างนั้นจะถือว่าได้ตัวจำเลยมายังศาลและจำเลยอยู่ในอำนาจศาลแล้วไม่ได้ อายุความยังไม่หยุดนับศาลชั้นต้นสั่งคดีมีมูล หมายเรียกจำเลยแก้คดีและได้ตัวจำเลยมาพิจารณาเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2524 เกินสิบปีนับแต่วันที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดคดีโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1735/2514 ประชุมใหญ่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดแจ้งความเท็จและเอกสารราชการ: อายุความและกรรมเดียวผิดหลายบท
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดเป็นสองตอนคือการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเกี่ยวกับสัญชาติของ จำเลยในการยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชน ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ตอนหนึ่ง และการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงใน เอกสารราชการตามแบบบ.ป.1 ตามมาตรา 267 อีกตอนหนึ่งข้อหาความผิดทั้งสองตอนตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง ต่อเนื่องเชื่อมโยงกันและอาจเกิดขึ้นในคราวเดียวกันได้หาเป็นการขัดแย้งกันไม่และข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็เป็นไปโดยแจ้งชัดพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจ ข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เมื่อจำเลย ให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดย โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่ เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับและความผิดตาม พระราชบัญญัติ บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2519 โจทก์ นำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่18 พฤษภาคม 2526 เกินกำหนดห้าปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2673/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องแจ้งความเท็จและเอกสารราชการไม่ขัดแย้งกัน แต่ขาดอายุความตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดเป็นสองตอนคือ การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงานเกี่ยวกับสัญชาติของ จำเลยในการยื่นคำขอรับบัตรประจำตัวประชาชน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ตอนหนึ่ง และการแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงในเอกสารราชการตามแบบบ.ป.1 ตามมาตรา 267 อีกตอนหนึ่ง ข้อหาความผิดทั้งสองตอนตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องต่อเนื่องเชื่อมโยงกันและอาจเกิดขึ้นในคราวเดียวกันได้ หาเป็นการขัดแย้งกันไม่ และข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องของโจทก์ก็เป็นไปโดยแจ้งชัดพอสมควรที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี คำฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดย โจทก์ไม่จำต้องสืบพยานประกอบ
ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม2519 โจทก์ นำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่18 พฤษภาคม 2526 เกินกำหนดห้าปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4)
ความผิดฐานแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 137 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และความผิดตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 17 ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ จำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม2519 โจทก์ นำตัวจำเลยมายื่นฟ้องต่อศาลในวันที่18 พฤษภาคม 2526 เกินกำหนดห้าปีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (4)