คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
กิติยาภรณ์ อาตมียะนันทน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 77 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยานในคดีจำนองและประเด็นสินสมรส: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลล่างให้พิจารณาใหม่
คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นและจำเลยมีความว่าที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย และนัดฟังคำพิพากษา จำเลยไม่เห็นพ้องด้วย เพราะข้อเท็จจริง ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยยังไม่อาจ รับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลที่ให้งดสืบพยานเพียงอย่างเดียวส่วนการกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องกำหนดประเด็นข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) โจทก์ฟ้องว่า ป.ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน 4,000,000 บาทและให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลย ให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนด เป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยาน ข้อนี้และถือว่าป.รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับป.การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอม โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วย กฎหมายของป.ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่าง ป.กับจำเลยแล้ว การที่ป.ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบัน แก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสีย ค่าตอบแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดสืบพยาน-ประเด็นสินสมรส: ศาลต้องฟังข้อเท็จจริงครบถ้วนก่อนพิพากษา
คำแถลงโต้แย้งคำสั่ง ศาลชั้นต้นของจำเลยมีความว่าที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษาจำเลยไม่เห็นพ้องด้วยเพราะข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลย ยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลที่ให้งดสืบพยานเพียงอย่างเดียว ส่วนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทจำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่อง กำหนดประเด็นข้อพิพาท ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) โจทก์ฟ้องว่า ป. ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน4,000,000 บาท และให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลยให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยานข้อนี้และถือว่าป. รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป. การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยมีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอมโจทก์รู้อยู่แล้วว่า จำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรส ระหว่าง ป. กับจำเลยแล้ว การที่ ป. ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ผู้รับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 การที่ศาลล่างทั้งสอง พิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3487/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดประเด็นข้อพิพาท, งดสืบพยาน, และผลของสัญญาจำนองสินสมรส
คำแถลงโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นของจำเลยมีความว่า ที่ศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและนัดฟังคำพิพากษา จำเลยไม่เห็นพ้องด้วย เพราะข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยยังไม่อาจรับฟังเป็นยุติได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและนัดฟังคำพิพากษาจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย เห็นได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลที่ให้งดสืบพยานเพียงอย่างเดียวส่วนการกำหนดประเด็นข้อพิพาท จำเลยไม่ได้โต้แย้งไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นในเรื่องกำหนดประเด็นข้อพิพาท ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2)
โจทก์ฟ้องว่า ป.ได้กู้เงินและรับเงินไปจำนวน 4,000,000 บาทและให้ถือสัญญาจำนองที่ดินเป็นหลักฐานการกู้เงินด้วย จำเลยให้การว่า จำนวนเงินที่โจทก์จ่ายจริงไม่ถึง 4,000,000 บาท การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคำให้การของจำเลยไม่ชัดแจ้ง ไม่กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่าต้นเงินถูกต้องหรือไม่ จึงให้งดสืบพยานข้อนี้และถือว่า ป.รับเงินไปแล้ว 4,000,000 บาท จึงชอบแล้ว
จำเลยให้การว่า ทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับ ป.การจำนองที่ดินดังกล่าวจำเลยไม่มีส่วนรู้เห็นหรือให้ความยินยอม โจทก์รู้อยู่แล้วว่าจำเลยเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ป. ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า สัญญาจำนองชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าทรัพย์จำนองเป็นสินสมรสระหว่าง ป.กับจำเลยแล้ว การที่ ป.ทำนิติกรรมจำนองโดยปราศจากความยินยอมของจำเลย นิติกรรมนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อจำเลยได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจำนองแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นโจทก์ผู้รับจำนองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนตาม ป.พ.พ.มาตรา 1480 การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาคดีไปโดยมิได้ฟังข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3470/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: การมีหนี้สินล้นพ้นตัว, เสนอประนีประนอมหนี้, และการไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
การที่โจทก์ได้มีหนังสือส่งทางไปรษณีย์ตอบรับทวงถามให้จำเลยทั้งสี่ชำระหนี้โจทก์แล้วสองครั้งซึ่งมีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่าสามสิบวันและจำเลยทั้งสี่ได้รับหนังสือแล้ว ไม่ชำระหนี้โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่มีทรัพย์สินอื่นอันจะพึงยึดมาชำระหนี้โจทก์ได้กรณีจึงเข้าข้อสันนิษฐานแล้วว่าจำเลยทั้งสี่มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(5)(9) นอกจากนี้ยังได้ความอีกว่า ว่าจำเลยเสนอขอทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อโจทก์และต่อบริษัทธนาคาร อ. ที่ฟ้องเรียกหนี้ประมาณ 800,000,000 บาทซึ่งจำเลยที่ 1 เองก็ยอมรับว่าไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ให้แก่สถาบันการเงินได้ ดังนี้ เป็นกรณีลูกหนี้เสนอคำขอประนอมหนี้แก่เจ้าหนี้ตั้งแต่สองคนขึ้นไปตามมาตรา 8(8) แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ เมื่อจำเลยทั้งสี่มิได้นำสืบให้เห็นว่ามีทรัพย์สิน พอสามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลย ทั้งสี่ล้มละลาย ศาลจึงต้องสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย ทั้งสี่เด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องหนี้ร่วม: เจ้าหนี้แต่ละรายมีสิทธิฟ้องได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมจากเจ้าหนี้รายอื่น
แม้เงินที่จำเลยกู้ไปจากโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของการให้กู้เงินในโครงการก่อสร้างโรงงานร่วมกับสถาบันการเงินอื่น โดยมีหลักทรัพย์และบุคคลค้ำประกันชุดเดียวกันในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตาม แต่จำเลยกู้เงินจากโจทก์และผู้ให้กู้แต่ละรายมีกำหนดจำนวนเงินกู้ที่แน่นอน และแม้จะมีหลักประกันร่วมกันก็ถือว่าหนี้แต่ละรายมีเจ้าหนี้เพียงรายเดียว เมื่อจำเลยผิดสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้กู้ร่วม: เจ้าหนี้แต่ละรายมีสิทธิฟ้องได้เอง แม้มีหลักประกันร่วมกัน
แม้เงินที่จำเลยกู้ไปจากโจทก์เป็นส่วนหนึ่งของการให้กู้เงินในโครงการก่อสร้างโรงงานร่วมกับสถาบันการเงินอื่น โดยมีหลักทรัพย์และบุคคลค้ำประกันชุดเดียวกันในสัญญาฉบับเดียวกันก็ตาม แต่จำเลยกู้เงินจากโจทก์และผู้ให้กู้แต่ละรายมีกำหนดจำนวนเงินกู้ที่แน่นอน และแม้จะมีหลักประกันร่วมกันก็ถือว่าหนี้แต่ละรายมีเจ้าหนี้เพียงรายเดียว เมื่อจำเลยผิดสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้กู้รายอื่นก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3430/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วม เจ้าหนี้หลายราย การฟ้องคดีและข้อต่อสู้เรื่องส่วนทำให้ผิดสัญญา
แม้จำเลยที่ 1 จะกู้เงินโจทก์และผู้ให้กู้รายอื่นโดย ทำสัญญากู้เงินฉบับเดียวกันก็ตามแต่จำเลยที่ 1 กู้เงินจาก โจทก์และผู้ให้กู้แต่ละรายมีกำหนดจำนวนเงินกู้ที่แน่นอน แม้จะมีหลักประกันร่วมกันก็ถือว่าหนี้แต่ละรายมีเจ้าหนี้ เพียงรายเดียว เมื่อจำเลยทั้งห้าผิดสัญญาในส่วนที่เกี่ยวกับ โจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง จำเลยทั้งห้าไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นในคำให้การว่า โจทก์มีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา ข้อต่อสู้ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงรอฟังผลคดีอื่น การเปลี่ยนแปลงคดีที่อ้างถึง และการวินิจฉัยโดยอาศัยผลคดีที่เปลี่ยนแปลง
แม้คู่ความตกลงขอถือเอาผลแห่งคดีหมายเลขดำที่ 1227/2533 มาเป็นข้อชี้ขาดเพียงประเด็นเดียวก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ยื่นคำแถลงว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ร้องในคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 1227/2533 ได้ถอนคำร้องคดีดังกล่าวและยื่นคำร้องใหม่เป็นคดีหมายเลขดำที่ 976/2534 ซึ่งมีประเด็น ของคำร้องเช่นเดียวกันกับคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 1227/2533 ทุกประการ และขอให้ศาลรอผลการพิจารณาคดีแพ่ง หมายเลขดำที่ 976/2534 ซึ่งศาลชั้นต้นจดรายงาน กระบวนพิจารณาว่าสมควรรอผลการพิจารณาคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 976/2534 ซึ่งมีประเด็นอันเดียวกันกับ คดีนี้ก่อนแสดงว่าคู่ความตกลงขอถือเอาผลแห่งคดีหมายเลขดำที่ 976/2534(คดีหมายเลขแดงที่ 1240/2536) มาเป็นข้อชี้ขาดคดีนี้แทน ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองชี้ขาดคดีโดยอาศัยผลคดีของคดีหมายเลขแดงที่ 1240/2536 ชี้ขาดคดีจึงหาเป็นการนำเอาข้อเท็จจริงนอกข้อตกลงมาวินิจฉัยชี้ขาดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3349/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าบริการจัดหาผู้ซื้อ: สัญญาสำเร็จผลผูกพัน แม้มีการเปลี่ยนแปลงสัญญาภายหลัง
โจทก์จัดหาผู้ซื้อมาทำสัญญาซื้อขายกับจำเลย โดยจำเลยให้ค่าบริการแก่โจทก์ร้อยละ 1.5 ของยอดขายตามสัญญา คิดเป็นเงิน 7,470,604.95 บาท ตกลงแบ่งชำระเป็น 3 งวด ดังนั้น เมื่อจำเลยชำระเงินให้โจทก์เพียงงวดเดียว จำเลยจึงต้องรับผิดชำระงวดที่สองและงวดที่สามที่เหลือ แม้ต่อมาผู้ขายจะตกลงเปลี่ยนแปลงสัญญากับ ผู้ซื้อใหม่โดยลดยอดขายลงก็ตาม ก็ไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นความรับผิดที่จะต้องชำระเงินจนครบ เพราะถือว่าได้มีการทำสัญญาซื้อขายกันเป็นผลสำเร็จเนื่องจากการที่โจทก์ชี้ช่องหรือจัดการแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2626/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: พิจารณาความมุ่งหมายของลูกหนี้ในการให้เจ้าหนี้ได้เปรียบ
จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันหนี้เงินกู้แก่ผู้คัดค้านต่อมาโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลาย การจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวของจำเลย จึงเป็นการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆซึ่งจำเลย (ลูกหนี้) ได้กระทำหรือยินยอมให้กระทำในระหว่างระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้ล้มละลายตามมาตรา 115แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 แต่การที่ผู้คัดค้านเป็นผู้รับจดทะเบียนจำนองจากจำเลยจึงเป็นคู่สัญญากับจำเลยโดยตรง มิได้เป็นบุคคลภายนอกตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 116ผู้คัดค้านจึงไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิอันจะอ้างได้ว่าเป็นผู้ได้รับโอนหรือได้สิทธิมาโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ล้มละลาย ทั้งการจดทะเบียนจำนองที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันการกู้เงินนั้น หากจำเลยไม่ชำระหนี้หรือชำระไม่ครบ เมื่อขายทรัพย์จำนองผู้คัดค้านมีสิทธิได้รับชำระหนี้จนครบก่อนเจ้าหนี้อื่นโดยไม่ต้องนำเงินที่ได้จากการขายไปเฉลี่ยตามอัตราส่วนกับเจ้าหนี้อื่นผู้คัดค้านจึงอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่จะได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นตามความหมายของพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115 แล้วซึ่งการเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรานี้มิได้บัญญัติให้คำนึงถึงความสุจริตและการเสียค่าตอบแทนของผู้รับโอน แต่ให้พิจารณาถึงความมุ่งหมายของลูกหนี้ว่าจะให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นหรือไม่เท่านั้น เมื่อปรากฏว่าขณะที่จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ผู้คัดค้านเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่แล้วโดยมีเจ้าหนี้อื่นอีกหลายรายและจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวการจดทะเบียนจำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวของลูกหนี้(จำเลย) จึงเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้าน ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่นศาลมีอำนาจสั่งเพิกถอนการโอนดังกล่าวได้
of 8