คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กิติยาภรณ์ อาตมียะนันทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีมิใช่อายุความ การผ่อนชำระหลังครบกำหนดเวลาไม่สละสิทธิ
กำหนดเวลาบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. กำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความ เมื่อโจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย กรณีไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/24 มาใช้บังคับได้ การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยภายหลังครบกำหนดเวลาบังคับคดี จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีมิใช่อายุความ การผ่อนชำระหนี้หลังหมดอายุบังคับคดีไม่ถือเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษา ดังนั้น เมื่อโจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย กำหนดเวลาบังคับคดีเป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความ ไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 มาใช้บังคับกับหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยที่ทำถึงโจทก์ภายหลังที่ล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีแล้วนั้นได้หนังสือขอผ่อนชำระหนี้ดังกล่าวจึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ จำเลยไม่ต้องรับผิดตามหนังสือดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดี vs. อายุความ: หนังสือขอผ่อนชำระหนี้ไม่เป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ
กำหนดเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่ใช่อายุความ
โจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดี โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย และกรณีไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/24 มาใช้บังคับได้ การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยภายหลังครบกำหนดเวลาบังคับคดี จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5323/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ใช่อายุความ การผ่อนชำระหนี้หลังหมดเวลาบังคับคดี ไม่ถือเป็นการสละประโยชน์แห่งอายุความ
กำหนดเวลาบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับแก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดเวลาดังกล่าวจึงไม่ใช่อายุความ เมื่อโจทก์มิได้บังคับคดีแก่จำเลยตามคำพิพากษาจนล่วงเลยกำหนดเวลาบังคับคดีดังกล่าว โจทก์จึงหมดสิทธิบังคับคดีแก่จำเลย กรณีไม่อาจนำเรื่องการสละประโยชน์แห่งอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 มาใช้บังคับได้ การที่จำเลยทำหนังสือขอผ่อนชำระหนี้ของจำเลยภายหลังครบกำหนดเวลาบังคับคดี จึงไม่ใช่การสละประโยชน์แห่งอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้ที่มีอยู่ ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ปัญหาว่าผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย) ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ (จำเลย) นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใดก่อนแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย)ได้ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ข้อจำกัดเรื่องดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นภายหลัง
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย)ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้(จำเลย)มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ได้หรือไม่ จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้(จำเลย)นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้(จำเลย)เป็นเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใดแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้(จำเลย)ได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้(จำเลย) ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้คงค้าง ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
การที่ผู้ร้องจะขอใช้สิทธินำเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 102 นั้น จะต้องพิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ 1 ผู้ร้องเป็นหนี้จำเลยที่ 1 ตามบัญชีเงินฝากประจำคือเงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ยเพียงใด แล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับจำเลยที่ 1ได้ ผู้ร้องไม่อาจนำดอกเบี้ยของเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมาหักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4603/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ในคดีล้มละลาย: พิจารณาหนี้ที่มีอยู่ ณ วันมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ เป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) ในเวลาที่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จะขอใช้ สิทธินำเงินฝากประจำพร้อมดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) มาหักกลบลบหนี้กับเงินที่ศาลอนุญาตให้ผู้ร้องได้รับชำระหนี้ แล้วตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้หรือไม่ จะต้อง พิจารณาว่าในวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดลูกหนี้ (จำเลย) นั้น ผู้ร้องเป็นหนี้ลูกหนี้ (จำเลย) เป็นเงินต้นพร้อมทั้ง ดอกเบี้ยเพียงใดแล้วจึงนำมาหักกลบลบหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย) ได้ ดังนั้น ผู้ร้องจึงนำดอกเบี้ยของลูกหนี้ (จำเลย) ที่เกิดขึ้น ภายหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วมา หักกลบลบหนี้ตามมาตรา 102 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4542/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังพ้นระยะห้ามโอน แม้การซื้อขายเดิมเป็นโมฆะ การครอบครองภายหลังด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ทำให้ได้สิทธิครอบครอง
บ.ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาก่อนแล้วต่อมาทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ โดยมีข้อกำหนดห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ โจทก์ผู้รับโอนที่ดินจาก บ. ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนจะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่เพียงใดเมื่อครบกำหนดห้ามโอนแล้วนั้น ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยึดถือ ที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่ โจทก์เข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่ซื้อจาก บ. ตลอดมาแม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนโจทก์จะยังไม่ได้ สิทธิครอบครอง เนื่องจากถูกจำกัดโดยบทบัญญัติ มาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน แต่เมื่อโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาท ตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษและเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของโจทก์ตลอดมา โดยไม่มีผู้อื่นเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครอง การครอบครองที่ดินพิพาท ของโจทก์จึงเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนโจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1367

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4542/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังพ้นระยะห้ามโอน แม้การซื้อขายเดิมเป็นโมฆะ แต่การครอบครองต่อเนื่องแสดงเจตนาที่จะครอบครองเพื่อตน
บิดาจำเลยได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมาก่อนแล้ว ต่อมาทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ เพียงแต่มีข้อกำหนดห้ามโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58 ทวิ เท่านั้น แต่เมื่อครบกำหนดห้ามโอนแล้ว โจทก์ผู้รับโอนที่ดินจากบิดาจำเลยจะได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทหรือไม่ เพียงใด ต้องแล้วแต่ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ยึดถือที่ดินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตนหรือไม่
โจทก์ซื้อและเข้าครอบครองที่ดินพิพาทนับตั้งแต่ซื้อที่ดินพิพาทจาก บ. ตลอดมา แม้ในระหว่างระยะเวลาห้ามโอนโจทก์จะยังไม่ได้สิทธิครอบครองเนื่องจากถูกจำกัดโดยบทบัญญัติมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดินตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ยังครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาจนล่วงเลยระยะเวลาห้ามโอนแล้วเป็นเวลานานถึง 10 ปีเศษ และเสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของโจทก์ ตลอดมาโดยไม่มีผู้อื่นเข้าไปยุ่งเกี่ยวแย่งการครอบครอง การครอบครอง ที่ดินพิพาทของโจทก์ จึงเป็นการยึดถือที่ดินพิพาทโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน โจทก์ย่อมได้ซึ่งสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367
of 8