คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 95

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 127 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแจ้งความเท็จและจดข้อความเท็จในเอกสารราชการ แม้เป็นคนละกรรม แต่ฟ้องไม่ขัดแย้ง หากขาดอายุความ ศาลฎีกายกฟ้องได้
ฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน และให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าเป็นคนสัญชาติไทยในการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน กับแจ้งต่อเจ้าพนักงานให้จดข้อความลงในเอกสารราชการว่าจำเลยมีสัญชาติไทยอันเป็นความเท็จนั้น หาเป็นการขัดแย้งกันไม่ เพราะต่างก็เป็นการกระทำอันเป็นความผิดในตัวแยกต่างหากจากกันได้จำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี และให้การรับสารภาพโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158
ปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2633/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องและอายุความแจ้งความเท็จ กรณีแจ้งสัญชาติเท็จเพื่อออกบัตรประชาชน
ฟ้องของโจทก์ที่อ้างว่าจำเลยแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานและให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จโดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าเป็นคนสัญชาติไทยในการยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนกับแจ้งต่อเจ้าพนักงานให้จดข้อความลงในเอกสารราชการว่าจำเลยมีสัญชาติไทยอันเป็นความเท็จนั้นหาเป็นการขัดแย้งกันไม่เพราะต่างก็เป็นการกระทำอันเป็นความผิดในตัวแยกต่างหากจากกันได้จำเลยก็เข้าใจข้อหาได้ดี และให้การรับสารภาพโดยไม่มีข้อโต้แย้งใดๆเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ปัญหาเรื่องคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 95 เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่สาธารณประโยชน์หลัง พ.ร.บ.ที่ดินใช้บังคับ และอำนาจศาลในการสั่งให้จำเลยออกจากที่ดิน
ที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ซึ่งจำเลยเข้ายึดถือครอบครองหลังจาก ป.ที่ดินใช้บังคับแล้ว โดยจำเลยมิได้มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงฝ่าฝืน ป. ที่ดิน ม.9.และเป็นความผิดต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
การที่จะลงโทษผู้ฝ่าฝืน ป. ที่ดิน ตาม ม. 108 ทวิจะต้องเป็นการฝ่าฝืนนับตั้งแต่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับจำเลยฝ่าฝืนมาก่อนแล้ว แม้จะครอบครองตลอดมา ก็เป็นการครอบครองสืบเนื่องมาจากเข้ายึดถือครอบครองครั้งแรกต้องลงโทษตาม ม.108 และตามมาตราดังกล่าวซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ข้อ 11 มิได้ให้อำนาจศาลที่จะสั่งให้จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่สาธารณประโยชน์หลัง พ.ร.บ.ที่ดินใช้บังคับ ศาลจำกัดอำนาจสั่งขับไล่
ที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ซึ่งจำเลยเข้ายึดถือครอบครองหลังจาก ป.ที่ดินใช้บังคับแล้ว โดยจำเลยมิได้มีสิทธิครอบครองและมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงฝ่าฝืน ป. ที่ดิน ม.9.และเป็นความผิดต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
การที่จะลงโทษผู้ฝ่าฝืน ป. ที่ดิน ตาม ม. 108 ทวิ จะต้องเป็นการฝ่าฝืนนับตั้งแต่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับจำเลยฝ่าฝืนมาก่อนแล้ว แม้จะครอบครองตลอดมา ก็เป็นการครอบครองสืบเนื่องมาจากเข้ายึดถือครอบครองครั้งแรกต้องลงโทษตาม ม.108 และตามมาตราดังกล่าวซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96 ข้อ 11 มิได้ให้อำนาจศาลที่จะสั่งให้จำเลยออกไปจากที่พิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1338/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีแร่ดีบุก: วันกระทำผิดคือวันครอบครองเกินโควต้า แม้ต่อมาจะขอเพิ่มโควต้า
จำเลยขุดแร่ดีบุกไว้ในครอบครองเกินโควต้าที่ได้รับอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมแร่ดีบุก พ.ศ.2514 มาตรา 20,31 ซึ่งมีโทษปรับอย่างเดียวนั้นอายุความ 1 ปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 เจ้าพนักงานเข้าตรวจระหว่างวันที่ 17-20 กันยายน 2518 พบว่าจำเลยมีแร่ดีบุกไว้ในครอบครองเกินโควต้า ต้องถือว่าวันที่17 กันยายน 2518 เป็นวันที่จำเลยกระทำความผิดโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2519 เกิน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยกระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
แม้จำเลยจะได้รับอนุมัติให้เพิ่มโควต้าในภายหลังก็ไม่ทำให้ความผิดที่จำเลยได้กระทำไปแล้วกลายเป็นไม่เป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความความผิดฐานบุกรุก: เริ่มนับจากเวลาลงมือกระทำความผิด ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
จำเลยปลูกบ้านอย่างถาวรในที่พิพาทมา 10 กว่าปีความผิดฐานบุกรุกนั้นเกิดขึ้นเมื่อจำเลยเข้าไปปลูกเรือนอยู่ในที่ดินของผู้เสียหาย ไม่ใช่เป็นความผิดอยู่ตลอดเวลาที่จำเลยอยู่ในเรือนในที่ดินที่ได้บุกรุกหรือตลอดเวลาที่เรือนยังปลูกอยู่ความผิดของจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี โจทก์จึงต้องฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่วันที่จำเลยเข้าไปปลูกเรือนอยู่ในที่ดินของผู้เสียหาย แต่โจทก์ฟ้องเมื่อพ้น 10 ปีนับแต่วันที่จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกเรือนอยู่ในที่ดินของผู้เสียหาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 461-465/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อหวังรับสิทธิจัดสรรที่ดิน: ความผิดต่อเนื่องและอายุความ
บุกรุกเข้าไปยึดถือทำนาในที่ป่าซึ่งมี น.ส.2 เพื่อรับสิทธิตามระเบียบการจัดสรรที่ดินเพื่อประชาชน เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9,108ทวิ วรรค 1 ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ข้อ 11 เป็นความผิดต่อเนื่อง อายุความนับตั้งแต่หยุดการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเช็ค: การแจ้งให้เข้าบัญชีซ้ำ ไม่ทำให้อายุความสะดุด
อายุความในคดีอาญานั้นเมื่อเริ่มนับแล้วอายุความก็เดินเรื่อยไป เว้นแต่กรณีที่ได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริตและศาลสั่งงดการพิจารณาไว้ จึงจะเริ่มนับอายุความใหม่แต่วันหลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 วรรคสอง
จำเลยออกเช็คให้โจทก์เมื่อเดือนธันวาคม 2517 โจทก์นำเช็คไปรับเงินธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยได้โทรศัพท์ให้โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีอีกครั้ง โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2518 ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ฟ้องคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2518 กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 วรรคสอง จึงเริ่มนับอายุความใหม่ไม่ได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเวลาเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรก คดีจึงขาดอายุความ และการที่จำเลยแจ้งให้โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีอีกครั้งหนึ่งก็มิใช่เป็นการออกเช็ค จะปรับว่าจำเลยกระทำผิดครั้งใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญา: การกระทำที่ไม่ทำให้สะดุดหยุดนับอายุความ และการออกเช็คซ้ำ
อายุความในคดีอาญานั้นเมื่อเริ่มนับแล้วอายุความก็เดิมเรื่อยไป เว้นแต่กรณีที่ได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริตและศาลสั่งการพิจารณาไว้ จึงจะเริ่มนับอายุความใหม่แต่วันหลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 วรรคสอง
จำเลยออกเช็คให้โจทก์เมื่อเดือนธันวาคม 2517 โจทก์นำเช็คไปรับเงินธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยได้โทรศัพท์ให้โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีอีกครั้งโจทก์นำเช็คเข้าบัญชีของโจทก์ครั้งที่สองเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2518 ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ฟ้องคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2518 กรณีไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายอาญา มารา 95 วรรคสอง จึงเริ่มรับอายุความใหม่ไม่ได้โจทก์ฟ้องคดีนี้เป็นเวลาเกินกว่า 3 เดือน นับแต่วันธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งแรก คดีจึงขาดอายุความ และการที่จำเลยแจ้งให้โจทก์นำเช็คเข้าบัญชีอีกครั้งหนึ่ง ก็มิใช่เป็นการออกเช็ค จะปรับว่าจำเลยกระทำผิดครั้งใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1331/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องอาญาไม่มีรายละเอียดสิ่งของที่เกี่ยวข้องชัดเจน และฟ้องขาดอายุความ ทำให้ศาลยกฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 โดยบรรยายฟ้องเพียงกว้างๆ ว่า จำเลยบังอาจแจ้งให้เจ้าพนักงานที่ดินจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ และเอกสารสิทธิ ไม่พอที่จะทำให้จำเลยรู้ว่าเอกสารที่โจทก์กล่าวถึงนั้น คืออะไร มีอยู่จริงหรือไม่ ถือได้ว่าฟ้องโจทก์ไม่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
เมื่อเหตุดังกล่าวเกิดมากว่า 10 ปีแล้ว ความผิดตามมาตรา 267 และความผิดตามมาตรา 137 ที่อาศัยข้อเท็จจริงอันเดียวกัน ย่อมขาดอายุความ
การที่จำเลยใช้แบบแจ้งการครอบครองที่จำเลยแจ้งว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยนั้น เป็นการใช้เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความจริงเท่านั้น เมื่อโจทก์มิได้บรรยายว่าเป็นเอกสารปลอมหรือเป็นเอกสารที่จำเลยแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงไว้ จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268
จำเลยหลอกลวงเจ้าพนักงานที่ดินว่าที่ดินของโจทก์เป็นของจำเลยเจ้าพนักงานหลงเชื่อได้ออกโฉนดให้แก่จำเลย กรณีเช่นนี้โจทก์ไม่ได้ถูกหลอกลวง และจำเลยก็ไม่ได้ทรัพย์สินอะไรไปจากโจทก์ ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำผิดต่อโจทก์ฐานฉ้อโกง
of 13